อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves
อันดับ Struthioniformes
วงศ์ Struthionidae
Vigors, 1825
สกุล Struthio
Linnaeus, 1758
สปีชีส์ S. camelus
นกกระจอกเทศ (Ostrich) จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง
นกกระจอกเทศ จัดว่าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 160 กิโลกรัม มีอายุยืนได้ถึง 65 – 75 ปี ตัวผู้มีขนาดโตกว่าตัวเมีย ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยขนตามลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาวสวยงามมาก
สำหรับตัวเมียจะมีขนตามตัวสีน้ำตาลเทาอ่อน ปากมีลักษณะแบนและกว้างมาก ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศีรษะล้าน มีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อนคล้ายสีครีมหรือผลมะอึก คอยาวและมีขนอ่อนเช่นเดียวกับหัว ปีกเล็กไม่สมตัว ขนที่ปีกยาวพอสมควรแต่ก็ไม่ใช่ขนสำหรับการบิน ซึ่งขนปีกมีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน
ลักษณะเท้าของนกกระจอกเทศจะพบว่ามีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ ปลายนิ้วทู่ ๆ ใหญ่ ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและนิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มากคือนิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็วของฝีเท้าจะมีนิ้วครบชุดมือ – เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้าเพื่อวิ่งหนีศัตรู ธรรมชาติก็จะวิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่นเท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า
มีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกา สำหรับคนไทยแล้วจะพบเห็นนกกระจอกเทศก็เฉพาะตามสวนสัตว์เท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ที่ให้ผลตอบแทนหลายอย่างที่มีประโยชน์ เช่น หนังคุณภาพเยี่ยมดีกว่าหนังจระเข้เสียอีก เนื้อรสชาดอร่อยเหมือนเนื้อวัว แต่ไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำกว่ามาก ขนทำเครื่องประดับ แถมไข่ยังใช้แกะสลัก หรือวาดลวดลายเป็นเครื่องประดับอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวเป็นคุณลักษณะของสัตว์เศรษฐกิจอย่างแท้จริง อาจจะเป็นของแปลก ถ้าเมืองไทยจะตั้งฟาร์มเลี้ยงนกกระจากเทศแต่โดยความเป็นจริงแล้วในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ อิสราเอล ออสเตรเลีย เป็นต้น มีฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศมากมาย อย่างในอเมริกามีถึง 3,000 กว่าฟาร์ม แล้วยังตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงนกกระเทศอีกด้วย หนังของนกกระจอกเทศเป็นที่นิยมของผู้ผลิตชั้นนำ เช่น คริสเตียนดิออร์ เทสท์โตนี ฯลฯ เพื่อใช้ผลิตรองเท้าบู๊ต เข็มขัด กระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น ซึ่งประเทศที่นิยมสินค้าจากหนังนกกระจอกเทศ คือ ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อเมริกา และอิตาลี สำหรับเนื้อนกกระจอกเทศก็มีแนวโน้มที่จะทดแทนเนื้อวัว เพราะเนื้อมีสีแดง เหมือนเนื้อวัว โดยเฉพาะในกลุ่มชนที่ไม่นิยมบริโภคเนื้อวัว เพราะรสชาดเหมือนเนื้อวัวแต่โปรตีนสูงกว่าและโคเลสเตอรอลต่ำกว่า ดังนั้น เพื่อเป็นข้อมูลแก่เกษตรกรไทยหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ การเลี้ยงนกกระจอกเทศ กลุ่มงานสัตว์ปีก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ จึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือของต่างประเทศมาเพื่อให้ท่านได้ศึกษาเป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งหวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านบ้าง
