วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กระแต

กระแต



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับ Scandentia
วงศ์ Tupaiidae

สกุล Tupaia
สปีชีส์ T. glis

กระแตเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่คนรู้จักค่อนข้างมาก และพบเห็นได้ทั่วไปมีรูปร่างคล้าย ๆ กับพวกกระรอก แต่มีจะงอยหน้า (snout) ยาวและแหลมกว่ากระแตมีลักษณะระหว่างสัตว์จำพวกลิง (Order Primates) และสัตว์กินแมลง (Order Insectivora) ทำให้มีปัญหาในการจัดอันดับทางอนุกรมวิธาน ในปัจจุบันจึงได้จัดให้อยู่ในอันดับ Scandentia ในอันดับนี้มีอยู่วงศ์เดียว คือ Tupaiidae ในประเทศไทย พบกระแตอยู่ 4 ชนิด คือ กระแตธรรมดา (Tupaia glis) พบเห็นได้ตามป่าทั้งป่าทึบและป่าละเมาะทั่วประเทศ อีก 2 ชนิดพบเห็นได้น้อย และมีเฉพาะทางใต้สุดของประเทศ คือ กระแตเล็ก (Tupaia minor) กับกระแตหางขนนก (Ptilocercus lowii) และอีกชนิดหนึ่งพบเห็นได้น้อยกว่ามาก มีเฉพาะชานแดนต้านทิศตะวันออกติดกับประเทศกัมพูชาเท่านั้น คือกระแตหางหนู (Dendrogale murina)

กระแตออกหากินในตอนกลางวัน อาศัยอยู่บนพื้นดินเกือบตลอดเวลาอาหารของกระแตได้แก่ มด ปลวก ด้วง แมงมุม เมล็ดพืช รวมทั้งผลไม้ที่หล่นอยู่ตามพื้นดิน กระแตสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในป่าทุ่งหญ้าป่าละเมาะ และพื้นที่เกษตรกรรม มีการเคลื่อนที่ได้ดีมาก มีจมูกรับกลิ่นได้ดี และมีสายตาที่ดีเยี่ยม จึงสามารถมองเห็นศัตรูและหลบหนีได้อย่างว่องไว

กระแตผสมพันธุ์กันตลอดทั้งปี ตัวเมียตั้งท้องนาน 46-50 วัน ก่อนจะตกลูก 2-3 วัน ตัวผู้จะสร้างรังในโพรงไม้ที่โค่นล้มอยู่ตามป่า หลังจากสร้างรังเสร็จแล้วตัวผู้จะหน๊ไป ตัวเมียจะตกลูกในรังครั้งละ 2 ตัว ลูกกระแตที่เกิดใหม่จะไม่มีขนและยังไม่ลืมตา กระแตตัวเมียจะไม่ดูแลลูกเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ จะให้นมลูกทุก ๆ 2 วัน หลังจากให้นมเสร็จจะออกจากรังไปหาอาหารและจะกลับเข้ารังเมื่อถึงเวลาให้นมลูกอีกครั้ง ถ้ามีศัตรูเข้ามาใกล้ลูกกระแตที่อยู่ในรังจะส่งเสียงร้องดังแหบห้าว พร้อมทั้งขยับแขนขาทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในใบไม้แห้งภายในรัง ศัตรูจะตกใจกลัวและหนีไปจากบริเวณนั้น

แมลงทับ

แมลงทับ




การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Arthropoda
ชั้น Insecta

อันดับ Coleoptera
อันดับย่อย Polyphaga
อันดับฐาน Elateriformia
วงศ์ใหญ่ Buprestoidea
วงศ์ Buprestidae
Leach, 1815
แมลงทับ
แมลงทับไทยที่มีอยู่ 2 พันธุ์ ทั้งพันธุ์ขาเขียวที่มีอยู่มากในภาคกลาง และพันธุ์ขาแดงที่มีมากที่สุดตามป่าเขาในภาคอีสาน ทั้งในเขตเมืองและป่าดงดิบกำลังอยู่ในอันตรายจำนวนลดฮวบอย่างน่ากลัว กลายเป็น สิ่งหาดูได้ยาก เกิดจากพืชอาหารของมันที่มีใบต้นพันชาด ต้นเต็ง ต้นพะยอม ต้นตะแบก ต้นคางคกหรือกางขี้มอด ต้นรัง ต้นแดง ต้นประดู่ ต้นกระบก ต้นมะขามป้อม ต้นมะค่าแต้ และต้นคูนลดจำนวนลงมาก อีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากคนจำนวนมากหลงใหลในรสชาติของมัน พากันจับเอาไปกิน ใช้วิธีเอาท่อนไม้ใหญ่ๆฟาดลงไปกลางลำต้นพืชอาหารที่มันเกาะอาศัยอยู่ ก่อให้เกิดการสั่นเขย่าอย่างแรงให้มันร่วงลงมาแล้วจับเอาไปกินในรูปการต่างๆ ตั้งแต่เด็ดปีกเสียบไม้ย่างกิน เอาไปผัดน้ำมันกินหรือเอาไปคั่วกิน ส่วนปีกของมันที่เด็ดออกเอาไปประดับฝาบ้านหรือไม่ก็เอาไปประดับกระติบข้าว

แมลงทับอยู่ตามป่าเขาดงไม้ได้ทั่วทั้งประเทศไทย ไม่มีภูมิภาคใดที่มันอยู่ไม่ได้สีสันอันงดงามของมันนั้นอยู่ยั้งยืนยงคง ทนอยู่กว่า 50 ปีจึงจะสลายไป ชอบกินใบไม้ครึ่งแก่ครึ่งอ่อนที่ชอบมากได้แก่ใบพันชาด ใบมะขามเทศ ใบเต็ง ใบพะยอม และใบตะแบกแดง มันกินจุมากโดยเฉพาะในช่วงที่แดดจัด แม่แมลงทับจะวางไข่ ไว้ตามโคนต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดแล้วผละจากไป น่าสังเกตว่าถ้าไม่มีไผ่สองชนิดนี้แถวนั้นจะไม่พบแมลงทับเลย

วงจรชีวิตของมันมีแค่ปีเดียว โดยอยู่ใต้ดินนานถึง 11 เดือนตั้งแต่เป็นไข่ เป็นตัวหนอน เป็นดักแด้แล้วจึงโตเต็มวัยกลายเป็นแมลงทับตัวผู้ หรือตัวเมียโบยบินไปในอากาศแล้วอยู่ตามต้นไม้ อาหาร เมื่อออกจากไข่มันกินคอรากส่วนใต้ดินของไผ่เพ็กนั่นเองเป็นอาหาร เมื่อโตเต็มที่กลับมีชีวิตอย่างสำเริงสำราญเป็นอิสระเสรีได้สั้นมาก อยู่ได้แค่ไม่เกิน 4 สัปดาห์เท่านั้นมันก็ตาย ดีหน่อยก่อนที่มันจะตายมันจะจับคู่สมสู่กันอย่างหนำใจ แล้วตัวผู้ก็ตายไป ส่วนตัวเมียตั้งท้องแล้วไข่ แล้วก็ตายตามไป.

http://www.thailantern.com/main/boards/index.php?showtopic=553

ปลากระเบนบัว

ปลากระเบนบัว




การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Himantura bleekeri Blyth, ค.ศ. 1860
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Chondrichthyes
ชั้นย่อย Elasmobranchii

อันดับใหญ่ Batoidea
อันดับ Myliobatiformes
วงศ์ Dasyatidae
สถานะ : เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
สกุล Himantura
สปีชีส์ H. bleekeri


ปลากระเบนบัว เป็นชื่อปลากระเบนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura bleekeri (เดิม Dasyatis bleekeri) อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) เป็นปลากระเบนที่อยู่ในน้ำจืดชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลากระเบนธงทั่วไป แต่มีจงอยปากที่ยื่นแหลมกว่า พื้นลำตัวสีนวล กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านล่างสีขาว หางยาวได้กว่า 80 ซ.ม. โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่เมื่อหักหรือหลุดไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้ ไม่มีแผ่นหนังที่หาง ขนาดลำตัวกว้างโดยเฉลี่ย 40 ซ.ม. น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่หนักได้ถึง 50 ก.ก. หากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก สัตว์หน้าดิน และสัตว์มีเปลือก จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง

เป็นปลาที่พบน้อย โดยพบแต่เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำในภาคใต้ และพบที่ทะเลสาบสงขลาตอนในที่เป็นส่วนของน้ำจืด แต่มีรายงานว่าเคยพบที่แม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

ตัวมีลักษณะกลมเหมือนใบบัว จึงเป็นที่มาของชื่อ

กระเบนบัว มีชื่อเรียกนึงเป็นภาษาใต้ว่า "กระเบนหัวเลี่ยม" แปลว่า กระเบนหัวโต



จากเวปวิกิพีเดีย

ปลาโลมา

ปลาโลมา




อันดับ Cetacea
อันดับย่อย Odontoceti
วงศ์ Delphinidae and Platanistoidea
Gray, 1821

ประวัติปลาโลมา

ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์ และยังเป็นสัตว์น้ำที่น่ารักเสียด้วย

รูปร่างของโลมา

โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ

ความฉลาดของโลมา

ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าปลาวาฬขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก จะเห็นว่าโลมา ไม่ได้มีชีวิตอยู่สุขสบายนักในท้องทะเลธรรมชาติ ดังนั้น เราก็ควรที่จะอนุรักษ์เจ้าโลมาไว้ เพื่อที่จะได้ยกให้มันเป็นสัตว์ที่น่ารัก และมีให้เราได้เห็นอยู่ในท้องทะเลได้อีกนานๆ คงไม่มีใครอยากเห็นเจ้าโลมาน้อยน่ารัก โดนสาปให้แข็ง ตั้งโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ และมีป้ายเขียนว่า “สัตว์สูญพันธุ์” เป็นแน่.



จากเวป http://blog.spu.ac.th/minicooper/2008/07/25/entry-6

ปลากระเบน

ปลากระเบน




อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Chondrichthyes
ชั้นย่อย Elasmobranchii

อันดับใหญ่ Batoidea

ปลากระเบน หมายถึง ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ปากอยู่ด้านล่าง หากินบริเวณพื้นน้ำ มีหลายวงศ์ (Family) หลายสกุล (Genus) ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น ในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีหางสั้น รูปร่างกลมคล้ายจานข้าว ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงพิษที่โคนหาง 1 - 2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้ ในวงศ์ปลากระเบนไฟฟ้า (Narcinidae และ Torpedinidae) พบในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากกระเบนชนิดอื่น ๆ และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย


ปลากระเบน ชนิดต่างๆ


ปลากระเบนขาว ปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura signifer
ปลากระเบนบัว ปลากระเบนที่อยู่ในน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura bleeker
ปลากระเบนไฟฟ้า ปลากระเบนที่มีรูปร่างกลม และมีอวัยวะที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้
ปลากระเบนไฟฟ้าตาบอด ปลากระเบนพบได้ตามไหล่ทวีปตั้งแต่ช่องแคบคุกของนิวซีแลนด์
ปลากระเบนไฟฟ้าแปซิฟิก ปลากระเบนไฟฟ้า อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก
ปลากระเบนราหูน้ำจืด ปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura chaophraya
ปลากระเบนราหูน้ำเค็ม ปลากระเบนน้ำเค็มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manta birostris
ปลากระเบนลายเสือ ปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura krempfi
ปลากระเบนลาว ปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatis laoensis

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กระรอก

กระรอก





อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับ Rodentia
วงศ์ Sciuridae

กระรอก จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยนตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ

กระรอกอาจแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่ กระรอกต้นไม้ (tree squirrels) กระรอกดิน (ground squirrels) และ กระรอกบิน (flying squirrels)

วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกบิน, ชิพมั้งค์

กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคยกันดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ

กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย

อาหารของกระรอกคือ ผลไม้ และ เมล็ดพืช เป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก นั้นบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วย


กระรอกที่พบในประเทศไทย
กลุ่มกระรอกต้นไม้และกระรอกดินมี ทั้งหมด17 ชนิด

พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor)
พญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis)
กระรอกข้างลายท้องแดง (Callosciurus notatus)
กระรอกข้างลายท้องเทา (Callosciurus nigrovittatus)
กระรอกท้องแดง (Callosciurus erythraeus)
กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni)
กระรอกปลายหางดำ (Callosciurus caniceps)
กระรอกหลากสี (Callosciurus prevostii)
กระรอกหางม้าใหญ่ (Sundasciurus hippurus)
กระรอกหางม้าเล็ก (Sundasciurus tenuis)
กระรอกหางม้าจิ๋ว (Sundasciurus lowii)
กระเล็นขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei)
กระเล็นขนปลายหูสั้น (Tamiops mcclellandi)
กระจ้อน (Menetes berdmorei)
กระรอกหน้ากระแต (Rhinosciurus laticaudatus)
กระรอกลายแถบ (Lariscus insignis)
กระรอกดินแก้มแดง (Dremomys rufigenis)

กลุ่มกระรอกบิน มี 12 ชนิด

พญากระรอกบินหูดำ (Petaurista elegans)
พญากระรอกบินหูแดง (Petaurista petaurista)
พญากระรอกบินหูดำหางเข้ม (Petaurista philippensis)
พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas)
กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei)
กระรอกบินเล็กเขาสูง (Hylopetes alboniger)
กระรอกบินแก้มสีแดง (Hylopetes spadiceus)
กระรอกบินแก้มเทา (Hylopetes lepidus)
กระรอกบินจิ๋วท้องขาว (Petinomys setosus)
กระรอกบินจิ๋วมลายู (Petinomys vordermanni)
กระรอกบินเท้าขน (Trogopterus pearsoni)
กระรอกบินสีเขม่า (Pteromyscus pulverulentus)
อย่างไรก็ตามการจำแนกชนิดของกระรอกบินนั้นทำได้ยาก เนื่องจากวงศ์ย่อยนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก แม้แต่ในกลุ่มนักวิชาการเองก็ยังถกเถียงกันในเรื่องนี้

นอกจากนี้แล้วยังมีสัตว์อีก 3 ชนิด ที่มีรูปร่างและลักษณะใกล้เคียงกับกระรอก จนอาจทำให้หลายคนเข้าใจว่าเป็นกระรอกชนิดหนึ่งด้วย แต่ความจริงแล้ว ทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นสัตว์คนละอันดับกับกระรอกเลย ได้แก่ บ่าง (Cynocephalu variegatus) ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับบ่าง กระแต (Tupaiidae) เป็นสัตว์ในอันดับวานร และ ซูกาไกล์เดอร์ (Petaurus breviceps) หน้าตาและรูปร่างคล้ายกระรอกบินมาก แต่เป็นสัตว์ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

จากเวป วิกิพีเดีย

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นกเพนกวิน (Penguin)

นกเพนกวิน




ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Spheniscus humboldti

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves

อันดับ Sphenisciformes
Sharpe, 1891
วงศ์ Spheniscidae
Bonaparte, 1831

เป็นนกที่บินไม่ได้ เป็นนกเพนกวินขนาดกลาง ความยาวลำตัวประมาณ 65 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม
มีการดัดแปลงอวัยวะที่ใช้ในการบินเพื่อการว่ายน้ำ มีหน้าอกและท้องสีขาว หลังมีสีดำ ส่วนหัวสีดำ มีลายเส้นสีขาวคาดจากฐานปาก ผ่านด้านข้างหัวลงมาถึงคอ


ถิ่นอาศัย, อาหาร
อาศัยในเขตร้อนทางหมู่เกาะกูโน และชายฝั่งทะเลของเปรู และชิลี ทวีปอเมริกาใต้ อุณหภูมิที่ต้องการ 22-30 องศาเซลเซียส
นกเพนกวินฮัมโบลด์หาอาหารกินในทะเล เช่น ปลา กุ้ง ตัวอ่อนของปู ลูกนกกินอาหารจากการคายออกจากกระเพาะของพ่อแม่
นกเพนกวินดื่มน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เนื่องจากที่เหนือตามีต่อมขับเกลือ เพื่อขับเกลือส่วนเกินออกได้


