วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

แมลง จั๊กจั่น

จั๊กจั่น







เรื่องราวของจั๊กจั่น แมลงที่กำเนิดบนโลกเมื่อ 230-295 ล้านปีก่อน Mar 11, '09 3:45 AM
for everyone

ชื่อภาษาไทย : จักจั่น
ชื่อภาษาอีสาน : จักจั่น, เร่อย (เขมร)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cicada
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Meimuna opalifera Walker, Pompania sp.
Order : Homoptera
Family : Cicadidae




ลักษณะทางกายภาพ

จักจั่นถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อราว 230-295 ล้านปีก่อน ในยุคไทรแอสสิก (Triassic) นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้จักจั่นเป็นแมลงอยู่ในอันดับ (Order) Homoptera ซึ่งเป็นกลุ่มของแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหาร เช่นเพลี้ยชนิดต่างๆ ครั่ง แมลงหวี่ขาว

ลักษณะที่เด่นชัดของแมลงในอันดับนี้ก็คือ ปีกคู่หน้ามีลักษณะและขนาดความหนาของเนื้อปีกเท่ากันตลอดทั้งแผ่นปีก ชื่ออันดับที่มาจากลักษณะเด่นที่ว่านี้ คือ homo แปลว่า เหมือนกัน, เท่ากัน ส่วน ptera แปลว่า ปีก ซึ่งจะหนาทึบหรือบางใสก็ได้แล้วแต่ชนิดของแมลง ปีกของจักจั่นจะบางใสเหมือนกันทั้งแผ่นปีก

จักจั่นเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในบรรดาแมลงอันดับนี้ทั้งหมด คือมีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงบางชนิดที่ มีขนาดตัวยาวกว่า 10 เซนติเมตร มีหนวดสั้นๆ (หนวดแบบขน-setaceoux) จนเกือบจะมองไม่เห็นดูคล้ายปุ่มเล็กๆ มากกว่าที่จะเป็นหนวด มีตาเดี่ยวสามตา ส่วนหัว ลำตัว ท้อง จะเชื่อมต่อกลมกลืนเป็นส่วนเดียวกัน ปีกคู่หน้าจะบางใส

วงจรชีวิตของจักจั่น


ช่วงชีวิตของจักจั่นเป็นดังนี้

ไข่ (4 เดือน) - วางไข่ใต้เปลือกไม้
ตัวอ่อน (4-6ปี) - ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดิน ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากไม้เป็นอาหาร
ตัวเต็มวัย (1-2 เดือน) - อาศัยอยู่ตามต้นไม้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เป็นอาหาร
ตัวผู้ทำเสียงได้ดังมาก ประมาณ 200 เดซิเบล
ตัวเมียไม่สามารถทำเสียงได้

เสียงร้องของจักจั่น

ลักษณะเด่นของจักจั่น คือเพศผู้สามารถทำเสียงได้ แหล่งกำเนิดเสียงมาจากบริเวณด้านใต้ลำตัวของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนอก จักจั่นแต่ละชนิดมีเสียงเฉพาะในแต่ละตัว ทำให้สามารถแยกประเภทของจักจั่นได้จากเสียงร้อง
ทำนองของเสียงร้องอาจบ่งบอกได้ถึงการป้องกันตัว ตกใจเมื่อถูกรบกวน หรือร้องเรียกเพื่อหาคู่ จักจั่นมีส่วนหัวและส่วนอก กว้างเรียวมาทางหาง มีตาเดี่ยว 3 ตาเรียงกันเป็นรูป 3 เหลี่ยม อยู่ใกล้กับด้านสันหลัง ของศีรษะ หนวดสั้นเป็นรูปขน ปากเป็นแบบเจาะดูด มีปีกบางใสและยาวกว่าลำตัว เวลาเกาะอยู่กับที่ ปีกจะหุบชิดกันเป็นรูป 3 เหลี่ยม มองคล้ายหลังคา ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนสลับกับสีน้ำตาลเข้ม ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อน ตาโต ขาหน้ามีขนาดใหญ่ไว้สำหรับขุดดิน ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวตั้งแต่หัวจรดปีกประมาณ 30 – 40 มิลลิเมตร

ในการศึกษาเรื่องเสียงของจักจั่นพบว่า ส่วนใหญ่การทำเสียงของจักจั่นจะเป็นไปเพื่อการหาคู่ครอง สำหรับจักจั่น "เสียง" ก็ไม่ ต่างไปจาก "รูปร่างหน้าตาและความสามารถ" ของคนเรา คุณภาพของเสียงบ่งบอกถึงคุณภาพของร่างกาย และดุจเดียวกัน พลังเสียง ท่วงทำนอง ความไพเราะ คือลีลา เฉพาะของจักจั่นตัวผู้แต่ละตัว ที่จะประกาศหรือโชว์ให้ตัวเมียได้เห็น (ได้ยิน) ศักยภาพและพึงพอใจในที่สุด