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ ก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น โค สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ ย่อมจะต้องมีโรงเรือน อาหาร การจัดการเลี้ยงดู เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตที่ผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสนใจและศึกษาเพื่อจะได้จัดให้เหมาะสมกับพันธุ์สัตว์ ดังนี้
ลักษณะของโรงเรือน
เนื่องจากนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ป่ามาก่อน กินหญ้าและแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหาร ดังนั้น โรงเรือนของนกกระจอกเทศ จึงมี 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่เป็นบริเวณโรงเรือน (Shed) โดยจะต้องกั้นเป็นห้องมีประตูปิดเปิด สำหรับขังนกกระจอกเทศเพื่อการรักษา หรือกั้นไม่ให้นกกระจอกเทศรบกวนขณะที่เข้าไปเก็บไข่ออกไปฟัก เพราะช่วงผสมพันธุ์และออกไข่ นกกระจอกเทศ ค่อนข้างจะดุ ตลอดจนเป็นที่วางภาชนะให้น้ำและอาหาร
2. ส่วนที่เป็นบริเวณสำหรับวิ่งเล่น หรือออกกำลังกาย ซึ่งควรจะปลูกหญ้าไว้ให้นกได้จิกกินด้วย
พื้นที่ที่ใช้เลี้ยงนกกระจอกเทศ จะไม่สมารถระบุตายตัวแน่นอนว่าจะต้องเป็นเท่าไร ทั้งนี้ขึ้นกับความสมบูรณ์ของพืชหรือหญ้าเล็ก ๆ และพื้นที่เหลือใช้ด้วย
รั้ว
ควรสูง 1.50-2.00 เมตร โดยใช้ลวดที่ไม่มีหนามแหลมคม เพราะจะทำให้นกกระจอกเทศได้รับอันตรายได้ อาจใช้เป็นตาข่ายถัก หรือลวดกั้นเป็นช่วง ๆ ก็ได้ เพราะปกตินกกระจอกเทศจะไม่บินหนีอยู่แล้ว การจะใช้วัสดุอะไรจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของนกกระจอกเทศ และทุนทรัพย์ของผู้เลี้ยงด้วย
อาหารนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศเป็นสัตว์กินพืช (Herbivorous) กระเพาะจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่แต่ไม่มี Crop และกระเพาะพัก (Proventriculus) เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) เช่น โค กระบือ ดังนั้น อาหารของนกกระจอกเทศ จึงเป็นพืช ผัก หญ้า และสัตว์เล็ก ๆ เช่น ลูกกบ จิ้งจก หรือ แมลงต่าง ๆ นอกจากนี้ยังจิกกินก้อนหิน หรือหินเกล็ดเล็ก ๆ เพื่อช่วยในการบดย่อยอาหารที่บริเวณกระเพาะบด สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์ม อาหารของนกกระจอกเทศมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งจะต้องคำนวณให้ตรงตามความต้องการของนกกระจอกเทศอายุต่าง ๆ กันโดยจะต้องมีแร่ธาตุอาหารครบถ้วย และเพียงพอโดยเฉพาะแคลเซียม
นอกจากนี้จะต้องมีหญ้าแห้งหรือหญ้าสดและหินเกล็ดตั้งไว้ให้นกกระจอกเทศจิกกินด้วย