พฤติกรรม, การสืบพันธุ์



นกเพนกวินฮัมโบลด์เป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง ส่งเสียงดังเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร เวลาทักทายกันจะใช้ปากหรือคอถูกัน
ในฤดูผสมพันธุ์นกชนิดนี้จะอยู่กันเป็นฝูงเล็ก ๆ อยู่ตามน้ำหรือขุดโพรงอยู่ตามพุ่มหญ้าสูงในป่าใกล้กับชายฝั่งทะเล
วางไข่ ฟักไข่ ปีละ 1 ครั้งในฤดูใบไม้ผลิ สร้างรังด้วยก้อนหิน กิ่งไม้ ใบหญ้า วางไข่ครั้งละ 1 - 3 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 39 วัน โดยตัวผู้เป็นผู้ฟักไข่


สถานที่ชม
สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา

ฮิปโปโปเตมัส Hippopotamus

ฮิปโปโปเตมัส




ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hippopotamus amphibus

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับใหญ่ Cetartiodactyla
อันดับ Artiodactyla
วงศ์ Hippopotamidae

สกุล Hippopotamus
สปีชีส์ H. amphibius


ลักษณะทั่วไป
เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างกลมใหญ่เทอะทะและมีปากกว้างมาก เขี้ยวล่างยาวโค้งเป็นอาวุธสำคัญประจำตัว หนังหนามีต่อมเมือก ลำตัวไม่มีขน จะมีขนเฉพาะรอบปาก และใกล้กับปลายหาง ผิวหนังมีเหงื่อเป็นเมือกสีแดงอ่อนคล้ายเลือด


ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในทวีปแอฟริกา อูกันดา ซูลูแลนด์ตอนเหนือ ทรานสวาลล์ เคนยา เซเนกัล
ฮิปโปโปเตมัสกินหญ้า พืชน้ำ ใบไม้ ลูกไม้ และพืชผลต่างๆ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ปกติชอบอยู่ในน้ำในตอนกลางวันและขึ้นบกมาหากินตอนกลางคืน ทนต่อความหนาวได้ดี ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งหรือน้ำไหลเอื่อย ๆ ปกติไม่ดุ แต่ในช่วงผสมพันธุ์ตัวผู้จะต่อสู้กันอย่างดุร้าย จะดุเวลาตกใจหรือได้รับบาดเจ็บ และแม่ลูกอ่อนจะดุมาก ดำน้ำเก่ง สามารถเดินท่องอยู่ใต้น้ำได้
ฮิปโปโปเตมัสมีระยะตั้งท้องนาน 227 - 240 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกดูดนมในน้ำและจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 4 - 8 เดือน มีอายุยืน 40 - 45 ปี
สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา




จากเวป www.moohin.com

จิงโจ้

จิงโจ้




อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
ชั้นย่อย Marsupialia

อันดับ Diprotodontia
อันดับย่อย Macropodiformes
วงศ์ Macropodidae

สกุล Macropus
in part


จิงโจ้ (Kangaroo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง (macropod) (สัตว์อื่นๆ ได้แก่ วอลลาบี จิงโจ้ต้นไม้ วอลลารู เป็นต้น ทั้งหมด 63 ชนิดด้วยกัน) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นออสเตรเลีย

โครงกระดูกของ สิงโตจิงโจ้ขนาดยักษ์ (Marsupial lion) หรือ ลูกครึ่งวอมแบ็ทกับจิงโจ้ ถูกค้นพบในโพรงถ้ำของเขตที่ราบ Nullarbor ในเซ็ลทรัลออสเตรเลียทางตอนใต้ ที่ซึ่งเต็มไปด้วยโครงกระดูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และนกจำนวน 69 สปีชีส์ โครงกระดูกของสัตว์บางตัวยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีชิ้นส่วนสูญหาย

Marsupial หมายถึง สัตว์จำพ
วกจิงโจ้ของออสเตรเลีย ที่มีกระเป๋าหน้าท้องไว้สำหรับใส่ลูก ซึ่งได้แก่ จิ้งโจทุกสปีชีส์ และหมีโคอะล่า แต่ Marsupial lion นี้เป็นสัตว์จำพวกจิงโจ้ที่ไม่เคยมีการค้นพบและจดบันทึกมาก่อน


โพรงถ้ำลึกลับนี้ถูกค้นพบโดยนักเดินถ้ำในปี 2002 แต่ด้วยขนาดและความลึก 20 – 70 เมตรใต้ทะเลทรายนั้นได้เพิ่มความลำบากให้ทีมนักโบราณคดีจากพิพิธภัณฑ์ Western Australia Museum ที่นำโดย Gavin Prideaux ใช้เวลาถึง 4 ปีในการรวบรวมและวิเคราะห์โครงกระดูกนั้น

ทีมนักโบราณคดีวิเคราะห์ว่า สัตว์เหล่านั้นน่าจะตกลงมาในโพรงถ้ำนี้ในระหว่าง 800,000– 200,000 ปีที่แล้ว ทีมงานได้ทำการวิเคราะห์ธาตุออกวิเจนและธาตุคาร์บอนในผิวฟันของพวกสัตว์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นกับฟันของฟอสซิลสัตว์ตระกูลจิงโจ้ที่พบในปัจจุบันจำนวน 13 สปีชีส์ รวมถึง วอมแบ็ทยักษ์ (Giant wombat) เพื่อดูว่าพวกมันกินอะไรเป็นอาหารเมื่อครั้งที่มันยังมีชีวิตอยู่ พบว่ามีความใกล้เคียงกันกับจิงโจ้และวอมแบ็ทที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ในเขตที่ราบ Nullarbor ที่แห้งแล้ง แสดงให้เห็นว่า สัตว์ก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้อาศัยอยู่ในสภาพภูมิอากาศอันแห้งแล้ง (arid climate) นี้มาก่อน

จากโครงกระดูกพบว่ามีสัตว์เฉพาะจำพวกจิงโจ้ถึง 23 สปีชีส์ รวมถึงจิงโจ้ชนิดที่ปีนต้นไม้ได้ แสดงให้เห็นว่าแม้เขต Nullarbor ในอดีตจะเคยแห้งแล้ง แต่ก็ยังมีความหลากหลายของพืชพันธุ์ที่เป็นอาหารให้กับสรรพสัตว์มากกว่าในปัจจุบัน

Gavin คาดว่า Marsupial lion น่าจะตายลงในช่วง 40,000 ปีที่แล้วอาจจะมาจากความขาดแคลนอาหารในช่วงยุคน้ำแข็ง และอาจมาจากมนุษย์ไม่โดยการล่าก็การทำลายถิ่นที่อยู่ของพวกมัน

ยีราฟ

ยีราฟ







ชื่อวิทยาศาสตร์ Giraffa camelopardalis ลินเนอัส, ค.ศ. 1758

สถานะอนุรักษ์ : ความเสี่ยงต่ำ (lc)

อาณาจักร สัตว์ (Animalia)
ไฟลัม สัตว์มีแกนสันหลัง (Chordata)
ชั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammalia)

อันดับ Artiodactyla
วงศ์ Giraffidae

สกุล ยีราฟ (Giraffa)
สปีชีส์ G. camelopardalis

ลักษณะทั่วไป
เป็นสัตว์บกที่สูงที่สุด มีคอยาวมาก ตัวผู้มีส่วนสูงประมาณ 18 ฟุต น้ำหนักประมาณ 1,100 - 1,932 กิโลกรัม ตัวเมียมีส่วนสูงประมาณ 17 ฟุต น้ำหนักประมาณ 700 - 1,182 กิโลกรัม มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา เขามีขนปกคลุมอยู่ หนังมีขนสั้นสีน้ำตาล มีลายขาวแปลกตา ปากและลิ้นยาว ใช้ริมฝีปาก และลิ้นม้วนวนจับใบไม้ได้ มีเต้านม 4 เต้า สามารถส่งเสียงร้องได้


ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา แถบทุ่งหญ้าสะวันนา ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ตั้งแต่ไนจีเรียไปจนจรดแม่น้ำออเรนจ์
ยีราฟไม่ชอบกินหญ้ามากนัก ชอบกินใบไม้มากกว่า

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งกว้างรวมกันเป็นฝูง และหากินร่วมกับสัตว์อื่นพวกม้าลาย นกกระจอกเทศ และพวกแอนติโลป โดยยีราฟจะคอยระวังภัยให้ ตัวผู้มีการต่อสู้กันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ศัตรูสำคัญของยีราฟคือเสือดาวและสิงโต ซึ่งยีราฟป้องกันตัวโดยใช้หัวเหวี่ยงและใช้เท้าเตะ
ยีราฟเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุราว 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420 - 468 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกหย่านมเมื่ออายุ 10 เดือน เป็นสัดทุก 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่นาน 24 ชั่วโมง และมีอายุยืนประมาณ 20-30 ปี

ปลาฉลามหัวค้อน Hammerhead shark

ปลาฉลามหัวค้อน




อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ไฟลัมย่อย Vertebrata
ชั้น Chondrichthyes
ชั้นย่อย Elasmobranchii

อันดับใหญ่ Selachimorpha
ในบรรดาปลาฉลามที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 350 ชนิดนี้ ปลาฉลามหัวค้อนหรืออ้ายแบ้ (Hammerhead sharks) นับเป็นปลา- ฉลามที่มีรูปร่างแปลกสะดุดตามากกว่าชนิดอื่นๆ ส่วนหัวที่แบนและยื่น ยาวออกเป็นก้านคล้ายปีกสองข้างหัว จึงดูคล้ายหัวค้อนที่ใช้ตอกตะปู ตา แยกห่างออกจากกันอยู่ตรงปลายสุดของปีกที่ยื่นยาวออกไป ปลาฉลาม หัวค้อนจัดอยู่ในวงศ์ Sphyrnidae มีจำนวนทั้งสิ้น 9 ชนิด จัดอยู่ใน 2 สกุล คือสกุล Eusphyra 1 ชนิด และที่เหลืออีก 8 ชนิดอยู่ในสกุล Sphyrna ชนิดที่ พบในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่ ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Eusphyra blochii) และปลาฉลามหัวค้อนสั้น (Sphyrna tudes) ส่วนชนิดอื่นๆ ที่น่าจะพบใน น่านน้ำไทยในอนาคต เช่น ปลาฉลามหัวค้อนหยัก (Sphyrna lewini) และ ปลาฉลามหัวค้อนยักษ์ (Sphyrna mokarran)

ปลาฉลามหัวค้อนแบ่งออกตามขนาดลำตัวได้เป็นชนิดเล็ก 5 ชนิด มี ขนาดลำตัวยาวไม่เกิน 1.5 เมตร และชนิดใหญ่อีก 4 ชนิด มีขนาดลำตัวยาว 3.5 เมตร หรืออาจยาวกว่า 5 เมตร ลำตัวด้านหลังมีสีขาวบรอนซ์ สี เทาอมน้ำตาล จนถึงสีคล้ำเกือบดำ ใต้ท้องสีจางกว่า อาศัยอยู่ในทะเลเขต ร้อนและทะเลเขตอบอุ่นที่อุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 21 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ บริเวณชายฝั่งทวีปและเกาะลงไปจนถึงระดับน้ำลึกถึง 275 เมตร ส่วนใหญ่ ชอบอยู่นอกแนวปะการังในน้ำลึกหรือในมหาสมุทร มีนิสัยชอบว่ายน้ำ ไปมาอยู่เกือบตลอดเวลา วันหนึ่งๆ ว่ายน้ำได้ไกล อาหารได้แก่ ปลากระดูก- แข็ง ปลาฉลาม ปลากระเบน หมึกทะเล ปู กุ้ง ฯลฯ บางชนิดชอบกินหมึก ทะเลมากเป็นพิเศษ

ส่วนหัวที่มีลักษณะแบนราบและแผ่ออกคล้ายปีกทั้งสองข้าง ช่วย ทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นทางด้านหน้า ช่วยให้พุ่งตัวขึ้นตามแนวตั้งได้รวดเร็ว ยังใช้รับความรู้สึกบางอย่างและยังช่วยลดแรงต้านของน้ำให้เหลือน้อย ที่สุดในเวลาเอี้ยวหัวไปมา จึงสะดวกในการไล่งับเหยื่อที่ว่องไวได้ดี

ปลาฉลามหัวค้อนทุกชนิดออกลูกเป็นตัว มีลูกครอกละ 4-37 ตัว การ ผสมพันธุ์เกิดก่อนไข่ตกในรังไข่ประมาณ 2 เดือน ตัวเมียเก็บน้ำเชื้อไว้ใน ต่อมสร้างเปลือกไข่ ไข่เจริญมาจากรังไข่ข้างขวาที่จะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ลูกอ่อนในมดลูกได้รับออกซิเจนและอาหารจากถุงไข่แดงและจากพู่เหงือก ซึ่งจะหดหายไปเมื่อโตขึ้นมา

ในบรรดาปลาฉลามหัวค้อน 9 ชนิด มีเพียง 3 ชนิดที่พบว่า มีอันตราย ต่อมนุษย์ ได้แก่ ปลาฉลามหัวค้อนหยัก ปลาฉลามหัวค้อนยักษ์และปลา ฉลามหัวค้อนดำ (Sphyrna zygaena) เพราะมีลำตัวขนาดใหญ่และมีนิสัย ชอบเข้าทำร้ายมนุษย์ทั้งเมื่อถูกรบกวนและไม่ถูกรบกวน

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาว



ชื่อวิทยาศาสตร์ Carcharodon carcharias (Linnaeus, ค.ศ. 1758)
โดเมน Eukarya
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Chondrichthyes
ชั้นย่อย Elasmobranchii

อันดับ Lamniformes
วงศ์ Lamnidae

สกุล Carcharodon
Smith, ค.ศ. 1838
สปีชีส์ C. carcharias
สถานะอนุรักษ์ : เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์


ปลาฉลามขาว (Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังเหลืออยู่

วิวัฒนาการ


ปลาฉลามขาวมีความสามารถคล้ายกับปลาฉลามสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีอวัยวะรับสัมผัสพิเศษ ที่สามารถตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากปลาที่มีชีวิต ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ ทุกครั้งที่สิ่งมีชีวิตเคลื่อนไหวอยู่ใต้ผิวน้ำ จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา และปลาฉลามขาวมีสัมผัสไวเป็นพิเศษ ที่สามารถตรวจจับได้แม้มีความแรงเพียง 1/1000,000,000 โวลท์ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับสามารถตรวจจับแสงแฟลชได้ในระยะ 1600 กิโลเมตร ปลาชนิดอื่นๆ ส่วนมากไม่มีพัฒนาการถึงระดับนี้ แต่มีความสามารถที่คล้ายๆ กันนี้ ที่ลายด้านข้างลำตัว

การที่ปลาฉลามขาวจะประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อ ที่มีความว่องไวสูงอย่างสิงโตทะเล สัตว์เลือดเย็น อย่างปลาฉลามขาวได้พัฒนา ระบบรักษาความร้อนภายในร่างกาย ให้สามารถรักษาอุณหภูมิให้สูงกว่าอุณหภูมิของน้ำภายนอกได้ โดยใช้ Rete mirabile ซึ่งเส้นใยเส้นเลือด ที่มีอยู่รอบตัวของปลาฉลามขาวนี้ จะรักษาความร้อนของเลือดแดงที่เย็นตัวลง ด้วยเลือดดำที่อุ่นกว่าจากการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อ ความสามารถนี้ทำให้ปลาฉลามขาวรักษาระดับอุณหภูมิในตัว สูงกว่าอุณหภูมิน้ำทะเลรอบตัวประมาณ 14ํC (เมื่อล่าในเขตหนาวจัด) โดยที่หัวใจและเหงือกยังคงอยู่ที่อุณหภูมิของระดับน้ำทะเล

ปลาฉลามขาวสามารถอดอาหารได้นานราว 1 สัปดาห์โดยที่ช่วงนั้นไม่ต้องกินอะไร อุณหภูมิของร่างกายส่วนใหญ่ สามารถลดต่ำลงจนเท่ากับอุณหภูมิของระดับน้ำทะเล อย่างไรก็ตาม ก็ยังจัดว่าปลาฉลามขาวป็นสัตว์เลือดเย็นอยู่ดี เพราะว่าอุณหภูมิของร่างกายไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ

ขนาด





ปลาฉลามขาวตัวเต็มวัย จะมีขนาดประมาณ 4-4.8 เมตร หนักประมาณ 880-1100 กิโลกรัม ตัวเมียมักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ยังเป็นที่สงสัยอยู่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้พยายามรวบรวมข้อมูลเท่าทีมี แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ทุกวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ขนาดตัวปกติของปลาฉลามขาวที่โตเต็มที่ จะอยู่ราวๆ 6 เมตร หนักประมาณ 1900 กิโลกรัม ในช่วง 10 ปีนี้ กินเนสบุ๊ค ออฟ เวิลด์เรคคอร์ด (Guinness Book of World Records) ได้บันทึกปลาฉลามขาวที่ตัวใหญ่ที่สุดไว้ได้ 2 ตัวซึ่งตัวหนึ่งยาว 11 เมตรจับได้ที่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย ใกล้กับพอท แฟร์รี่ (Port Fairy) ในปี 1870 และอีกตัวหนึ่ง ยาว 11.3 เมตร ติดอวนชาวประมงที่เมือง New Brunswick ประเทศแคนาดา ในปี 1930

จากข้อมูลนี้เอง จึงนำมาประเมินขนาดมาตรฐานของ ปลาฉลามขาวปกติที่โตเต็มวัย นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ตั้งคำถาม เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในการวัทั้งสองครั้งนั้น ซึ่งไม่มีบันทึกใด มีขนาดที่ใกล้เคียงกับ 2 กรณีที่พบนี้เลย ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จึงมีข้อสงสัยที่ว่า การบันทึกที่เมือง New Brunswick อาจเป็นการบันทึกที่มีการเข้าใจผิดในสายพันธุ์ ซึ่งสงสัยว่าน่าจะเป็นปลาฉลามสายพันธุ์อื่น (Basking shark) มากกว่า และทั้งสองตัวที่ถูกบันทึกก่อนหน้านี้ ก็มีขนาดที่ใกล้เคียงกัน ข้อสงสัยนี้ด้รับการพิสูจน์โดย เจ.อี. โรนัลด์ (J.E. Reynolds) การประเมินขนาดด้วยกราม ซึ่งหลักฐานที่เหลือจากค้นพบครั้งนั้นคือ กระดูกกรามที่เก็บรักษาไว้ ซึ่งผลการประเมินคาดว่าขนาดของฉลามที่พบใน พอท เฟอร์รี่ น่าจะยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งสัณนิษฐานว่าจะมีการบันทึกขนาดผิดพลาด ในบันทึกต้นฉบับ

พฤติกรรมการล่า





ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์กินเนื้อ เหยื่อที่มันเลือกจะล่ามีปลา (รวมทั้งปลากระเบนและฉลามที่ตัวเล็กกว่า) ปลาโลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล เต่าทะเล และเต่าตะหนุ ทั้งยังมีชื่อในเรื่องกินไม่เลือก แม้กระทั่งของที่กินไม่ได้ ปลาฉลามขาวที่ยาวประมาณ 3.4 เมตร จะเลือกเหยื่อที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม ปีเตอร์ คลิมลี (Peter Klimley) ได้ทำการทดสอบโดยใช้เหยื่อเป็นซากแมวน้ำ หมูและแกะ ผลปรากฏว่าฉลามจู่โจมทุกครั้ง แต่กลับปฏิเสธซากเหยื่อที่ทั้ง 3 ชนิดที่ให้พลังงานน้อยกว่า ยังมีข้อถกเถียงวว่าระหว่างปลาฉลามขาวกับวาฬเพชรฆาต ว่าตัวไหนจู่โจมมนุษย์มากกว่ากัน

ปลาฉลามขาวจะใช้สัมผัสพิเศษในการหาตำแหน่งเหยื่อจากระยะไกล และใช้สัมผัสในด้านการดมกลิ่น และการฟังเพื่อยืนยันตำแหน่งอีกที ในระยะประชิดฉลามจะใช้สายตาเป็นหลัก ปลาฉลามขาวมีชื่อเสียงในเรื่องเป็นนักล่าที่โหดร้าย เป็นเครื่องจักรสังหาร และมีเทคนิคในการซุ่มโจมตี โดยจู่โจมเหยื่อจากด้านล่าง จากการศึกษาพฤติกรรมพบว่า ปลาฉลามขาวจะจู่โจมบ่อยครั้งในช่วงตอนเช้า ภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามีการพบเห็นปลาฉลามขาวน้อยลง หลังจากผ่านช่วงเวลานั้นไป อัตราความสำเร็จในการล่าช่วงเช้าอยู่ที่ 55% ในช่วง 2 ชั่วโมงแรก แล้วตกลงเหลือ 40% ในช่วงต่อมา หลังจากพ้นช่วงเช้าไปแล้วก็จะหยุดล่า

เทคนิคการล่าของปลาฉลามขาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของเหยื่อ ในการล่าแมวน้ำปลาฉลามขาวจะจู่โจมแมวน้ำจากด้านล่างด้วยความเร็วสูง เล็งตรงกลางลำตัว ซึ่งความเร็วในการจู่โจมจะสูง จนกระทั่งฉลามกระโจนขึ้นเหนือผิวน้ำได้ และยังจะตามล่าต่อหลังจากที่จู่โจมครั้งแรกพลาดเป้าอีกด้วย สำหรับแมวน้ำบางชนิดปลาฉลามขาวจะใช้วิธีลากลงมาใต้น้ำ จนกระทั่งแมวน้ำหมดแรงดิ้น สำหรับสิงโตทะเลจะใช้วิธีจู่โจมที่ลำตัว แลวค่อยๆ ลากมากิน ทั้งยังมีวิธีกัดส่วนสำคัญที่ใช้ในการเคลื่อนไหว แล้วรอให้เลือดไหลจนตายอีกด้วย ซึ่งวิธีนี้ใช้จู่โจมแมวน้ำบางชนิด ส่วนในการล่าโลมา ปลาฉลามขาวจะจู่โจมจากด้านบน หรือด้านล่างเพื่อหลบหลีกการตรวจจับด้วยโซนาร์ของโลมา

พฤติกรรมทั่วไป

พฤติกรรมและรูปแบบสังคมของปลาฉลามขาวยังไม่เป็นที่แน่ชัด จากการทดลองล่าสุดพบว่า ปลาฉลามขาวเป็นสัตว์สังคมมากกว่าที่เราคาด ที่แอฟริกาใต้ ปลาฉลามขาวจะเหมือนมีลำดับชั้นทางสังคม ขึ้นอยู่กับขนาด เพศ และตำแหน่งจ่าฝูง ตัวเมียจะมีอำนาจมากกว่า ตัวผู้ตัวใหญ่กว่าจะมีอำนาจมากกว่าตัวเล็กกว่า เจ้าถิ่นจะมีอำนาจมากกว่าผู้มาเยือน เมื่อมีการล่าจะสั่งการกันอย่างเป็นระบบ และเมื่อมีความขัดแย้งก็จะมีวิธีการ เพื่อหาทางออก แทนที่จะสู้กันถึงตาย ฉลามที่สู้กันเองพบเห็นน้อยมาก แต่บางครั้งก็พบฉลามตัว ที่มีรอยกัดซึ่งเป็นขนาดรอยฟันฉลามตัวอื่น ทำให้สัณนิษฐานได้ว่าปลาฉลามขาวเป็นสัตว์ที่หวงแหนอานาเขต เมื่อมีผู้รุกราน ก็จะทำการเตือนด้วยการกัดเบาๆ เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของอานาเขต

ปลาฉลามขาวเป็นฉลามไม่กี่สายพันธุ์ ที่พบว่าสามารถโผล่หัวขึ้นมาเหนือน้ำและมองหาเหยื่อได้ และยังสามารถกระโจนขึ้นเหนือน้ำได้ (spy-hopping) มีข้อสงสัยว่าพฤติกรรมนี้ อาจเป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้มาจากมนุษย์ เพราะว่าฉลามมีประสาทรับรู้กลิ่นที่ไวมาก เมื่อปลาฉลามขาวพบกับนักท่องเที่ยวที่มีกลิ่นตัวแรง มันก็มีความอยากรู้อยากเห็น และแสดงความฉลาดของมันออกมา เมื่อสถานการณ์อำนวย

ฉลามขาวมีจมูกที่ไวต่อกลิ่นเลือดเป็นอย่างมาก เพราะฉลามขาวสามารถได้กลิ่นเลือดเพียง1หยดที่อยู่ไกลออกไปถึง 3 กิโลเมตร

ปลาฉลามขาวกับมนุษย์

เรื่องของปลาฉลามขาวจู่โจมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันมากผ่านทางภาพยนตร์ อย่างเช่นเรื่อง จอร์ (Jaws) ผลงานของสตีเว่น สปิวเบอร์ก (Steven Spielberg) แสดงให้เห็นถึงภาพฉลามที่โหดร้าย กินคน และเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับมนุษย์ ให้ฝังในใจของผู้ชม ซึ่งอันที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เหยื่อของฉลามตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีรายงานยืนยันฉลามจู่โจมมนุษย์เพียง 31 รายในรอบ 200 ปี และเป็นส่วนน้อยที่เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตจะเป็นกรณีที่ฉลามลองกัดดูมากกว่า เพราะอยากรู้อยากเห็น ปลาฉลามขาวยังลองกัดพวกสิ่งของอื่นๆ เช่น ทุ่นลอยน้ำ และของที่มันไม่คุนเคยอื่นๆ และบางครั้งก็จะใช้เพียงริมฝีปากกัดโดนนักเล่นเซิร์ฟ เพราะอยากรู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่

ในกรณีอื่นๆ อาจเกิดขึ้นมาจากความเข้าใจผิด ที่จู่โจมนักเล่นเซิร์ฟจากด้านล่างเพราะเห็นเพียงเงา ดูแล้วคล้ายกับแมวน้ำ หลายกรณีเกิดขึ้นในช่วงที่ทัศนะวิสัย ไม่เอื่ออำนวยกับการมองเห็น และในกรณีที่ประสาทสัมผัสด้านอื่นมีประสิทธิภาพลดลง หรืออาจเป็นเพราะว่า สายพันธุ์ของปลาฉลามขาวไม่ค่อยถูกปากกับรสชาติของมนุษย์ หรือรสชาติไม่ค่อยคุ้นเคย

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์มีทฤษฎีที่ว่า ทำไมอัตราการจู่โจมมนุษย์ที่ร้ายแรงถึงต่ำ มันไม่ใช่เพราะว่าปลาฉลามขาวไม่ชอบเนื้อมนุษย์ แต่เป็นเพราะมนุษย์สามารถหนีขึ้นจากน้ำได้ หลังจากถูกจู่โจมครั้งแรก ในปี 1980 มีรายงานของ จอห์น แม็คคอสเกอร์ (John McCosker) บันทึกไว้ว่า นักดำน้ำที่ดำเดี่ยวคนหนึ่ง ถูกปลาฉลามขาวจู่โจมจนสูญเสียอวัยวะบางส่วนไป แต่ยังว่ายน้ำหนีมาจนได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ให้ขึ้นมาจากน้ำได้ ก่อนที่จะถูกปลาฉลามขาวเผด็จศึก จึงสัณนิษฐานได้ว่ารูปแบบการจู่โจมของปลาฉลามขาว คือ จู่โจมสร้างบาดแผลสาหัสก่อนในครั้งแรก แล้วรอให้เหยื่อหมดแรงหรือเสียเลือดจนตาย แล้วค่อยเข้าไปกิน แต่มนุษย์สามารถขึ้นจากน้ำได้ (อาจหนีขึ้นเรือ) ด้วยความช่วยเหลือของคนอื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่คุ้นเคยสำหรับเหยื่อของปลาฉลามขาว ทำให้การจู่โจมครั้งนั้นล้มเหลวไป

อีกสัณนิษฐานหนึ่งก็คือ มนุษย์ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากพอสำหรับปลาฉลามขาว เพราะว่าปลาฉลามขาวมีระบบการย่อยที่ค่อยข้างช้า และร่างกายของมนุษย์มีกระดูก กล้ามเนื้อและไขมันมากเกินไป ส่วนใหญ่ปลาฉลามขาวจะเป็นฝ่ายหมดความสนใจ มนุษย์ที่ถูกโจมตีครั้งแรกก่อนเอง และเหตุที่มนุษย์สียชีวิต ก็เพราะสูญเสียเลือดมากเกินไปจากการสูญเสียอวัยวะบางส่วน มากกว่าที่จะเป็นการสูญเสียอวัยวะสำคัญ หรือถูกกินทั้งตัว

นักชีววิทยาบางคนให้ความเห็นว่า จำนวนผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากถูกปลาฉลามขาวจู่โจมในรอบ 100 ปี มีน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่ถูกสุนัขกัดเสียอีก แต่ความเห็นนี้ยังไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะว่ามนุษย์มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสุนัขมากกว่าปลาฉลามขาว จึงมีโอกาสมากกว่าเมื่อเทียบกับฉลาม มนุษย์ได้มีความพยายามที่จะประดิษฐ์ชุดป้องกันฉลาม แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการป้องกันปลาฉลามขาว คือ อิเล็กทรอนิค บีคอน (electronic beacon) ซึ่งนักประดาน้ำและนักเล่นเซิร์ฟจะใช้กัน โดยมันจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปรบกวนสัมผัสพิเศษของปลาฉลามขาว
จากเวป วิกิพีเดีย

ปลาวาฬสีน้ำเงิน

ปลาวาฬสีน้ำเงิน





ถึงแม้ว่าช้างจะเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกก็ตาม แต่ช้างก็ยังมีขนาดตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับปลาวาฬ เพราะสถิติปลาวาฬพันธุ์ Balaenoptera ที่มีลำตัวยาวที่สุดในโลกนั้น ยาวถึง 34 เมตร และหนัก 190 ตัน ซึ่งคิดเทียบได้กับช้าง 10 ตัว แม้แต่ไดโนเสาร์เองซึ่งคนบางคนคิดว่าใหญ่กว่าปลาวาฬก็ยังหาได้ใหญ่เท่าไม่ ทั้งนี้เพราะความยาวของไดโนเสาร์ส่วนใหญ่อยู่ที่คอและหาง ส่วนที่เป็นลำตัวจริงๆ จึงยาวน้อยกว่าปลาวาฬ

มนุษย์รู้จักปลาวาฬมานานแสนนานแล้ว Aristotle นักปราชญ์ชาติกรีกในสมัยพุทธกาลได้เคยหลงผิดคิดว่าปลาวาฬเป็นปลา และความหลงผิดนี้ได้ติดตามมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2236 John Ray นักชีววิทยาชาวอังกฤษก็ได้เป็นบุคคลแรกที่ตระหนักความจริงว่าปลาวาฬมิใช่ปลาแต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะมันออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกอ่อนของมันด้วยนมตามปกติปลาวาฬจะตั้งครรภ์นาน 1 ปี และเวลาคลอดลูกส่วนหางของลูกจะโผล่ออกมาก่อนลูกปลาวาฬสีน้ำเงิน (blue whale) ที่คลอดใหม่ๆ มีลำตัวยาวประมาณ 6 เมตร และหนักประมาณ 2 ตัน และเนื่องจากนมปลาวาฬมีโปรตีนและไขมันสูง ลูกปลาวาฬจึงเจริญเติบโตเร็ว นักชีววิทยายังได้สังเกตเห็นอีกว่า หากเราเจาะครรภ์ปลาวาฬก่อนคลอดลูก เราจะพบว่าลูกปลาวาฬในท้องมีขนตามตัว แต่ขนเหล่านี้ได้หลุดจากร่างของตัวอ่อนไปก่อนที่มันจะถูกคลอดออกมา

