วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ด้วงกว่าง แมลงกว่าง แมงคาม



ชื่อภาษาไทย ด้วงกว่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Xylotrupes Gideon Linneaus
อันดับ Coleoptera
ชื่อวงศ์ Scarabaeidia
ชื่อสามัญ Scarab beetle
ชื่ออื่น แมงคาม


ลักษณะทางกายภาพ

แมลงกว่างหรือด้วงกว่างเป็น แมลงปีกแข็ง ตัวค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายด้วงแรดมะพร้าว ลำตัวแข็งและนูน สีดำเป็นมัน รูปร่างรูปไข่ ขามีปล้องเล็กๆ 5 ปล้อง หนวดเป็นแบบแผ่นใบไม้ มี 3-4 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีลักษณะคล้ายใบไม้ 3-4 แผ่น รวม กันกลายเป็นลูกกลม จำนวนปล้องหนวดมีทั้งหมด 8 – 11 ปล้อง และตามผิวมีส่วนที่เป็นหนามใหญ่ ตัวผู้มีเขาใหญ่ยื่นตรงออกมาจากหัว ใช้สำหรับต่อสู้ศัตรู เมื่อพบศัตรู ซึ่งมักเป็นกว่างตัวผู้ด้วยกัน ก็จะเดินเข้าหากันใช้เขาดันกันไปมา ตัวไหนสู้ไม่ได้ก็ถอยไป ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ตัวอ่อน หรือตัวหนอน สีขาวตัวอ้วน ตัวงอเป็นรูปเหมือนตาขอ

แหล่งที่พบ

ด้วงกว่างอาศัยอยู่ในดิน กินมูลของซากพืชหรือซากสัตว์ ตัวหนอนด้วงอาศัยอยู่ในดิน ระยะแรกก็อยู่ตามเศษซากพืชทับถมในบริเวณที่ร่มที่มีความชื้นสูง ระยะถัดมาขุดดินฝังตัวอยู่ลึกประมาณ 7.5 – 15.0 เซนติเมตร ระยะหนอนด้วงใช้เวลาประมาณ 58 – 95 วัน มี 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเข้าดักแด้ 3 – 6 วัน แล้วจึงลอกคราบเปลี่ยนเป็นดักแด้ ซึ่งในระยะนี้ใช้เวลา 11 – 14 วัน ต่อมาก็ออกเป็นตัวเต็มวัย ออกหากินในเวลาตั้งพลบค่ำเป็นต้นไป และพบมากในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันก็หลบซ่อนตัวอยู่ในดินมากกว่าที่อื่น ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียประมาณ 18 และ 28 วัน ตามลำดับ
ประโยชน์และความสำคัญ
ส่วนมากชาวบ้านนิยมนำด้วงกว่างมารับประทานโดยการจี่ ให้ด้วงกว่างมีความกรอบ แล้วนำมารับประทานกับข้าวเหนียว จ้ำน้ำพริก

วงจรชีวิตของกว่าง


กว่างมีวงจรชีวิตประมาณ 1 ปี คือช่วงต้นฤดูฝน ในระยะที่เป็นตัวหนอนหรือ ตัวด้วงจะมีสีขาว ตัวโต มีความยาวประมาณ 5 - 6 เซนติเมตร และเส้นรอบวง ประมาณ 1 นิ้ว ในช่วงนี้จะอยู่ในดินชอบกินเศษใบไม้ผุ ตอไม้ หรือต้นไม้ที่ผุ เป็นการช่วยธรรมชาติใ นการย่อยสลายใบไม้ ต้นไม้ ให้กลายเป็นปุ๋ยแก่ดินได้เป็นอย่างดี

ต่อมากลายเป็นดักแด้ และตัวเต็มวัยเป็นวัยเจริญพันธุ์พร้อมสืบเผ่าพันธุ์ได้ ในช่วงที่เป็นตัวหนอนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน ก่อนที่จะถึงฤดูฝน เมื่อฝนตกลงมาทำให้ดินอ่อน ด้วงกว่างที่เจริญเติบโตเต็มที่ก็จะดันดินออกมาสู่โลกภายนอก เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ และเพื่อการผสมพันธุ์ กว่างตัวผู้ที่แข็งแรงเท่านั้นที่มีโอกาสรอดเพื่อการผสมพันธุ์ โดยกว่างจะต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย และฝ่ายที่ชนะก็จะได้รับรางวัลได้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย เป็นการคัดเลือกสายพันธ์ที่ดีตามธรรมชาติ ใช้วงจรชีวิตช่วงนี้ประมาณ 4 เดือน พอเข้าในฤดูหนาว กว่างตัวเมียหลังจากผสมพันธุ์ ก็จะขุดดินแล้ววางไข่ ส่วนตัวเองก็จะตาย ไข่ก็ฟักเป็นตัวหนอน เป็นดักแด้อาศัยอยู่ใต้ผิวดิน จนถึงต้นฤดูฝนก็จะขุดดินขึ้นมาผสมพันธุ์ดำรงชีวิตสืบลูกหลานต่อไป













.............................................................................ตัว เมีย.......................ตัวผู้................

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...