การฟักไข่นกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศถ้าผล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ (Wild Ostrich) จะถึงอายุผสมพันธุ์เมื่อเพศผู้อายุ 3-4 ปีขึ้นไป ส่วนเพศเมีย 2.5 ปีขึ้นไป แต่นกกระจอกเทศที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม (Intensive) จะใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่อเพศผู้อายุ 2.5 ปี ขึ้นไป ส่วนเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารและการจัดการเป็นหลัก อัตราส่วนที่ใช้ผสมพันธุ์เพศผู้ 1 ตัวต่อเพศเมีย 1-3 ตัว นกกระจอกเทศจะผสมพันธุ์ในช่วงที่มีอากาศเย็นและแห้ง ซึ่งที่เลี้ยงอยู่ที่กรมปศุสัตว์จะออกไข่ในเดือนตุลาคมถึงเมษายน และจะออกไข่ปีละไม่เกิน 6 เดือน โดยออกไข่ทุก 2 วันต่อ 1 ฟอง ไข่หนักฟองละ 900-1,650 กรัม และมีความยาว 6-8 นิ้ว เปลือกไข่สีขาวครีม จนไข่ได้ 12-16 ฟอง ก็จะหยุดฟักไข่ (Clutch) โดยตัวเมียจะฟักไข่ในตอนกลางวัน ตัวผู้จะช่วยฟักในตอนกลางคือ ซึ่งจะใช้เวลาฟักไข่ 42 วัน ในแต่ละปีแม่นกกระจอกเทศจะให้ไข่ประมาณ 36-42 ฟอง แต่ถ้าเก็บไข่ออกจะทำให้แม่นกกระจอกเทศออกไข่ได้มากขึ้น ซึ่งบางตัวให้ไข่ถึง 90 ฟอง สำหรับการเลี้ยงในระบบฟาร์ม จะไม่ปล่อยให้นกกระจอกเทศฟักไข่เอง แต่จะนำไข่ไปฟักด้วยเครื่องฟักไข่ ซึ่งมีวิธีการคล้ายการฟักไข่เป็ด ไข่ไก่ ดังนี้
การดูแลไข่ฟัก
ไข่ที่จะใช้สำหรับฟักหลังจากเก็บจากรังไข่แล้ว จะต้องทำการรมควันฆ่าเชื้อด้วยก๊าซฟลอมาดิไฮด์ก่อนนำไปไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 20 ํC - 22 ํC และเก็บนานไม่เกิน 7 วัน ใสระหว่างที่เก็บจะต้องทำการกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟักจะต้องนำไข่ฟักออกจากห้องควบคุมอุณหภูมิมาไว้ที่ห้องที่อุณหภูมิมาไว้ที่ห้องที่อุณหภูมิปกติ (preheat) เสียก่อนประมาณ 8-10 ชั่ว โมง เพื่อหรับความเย็นของไข่สู่อุณหภูมิปกติ (ประมาณ 35 ํC) ถ้านำไข่เข้าตู้ฟักทันทีจะทำให้เชื้อตาย(Embryonic shock) เนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเย็นไปร้อน
อุณหภูมิและความชื้น
อุณหภูมิที่ใช้ในการฟักไข่ คือ 36.2 ํC มีความชื้น 40% จะใช้เวลาฟักไข่นาน 41-43 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิ 35 ํC ความชื้น 40% จะใช้เวลาฟักไข่ 43-47 วัน หากเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นจะทำให้อัตราการตายของลูกนกกระจอกเทศระยะแรกเพิ่มสูงขึ้น
การส่องไข่
ส่องไข่ 2 ครั้ง เพื่อคัดเลือกไข่ที่ไม่มีเชื้อหรือเชื้อตายออกโดยครั้งแรกจะทำการส่องไข่หลังจากฟักไปแล้ว 2 สัปดาห์ หรือหากชำนาญอาจส่องได้เมื่อฟักไข่ไปแล้ว 7-10 วัน ส่วนครั้งที่สองจะส่องก่อนย้ายจากตู้ฟัก (Setter) ไปตู้เกิด (Hatcher) หรือเมื่อฟักไข่ไปแล้ว 35 วัน
การกลับไข่
การกลับไข่มีความสำคัญต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็นอย่างยิ่ง จำนวนครั้งของการกลับให้ขึ้นกับองศาของไข่ คือ
กลับไข่ 2(ครั้ง) กลับไข่ทำมุม 90 (องศา)
กลับไข่ 6(ครั้ง) กลับไข่ทำมุม 45 (องศา)
ทุกชั่วโมง 45
เมื่อย้ายไปตู้เกิดแล้วไม่จำเป็นต้องกลับไข่อีก
การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสุกร โค กระบือ ไก่ และอื่น ๆ ย่อมต้องการอาหารและวิธีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุของสัตว์ การเลี้ยงนกกระจอกเทศก็เช่นเดียวกันวิธีการเลี้ยงดูในแต่ละช่วงอายุก็จะแตกต่างกันด้วย ดังนี้
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุ 0-4 สัปดาห์