เมื่อดูเผินๆ ปลาวาฬมีลำตัวที่ดูคล้ายตอร์ปิโดหรือในทางตรงกันข้าม ตอร์ปิโดก็ดูคล้ายปลาวาฬ มันมีศรีษะใหญ่ ไม่มีคอ ตาของมันมีขนาดเล็ก รูจมูกของมันอยู่บนหลัง มันหายใจได้เช่นคนโดยผ่านรูจมูก 2 รู ตามธรรมดาปลาวาฬชอบกินสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลาหมึก แมวน้ำ และปลาต่างๆ เป็นอาหาร เวลาว่ายน้ำมันใช้หางโบกขึ้นลงๆ ทำให้ว่ายน้ำได้เร็ว โดยเฉาะปลาวาฬพิฆาต (Orcunus orca) นั้นสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 56 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนความสามารถด้านการดำน้ำลึกนั้น นักชีววิทยาได้สังเกตเห็นว่า ปลาวาฬสีน้ำเงิน (Physeter catadon) ดำน้ำได้ลึกถึง 3 กิโลเมตร การดำน้ำได้ลึกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าปลาวาฬสามารถกลั้นลมปราณได้นานเป็นชั่วโมงและออกซิเจนมิได้อยู่ที่ปอดของมันเพียงแห่งเดียวแต่อยู่ในส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อด้วย การมีออกซิเจนในตัวมากเช่นนี้ ทำให้เนื้อปลาวาฬมีสีแดงเข้มจัดกว่าเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ

การสังเกตของ A.R. Martin แห่ง Sea Mammal Research Unit ของ Natural Environment Research Council ในประเทศอังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รายงานว่าหลังจากได้ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับส่งสัญญาณบนหลังปลาวาฬแล้วเขาใช้ดาวเทียมรับและวิเคราะห์สัญญาณจากปลาวาฬ ผลการศึกษาข้อมูลทำให้เขารู้ว่า ปลาวาฬตัวผู้เวลาอพยพจากทะเล Beaufort ไปยังเกาะ Melville มันต้องว่ายน้ำผ่านทวีปที่มีน้ำแข็งปกคลุม เมื่อมันว่ายเหนือน้ำไม่ได้ มันก็ต้องดำน้ำไป โดยการลอดใต้ก้อนน้ำแข็งมากมาย และในการดำน้ำ มันจะดำในแนวเฉียงลึกลงไปเป็นกิโลเมตรแล้วจึงหวนกลับ ขึ้นผิวน้ำเพื่อหายใจอีก มันจะดำน้ำลักษณะตัว V เช่นนี้เพราะที่ระดับลึกมากๆ ปลาวาฬมีโอกาสเห็นช่องว่างระหว่างภูเขาน้ำแข็งในทะเลได้ง่าย ซึ่งบริเวณช่องว่างนี้จะเป็นบริเวณที่มันสามารถโผล่หัวขึ้นมาหายใจได้ หากมันต้องการ



นอกจากความสามารถในการดำน้ำแล้ว ปลาวาฬยังสามารถส่งเสียง และทำเสียงสัญญาณต่างๆ ได้อีกมากด้วยและนับตั้งแต่วินาทีที่มันถูกคลอดออกจากท้องของแม่มัน จนกระทั่งถึงวินาทีสุดท้ายก่อนที่มันจะตายมันจะส่งเสียงและรับเสียงต่างๆ ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน หรือในยามมันออกหาล่ามันก็จะส่งคลื่นเสียงออกไปกระทบตัวเหยื่อก่อน จากนั้นมันจะคอยฟังคลื่นที่สะท้อนจากเหยื่อ ข้อมูลที่ได้จะบอกมันให้รู้ชนิดและตำแหน่งของเหยื่อ และถึงแม้ปลาวาฬจะไม่มีคอและไม่มีสายเสียงก็ตาม แต่มันก็สามารถส่งเสียงร้องออกไปได้ไกลๆ เสียงของปลาวาฬบางพันธุ์ ดังพอๆ กับเครื่องบินเจ็ต นักชีววิทยายังได้สังเกตเห็นอีกว่าเวลาปลาวาฬสนทนากัน มันจะส่งเสียงร้องลักษณะหนึ่งแต่เวลามันจะฆ่าเหยื่อมันจะร้องอื้ออึงอีกแบบหนึ่งหรือเวลาที่มันว่ายน้ำเป็นกลุ่ม มันจะส่งเสียงร้องที่มีทำนองต่างออกไป เพื่อบอกเพื่อนปลาร่วมทะเลให้รู้ทิศและตำแหน่งที่มันกำลังว่ายน้ำอยู่ปลาวาฬจะส่งเสียงร้องเป็นจังหวะ เช่น ปลาวาฬสีน้ำเงินเวลาอพยพย้ายถิ่น จะส่งเสียงร้องนาน 20 วินาที สลับกับการว่ายน้ำเงียบ 20 วินาที

ปัจจุบันนักอนุรักษ์ปลาวาฬใช้ข้อมูลเสียงของปลาวาฬในการบอกจำนวน ชนิดและกิจกรรมต่างๆ ที่ปลาวาฬกระทำ เพราะข้อมูลเสียงนี้ชัดเจน แม่นยำ และถูกต้องยิ่งกว่าการสังเกตดูปลาวาฬด้วยตาจากระยะไกลๆ




ปัญหาหนึ่ง ที่นักชีววิทยาสนใจมาก คือบรรพบุรุษของปลาวาฬคือสัตว์อะไร ในช่วงระยะเวลา 150 ปีที่ผ่านมานี้ นักชีววิทยาที่เชี่ยวชาญด้านสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้ขุดพบหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในอดีตเมื่อ 65 - 75 ล้านปีมาแล้วบรรพสัตว์ของปลาวาฬได้เคยอาศัยอยู่บนบกและเคยเดินได้ หลักฐานหนึ่งที่พบในหุบเขา Zeuglodon ในประเทศ อียิปต์ แสดงให้เห็นซากกะโหลกปลาวาฬที่มีฟันเป็นซี่ๆ มีลำตัวยาว 12 เมตรและมีกระดูกขาหลังที่เล็กมากซึ่งอยู่ค่อนไปทางหางกระดูกขาที่เล็กมาของปลาวาฬพันธุ์ Basilosaususisis ที่มีอายุประมาณ 40 ล้านปีนี้ แสดงให้เห็นว่าปลาวาฬยุคนั้นยังเดินไม่ได้

แต่ในปี พ.ศ. 2535 นั่นเอง H.Thewissen แห่งมหาวิทยาลัย Ohio ได้รายงานในวารสาร Science ว่าเขาได้ขุดพบกระดูกของปลาวาฬ Ambulocetusnatans อายุ 52 ล้านปี ในบริเวณภูเขา Kala Chitta ทางตอนเหนือของประเทศปากีสถานโครงกระดูกที่ค่อนข้างสมบูรณ์นี้ประกอบด้วยกะโหลกที่มีฟัน ซี่โครงกระดูกขา 4 ขา หน้า หลัง และหาง Thewissen คาดคะเนว่าปลาวาฬเจ้าของซากกระดูกนี้มีลำตัวยาว 3 เมตร และหนักประมาณ 300 กิโลกรัม กระดูกขาหน้าที่สั้นและอยู่ติดกับลำตัวนั้น แสดงให้เห็นว่ามันใช้ขาหน้าในการเคลื่อนที่บนบก โดยการขยับตัวยกอกแล้วลากท้องไปตามพื้นดินเหมือนสิงโตทะเลส่วนขาหลังนั้นหดเล็ก และยาวเพียง 4 นิ้วเท่านั้นเอง การมีโครงสร้างร่างกายเช่นนี้ ทำให้มันเป็นสัตว์บกที่งุ่มง่ามมาก การหาอาหารเลี้ยงปากท้องจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่เมื่อมันอยู่ในน้ำ มันได้พบว่ามันสามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว อาหารที่มันบริโภคจึงมักเป็นอาหารที่มันหาได้ในทะเล ดังนั้น ต้นตระกูลของปลาวาฬจึงได้ตัดสินใจอพยพจากบกลงทะเลอย่างถาวร เมื่อ 50 ล้านปีมานี้เอง และดำรงชีวิตเป็นสัตว์น้ำอย่างไม่หวนกลับขึ้นบกอีกเลย ซึ่งพฤติกรรมนี้แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น แมวน้ำ และตัว walrus ที่เวลาจะคลอดลูก มันจะขึ้นจากทะเล

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า ในอดีตเมื่อ 1,000 ปีก่อนนี้ ชนเผ่า Basque ในยุโรปเป็นชนเผ่าแรกที่ดำรงชีวิตโดยการจับปลาวาฬมาเป็นอาหาร ต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวแคนาดา อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ก็ได้เริ่มเข้ามาประกอบอาชีพเป็นนักล่าปลาวาฬด้วย เรือ Mayflower ที่เคยใช้บรรทุกผู้โดยสารจากยุโรป สู่อเมริกาก็เคยเป็นเรือล่าปลาวาฬ และกิจกรรมล่าปลาวาฬได้มีการดำเนินการกันอย่างกว้างขวางและจริงจัง เพราะมนุษย์พบว่าแทบทุกส่วนของปลาวาฬมีประโยชน์ เช่น ไขใช้ทำสบู่ น้ำมันหล่อลื่น เชื้อเพลิงจุดตะเกียง เนื้อใช้บริโภคและกระดูกปลาวาฬใช้ทำเป็นปุ๋ย



ทุกวันนี้ปลาวาฬกำลังถูกไล่ล่าฆ่ามากมายปลาวาฬบางตัวได้รับเสียงรบกวนจากเรือ จากเครื่องยนต์ในทะเลหรือจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เมื่อมีการสำรวจพบในปี พ.ศ.2509 ว่า จำนวนประชากรปลาวาฬกำลังร่อยหรอคือเหลือเพียง 12,000 ตัว เท่านั้นเองปลาวาฬ ก็ได้รับการประกาศว่าเป็นสัตว์ที่โลกควรอนุรักษ์ตั้งแต่นั้นมา


ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 H. Caswell แห่ง Woods Hole Oceanographic Institution ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานการสำรวจปลาวาฬ right whale ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือว่า หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงปลาวาฬนี้จะสูญพันธุ์ ในอีก 200 ปีข้างหน้า เขาได้ข้อมูลนี้จากการเริ่มถ่ายภาพปลาวาฬพันธุ์ right whale ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 และได้คำนวณพบว่าอัตราการอยู่รอดของปลาวาฬพันธุ์นี้ได้ลดน้อยลงในทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2523 นั้น เขาได้พบว่า จำนวนประชากรของปลาวาฬได้เพิ่มขึ้น 5.3% แต่หลังจากนั้น จำนวนก็ได้ลดลง 2.4% ทุกปี และเขาได้พบสาเหตุสำคัญทำให้โลกต้องสูญเสียปลาวาฬมากที่สุดว่า เกิดจากการที่ปลาวาฬถูกเรือชน และเมื่ออัตราการเกิดลด เพราะปลาวาฬผสมพันธุ์กันในตระกูลเดียวกัน และมลภาวะของทะเลมีมากขึ้นทุกวัน จำนวนปลาวาฬจึงได้ลดลงทุกปี

Caswell ได้เสนอแนะให้รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฎหมายแก้ไขสาเหตุเหล่านี้ ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ ก็เห็นด้วย โดยได้ออกกฎหมายบังคับให้เรือทุกลำที่จะแล่นเข้าน่านน้ำ New England และ Florida ติดต่อยามฝั่งขอข้อมูลตำแหน่งปลาวาฬครั้งล่าสุดแล้วครับ



ข้อมูล โดย ดร.สุทัศน์ ยกส้าน สสวท.

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นกเขา

นกเขา



อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves

อันดับ Columbiformes
วงศ์ Columbidae


รูปร่างลักษณะ

ทั้งนกเขาตัวผู้และตัวเมียต่างก็มีลักษณะคล้ายกันคือตรงปลายปาก ม่านตาสีชมพูอ่อน ๆ แกมเหลืองจาง ๆ ปากสีดำ แข็ง และนิ้วเท้า
สีค่อนข้างแดง หัวสีเทาอ่อน อกสีม่วงแดง ข้างคอมีแถบสีดำลายเป็นจุดสีขาว ๆ ขนคลุมปีก สีเทาแกมน้ำตาลคล้ำ ๆ มีขอบสีน้ำตาลจาง ๆ และมีขนสีดำที่กลางขน จึงดูเป็นลายที่ปีก ขนหางเส้นบนสีเทาคล้ำ ๆ แกมน้ำตาล


อุปนิสัย

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งชายทุ่งนา เรือกสวน และบริเวณที่มีการเพาะปลูก ปกติตามทุ่งนาที่ราบต่ำชอบอยู่กันเป็นคู่ บางตัวก็อยู่
เดี่ยวจะขันคู่ในเวลาเช้าและเย็น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะเข้าอยู่รวมกัน หากินเป็นฝูงใหญ่

การเจริญพันธุ์

ผสมพันธุ์วางไข่ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ทำรังด้วยการใช้กิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานกันเป็นรังบนต้นไม้ ใหญ่สำหรับวางไข่ โดยวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง นกเขาใหญ่ที่คนไทยเรานิยมเลี้ยงกันมาแต่โบราณเพราะนกเขาใหญ่เป็นนกที่น่ารักและน่าเลี้ยง และมีการ
ขันที่ต่างไป จากนกชนิดอื่น ผู้ฟังจะรู้สึกเพลิดเพลินในเสียงดนตรีธรรมชาติของนกชนิดนี้และฟังไม่รู้จักเบื่อ นอกจากนี้สำหรับ นกที่เชื่อง
แล้วยังเป็นนกที่ฉลาดรู้จักจำเจ้าของช่างประจบ ต้องการให้ขันเมื่อใดก็ได้ ชึ่งนำเขานี้ก็มี 2 ประเภทคือ "นกดีและนกธรรมดา" นกดีนั้น
มีทั้งดีพิเศษและดีพอใช้ นกดีพิเศษนั้นหายากนาน ๆ จึงจะพบสักตัวหนึ่ง นกดีชั้น พิเศษนั้นจะต้องมีคารมดี และเสียงไพเราะน่าฟัง และ
ขยันขัน นกชนิดนี้นักเลี้ยงนกต่างก็อยากได้และรู้สึกรักยิ่ง ส่วน นกดีพอใช้นั้นพอหาได้ สำหรับนกชนิดธรรมดานั้นหาง่ายมีอยู่ทั่วไป



การเลี้ยงดู

เมื่อเอานกขังกรงเลี้ยงก็ต้องสังเกตุว่า นกที่เลี้ยงมีความเป็นอยู่เป็นปกติ สบายดีหรือไม่ หยุดดิ้น ไซร้ขน แต่งตัวหรือ เปล่า ถ้าเห็นว่า
นกนั้นนอน หรือไซร้ขนแต่งตัวไม่ดิ้นก็แสดงว่าเป็นที่พอใจและนกได้รับความสุขแล้ว อีกไม่กี่วันนกนั้นก็จะ ขันให้เราฟัง ตรงกันข้ามถ้า
นกนั้นอยู่ในกรงที่แขวนไว้ตรงนั้นมันดิ้นไม่หยุดหรือเดินหาช่องออก ก็พีงเข้าใจว่านกนั้นไม่ ได้รับความสุข ก็ให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ให้มันชอบ เช่นถ้ากรงเตี้ยก็ให้เปลี่ยนเป็นกรงสูง หรือย้ายที่แขวนให้ นอกจากนี้แล้วก็จะต้องระวังป้องกันอย่าให้มีศัตรูพวกนก หนู แมว ผ่านรบกวนในเวลากลางคืนด้วย เมื่อนกได้รับความ พอใจก็จะสังเกตุได้ว่านำนั้นจะไม่ดิ้น ไซร้ปีก ไซร้หางแต่งตัว มีกิริยาร่าเริง และก็จะ
ขัน ให้เราฟังในอีกไม่กี่วัน



