วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

กิ้งก่าหัวสีเขียว,กะปอมก่า,

กิ้งก่าหัวสีฟ้า



กิ้งก่าหัวสีฟ้า
BLUE-CRESTED LIZARD
Calotes mystaceus

สถานภาพตามกฎหมายไทย สัตว์ป่าคุ้มครอง
CITES(2004) (-)IUCN(2004) (-)


ลักษณะ: ขนาดวัดจากปลายปากถึงก้น 110-130 มม. หางยาว 225-268 มม. มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีหัวโต มีหนามสั้นๆตามแนวกึ่งกลางหลังจนตลอดสันหาง ขาทั้งสองคู่เรียวและมีนิ้วเรียวยาวมาก หางมีความยาวประมาณสองเท่าของความยาวหัวกับลำตัว เกล็ดบนลำตัวยื่นไปทางด่านหลังและชี้ขึ้นด้านบน ที่หัวไหล่มีร่องเป็นรอยพับสีคล้ำ

ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้หัวมีสีออกฟ้าคราม ตัดกับริมฝีปากสีขาว แถบขาวนี้ต่อเนื่องไปทางด้านข้างหัว และไปเชื่อมกับลายจุดสีน้ำตาลแดง เป็นรูปปื้นกลมๆข้างละ 3 ปื้น บริเวณโคนขาหลังและโคนหางสีออกขาว ตัวเมียมีสีออกน้ำตาลคล้ำทั่วทั้งตัว ใต้คางและคอสีคล้ำเกือบดำ ใต้ท้องสีออกเขียวจางๆ และใต้หางตอนโคนสีออกขาว

เขตแพร่กระจาย: มีเขตแพร่กระจายแคบในเขตประเทศพม่าตอนกลางลงไปถึงตอนใต้ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา

ที่อยู่อาศัย: โดยธรรมชาติเกาะอยู่บนกิ่งไม้ มีร่มเงาอยู่โดยรอบและได้รับแสงแดดทั้งในตอนเช้าและตอนบ่าย ตากแดดโดยมักเกาะเอาหัวห้อยลงตรงลำต้นด้านที่มีแสงแดดส่องมากกระทบไม่ค่อยลงมาพื้นดิน ยกเว้นพวกตัวเมียลงมาขุดหลุมวางไข่ ตัวผู้มีขอบเขตอาศัยบนต้นไม้ต้นหนึ่ง และอาจแผ่คลุมถึงต้นไม้อีก 2-3 ต้น ในบริเวณเดียวกันตัวเมียอยู่ตามขอบเขตของอาณาเขตตัวผู้ หรืออยู่ในบริเวณเดียวกับตัวผู้

ลูกๆอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ทึบๆหรือในดงหญ้า เมื่อมีอายุมากขึ้นจึงมาเกาะอยู่ตามลำต้นของต้นไม้ขนาดกลาง ห่างจากต้นใหญ่ที่มีตัวผู้เฝ้าระวังอยู่



อุปนิสัย:
ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ไต่ไปมาขึ้นลงลำต้นไม้ หากินแมลงหรือสัตว์เล็กๆที่มาเกาะบนเปลือกหรือไต่ขึ้นมาจากพื้นดิน ตัวผู้จะผงกหัวขึ้นลงเป้นครั้งคราว ตัวเมียขุดหลุมวางไข่บนถนนลูกรังของแนวกันไฟ หลังจากวางไข่เสร็จแล้ว ตัวเมียจะคอยเฝ้าอยู่ใกล้ๆหลุมไข่

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...