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศระยะนี้คือ อุปกรณ์สำหรับให้น้ำ ให้อาหาร เครื่องกกลูกนก วัสดุรองพื้น เป็นต้น ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะทำการกกนอกจากนี้อุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องสะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วสำหรับเครื่องกกลูกนกก็จะต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อยเสียก่อนลูกนกมาถึงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สำหรับข้อความปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการและเลี้ยงดูลูกนกกระจอกเทศระยะนี้ มีดังนี้
1. ติดไฟเครื่องกกก่อนที่ลูกนกกระจอกเทศมาถึง 3-4 ชั่วโมง โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 90-95 ํF
2. เติมวิตามินในน้ำสำหรับเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศ ก่อนลูกนกมาถึง 1-2 ชั่วโมง เพื่อปรับให้อุณหภูมิของน้ำ มีความแตกต่างจากสภาพแวดล้อมไม่มากนัก และให้กินน้ำผสมวิตามิน 10-14 วัน
3. ลูกนกกระจอกเทศ อายุ 2-3 วันแรก อาจจะไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เพื่อให้ลูกนกกระจอกเทศดูดซึมและย่อยไข่แดงให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้อาหารข้นที่มีโปรตีน 20-22% พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่ แคลเซี่ยม 1.4 % ฟอสฟอรัส 0.7% หลังจาก 7-10 วัน อาจให้หญ้าสดที่สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แก่ลูกนกกระจอกเทศเพิ่มขึ้น และควรตั้งหินเกล็ดไว้ให้กินตลอดเวลา
4. ระยะแรกลูกนกกระจอกเทศจะยังไม่รู้จักที่ให้น้ำที่ให้อาหารโดยนำลูกนกไปที่ที่ให้น้ำแล้วจับปากจุ่มน้ำ 2-3 ครั้ง
เนื่องจากนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ชอบเล่น ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารอาจจะใส่ลูกบอลพลาสติก ลูกปิงปิง หรือลูกกอล์ฟ เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วยจิกกินอาหารไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหารได้มากยิ่งขึ้น
5. ควรขยายวงล้อมกกออกทุก ๆ 3-4 วัน การขยายกกออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศและควรลดอุณหภูมิในการกกลงครั้งละ 5 ํF โดยจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศนานประมาณ 8 สัปดาห์ทั้งนี้ให้สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย
6. อัตราส่วนของรางอาหารและรางน้ำ 4 เซนติเมตรต่อลูกนกกระจอกเทศหนัก 1 กิโลกรัม
7. อัตราการเจริญเติบโตระยะแรกประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการเจริญเติบโตจะน้อยกว่าเดือนละ 1 ฟุต
8. ให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมงในระยะ 4 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นให้แสงสว่างลดลงเหลือ 20-23 ชั่วโมง
9. ควรตรวจดูวัสดุรองพื้น จะต้องไม่ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่นหรือมีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย ถ้ามีต้องรีบแก้ไขทันที
10. ควรสังเกตุอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่ปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อน ไม่เข็งแห้งหรือเป็นเมล็ดเหมือนแพะ ปัสสาวะจะต้องเป็นน้ำใสไม่เหนียวหรือขุ่นข้น
11. ควรเข้มงวดเรื่องสุขาภิบาล เมื่อนกกระจอกเทศแสดงอาการผิดปกติจะต้องรีบหาสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขโดยด่วนต่อไป
การเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก (อายุ 1-3 เดือน)
เมื่อครบกำหนดกกนกลูกนกกระจอกเทศหรือเห็นว่าลูกนกแข็งแรงดีแล้วให้ยกเครื่องกกออก แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้ตื่นตกใจ โดยมีการจัดการ ดังนี้
1. ยกเครื่องกกออก และสังเกตอาการของลูกนกกระจอกเทศหากพบอาการผิดปกติให้รีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยทันที
2. ภาชนะที่ให้อาหารควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และให้อาหารนกกระจอกเทศเล็กครั้งละน้อย ๆ วันละ 4-5 ครั้ง ส่วนภาชนะที่ให้น้ำควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั่ง และมีน้ำให้นกกระจอกเทศกินตลอดเวลาด้วย
3. เมื่อลูกนกกระจอกเทศสมบูรณ์และแข็งแรงดีแล้ว ควรปล่อยให้ลูกนก ออกไปเดินเล่นด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. ตรวจสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศเป็นประจำทุกวันตลอดจนสภาพแวดล้อม การระบายอากาศและสภาพของวัสดุรองพื้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
5. บันทึกอัตราการตาย การกินอาหาร การให้ยกหรือวัคซีนการเจริญเติบโต ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
การเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4-23 เดือน)
การเลี้ยงและการจัดการในระยะนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่นกกระจอกเทศมีการเจริญเติบโตเร็วมาก ซึ่งมีน้ำหนักตัวไม่สอดคล้องกับขานกที่มีขนาดเล็ก จึงมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว หรือขาผิดปกติ ดังนั้นเพื่อให้ได้นกกระจอกเทศที่ดีจึงต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแนวทางการเลี้ยงดู ดังนี้
1. ใช้อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่นที่ประกอบด้วยพลังงาน 2,400 กิโลแคลลอรี่ โปรตีน 18% แคลเซียม 1.6% ฟอสฟอรัส 0.8% และเสริมด้วยหญ้าแห้งหรือหญ้าสด นอกจากนี้ควรควบคุมน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศ อย่างให้น้ำหนักเพิ่มเร็วเกินไปเพราะขายังพัฒนาไม่เต็มที่ที่จะรับน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว
2. ควบคุมการระบายอากาศภายในโรงเรือน ส่วนบริเวณภายนอกสำหรับให้นกกระจอกเทศเดินเล่น จะต้องระมัดระวังอย่าให้มีเศษวัสดุ เช่น เศษผ้า เหล็ก ตะปู ฯลฯ ตกหล่นอยู่ เพราะนกจะจิกกินซึ่งอาจจะทำให้นกกระจอกเทศตายได้ (Hardware Disease)
3. จัดอัตราส่วนพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศซึ่งกำหนดพื้นที่ให้ตัวละ 1.5 ตารางเมตร สำหรับในบริเวณที่เป็นโรงเรือนและบริเวณด้านนอกที่วิ่งเล่นตัวละอย่างน้อย 200 ตารางเมตร และไม่ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงเดียวกันมากกว่า 40 ตัว
4. เพิ่มภาชนะให้น้ำและอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศ ที่เลี้ยงในแต่ละฝูง และควรทำความสะอาดภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเป็นประจำทุกวัน
5. ไม่จำเป็นต้องให้แสงไฟในเวลากลางคืน นกกระจอกเทศจะได้รับแสงสว่างตามธรรมชาติก็เพียงพอแล้ว
6. จดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้อาหาร อัตราการตาย การเจริญโตและอาการผิดปกติต่าง ๆ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ-แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