การให้อาหาร

การให้อาหารควรให้กินอาหารตามความต้องการดังกล่าวคือ อาหารหลัก ในกรงนกอย่างน้อยควรจะมีอาหารอย่างน้อย 4 ถ้วยเป็น
อาหารประจำคือ น้ำ1ถ้วย , ข้าวเปลือกเมล็ดสั้น1ถ้วย , ทราย 1ถ้วย , (ทรายตามแม่น้ำลำคลอง ถ้าเป็นทรายชายทะเลยิ่งดีกว่าเพราะมี
แคลเซี่ยมมาก) และถ้วยดินปลวกดำอีก1ถ้วย
การให้ดินปลวกดำนี้ห้ามใส่ดินปลวกดำผสมทราย หรือเอาทรายผสมดินดำเป็นอันขาด เพราะนกย่อมรู้ตัวเอง ว่าควรจะกินทราย หรือ
ควรจะกินดินปลวกดำเพื่อเป็นประโยชน์ของตัวนกเองเพราะนกเก่าที่เลี้ยงนานมากแล้วย่อมรู้คุณ ประโยชน์ของอาหารโดยธรรมชาติ สำหรับนกใหม่แล้วควรใส่อาหารเสริมในถ้วยดินดำ โดยโรยไว้หน้าและคนเคล้าบ้าง เพื่อ บังคับให้กินดินปลวกดำบ้าง เพราะดินปลวกดำ
เป็นยา บังคับให้กินยาไปในตัวป้องกันป่วยไข้ช่วยระบายท้องอ่อน ๆ


อาหารเสริม

สำหรับอาหารเสริมที่ใช้เลี้ยงนกเขาก็มีหลายชนิดด้วยกันดังนี้

1.ข้าวฟ่างที่ยังไม่ได้เอาเปลือกออก จะเป็นสีเหลืองสีแดงหรือสีดำก็ได้
2.ดอกหญ้าปากควาย นกชอบกินแล้วยังเป็นยาระบายอ่อน ๆ อีกด้วย
3.งาดำนอกจากจะเป็นอาหารบำรุงร่างกายแล้วยังมีน้ำมันช่วยระบายท้องนกด้วย
4.เมล็ดผักเสี้ยนให้บางครั้งบางคราวทำให้นกขันเร็วขึ้น
5.ถั่วเขียวทุบละเอียดเป็นอาหารที่มีโปรตีนมาก ทำให้นกแข็งแรงถั่วเขียวจำเป็นอย่างยิ่งบางท่านว่าถ้าให้นกเขากินถั่วเขียว แล้วมัก
จะเป็นสิวไม่เป็นความจริง เพราะมีอาหารอื่น ๆ กินช่วยระบายถ้ายท้องอยู่แล้ว
6.ข้าวไรซ์นอกจากนกหงส์หยกและนกคีรีบูนจะชอบกินแล้วนกเขาก็ชอบมาก เหมือนกันและช่วยให้นกขันเร็วด้วย
7.ดอกหญ้าอื่น ๆ เช่นดอกเซ่ง ดอกหญ้าปล้อง ข้าวสมุทรโคดม ก็ให้นกกินได้ แต่อาจจะชอบหรือไม่ชอบแล้วแต่นกแต่ละตัว



แหล่งที่มา
http://www.petpub.150m.com/columbidae2.html

นกขุนทอง

นกขุนทอง





รูปร่างลักษณะ

เป็นนกขนาดปานกลางค่อนข้างใหญ่ ความยาวจากปลายปากจดหาง 25 -40 ซม. ปากสั้นกว่าหัว ปากหนา แบนข้าง และโค้งเล็กน้อย (พันธุ์ที่พบใน ประเทศไทยยาวประมาณ 33 ซม.) ลำตัวค่อนข้างอ้วน ป้อม หัวโต คอสั้น หางสั้น ปลายหางตัด ขนบริเวณกระหม่อมสั้นมาก นกที่โตเต็มวัย ขนคลุมลำตัวสีดำเป็นมันเหลือบ ออกม่วง ที่บริเวณท้ายทอย และ หลัง , หน้าอกสีเหลือบออกเขียว และ น้ำเงิน ปีกมีแถบสี
ขาวบริเวณขนปีกบินชั้นแรก ขนปีก บิน จำนวน 6 เส้น ขนปลายปีกเส้นนอกสุดเล็ก จะงอยปากสีส้มอมเหลือง ถึงสีออกแดง ด้านโคนจงอย
ปากเข้มกว่า ด้านปลายจะงอยปาก บริเวณหลังตามีแผ่นหนังสีเหลือง เรียกว่า เหนียง อยู่บริเวณใต้ตาถึงข้างคอและท้ายทอยยาวประมาณ 3 ซม. ขา และ เท้า สีส้มอมเหลือง นิ้วเท้ามี 4 นิ้ว ชี้ไปข้างหน้า 3 นิ้ว และด้านหลัง 1 นิ้ว แต่ละนิ้วมีกรงเล็บที่โค้งแข็ง นกทั้งสองเพศมีสี
คล้ายกัน แต่นกตัวเมีย ตัวโตกว่านกตัวผู้ นกที่ยังไม่โตเต็มวัย สีลำตัวจะออกสีตุ่นๆ และ ไม่ดำเป็นมัน เหมือนนกที่โตเต็มวัย บริเวณด้าน
ข้างของหัว หลังตาจะมีสีเหลืองอ่อนจางๆ ซึ่งบริเวณนี้ต่อไปจะพัฒนาเป็นเหนียง เหมือนนกที่ โตเต็มวัย นกวัยอ่อน ปากจะมีสีคล้ำกว่านก
ที่เต็มวัย



แหล่งอาศัยหากิน

ป่าดงดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ชายป่า ป่าโปร่ง และ พื้นที่โล่งใกล้ป่าดิบ แต่จะต้อง เป็นบริเวณที่มี ฝนตกชุกพอสมควร ปริมาณน้ำฝน
ที่ตกเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 180 มม. ต่อปี และ อุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 องศา เซลเซียส พบได้ตั้งแต่พื้น ที่ราบ ไปจนถึงความสูง 1,370 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ส่วนมากจะพบที่ความสูงเฉลี่ย 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มักชอบกินน้ำหวานจากดอกไม้ป่า เช่น ดอกทองหลางป่า ดอกงิ้วป่า และ สนอินเดีย โดยเกาะที่ก้านดอก และยื่นหัว และ จะงอยปาก เข้าไปดูดน้ำหวานกิน จึงมีละอองเกสรติดบริเวณกระหม่อม และ ไปติดในเกสรดอกตัวเมีย จึงมีส่วน ในการช่วยผสมเกสรของดอกไม้
บางชนิดด้วย นอกจากนั้นยังชอบกินผลไม้สุก เช่น โพ ไทร ไกร กร่าง หว้า กล้วย มะละกอ ถ้าผลไม้มีขนาดเล็กไม่เกิน 2 ซม. มันจะกลืน
เข้าไปทั้งผล เมล็ดผลไม้ที่แข็งจะไม่ถูกย่อย และ จะถ่ายออกมาภายใน 1 ชั่วโมง สำหรับเมล็ดไม้บางชนิดที่มีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น เมล็ด
จำปาป่า มันจะกินโดยใช้ปากขบให้เปลือกแตกก่อน นอกจากนี้ มันก็กินพวก ไข่มด หนอน แมลง ตัวอ่อนของแมลง ต่างๆ เช่น ตั๊กแตน ปลวก มด ตลอดจนสัตว์เลื้อยคลานพวก กบ เขียด กิ้งก่า หนูตัวเล็กๆ ที่มันจับได้ ตามพื้นป่า หรือตามกิ่งก้านของต้นไม้ หรือตามคาคบไม้ เช่น กิ้งก่า โดยจับฟาดกับต้นไม้ จนสลบ หรือ ตาย แล้วกลืนกิน ทั้งตัว ไม่ฉีกกินเหมือนเหยี่ยว นอกจากนี้อาจโฉบจับแมลง ที่บินผ่านมา
กลางอากาศบ้าง



นิสัยประจำพันธุ์

นกขุนทองเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และออกหากินด้วยกันเป็นฝูง โดยมี จ่าฝูงคอยให้สัญญาณในการออกบิน ด้วยการส่ง
เสียงร้องออกมาก่อน จำนวนนกในฝูงมักจะเป็นเลขคู่เสมอ ตั้งแต่ฝูงละ 6 - 8 ตัว จนถึง 12 -20 ตัว เพราะนกจะจับคู่ในฝูงเดียวกัน และ เมื่อจับคู่กันแล้ว ก็ ยังรวมกลุ่มไปหาอาหาร เป็นฝูงเช่นเดิม มันจะแยกจาก ฝูงก็ต่อเมื่อ มีภาระในการเลี้ยงลูกอ่อน เท่านั้น แต่ก็ยังอยู่
ในละแวกเดียวกับฝูง และ มีการติดต่อกับฝูงอยู่เสมอ การหากิน จะ อาศัย หากินตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ หรือพุ่มไม้บ้าง แต่จะไม่ลงมา
ยังพื้นดิน การเคลื่อนไหวตามกิ่งไม้ มักใช้วิธีกระโดด ไปทาง ด้านข้าง ซึ่งแตกต่างจากนกเอี้ยง และ นกกิ้งโครงอื่นๆ ในต้นไม้ผล ที่นก
ชอบ มักพบหากินร่วมกับนกที่กินผลไม้ด้วยกัน เช่น นกเงือก นกโพระดก นกเขาเปล้า เป็นต้น
หลังจากกินอิ่ม นกขุนทองทั้งฝูง จะไปเกาะพักตามกิ่งต่างๆของต้นงิ้วป่าบ้าง ทองหลางป่าบ้าง แต่จะต้อง เป็น ต้นไม้ที่มีใบแน่นทึบ โดยส่งเสียงสังสรรค์สนทนากันดังขรม ได้ยินแต่เสียงแอ๊ะๆ แอ๊ะๆ ดังไม่ขาดหู ตัวที่เป็นคู่กัน จะมีแบบ แผนการร้องที่ต่างจากตัวที่ไม่ได้
เป็นคู่กัน เมื่อตัวหนึ่งส่งเสียงร้อง คู่ของมันก็จะร้องตอบใน 2 - 4 วินาที นอกจากนั้น ลักษณะการ ร้องโต้ตอบของนกที่อาศัยอยู่ในบริเวณ
เดียวกันจะเหมือนกัน นกที่อยู่ในท้องที่อื่นจะร้องต่างกันออกไป คล้ายกับคนที่มีภาษาถิ่น แตกต่างกันออกไปในแต่ละภาคในเวลากลางคืน
จะเกาะนอนตามกิ่งไม้เช่นเดียวกับนกเอี้ยง หรือนกกิ้งโครงอื่นๆ แต่จะไม่ เป็น ฝูงใหญ่



ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่

โดยทั่วไปนกขุนทองจะผสมพันธุ์ และ วางไข่ปีละ 1 - 3 ครั้ง แต่โดยทั่วไป 2 ครั้ง ในช่วงฤดูร้อน และ ฤดูฝน และจะจับคู่แบบผัวเดียว
เมียเดียวตลอดไป จนกว่าอีกฝ่ายจะตายจากไปจึงจะหาคู่ใหม่ วัยเจริญพันธุ์ของนกขุนทอง จะอยู่ในราวอายุ 1 ปี ขึ้นไป ตัวเมียจะถึงวัย
เจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็วกว่าตัวผู้เล็กน้อย นกขุนทอง ในป่า ผสมพันธุ์กันกลางอากาศ คือระหว่างที่นกทั้งคู่บินตามกันมา นกตัวผู้ที่บินอยู่
ข้างหลังจะเร่งความเร็วจนบินทัน และเข้าไป ประกบกับตัวเมียทางด้านหลัง ในเวลาเพียงชั่วพริบตาเดียว ก็ผละออกจากกัน
นกขุนทองเป็นนกประจำถิ่น ที่พบในประเทศไทย มี 2 พันธุ์ คือ G.r.intermedia (นกขุนทองพันธุ์เหนือ) และ G.r. religiosa
(นกขุนทองพันธุ์ใต้) มีลักษณะแตกต่างกันคือ G.r. religiosa ตัวใหญ่ และหนากว่า เหนียงแยกเป็น 2 แผ่นไม่ติดต่อกัน ระหว่างแผ่น
ที่อยู่ใต้หู กับแผ่นที่อยู่บริเวณท้ายทอย และพบเฉพาะทางภาคใต้ของไทย ส่วน G.r. intermedia พบทั่วไป ยกเว้นทางภาคใต้

แหล่งที่มา
http://www.zyworld.com/NAKARIN/HTMLhillmyna.htm

นกแก้วโม่ง

นกแก้วโม่ง





ชื่อวิทยาศาสตร์ Psittacula eupatria (Linnaeus, ค.ศ. 1766)

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves

อันดับ Psittaciformes
วงศ์ Psittacidae

สกุล Psittacula
สปีชีส์ P. eupatria

แก้วโม่ง (Psittacula eupatria) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก - กลาง ชื่อสามัญคือ Alexandrine Parakeet โดยชื่อนี้ เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ กษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วสายพันธุ์นี้กลับไปยังทวีปยุโรป

แก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน

แก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว 57-58 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเขียว จงอยปากมีลักษณะงุ้มใหญ่สีแดงสด บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดงแต้มอยู่ทั้งสองข้าง นกเพศผู้และเมียสามารถแยกแยะได้เมื่อนกโตเต็มที่ กล่าวคือในเพศผู้จะปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า "Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มีเส้นที่ปรากฏดังกล่าว

แก้วโม่ง มีสายพันธุ์ย่อยลงไปอีก 4 สายพันธุ์ คือ P.e. nipalensis พบมากใน Ceylon และทางใต้ของอินเดีย P.e. magnirostris พบในบริเวณหมู่เกาะอันดามัน P.e. avensis พบในเขตรัฐอัสสัม,พม่า P.e. siamensis พบได้ในภาคตะวันตกของประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียตนาม

ความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ย่อยนั้น อาจมีต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของ ขนาด, ความยาว และสีสันที่ปรากบนลำตัว

อาหาร ของแก้วโม่ง ในธรรมชาติ ประกอบด้วย เมล็ดพืชต่าง ๆ ผลไม้หลากชนิด ใบไม้อ่อน ฯลฯ

แก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่มีเสียงร้องค่อนข้างดัง และมักเลือกที่จะทำรังตามโพรงไม้ใหญ่ ๆ โดยใช้วิธีแทะหรือขุดโพรงไม้จำพวกไม้เนื้ออ่อน หรืออาจเลือกใช้โพรงไม้ที่เก่าต่าง ๆ โดยในฤดูผสมพันธุ์ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะสายพันธุ์ย่อย อันเกี่ยวเนื่องกับอุณหภูมิและสภาพทางภูมิศาสตร์ แต่โดยเฉลี่ยจะเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงราวปลายเมษายน โดยในระหว่างฤดูผสมนี้เพศเมียจะค่อนข้างแสดงอาการดุ และกร้าวร้าวมากขึ้น

แก้วโม่งวางไข่ปีละครั้ง ครั้งละ 2-4 ฟอง

แก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่นิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพราะพบว่าเป็นนกแก้วที่มีความสามารถในการเลียนเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันนกแก้วโม่งจัดเป็นนกที่อยู่ในบัญชีคุ้มครอง 2 ของอนุสัญญาไซเตส รวมทั้งเป็นนกที่กฎหมายให้ความคุ้มครองในแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน

แก้วโม่งเป็นนกที่ได้รับการนำมาเพาะพันธุ์โดยมนุษย์ประสบผลสำเร็จ ทำให้แนวทางในลดปัญหาจากลักลอบจับหรือล่านกแก้วโม่งป่า เพื่อการค้า มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

สำหรับการเลี้ยงนกแก้วโม่งในครอบครองนั้น ผู้เลี้ยงควรต้องศึกษาในเรื่องของพฤติกรรมความเป็นอยู่, ลักษณะนิสัย รวมทั้งการจัดการด้านอาหารและสถานที่เลี้ยงให้ถูกต้อง เพราะการเลี้ยงนกที่ผิดไปจากธรรมชาติถิ่นที่อยู่เดิมนั้น ปัญหาประการหนึ่งก็คือ "ความเครียด" ของนก ดังนั้น การจัดหาความพร้อมทั้งสถานที่,อุปกรณ์ อาหารการกินที่เหมาะสม อาจช่วยให้นกได้รู้สึกมีความสุขและลดความเครียดลง รวมทั้งยังพร้อมที่จะตอบสนองต่อการเป็นนกในฐานะสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ได้อย่างมีความสุข และมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป



จากเวป วิกิพีเดีย

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

งูจงอาง King Cobra

งูจงอาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ophiophagus hannah Cantor, 1836

