อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves
อันดับ Pelecaniformes
วงศ์ Pelecanidae
Rafinesque, 1815
สกุล Pelecanus
Linnaeus, 1758
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่ มีความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ 52 - 60 นิ้ว เป็นนกน้ำ ขาสั้นใหญ่ ปากยาวแบนข้างใต้มีถุงสีออกม่วงขนาดใหญ่ บริเวณขอบปากบนมีจุดสีน้ำเงินเข้มอยู่เป็นระยะตามความยาวของจงอยปาก ตีนมีพังผืดสีเหลืองขึงเต็มระหว่างนิ้วทุกนิ้วคล้ายเป็ด ม่านตาสีแดง แข้งและเท้าสีเนื้อ สามารถว่ายน้ำได้ดี บินได้สูง ในฤดูผสมพันธุ์ ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินในช่วงบนของลำตัว ส่วนช่วงล่างจะเป็นสีขาว แต่ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปีก หางและส่วนใต้ลำตัว จะมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกับนกกระทุงที่ยังไม่โตเต็มที่ ทั้งตัวผู้และตัวเมียรูปร่างและสีสันเหมือนกัน นกกระทุงชอบอยู่เป็นฝูง กินปลา กุ้ง กบ สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆเป็นอาหารและหาอาหารด้วยกัน ถ้าตัวใดตัวหนึ่งทำอะไรตัวอื่นจะทำตาม เวลาที่มันอยู่เฉยๆจะหันหน้าไปทางเดียวกันหมด เวลาบินจะหดคอเข้ามา บินกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง บางครั้งบินเป็นรูปตัว "วี" (V) ส่วนใหญ่จะบินเป็นรูปขั้นบันไดกว้างๆ รังสร้างด้วยกิ่งไม้ใหญ่ๆวางสานกันบนต้นไม้สูงๆ ขนาดของรังมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ฟุต วางไข่ครั้งละประมาณ 3 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันกกไข่ประมาณ 4 - 5 อาทิตย์ จึงฟักเป็นตัว คนยุโรปในยุคกลางเชื่อกันว่านกกระทุงเลี้ยงลูกอ่อนด้วยเลือดของมันเอง โดยใช้ปากเจาะเลือดจากอกของมัน
ถิ่นอาศัย, อาหาร
ในประเทศไทยพบตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และชายทะเลภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบในแถบอินโดแปซิฟิก อินเดีย พม่า อินโดจีน และชวา
อาหารได้แก่ ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงทั้งช่วงเวลาหากินและทำรัง ขณะหาอาหารจะใช้ถุงใต้คอทำหน้าที่คล้ายสวิงช้อนปลาลงในลำคอ
นกกระทุงทำรังอยู่บนต้นไม้รวมกันเป็นฝูง วางไข่คราวละ 1-5 ฟอง และใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 วัน โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียผลัดกันทำหน้าที่
สถานภาพปัจจุบัน
ใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves
อันดับ Pelecaniformes
วงศ์ Pelecanidae
Rafinesque, 1815
สกุล Pelecanus
Linnaeus, 1758
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่ มีความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ 52 - 60 นิ้ว เป็นนกน้ำ ขาสั้นใหญ่ ปากยาวแบนข้างใต้มีถุงสีออกม่วงขนาดใหญ่ บริเวณขอบปากบนมีจุดสีน้ำเงินเข้มอยู่เป็นระยะตามความยาวของจงอยปาก ตีนมีพังผืดสีเหลืองขึงเต็มระหว่างนิ้วทุกนิ้วคล้ายเป็ด ม่านตาสีแดง แข้งและเท้าสีเนื้อ สามารถว่ายน้ำได้ดี บินได้สูง ในฤดูผสมพันธุ์ ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินในช่วงบนของลำตัว ส่วนช่วงล่างจะเป็นสีขาว แต่ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปีก หางและส่วนใต้ลำตัว จะมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกับนกกระทุงที่ยังไม่โตเต็มที่ ทั้งตัวผู้และตัวเมียรูปร่างและสีสันเหมือนกัน นกกระทุงชอบอยู่เป็นฝูง กินปลา กุ้ง กบ สัตว์เลื้อยคลานเล็กๆเป็นอาหารและหาอาหารด้วยกัน ถ้าตัวใดตัวหนึ่งทำอะไรตัวอื่นจะทำตาม เวลาที่มันอยู่เฉยๆจะหันหน้าไปทางเดียวกันหมด เวลาบินจะหดคอเข้ามา บินกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง บางครั้งบินเป็นรูปตัว "วี" (V) ส่วนใหญ่จะบินเป็นรูปขั้นบันไดกว้างๆ รังสร้างด้วยกิ่งไม้ใหญ่ๆวางสานกันบนต้นไม้สูงๆ ขนาดของรังมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ฟุต วางไข่ครั้งละประมาณ 3 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันกกไข่ประมาณ 4 - 5 อาทิตย์ จึงฟักเป็นตัว คนยุโรปในยุคกลางเชื่อกันว่านกกระทุงเลี้ยงลูกอ่อนด้วยเลือดของมันเอง โดยใช้ปากเจาะเลือดจากอกของมัน
ถิ่นอาศัย, อาหาร
ในประเทศไทยพบตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และชายทะเลภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบในแถบอินโดแปซิฟิก อินเดีย พม่า อินโดจีน และชวา
อาหารได้แก่ ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงทั้งช่วงเวลาหากินและทำรัง ขณะหาอาหารจะใช้ถุงใต้คอทำหน้าที่คล้ายสวิงช้อนปลาลงในลำคอ
นกกระทุงทำรังอยู่บนต้นไม้รวมกันเป็นฝูง วางไข่คราวละ 1-5 ฟอง และใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 วัน โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียผลัดกันทำหน้าที่
สถานภาพปัจจุบัน
ใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น