นกกระจอกเทศที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง จะเริ่มให้ผลผลิตและผสมพันธุ์ได้ เมื่อเพศเมียอายุ 2 ปีขึ้นไป และเพศผู้ 2.5 ปีขึ้นไป และจะให้ผลผลิตติดต่อกันนานถึง 40 ปี ดังนั้น เพื่อให้ได้รับผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ จึงควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ให้อาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน 15-17% พลังงาน 2,300-2,600 กิโลแคลลอรี่ แคลเซี่ยม 18% ฟอสฟอรัส 0.9% ให้อาหารวันละ 1-3 กิโลกรัมต่อตัว และควรเสริมด้วยหญ้า นอกจากนี้จะต้องมีหินเกล็ดตั้งไว้ให้นกจิกกินด้วย เพื่อจะช่วยในการย่อยที่กระเพาะบด
2. ภาชนะที่ให้น้ำและอาหาร ควรทำความสะอาดทุกวัน และมีน้ำตั้งให้เกิดตลอดเวลา
3. อัตราส่วนที่ใช้ผสมพันธุ์ คือ เพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1-3 ตัว
4. จัดพื้นที่ให้เหมาะสม โดยใช้พื้นที่ด้านภายในโรงเรือนตัวละ 5-8 ตารางเมตร และบริเวณลานตัวละ 400-500 ตารางเมตร และควรเลี้ยงฝูงละ 2-4 ตัว (เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 1-3ตัว) เท่านั้น
5. เก็บไข่ออกทุกวัน และนำไปรวบรวมไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรอการเข้าตู้ฟัก แต่จะต้องมีไข่ปลอมวางไว้เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศไข่ติดต่อไปเรื่อย ๆ และควรจะขังนกกระจอกเทศไว้ด้านนอกโรงเรียนก่อนที่จะเก็บไข่ออก เพราะนกกระจอกเทศช่วงผสมพันธุ์จะดุร้าย อาจทำอันตรายได้
6. ตรวจสุขภาพนกกระจอกเทศทุกวัน หากมีปัญหาหรือผิดปกติต้องรีบแก้ไขโดยทันที
7. ตรวจดูสุขภาพภายในโรงเรือนเป็นประจำทุกวัน หากอุปกรณ์ใดชำรุดจะต้องรีบซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ทันทีหรือแก้ไขให้เหมาะสมที่จะใช้งานได้ต่อไป
8. จดบันทึกการให้ผลผลิต การตาย การกินอาหาร การให้ยา และวัคซีน และอื่น ๆ เป็นประจำทุกวัน
นกกระจอกเทศจะส่งเข้าโรงงานแปรรูปเมื่ออายุ 12-14 เดือน ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 85-110 กิโลกรัม ผลผลิตที่สำคัญคือ
1. หนัง ประมาณตัวละ 1.2-1.4 ตารางเมตร ซึ่งหนังของนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีและราคาสูงมาก แพงกว่าหนังจระเข้ นิยมนำไปทำรองเท้าบู๊ต กระเป๋า เข็มขัด เสื้อแจ็คเก๊ต ส่วนประกอบของฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
2. เนื้อ มีสีแดงและรสชาดคล้ายเนื้อวัว แต่ไขมันและโคเสลเตอรอลต่ำกว่าเนื้อวัวมาก ซึ่งจะเหมาะสมสำหรับผู้มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ และผู้ไม่นิยมรับประทานเนื้อวัว ซึ่งราคาในต่างประเทศประมาณกิโลกรัมละ 500-800 บาท
3. ขน นกกระจอกเทศสามารถให้ขนได้ปีละ 2 ครั้ง ประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ซึ่งนำไปใช้ทำเครื่องประดับ ตบแต่งเสื้อผ้า ดอกไม้ และที่สำคัญคือ ใช้ทำไม้ปัดฝุ่น ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอิเล็คโทรนิคที่บอบบาง
4. ไข่ เนื่องจาดไข่นกกระจอกเทศมีขนาดใหญ่หนักประมาณฟองละ 900-1,650 กรัม และเปลือกมีสีสวยจึงนิยมนำไข่ที่ไม่ใช้ฟักหรือไข่เชื้อตายมาแก้สลักหรือวาดลวดลายบนเปลือกไข่ ขายได้ถึงฟองละ 1,000-3,000 บาท
จากเวป วิกิพีเดียและhttp://web.ku.ac.th/agri/ostrich/ost-3.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น