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Reptilia

อันดับ Squamata
อันดับย่อย Serpentes
วงศ์ Elapidae

สกุล Ophiophagus
สปีชีส์ O. hannah

สถานะ:ความเสี่ยงต่ำ

งูจงอาง (King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 2.5 - 4 เมตร จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 5.59 เมตร เป็นงูจงอางไทย ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2467 น้ำหนักประมาณ 6 - 10 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสีแต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษร้ายแรงแต่ไม่เท่างูเห่า มีผลทางระบบประสาท (Neurotoxin) ที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75% เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า กบหรือตะกวดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่นหนู เป็นต้น

งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus เป็นสกุลของงูพิษที่มีผลต่อระบบประสาท มีรากศัพท์จากภาษาละตินมีความหมายว่า "กินงู" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ลักษณะทั่วไป

งูจงอางเป็นงูพิษที่มีลักษณะหัวกลมมน เกล็ดบริเวณส่วนหัวใหญ่ มีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ขากรรไกรด้านบน หน้าตาดุดัน จมูกทู่ มองเผิน ๆ คล้ายกับงูสิงดง ที่บริเวณขอบตาบนมีเกล็ดยื่นงองุ้มออกมา ทำให้หน้าตาของงูจงอางมองดูแลดูดุและน่ากลัว ส่วนบริเวณท่อนหางจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด มีม่านตากลม ลำคอมีขนาดสมส่วน ลำตัวขนาดใหญ่เรียวยาว แผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางที่ยังไม่โตเต็มวัย จะมีขนาดลำตัวเท่ากับงูเห่าดงแต่จะยาวกว่า ทำให้คนทั่วไปที่พบเห็นและไม่เคยเห็นงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจผิดว่าเป็นงูเห่าและเรียกว่างูเห่าดง

ตามปกติจะหากินที่พื้นดินแต่ก็สามารถขึ้นต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นงูที่ใช้วิธีการฉกกัดและรัดเหยื่อไม่เป็น ซึ่งไม่สมกับขนาดของลำตัวที่เพรียวยาว ปกติจะเลื้อยช้าแต่จะมีความว่องไวและปราดเปรียวเมื่อตกใจ ถ้าพบเจอสิ่งใดแล้วไม่หยุดชูคอขึ้น จะเลื้อยผ่านไปเงียบ ๆ แต่ถ้าขดตัวเข้ามารวมเป็นกลุ่มแล้วยกหัวสูงขึ้น แสดงว่าพร้อมจู่โจมสิ่งที่พบเห็น เวลาเลื้อยหัวจะเรียบขนานไปกับพื้น แต่เมื่อตกใจหรือโกรธสามารถยกตัวขึ้นชูคอได้สูงประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดความยาวลำตัว เทียบความสูงได้ในระดับประมาณเอวของคน จังหวะที่ยกตัวชูสูงขึ้นในครั้งแรกจะมีความสูงมากและค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ในระดับปกติตามเดิม ไม่ส่งเสียงขู่ฟ่อ ๆ เมื่อมีสิ่งใดเข้าใกล้เช่นเดียวกับงูเห่า ที่สามารถพ่นลมออกจากทางรูจมูกซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะของงูเห่า แผ่แม่เบี้ยได้เหมือนงูเห่าแต่จะแคบและไม่มีลายดอกจันที่บริเวณศีรษะด้านหลัง มีลายค่อนข้างจางพาดตามขวาง มีลักษณะเป็นบั้ง ๆ แทน

งูจงอางเป็นงูพิษที่สามารถต้านทานพิษงูชนิดอื่น ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น งูเห่า งูกะปะ เมื่อเกิดการต่อสู้และถูกกัดจะไม่ได้รับอันตรายจนถึงตาย แต่จะกัดและกินงูเหล่านั้นเป็นอาหารแทน งูจงอางมีเกล็ดพิเศษบนศีรษะจำนวน 1 คู่ อยู่บริเวณด้านหลังของเกล็ดกระหม่อม (Parietals) มีชื่อเรียกว่า Occipitals ซึ่งจะมีเฉพาะงูจงอางเท่านั้น มีถิ่นอาศัยอยู่ในป่า ไม่ปรากฏว่าพบตามสวนหรือไร่นา ทำรังและวางไข่ประมาณปีละครั้ง ครั้งละประมาณ 20 - 30 ฟอง ชอบทำรังในกอไผ่ กกและฟักไข่เองจนกว่าลูกงูจะเกิด

งูจงอางมีพฤติกรรมการฉกกัดแบบติดแน่น ไม่กัดฉกเหมือนงูเห่า จึงกัดแล้วจะย้ำเขี้ยว (lock jaw) น้ำพิษมีสีเหลืองและมีลักษณะเหนียวหนืด พิษงูทำลายประสาทเช่นเดียวกับงูเห่าแต่เกิดอาการเร็วและรุนแรงกว่า เนื่องจากมีน้ำพิษปริมาณมากเพราะงูจงอางมีขนาดโตกว่างูเห่า ผู้ถูกกัดจะมีอาการหนังตาตก ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้ แน่นหน้าอก ตาพร่า อ่อนเพลีย เป็นอัมพาต อาจตายเพราะการหายใจล้มเหลว น้ำพิษของงูจงอางมีปริมาณมากถึง 10 เท่าของงูเห่า ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ที่อันตรายคือกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจหยุดทำงาน ดังนั้นหากถูกกัดจะถึงแก่ความตายอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที

ลักษณะทางกายวิภาค

งูจงอางเป็นงูที่มีความผันแปรในเรื่องของขนาดลำตัวและสีสันของเกล็ดอย่างชัดเจน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับแหล่งที่อยู่อาศัยและสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น งูจงอางที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบทางภาคใต้ของประเทศไทย จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่โตกว่างูจงอางในแถบภาคอื่น ๆ รวมทั้งสีของเกล็ดก็แตกต่างด้วยเช่นกัน งูจงอางในแถบภาคใต้จะมีสีน้ำตาลอมเขียวหรือสีเขียวอมเทา ลักษณะลวดลายของเกล็ดบริเวณลำตัวไม่ค่อยชัดเจน แตกต่างจากงูจงอางในแถบภาคอื่น ๆ เช่น งูจงอางในภาคเหนือ จะมีเกล็ดสีเข้มจนเกือบดำ ซึ่งมักจะเรียกกันว่า จงอางดำ และมีนิสัยดุร้ายกว่างูจงอางในแถบภาคใต้

ส่วนงูจงอางในแถบภาคกลางและหลาย ๆ จังหวัดในแถบภาคอีสาน มักจะมีสีเกล็ดเป็นลายขวั้นตามขวาง ลักษณะเป็นบั้ง ๆ เกือบตลอดทั้งตัว มีนิสัยดุร้ายเช่นเดียวกับงูจงอางแถบภาคเหนือและภาคใต้ แต่มีขนาดของลำตัวที่เล็กกว่า ว่องไวและปราดเปรียว

โดยรวมลักษณะทางกายวิภาคของงูจงอางในแต่ละภาคจะเหมือนกัน มีความแตกต่างเพียงแค่ขนาดของลำตัวเท่านั้น ซึ่งลักษณะทางกายวิภาคของงูจงอาง มีดังนี้


น้ำพิษ

ลักษณะเขี้ยวและต่อมพิษของงูจงอางงูพิษ หรือ งูพิษอันตราย (Dangerous Venomous Snakes) มีความหมายเหมือนกันกับคำว่า "งูที่มีความสำคัญในทางการแพทย์" (Snakes of Medical Importance) ซึ่งจะหมายความถึงงูที่มีกลไกของพิษ (Venom apparatus) และปริมาณน้ำพิษที่มีความรุนแรง ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทและระบบโลหิตต่อร่างกายของสัตว์และมนุษย์ ทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งกลไกลของพิษของงูโดยเฉพาะงูจงอาง ที่มีปริมาณพิษร้ายแรงน้อยกว่างูเห่าแต่ปริมาณน้ำพิษมากกว่า สามารถทำให้ผู้ที่ได้รับพิษเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งลักษณะกลไกพิษของงูจงอาง มีดังนี้

1.ต่อมผลิตพิษ
2.ท่อน้ำพิษ
3.เขี้ยวพิษ
4.น้ำพิษ
ส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ ของระบบพิษงูจงอาง ได้แก่


ต่อมผลิตพิษ
ต่อมผลิตพิษ (Venom Gland) เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สำหรับสร้างพิษงูในงูพิษที่จัดอยู่ในชั้นสูงขึ้นไป ซึ่งได้แก่งูในครอบครัว Elapidae และครอบครัว Viperidae งูจงอางจะมีต่อมพิษที่สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาการจนมีขนาดใหญ่ โดยตำแหน่งของต่อมผลิตพิษจะอยู่บริเวณหลังลูกตาทั้ง 2 ข้างในลักษณะของตำแหน่งที่เทียบได้กับกระพุ้งแก้ม

ต่อมผลิตพิษนี้จะมีอยู่ทั้ง 2 ข้างของหัวงูจงอาง ข้างละ 1 อัน โดยบนต่อมผลิตพิษจะมีกล้ามเนื้อพิเศษที่ทำการควบคุมการผลิตพิษของต่อมผลิตพิษ เพื่อเป็นการบังคับให้ต่อมผลิตพิษ บีบตัวและหลั่งน้ำพิษเมื่องูจงอางต้องการ หรือฉกกัดสิ่งที่พบเห็น


ท่อน้ำพิษ
ท่อน้ำพิษ (Venom Duct) เป็นท่อที่มีลักษณะพิเศษที่ทำการเชื่อมต่อกันระหว่างต่อมผลิตพิษ และโคนเขี้ยวพิษของงูจงอาง มีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำพิษจากต่อมผลิตพิษ เมื่องูจงอางบีบและหลั่งน้ำพิษไปยังเขี้ยวพิษทั้ง 2 ข้างที่ขากรรไกรด้านล้างด้วย


เขี้ยวพิษ
เขี้ยวพิษ (Venom Fangs) เขี้ยวพิษของงูจงอาง มีลักษณะโค้งงอ มีจำนวน 2 ชุดคือ เขี้ยวพิษจริงและเขี้ยวพิษสำรอง เทียบได้กับลักษณะของเข็มฉีดยา เมื่องูจงอางฉกกัด เขี้ยวพิษจะฝังเข้าไปในเนื้อของเหยื่อหรือผู้ที่ถูกกัดและฉีดพิษเข้าสู่ร่างกายของเหยื่อ ลักษณะเขี้ยวพิษของงูจงอางจัดอยู่ในกลุ่ม Proteroglypha ซึ่งเป็นกลุ่มของงูมีพิษที่มีลักษณะเขี้ยวพิษอยู่ด้านหน้าของขากรรไกรด้านบน เขี้ยวพิษทั้ง 2 จะยึดแน่นติดกับขากรรไกรด้านบน หดพับงอเขี้ยวไม่ได้ ลักษณะของเขี้ยวพิษจะไม่ยาวนัก มีร่องตามแนวยาว (Vertical Groove) อยู่บริเวณด้านหน้าของตัวเขี้ยว จำนวน 1 ร่อง เพื่อสำหรับให้น้ำพิษจากต่อมผลิตพิษไหลผ่าน

ลักษณะปลายเขี้ยวพิษของงูจงอางจะแหลมคม เพื่อใช้สำหรับเจาะทะลุเข้าไปในบริเวณผิวหนังของเหยื่อที่ฉกกัดได้โดยง่าย งูจงอางมีเขี้ยวพิษสำรองหลายชุดซึ่งเขี้ยวสำรองจะหลบอยู่ภายในอุ้งเหงือก เมื่อเขี้ยวพิษจริงหักหรือหลุดหลังจากการฉกกัดหรือด้วยสาเหตุใดก็ตาม เขี้ยวพิษสำรองจะเลื่อนขึ้นมาแทนที่เขี้ยวพิษจริง และจะทำหน้าที่แทนเขี้ยวพิษจริงอันใหม่ต่อไป

น้ำพิษ
น้ำพิษ (Venom) น้ำพิษของงูจงอางประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโปรตีนและไม่ใช่โปรตีน น้ำพิษของงูจงอางมีลักษณะเป็นของเหลว สีเหลืองเรื่อ ๆ ไม่มีรสและกลิ่น ส่วนประกอบของน้ำพิษที่เป็นโปรตีน จะมีโปรตีนประกอบอยู่ประมาณ 90% ของปริมาณน้ำพิษทั้งหมด และอีก 10% ที่เหลือจะเป็นส่วนที่ไม่ใช่โปรตีน

น้ำพิษของงูจงอางในส่วนที่เป็นโปรตีน สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นน้ำพิษจากต่อมผลิตพิษ (Toxin) และส่วนที่เป็นน้ำย่อย (Enzyme)

กะโหลก เขี้ยวและฟัน
กะโหลกศีรษะของงูสามารถแยกแยะวงศ์และสกุลได้ โดยดูจากลักษณะของกระโหลก ฟันและ ขากรรไกร ซึ่งงูจงอางเป็นงูขนาดใหญ่ทำให้มีการพัฒนาร่างกายเพื่อการล่าอาหาร และกลืนเหยื่อ ทำให้กะโหลกของงูจงอางไม่เหมือนกับงูและสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น ที่สามารถฉีกเหยื่อออกเป็นชิ้น ๆ การกินเหยื่อของงูจงอางจะใช้วิธีการขยอกเหยื่อทั้งตัว สามารถกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวของมันเองได้ เนื่องจากขากรรไกรกว้าง โดยอาจจะกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมันได้ ได้โดยการถ่างกระดูกปากและกะโหลกออกจากกัน กะโหลกของงูจงอางถูกสร้างให้ข้างบน ข้างล่าง และกระดูกขากรรไกรสามารถเคลื่อนไปข้างหน้า ข้างหลัง และออกด้านข้างได้โดยอิสระ จากกะโหลก ขากรรไกรล่างจะไม่เชื่อมกับกับคาง สามารถออกไปข้างหน้าได้ เมื่อต้องการ ขยอกเหยื่อมาที่คอหอย

งูจงอางมีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ใหญ่และแข็งแรงกว่าฟันอื่น และมีฟันที่ข้างกรรไกรล่าง โดยจะอยู่ชั้นนอก ส่วนฟันบนชั้นใน สามารถใช้ฟันออกมางับเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว ดึงเหยื่อเข้าไปในปาก และขยอกลงไป เขี้ยวของงู จะแตกต่างจากฟันใช้ปล่อยพิษ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

1.Opistoglyphous หรือ Rear-Fanged
2.Proteroglyphous หรือ Front-Fanged
ซึ่ง Rear-Fanged Snakes จะมี 3 สายพันธุ์ ในวงศ์ของ Colubird จะมีเขี้ยว 1 คู่ ส่วน Front-Fanged Snakes คือพวก Burrowing Asps Cobra Mamba และ Kraits Cobra และ Viper Fangs


ขนาดและรูปร่าง
งูจงอางมีลักษณะและรูปร่างที่เหมือน ๆ กัน คือมีขนาดของลำตัวใหญ่และยาว จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องของขนาด ซึ่งเกิดจากจากวิวัฒนาการของสายพันธุ์และธรรมชาติเป็นผู้กำหนด งูจงอางเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ มีตากลมสีดำใช้สำรวจหาเหยื่อที่อยู่ในระยะไกลได้ ซึ่งการที่งูจงอางมีขนาดใหญ่ สาเหตุหลักเนื่องมาจากต้องการอาหารในการดำรงชีพมาก แต่มีข้อจำกัดด้วยขนาดตัวที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การล่าอาหารในบางครั้งอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก และในเรื่องการปรับอุณหภูมิในร่างกายความใหญ่ของร่างกายทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับอุณหภูมิเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการล่า หาอาหาร และสืบพันธุ์ สามารถขึ้นต้นไม้และอาศัยความเร็วในการจู่โจมเหยื่อ โดยใช้หางในการเกาะเกี่ยวต้นไม้ ทำให้สามารถห้อยตัวลงไปดึงกิ้งก่าหรือนกจากต้นไม้ได้