แหล่งที่อยู่อาศัย

ตัวเต็มวัยเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ ถ้าในประเทศไทยจะพบมากที่ต้นกุง หรือกอหน่อไม้ ตัวเมียจะเจาะต้นไม้ให้เป็นรูเล็ก ๆ เพื่อวางไข่เมื่อไข่ฟักกลายเป็นตัวอ่อนแล้ว ตัวอ่อนจะร่วงลงสู่พื้นดิน ใช้ขาหน้าขุดฝังตัวอยู่ในดิน เมื่อเจริญเต็มที่จะไต่ขึ้นมาบนต้นไม้ ลอกคราบ กลายเป็นตัวเต็มวัยอาศัยอยู่บนต้นไม้ ระยะที่เป็นตัวเต็มวัยนี้สั้นมาก คือเมื่อผสมพันธุ์และวางไข่จะตายลง

รูปแบบการไล่ล่า

จักจั่นเป็นแมลงที่ชาวบ้านนิยมบริโภค วิธีการไล่ล่าสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. ใช้ยางพันไม้แล้วติดที่ปีกของจักจั่น วิธีนี้ชาวบ้านเรียกว่า "ติดจักจั่น" จะเริ่มจากนำยางที่เรียกว่า "ตัง" ซึ่งได้จากต้นไฮ้ มาผสมกับยางของต้นกุง คนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันชาวบ้านใช้ไม้ไผ่ มาจุ่มลงแล้วพันยางตังให้ติดบริเวณปลายของไม้ นำไปแตะที่ปีกจักจั่นที่เกาะอยู่ตามกิ่งไม้ เมื่อปีกติดยางตังจักจั่นจะบินไม่ได้ ชาวบ้านใช้มือดึงจักจั่นออกจากตัง

วิธีนี้ทำให้ปีกของจักจั่นฉีกขาด ชาวบ้านนิยมหาจักจั่นด้วยวิธีนี้ เพราะเห็นตัวจักจั่นได้ไม่ชัดเจนเท่าใดนัก ข้อควรระวังในการไล่ล่าด้วยวิธีนี้ คือ ต้องระวังไม่ให้ยางตังติดเสื้อ หรือผมของผู้ไล่ล่า เพราะยางตังไม่สามารถซักหรือล้างออกได้

2. ใช้วิธีการเขย่าต้นไม้ วิธีการนี้ชาวบ้านใช้เมื่อไล่ล่าจักจั่นตอนกลางคืน ชาวบ้านสังเกตตัวจักจั่นจากต้นกุงเป็นหลัก การหาจะไปพร้อมกับไฟฉายหรือโคมไฟแบตเตอรี่ บางคนก็ยังใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน คือใช้การ "กระบอง" เมื่อพบก็เขย่าต้นกุงให้ตัวจักจั่นหล่นลงมา ชาวบ้านอธิบายว่า ตอนกลางคืนจักจั่นจะมองไม่เห็น และไม่สามารถบินได้ เมื่อตัวหล่นลงมาจึงใช้มือเปล่าตะครุบได้อย่างง่ายดาย

นอกจากสังเกตจากต้นกุงแล้ว ชาวบ้านยังสังเกตจากต้นไม้อื่นๆ อีก โดยชาวบ้านไปยืนอยู่ใต้ต้นไม้ ถ้าต้นใดมีจักจั่นก็จะมีละอองน้ำคล้ายฝนตกปรอยๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "เยี่ยวจักจั่น" ถ้าต้นใดมีละอองน้ำมาก ก็แสดงว่ามีจักจั่นอยู่มาก ก็ลงมือเขย่าต้นไม้ หรือใช้ไม้ตีตามกิ่งเพื่อให้ตัวจักจั่นล่วงลงสู่พื้น และเก็บด้วยมือเปล่า

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ช่วยบอกวิธีปราบจั๊กจั่น ที่อยู่ในบ้านให้ด้วยค่ะ เพราะหนวกหูมาก (สาเหตุที่มันอยู่ในบ้านเพราะติดมากับใบเตยหอมที่ซื้อมาจากดอนหวาย ช่วยบอกด่วน ๆๆๆๆ
ขอบคุณมากค่ะ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...