วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แมลงทับ

แมลงทับ




การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Arthropoda
ชั้น Insecta

อันดับ Coleoptera
อันดับย่อย Polyphaga
อันดับฐาน Elateriformia
วงศ์ใหญ่ Buprestoidea
วงศ์ Buprestidae
Leach, 1815
แมลงทับ
แมลงทับไทยที่มีอยู่ 2 พันธุ์ ทั้งพันธุ์ขาเขียวที่มีอยู่มากในภาคกลาง และพันธุ์ขาแดงที่มีมากที่สุดตามป่าเขาในภาคอีสาน ทั้งในเขตเมืองและป่าดงดิบกำลังอยู่ในอันตรายจำนวนลดฮวบอย่างน่ากลัว กลายเป็น สิ่งหาดูได้ยาก เกิดจากพืชอาหารของมันที่มีใบต้นพันชาด ต้นเต็ง ต้นพะยอม ต้นตะแบก ต้นคางคกหรือกางขี้มอด ต้นรัง ต้นแดง ต้นประดู่ ต้นกระบก ต้นมะขามป้อม ต้นมะค่าแต้ และต้นคูนลดจำนวนลงมาก อีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากคนจำนวนมากหลงใหลในรสชาติของมัน พากันจับเอาไปกิน ใช้วิธีเอาท่อนไม้ใหญ่ๆฟาดลงไปกลางลำต้นพืชอาหารที่มันเกาะอาศัยอยู่ ก่อให้เกิดการสั่นเขย่าอย่างแรงให้มันร่วงลงมาแล้วจับเอาไปกินในรูปการต่างๆ ตั้งแต่เด็ดปีกเสียบไม้ย่างกิน เอาไปผัดน้ำมันกินหรือเอาไปคั่วกิน ส่วนปีกของมันที่เด็ดออกเอาไปประดับฝาบ้านหรือไม่ก็เอาไปประดับกระติบข้าว

แมลงทับอยู่ตามป่าเขาดงไม้ได้ทั่วทั้งประเทศไทย ไม่มีภูมิภาคใดที่มันอยู่ไม่ได้สีสันอันงดงามของมันนั้นอยู่ยั้งยืนยงคง ทนอยู่กว่า 50 ปีจึงจะสลายไป ชอบกินใบไม้ครึ่งแก่ครึ่งอ่อนที่ชอบมากได้แก่ใบพันชาด ใบมะขามเทศ ใบเต็ง ใบพะยอม และใบตะแบกแดง มันกินจุมากโดยเฉพาะในช่วงที่แดดจัด แม่แมลงทับจะวางไข่ ไว้ตามโคนต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดแล้วผละจากไป น่าสังเกตว่าถ้าไม่มีไผ่สองชนิดนี้แถวนั้นจะไม่พบแมลงทับเลย

วงจรชีวิตของมันมีแค่ปีเดียว โดยอยู่ใต้ดินนานถึง 11 เดือนตั้งแต่เป็นไข่ เป็นตัวหนอน เป็นดักแด้แล้วจึงโตเต็มวัยกลายเป็นแมลงทับตัวผู้ หรือตัวเมียโบยบินไปในอากาศแล้วอยู่ตามต้นไม้ อาหาร เมื่อออกจากไข่มันกินคอรากส่วนใต้ดินของไผ่เพ็กนั่นเองเป็นอาหาร เมื่อโตเต็มที่กลับมีชีวิตอย่างสำเริงสำราญเป็นอิสระเสรีได้สั้นมาก อยู่ได้แค่ไม่เกิน 4 สัปดาห์เท่านั้นมันก็ตาย ดีหน่อยก่อนที่มันจะตายมันจะจับคู่สมสู่กันอย่างหนำใจ แล้วตัวผู้ก็ตายไป ส่วนตัวเมียตั้งท้องแล้วไข่ แล้วก็ตายตามไป.

http://www.thailantern.com/main/boards/index.php?showtopic=553

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...