สีสันของเกล็ด

สีเกล็ดของงูจงอางงูจงอางมีหลายสี เกล็ดของงูจงอางจะเปลี่ยนสีโดยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและถิ่นที่อยู่อาศัย โดยปกติทั่วไปจะเปลี่ยนสีสันของเกล็ดได้เล็กน้อย ให้กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการอำพรางตัวเองและเหยื่อหรือศัตรู ส่วนมากเกล็ดจะมีสีน้ำตาลอ่อน เหลืองอมน้ำตาล น้ำตาลแก่อมดำ เทาอมดำ เขียวมะกอก ขาวครีมอมเหลืองอ่อน และขาวงาช้างเป็นสีสันของเกล็ดมาตรฐานของงูจงอาง

บริเวณท้องของงูจงอางจะเป็นสีอ่อน มีขอบเกล็ดสีดำลักษณะเป็นปล้องขาว มองคล้ายเส้นเล็ก ๆ ตามขวางอยู่ที่บริเวณเกล็ด เป็นระยะตลอดทั่วทั้งลำตัว ตามปกติถ้าไม่สังเกตจะมองไม่ค่อยเห็น นอกเสียจากเวลาโกรธหรือแผ่แม่เบี้ย ทำให้ลำตัวพองและขยายเกล็ดออกมา หรือเวลากลืนกินเหยื่อจนเกล็ดบริเวณท้องขยายออกจนเห็นได้ชัด ตามปกติปล้องสีขาวนี้จะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในงูจงอางตัวอ่อนที่มีขนาดเล็ก

งูจงอางเพศผู้จะมีสีสันที่แตกต่างจากงูจงอางเพศเมีย ตามปกติจะมีสีส้มแก่พาดขวางบริเวณใต้ลำคอ รอบขึ้นมาจนถึงบริเวณลำคอแล้วค่อย ๆ จางลงจนกลายเป็นสีเหลืองอ่อน เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่างูคอแดง ซึ่งจะไม่มีในงูจงอางเพศเมีย ซึ่งจะมีสีเหลืองอ่อนจนซีด สีสันของเกล็ดไม่สวยสดและเข้มเหมือนกับงูจงอางเพศผู้ ซึ่งจะมีสีเหลืองอ่อนบริเวณใต้คางและริมฝีปากล่าง ส่วนงูจงอางเพศเมียจะมีสีขาวครีม และเมื่อขดตัวตามธรรมชาติ สีสันของเกล็ดในส่วนอื่น ๆ จะมองไม่ค่อยเห็น แต่จะสามารถสังเกตเห็นสีขาวบริเวณใต้คางได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถแยกแยกได้ว่าตัวไหนเพศผู้เพศเมีย

การสืบพันธุ์
งูจงอางสืบพันธุ์โดยการวางไข่ปีละ 1 ครั้ง โดยมีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ในราวต้นฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน วางไข่ครั้งละประมาณ 20 - 30 ฟอง มากที่สุดคือประมาณ 45 ฟอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ งูจงอางตัวผู้จะเลื้อยเข้าหางูจงอางตัวเมียที่พร้อมการผสมพันธุ์ ซึ่งในแต่ละครั้งการเข้าหางูจงอางตัวเมียนั้น งูจงอางตัวผู้หลาย ๆ ตัวจะทำการต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงงูจงอางตัวเมีย (Combat Dance) โดยวิธีการฉกกัดและใช้ลำตัวกอดรัดกัน กดให้คู่ต่อสู้ที่เพลี้ยงพล้ำอยู่ด้านล่างให้อ่อนแรงในลักษณะคล้ายกับมวยปล้ำ ผลัดกันรุกผลัดกันรับแต่จะไม่มีการฉกกัดกันจนถึงตาย เมื่องูจงอางตัวผู้ตัวใดอ่อนแรงก่อน ก็จะยอมแพ้และเลื้อยหนีไป

งูจงอางตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะมีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 25-70 วัน โดยทั่วไปลักษณะของไข่งูจงอาง จะมีลักษณะเป็นรูปทรงไข่หรือรูปทรงรียาว มีสีขาวถึงสีครีม เปลือกไข่ค่อนข้างนิ่มแต่ไม่แตก (Leathery) และจะมีขนเส้นเล็ก ๆ บริเวณเปลือกไข่สำหรับดูดซับความชื้นภายในรัง ไข่ของงูจงอางจะไม่ติดกันเป็นแพเหมือนกับไข่ของงูกะปะ มีขนาดประมาณ 3.50 - 6.00 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายไข่เป็ดและจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนในตอนต้นของฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม

ก่อนการวางไข่ งูจงอางตัวเมียจะใช้ลำตัวกวาดเศษใบไม้ร่วง ๆ มากองสุมกัน เพื่อทำเป็นรังสำหรับวางไข่ให้เป็นหลุมลึกเท่ากับขดหางโดยใช้ใบไม้แห้งรองพื้น และหลังจากวางไข่เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะใช้เศษใบไม้คลุมไข่อีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันไข่จากศัตรูอื่นเช่นมนุษย์ และจะคอยเฝ้าหวงและดูแลไข่โดยการนอนขดทับบนรังเฝ้าไข่ของมันตลอดเวลาโดยไม่ยอมออกไปหาอาหาร ซึ่งผิดกับงูชนิดอื่น ๆ ที่ส่วนมากมักจะทิ้งไข่ไว้ภายในรัง ให้ฟักออกมาเป็นตัวเองโดยไม่เหลียวแลคอยดูแลและปกป้อง งูจงอางตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ จะเป็นยามเฝ้ารังและอยู่ใกล้ ๆ บริเวณรัง ในขณะที่งูจงอางตัวเมียจะอยู่แต่ภายในรัง ซึ่งในฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่จะเป็นช่วงที่งูจงอางดุมากเป็นพิเศษ จะคอยไล่ผู้ที่เดินทางผ่านรังของมัน ส่วนงูจงอางตัวเมียจะอยู่กับไข่ภายในรัง ไม่กวดไล่

เมื่องูจงอางตัวเมียฟักไข่ จะคอยเฝ้าดูแลและรักษาไข่ที่ซ่อนอยู่ในรังเพื่อให้ปลอดภัยจากศัตรูทุกชนิด เมื่อลูกงูฟักเป็นตัวอ่อนหรืองูที่ยังไม่โตเต็มวัย พังพอนเป็นศัตรูตัวฉกาจ และมีชะมด อีเห็นและเหยี่ยวรุ้งคอยไล่ล่า นอกจากนี้ยังมีเห็บเกาะกัดดูดเลือดลูกงูจงอางอีกด้วย ลูกงูจงอางแรกฟักออกจากไข่ จะมีขนาดของลำตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โตเท่ากับนิ้วมือ โดยทั่วไปหากไม่เคยรู้จักหรือพบเห็นลูกงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจว่าเป็นงูเขียวดอกหมากหรืองูก้านมะพร้าว เนื่องจากมองดูคล้ายคลึงกัน แต่จะมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างคือ มีความดุร้ายตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อพบเห็นสิ่งใดผิดแปลก จะแผ่แม่เบี้ยอยู่ตลอดเวลา เตรียมพร้อมการจู่โจมทันที

ถึงแม้จะเป็นเพียงลูกงูจงอางแต่พิษของมันก็สามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้ ลำตัวเป็นสีดำและมีลายสีเหลืองคาดขวางตามลำตัวเป็นระยะ ๆ เริ่มตั้งแต่ปลายหัวจนสุดปลายหาง บริเวณด้านท้องจะเป็นสีเหลืองอ่อน ซึ่งจะเปลี่ยนสีของลำตัวเมื่อลูกงูจงอางเข้าสู่ระยะของตัวเต็มวัย เมื่อมีขนาดของลำตัวประมาณ 0.8 - 1 เมตร ลูกงูจงอางเมื่อลอกคราบใหม่ ๆ จะมีสีสันของเกล็ดที่อ่อนสดใส มองดูเป็นมันเลื่อม ซึ่งจะค่อย ๆ ผันแปรสีสันของเกล็ดให้เป็นสีเข้มทั่วทั้งลำตัว ลักษณะของเกล็ดจะด้าน ที่บริเวณดวงตาจะฝ้าขาวมัว และจะลอกคราบใหม่อีกครั้ง เป็นเช่นนี้ตลอดไป

ถิ่นอาศัยและการล่าเหยื่อ
งูจงอางเป็นงูป่าโดยกำเนิดอย่างแท้จริง โดยจะอยู่กันเป็นคู่ อาศัยอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำทะเลได้ถึง 2,000 เมตร บนภูเขาหรือในป่าไม้ งูจงอางจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำลำธาร ตามบริเวณซอกหินหรือในโพรงไม้ หรือในป่าไผ่ทึบที่มีไผ่ต้นเตี้ย ๆ จำนวนมาก รวมทั้งในบริเวณป่าไม้ที่มีความชื้นแฉะที่มีความอบอุ่น และมีต้นไม้สูง ๆ หนาทึบ แต่ไม่ใช่ป่าดงดิบที่ไม่ค่อยมีแสงสว่างส่องลอดผ่านมาสู่พื้นดิน และอากาศอบชื้น งูจงอางสามารถขึ้นต้นไม้ได้เป็นอย่างดีและรวดเร็ว แต่ตามปกติแล้วมักจะอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้

งูจงอางเป็นงูที่ออกล่าเหยื่อได้ทั้งในเวลากลางวันที่มีแสงแดดไม่ร้อนจัดมากนัก และในเวลาพลบค่ำ โดยจะเลื้อยออกไปหาเหยื่อตามถิ่นอาศัยที่มีอาหารชุกชุม อาหารหลักของงูจงอางคืองูชนิดอื่น ๆ เช่น งูทางมะพร้าว งูสิงหางลายหรือแม้กระทั่งงูเหลือมตัวเล็ก ๆ ที่มีขนาดไม่โตนัก นอกจากจะกินงูด้วยกันเองแล้ว ในบางครั้งงูจงอางอาจจะกินสัตว์จำพวกตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแก เหี้ย เป็นอาหารอีกด้วย หรือแม้ในบางครั้งงูจงอางก็กินลูกงูจงอางด้วยกันเอง เคยมีผู้ยิงงูจงอางเพศผู้ได้ และเมื่อผ่าท้องออกพบลูกงูจงอางอยู่ในนั้น แสดงว่างูจงอางกินแม้กระทั่งงูจงอางด้วยกัน เพียงแต่ยังเล็กอยู่เท่านั้น แต่เมื่อโตเต็มวัยก็ยังไม่เคยพบว่างูจงอางกินงูจงอางด้วยกันเอง

การล่าเหยื่อของงูจงอางจะใช้วิธีซุ่มรอคอยเหยื่อในสถานที่ที่เหยื่ออาศัยอยู่ เมื่อเหยื่อเลื้อยหรือผ่านเข้ามาในบริเวณที่งูจงอางซุ่มดักรอคอย จะพุ่งตัวเข้ากัดที่บริเวณลำคอของเหยื่ออย่างรวดเร็ว แล้วจับกินเป็นอาหาร งูจงอางสามารถกลืนเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวของมันเองได้ทั้งตัว โดยเริ่มการบริเวณศีรษะของเหยื่อ ค่อย ๆ ขยอกเข้าไปในปากจนกระทั่งหมด และหลังจากการล่าเหยื่อเสร็จสิ้นลง งูจงอางจะต้องหาแหล่งน้ำเพื่อดื่มน้ำหลังจากที่กินเหยื่อเรียบร้อยแล้ว
จากเวป วิกิพีเดีย

พังพอน

พังพอน




ชื่อวิทยาศาสตร์ Herpestes javanicus (É. Geoffroy Saint-Hilaire, ค.ศ. 1818)

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับ Carnivora
วงศ์ Herpestidae

สกุล Herpestes
สปีชีส์ H. javanicus


พังพอน เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Herpestes javanicus ในวงศ์ Herpestidae มีขนาดเล็ก ขนบนหัวมีสีน้ำตาลแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม ขามีสีเดียวกับลำตัวหรือเข้มกว่าเล็กน้อย หางยาวประมาณ 2 ใน 3 ของลำตัส เมื่อตกใจจะพองขนทำให้ดูตัวใหญ่กว่าปกติ เพศเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่

มีความยาวลำตัวและหัว 35-41 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 25-29 เซนติเมตร

พังพอนมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมากตั้งแต่อิหร่าน ปากีสถาน อินเดีย พม่า เนปาล รัฐสิกขิม บังกลาเทศ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซียและเกาะชวา จึงทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 12 ชนิด

มีพฤติกรรมชอบอาศัยตามป่าโปร่งหรือทุ่งหญ้ามากกว่าป่าดิบทึบ ดังนั้นจึงมักเห็นพังพอนอาศัยอยู่แม้แต่ในเขตเมือง มักอาศัยอยู่ตามลำพังในโพรงดินที่ขุดไว้ หรือโพรงไม้ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจอยู่เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อาหารได้แก่ สัตว์ทั่วไปขนาดเล็ก หรือบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัว เช่น ไก่ป่ากินได้ ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน พังพอนจัดเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อีกทั้งมีนิสัยที่ไม่กลัวใคร จึงเป็นที่ทราบกันดีว่าชอบที่จะสู้กับงูพิษ โดยเฉพาะงูเห่าเมื่อเผลอจะโดดกัดคองูจนตาย มีฤดูผสมพันธุ์ที่ไม่แน่นอน มักจะผสมกันในโพงดิน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 สัปดาห์ สมัยก่อนในบางบ้านจะเลี้ยงพังพอนไว้สำหรับจับหนูหรือสัตว์ที่ทำรังควาญในบ้านชนิดอื่น ๆ แทนแมว ซึ่งได้ผลดีกว่าแมวเสียอีก พังพอนแม้เป็นสัตว์ดุ แต่หากเลี้ยงตั้งแต่เล็กก็จะเชื่องกับเจ้าของ ในสถานที้เลี้ยงพบว่ามีอายุยืนประมาณ 6 ปี

ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



จากเวป วิกิพีเดีย

ตุ่นปากเป็ด

ตุ่นปากเป็ด



ชื่อวิทยาศาสตร์ Ornithorhynchus anatinus (Shaw, ค.ศ. 1799)

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับ Monotremata
วงศ์ Ornithorhynchidae

สกุล Ornithorhynchus
Blumenbach, ค.ศ. 1800
สปีชีส์ O. anatinus


ตุ่นปากเป็ด (Platypus) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย แม้ว่าตุ่นปากเป็ดจะมีเพียงสปีชีส์เดียว แต่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อ เช่น watermole, duckbill, duckmole, duck-billed platypus และมีชื่อที่ชาวอะบอริจินตั้งให้อีกหลายชื่อ ได้แก่ mallangong, boondaburra และ tambreet พบตุ่นปากเป็ดเฉพาะในแถบตะวันออกของออสเตรเลียเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) เช่นเดียวกับอีคิดนา จึงออกลูกเป็นไข่เหมือนกัน ตุ่นปากเป็ดมีทั้งขนาดใหญ่เเละขนาดเล็ก

ลักษณะ

ลำตัว
ตุ่นปากเป็ดมีลำตัวแบน หัวเรียวท้ายเรียว ในตัวเต็มวัย ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หนัก 1.7 กิโลกรัม ตัวเมียมีความยาวเฉลี่ย 44 เซนติเมตร หนัก 0.9 กิโลกรัม นอกจากบริเวณปากและเท้าแล้วตุ่นปากเป็ดมีขนปกคลุมตลอดตัว ตุ่นปากเป็ดมีขนสองชั้น ขนชั้นนอกยาว (hair) หยาบ สีน้ำตาลเข้ม ชั้นล่างเป็นขนอ่อน (fur) เส้นละเอียด หนาแน่น มีตั้งแต่สีเทาจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนชั้นล่างกันน้ำได้ ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ยามตุ่นปากเป็ดดำลงไปในน้ำที่เย็นจัดจนเกือบจับตัวเป็นน้ำแข็ง

หาง
หางตุ่นปากเป็ดแบนกว้างเช่นเดียวกับลำตัว สร้างมาจากไขมัน เพราะตุ่นปากเป็ดสะสมไขมันไว้ที่หางเพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้ในฤดูหนาว ในขณะที่บีเวอร์ใช้หางขับเคลื่อนยามว่ายน้ำ ตุ่นปากเป็ดเพียงแต่ใช้หางในการบังคับทิศทางเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดจะม้วนหางจับใบไม้เอาไว้ขณะขนใบไม้ไปสร้างรัง ประโยชน์ของหางอีกอย่างคือใช้ห่มร่างกายตอนกกลูก นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดระดับสุขภาพของตุ่นปากเป็ดได้จากการบีบหาง


