วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปลาปิรันย่า Piranha


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii

อันดับ Characiformes
วงศ์ Characidae
วงศ์ย่อย Serrasalmidae

สกุล Pristobrycon
Pygocentrus
Pygopristis
Serrasalmus
Catoprion

ปิรันยา หรือ ปิรันฮา (อังกฤษ: Piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Serrasalmidae ในวงศ์ปลาคาราซิน (Caracidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย ส่วนปลาในสกุลอื่นมักไม่นิยมเรียกว่าปิรันยา ถึงแม้จะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ก็ตาม

ปลาปิรันยากินเนื้อเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบในแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ มีฟันที่แหลมคมกินเนื้อของสัตว์ที่ตกลงไปอยู่ใกล้ที่อยู่ของมันเป็นอาหาร แต่ถ้าไม่มีสัตว์อะไรเลยตกลงไปในที่อยู่ของมันมันก็จะกินปลาในแม่น้ำเป็นอาหาร เป็นปลาที่อันตรายชนิดหนึ่ง ที่ทั่วโลกรู้จักดี ชนิดที่ดุร้ายมาก ได้แก่ ปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) ฯลฯ บางประเทศ เช่น ประเทศไทยห้ามนำเข้า เพราะเกรงจะแพร่ลงสู่แหล่งน้ำและขยายพันธุ์ แต่บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้
แต่ในพื้นถิ่นแล้ว คนพื้นเมืองนิยมกินปลาปิรันยาเป็นอาหาร และปลาปิรันยาเองก็มักตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas) , นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) , โลมาแม่น้ำอเมซอน (Inia geoffrensis) และนกกินปลาอีกหลายชนิด
ปลาชนิดอื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปิรันยา แต่ไม่มีความดุร้ายเท่าและสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ คือ ปลาเปคู (Pacu) หรือ ปลาคู้ ซึ่งในประเทศไทยถือเป็นปลาเศรษฐกิจและปลาสวยงามด้วย เช่น ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) และ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น

การแพร่กระจายพันธุ์
ปลา ปิรันย่า นั้นพบในลุ่มแม่น้ำอเมซอน: ใน โอริโนโค ​(Orinoco), ในแม่น้ำของกีอาน่า (Guyana), ในปารากวัย-ปารานา (Paraguay-Parana), และในระบบแม่น้ำเซาฟรังซีสกู (Sao Fransico) มีบางชนิดที่มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง แต่ในทางตรงข้ามก็มีบางชนิดที่มีการแพร่ะกระจายอยู่ในวงจำกัด. อย่างไรก็ตาม ปิรันย่า ได้เคยถูกนำเข้าไปยังสหรัฐอเมริกา, มีบางครั้งบางคราวที่ถูกพบใน แม่น้ำโปโตแม็ค (Potomac RIver) แต่ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพหนาวจัดของบริเวณนั้น. จนเมื่อไม่นานมานี้ ปิรันย่า ได้ถูกจับได้โดยชาวประมงใน แม่น้ำคาทาวบา (Catawba RIver) ใน North Carolina นี่เป็นกรณีแรกใน North Carolina. ปลาปิรันย่าได้ถูกพบอีกครั้งที่ทะเลสาปแคปไต (Kaptai Lake) ในตะวันออกเฉียงใต้ของบังคลาเทศ

ลักษณะของปลาปิรันย่า
ลักษณะทั่วไปของปลาปิรันยา มีลำตัวแบนข้าง ส่วนท้องกว้าง บางชนิดมีจุดสีน้ำตาลและสีดำ บางชนิดข้างลำตัวส่วนล่างสีขาว, สีเหลืองและสีชมพู แล้วแต่ละชนิดแตกต่างออกไป
ปลาปิรันย่า โดยปกติมีขนาดตั้งแต่ 15-25 ซม. (6-10 นิ้ว) ในบางชนิดพบว่ามีขนาดถึง 41 ซม. (24 นิ้ว) เลยทีเดียว
ปลา ปิรันย่าในสกุล Serrasalmus, Pristobrycon, Pygocentrus, และ Pygopristis สามารถจำแนกได้ง่ายมาก โดยดูจากลักษณะเฉพาะของฟัน. ปลาปิรันย่าทั้งหมด มีฟันที่มีความคมเรียงกันเป็นแถวเดียวบนขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง; ฟันเหล่านั้นจะเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบและเชื่อมต่อกัน เพื่อใช้ในการกัดและฉีกอย่างรวดเร็ว. ฟันที่มีลักษณะเฉพาะของมันจะมีรูปแบบเป็นทรงสามเหลี่ยม คล้ายใบมีด.ฝีปากล่างยื่นออกมายาวมากกว่าริมฝีปากบน แต่เมื่อหุบปากจะปิดสนิทระหว่างกันพอดี ปลาปิรันย่าส่วนใหญ่จะมีฟันเขี้ยวแบบสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่ ยกเว้นในสกุล Pygopristis จะมีฟันเขี้ยวแบบห้าเหลี่ยม และ ฟัน premaxillary มีอยู่ด้วยกัน 2 แถว ซึ่งจะพบได้ในปลาส่วนใหญ่ใน วงศ์ย่อย (Subfamily) Serrasalminae

นิเวศน์วิทยา
ปลาปิรันย่า เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเป็นอย่างมากของ สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ. อย่างไรก็ตามในอาณาเขตที่มีขนาดใหญ่ไปจนถึง พื้นที่ลุ่มที่มีการระบายน้ำได้ดี, ปลาปิรันย่ามีการแพร่กระจายและเป็นวงกว้าง และ แหล่งที่อาศัยมีความหลากหลายอยู่ได้ทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็น แหล่งน้ำไหล (Lotic) และ แหล่งน้ำนิ่ง (Lentic). ปลาปิรันย่า บางชนิดมีจำนวนมากในบางพืิ้นที่ และ ในหลายๆชนิด อาศัยอยู่รวมกัน. ซึ่งเป็นได้ทั้งผู้ล่า (Predators) และผู้กินซาก (Scarvengers).

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...