ปาก - จมูก
ปากของตุ่นปากเป็ดมีรูปร่างคล้ายปากเป็ด ยืดหยุ่นคล้ายยาง ปากบนเป็นสีน้ำเงินเทา มีรูจมูกอยู่ถัดมาจากปลายปากบนเล็กน้อย การที่รูจมูกอยู่ตำแหน่งนี้ช่วยให้ตุ่นปากเป็ดหายใจได้ดีขณะลำตัวอยู่ใต้น้ำ ปากล่างมีขนาดเล็กกว่าปากบน ใต้ปากล่างเป็นสีชมพูอ่อน หรือเป็นจุดๆหลากสี ด้านหลังของปากส่วนที่ต่อกับหัวมีกะบังยกขึ้นเล็กน้อยเหนือหน้าผาก ไม่ทราบแน่ชัดว่ากะบังนี้มีประโยชน์อย่างใดบ้าง

ปากของตุ่นปากเป็ดรับสัมผัสได้ดีเพราะมีเส้นประสาทอยู่จำนวนมาก ตุ่นปากเป็ดจึงใช้ปากในการนำทางและหาอาหารขณะอยู่ใต้น้ำ มันมีปุ่มรับประจุไฟฟ้าเรียงรายอยู่ทั่วจะงอยปาก ปุ่มเหล่านี้บางส่วนไวต่อการสัมผัส บางส่วนไวต่อประจุไฟฟ้าที่แผ่ออกมาขณะเหยื่อหดเกร็งกล้ามเนื้อ ตุ่นปากเป็ดไม่มีฟัน บดอาหารด้วยปุ่มหยาบๆที่อยู่บนลิ้นและเพดานปาก (เรียกกันว่า เพดานบด)


ตา - หู
ตาของตุ่นปากเป็ดอยู่หลังจงอยปาก หูอยู่ด้านข้างหัว เป็นเพียงช่องเปิด ไม่มีใบหู ขณะดำน้ำตุ่นปากเป็ดจะปิดหู ปิดตา จึงจำเป็นต้องใช้อวัยวะอื่นในการนำทางตอนอยู่ใต้น้ำ แต่เวลาอยู่บนบก ตาและหูของตุ่นปากเป็ดใช้งานได้ตามปกติ ตุ่นปากเป็ดหูไวตาไวมาก และมองเห็นได้ไกล แต่เพราะตำแหน่งของตาอยู่หลังกะบังปากจึงมองสิ่งที่อยู่ "ใต้จมูก" ไม่ถนัด


ขา - เท้า
ตุ่นปากเป็ดมีขาสั้น อุ้งเล็บแข็งแรง ใช้ขุดดินได้ดี เท้าคู่หน้าเป็นพังผืดติดกันทุกนิ้ว ตุ่นปากเป็ดใช้เฉพาะขาหน้าในการดึงตัวไปขณะว่ายน้ำ ขาหลังซึ่งมีพังผืดเพียงบางส่วนทำหน้าที่ร่วมกับหาง เป็นเพียงหางเสือบังคับทิศทางเท่านั้น คงเพราะเท้าพังผืดนี่เองที่ตุ่นปากเป็ดมีชื่อสามัญว่า platypus (เท้าแบน)

เมื่อลงน้ำ พังผืดระหว่างอุ้งเท้าจะแผ่ออก เปลี่ยนเท้าเป็นพายที่มีประสิทธิภาพ แต่เมื่อตุ่นปากเป็ดอยู่บนบกมันจะพับพังผืดเก็บไว้ จะได้ใช้กรงเล็บขุดอุโมงค์ยาวๆได้ โดยพังผืดไม่เสียหาย ที่ข้อเท้าหลังของตัวผู้มีเดือยยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยื่นออกมา เดือยของตุ่นปากเป็ดมีรูกลวงต่อไปยังต่อมพิษที่ต้นขา บริเวณใกล้ท่อสืบพันธุ์และขับถ่าย (ท่อเดียวกัน : ดูคำอธิบายเพิ่มเติมในโมโนทรีมาตา)

เวลาเดิน เท้าของตุ่นปากเป็ดกางยื่นออกมานอกลำตัว คล้ายกับสัตว์เลื้อยคลาน แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แม้แต่อีคิดนา สัตว์ร่วมอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) กับตุ่นปากเป็ด เวลาเดินเท้าจะอยู่ใต้ลำตัว

พฤติกรรมทั่วไป

การป้องกันตัว
ตุ่นปากเป็ดมีลักษณะนิสัยคล้ายอีคิดนา คือ ขี้อาย สันโดษ นอกฤดูผสมพันธุ์มักอยู่ตามลำพัง แต่ละตัวจะมีอาณาเขตของตนเอง หากมีการล่วงล้ำเขตกันขึ้นก็อาจมีการต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดน แต่การปะทะเกิดไม่บ่อยนัก เพราะเมื่อเทียบกับขนาดตัวและความเร็วในการเคลื่อนที่แล้ว ตุ่นปากเป็ดครอบครองดินแดนเป็นบริเวณค่อนข้างกว้าง แม้มีการทับซ้อนกันบ้าง โอกาสที่จะเผชิญหน้ากันก็น้อยมาก

ในฤดูผสมพันธุ์ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตุ่นปากเป็ดต่อสู้กัน คือ แย่งตัวเมีย

เวลาถูกคุกคามจากสัตว์อื่น ตุ่นปากเป็ดมักจะหลบหนีมากกว่าต่อสู้ นอกจากจวนตัวหนีไม่พ้นจริงๆ ในการต่อสู้ตุ่นปากเป็ดตัวผู้จะใช้เดือยพิษแทงและปล่อยพิษใส่ศัตรู สำหรับคน พิษตุ่นปากเป็ดไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้แผลบวม และเจ็บปวดสาหัสอยู่เป็นเวลานาน ว่ากันว่าอาจจะนานเป็นเดือนๆเลยทีเดียว แต่สำหรับสุนัข แมว และสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆ พิษนี้ทำให้ถึงตายได้

การหาอาหาร
ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืน แม้ตุ่นปากเป็ดจะเกิดและอาศัยอยู่บนบก แต่หากินและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในน้ำตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ลำธาร แม่น้ำ ทะเลสาบ ด้วยลำตัวที่เพรียว เท้ามีพังผืด ทำให้ตุ่นปากเป็ดว่ายน้ำและดำน้ำได้ดีมาก ขณะดำน้ำหาอาหารมันจะส่ายปากไปมา เพื่อให้รับประจุไฟฟ้าและสัมผัสอื่นๆได้เต็มที่ เมื่อเจอเหยื่อ ตุ่นปากเป็ดจะกลั้วน้ำพร้อมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็กๆ จำพวกกุ้งฝอย กุ้งนาง หนอนต่างๆ หอยตัวเล็กๆ และแมลงน้ำอื่นๆ ลงในคอ กรองเอาเหยื่อเหล่านี้เก็บไว้ในกระพุ้งแก้ม บางครั้งตุ่นปากเป็ดจะเก็บเหยื่อไว้จนเต็มกระพุ้งแก้ม แล้วจึงว่ายขึ้นไปนอนเคี้ยว(บด)อาหารที่ผิวน้ำ

โดยปกติ ในแต่ละวันตุ่นปากเป็ดกินอาหารในปริมาณร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว แต่สำหรับแม่ตุ่นปากเป็ดขณะให้นมลูกจะกินอาหารต่อวันเพิ่มขึ้นจนเกือบเท่าน้ำหนักตัว

การสืบพันธุ์
ตุ่นปากเป็ดเข้าวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้สองปี อวัยวะสืบพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดตัวผู้คล้ายกับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ แต่ลูกอัณฑะฝังอยู่ในร่างกาย บริเวณใกล้ไต ในขณะที่ระบบสืบพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดตัวเมียแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกในครรภ์ เพราะตุ่นปากเป็ดมีรังไข่คล้ายของนกหรือสัตว์เลื้อยคลาน ถึงแม้มีรังไข่สองข้างแต่ทำงานได้เพียงข้างซ้ายเท่านั้น เนื่องจากรังไข่อีกข้างไม่พัฒนา จึงไม่ผลิตไข่

ฤดูผสมพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดคือช่วงปลายฤดูหนาวย่างฤดูใบไม้ผลิ หรือเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ในถิ่นที่อากาศอบอุ่นกว่าฤดูผสมพันธุ์จะเริ่มเร็วกว่า ในช่วงนี้ตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัวเพราะตุ่นปากเป็ดไม่ได้จับคู่กันยาวนาน พบเห็นตุ่นปากเป็ดขณะผสมพันธุ์ได้น้อยมาก มีบันทึกไว้ว่าการที่ตัวผู้ไล่ตามและว่ายวนรอบตัวเมียแล้วงับหางนั้นเป็นการเกี้ยว ปกติตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่สันโดษไม่ค่อยข้องเกี่ยวกับตัวอื่น แต่ในช่วงเกี้ยวพาจะมีการสัมผัสตัวกันเพิ่มขึ้น และการเกี้ยวส่วนใหญ่ตัวเมียเป็นฝ่ายเริ่ม หลังการผสมพันธุ์ตัวผู้จะกลับไปยังรังของตน โดยไม่มีส่วนร่วมใดๆในการดูแลลูกอ่อน

ในช่วงนี้ ตุ่นปากเป็ดตัวเมียจะขุดอุโมงค์ยาว 20 - 30 เมตร ใช้ใบไม้ทำรังไว้ที่ก้นอุโมงค์ ประมาณหนึ่งเดือนหลังการผสมพันธุ์มันจะใช้ดินอุดช่องอุโมงค์เพื่อป้องกันศัตรู เช่น งูกับสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ และหนูน้ำ เพื่อรักษาความชื้นในห้องที่ทำรังด้วย จากนั้นจึงวางไข่ โดยทั่วไปตุ่นปากเป็ดวางไข่คราวละสองฟอง แต่บางครั้งก็มีหนึ่งหรือสามฟอง ไข่ตุ่นปากเป็ดเปลือกนิ่ม เหนียว คล้ายไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน แต่กลมคล้ายไข่นก มีขนาดประมาณ 11 มิลลิเมตร แม่ตุ่นปากเป็ดจะกกไข่ไว้แนบท้องแล้วม้วนหางมาคลุมร่างและไข่เอาไว้เป็นเวลาสิบวัน ไข่จึงออกเป็นตัว ลูกอ่อนของตุ่นปากเป็ดเรียกว่า พักเกิ้ล(puggle) เช่นเดียวกับลูกอีคิดนา

เนื่องจากตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา จึงไม่มีหัวนม พักเกิ้ลจะแกว่งจะงอยปากสั้นหนาของมันและดื่มกินน้ำนมที่ไหลซึมออกมาจากท่อเล็กๆที่ฐานนม ที่หน้าท้องแม่ พักเกิ้ลจะอยู่ในรังที่อบอุ่น ปลอดภัย และสุขสบายนี้จนอายุประมาณสี่เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีขนเรียบเป็นมันและตัวโตเกือบเท่าแม่แล้ว ลูกตุ่นปากเป็ดจึงโผล่ออกไปดูโลกภายนอก หลังจากหัดล่าเหยื่อและหัดว่ายน้ำจนคล่องแคล่วอยู่สองสามสัปดาห์ มันก็ออกไปหาที่อยู่ใหม่เป็นของตัวเอง

การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ตุ่นปากเป็ดต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดปี ทั้งบนบกและในน้ำ และเนื่องจากตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงเป็นสัตว์เลือดอุ่น สัตว์เลือดอุ่นมีระดับอุณหภูมิของร่างกายคงที่ ไม่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมเหมือนสัตว์เลือดเย็น ในฤดูหนาว แม้ในวันที่หนาวเย็นมาก ตุ่นปากเป็ดก็ยังออกว่ายน้ำหาอาหาร ความจริงข้อนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตัดข้อสงสัยที่ว่ามันอาจจะเป็นจำพวกสัตว์เลื้อยคลานออกไปได้ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่า เวลาอากาศหนาวเย็นสัตว์เลื้อยคลานจะลดอัตราเมแทบอลิซึมลง ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายของมันลดลง และทำให้มีอาการเซื่องซึม หากตุ่นปากเป็ดลดอัตราเมแทบอลิซึมลงด้วย มันก็คงไม่สามารถออกไปหาอาหารที่ก้นแม่น้ำได้

ในทางตรงกันข้าม อากาศยิ่งหนาว ตุ่นปากเป็ดก็ยิ่งต้องเพิ่มอัตราเมแทบอลิซึม เพื่อรักษาสมดุลระหว่างอุณหภูมิปกติของร่างกายและอุณหภูมิภายนอกเอาไว้ อย่างไรก็ตาม เมแทบอลิซึมหรือการเผาผลาญอาหารนี้ต้องอาศัยพลังงาน ซึ่งปกติได้มาจากอาหาร แต่ในฤดูหนาวอาหารมักจะขาดแคลน ตุ่นปากเป็ดจึงต้องดึงไขมันที่สะสมไว้ในหางมาใช้

ตุ่นปากเป็ดใช้ระบบหมุนเวียนโลหิตมาช่วยลำเลียงความร้อน ความร้อนที่ได้จากการเผาผลาญอาหาร จะลำเลียงผ่านเส้นเลือดไปสู่อวัยวะสำคัญ และลดการหมุนเวียนไปยังส่วนที่ไม่จำเป็น เช่น ขาหลัง หาง และปาก นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ช่วยเก็บกักความร้อนไว้ได้มากก็คือขนหนานุ่มของมันนั่นเอง นอกจากกันน้ำแล้ว ยังเป็นฉนวนกันไม่ให้ความร้อนระบายออกจากร่างกายได้อีกด้วย นับว่าตุ่นปากเป็ดมีผ้าห่มกันหนาวที่ดีเยี่ยม


ถิ่นอาศัย
ตุ่นปากเป็ดอาศัยอยู่แถบฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย กระจายอยู่เกือบตลอดแนวฝั่งด้านตะวันออก ทางทิศเหนือขึ้นไปถึงแม่น้ำอันนานในควีนส์แลนด์ และทางทิศใต้ลงมาถึงเกาะแทสเมเนีย
เมื่อหลายสิบปีก่อน พบตุ่นปากเป็ดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างกว่าปัจจุบัน สาเหตุที่ตุ่นปากเป็ดหายไปจากหลายพื้นที่ คาดกันว่าคงเป็นเพราะการขยายตัวของเมืองทำให้พื้นที่อาศัยของมันลดลง และมีมลภาวะทางสภาพแวดล้อมมากขึ้น หรือพื้นที่นั้นมีศัตรูของตุ่นปากเป็ด เช่น จระเข้ อาศัยอยู่ชุกชุม


บรรพบุรุษและวิวัฒนาการ
นักวิทยาศาสตร์ยังรู้น้อยมากว่าตุ่นปากเป็ดมีวิวัฒนาการมาอย่างไร แต่พบฟอสซิลอายุนับ 60 ล้านปีที่มีลักษณะคล้ายตุ่นปากเป็ด ฟอสซิลบางชนิดคล้ายตุ่นปากเป็ดมาก ต่างกันเพียงแค่สัตว์ในสมัยบรรพกาลตัวนั้นมีฟัน ส่วนตุ่นปากเป็ดไม่มี ฟอสซิลเหล่านี้ บางชิ้นพบในอเมริกาใต้และแอนตาร์กติกา นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่าในยุคที่แผ่นดินยังเชื่อมต่อกันอยู่ สัตว์ในอันดับโมโนทรีมาตา (ตุ่นปากเป็ดและอีคิดนา) คงเคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนั้นเช่นกัน

แต่สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ทำไมตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาจึงเหลือรอดอยู่เพียงแต่ในออสเตรเลียและนิวกินีเท่านั้น ยังไม่มีใครตอบได้ นอกจากมีข้อสันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะความโดดเดี่ยวของทวีปออสเตรเลีย สัตว์เหล่านี้จึงเหลือรอดมาได้
จากเวปวิกิพีเดีย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...