วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

กิ้งก่าหัวสีแดง,กิ้งก่ารั้ว,กะปอมไหม,กะปอมแดง

กิ้งก่าหัวแดง





กิ้งก่าหัวสีแดง
GARDEN FENCE LIZARD, CHANGEABLE LIZARD
Calotes versiclolr

สถานภาพตามกฎหมายไทย สัตว์ป่าคุ้มครอง
CITES(2004) (-)IUCN(2004) (-)


ลักษณะ :ขนาดวัดจากปลายปากถึงก้น 80–95 มม. หางยาว 172–260 มม. ขนาดกลางถึงขนาดค่อนข้างใหญ่หัวโต หางยาวมากกว่า สองเท่า ของความยาวหัวและลำตัว เกล็ดบนลำตัวชี้ไปทางด้านหลังและด้านบน บริเวณหัวไหล่ไม่พบมีรอยพับ ขาทั้งสองคู่ยาวเรียวและนิ้วยาวเรียวมากลำตัวมีสีได้หลากหลายและแตกต่างกันไปตามอายุ ลูกกิ้งก่าลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ หรือสีน้ำตาลอ่อนมากเมื่อโตขึ้นเป็น กิ้งก่วัยรุ่น สีจะค่อยๆคล้ำขึ้นมีแถบสีขาวพาดตามแนวข้างลำตัวสองข้างเมื่อโตเต็มวัยตัวผู้มีีสีออกน้ำตาลเหลืองสีคล้ำบนหัวบนลำตัวและหางมีลายพาดขวางสีคล้ำๆโดยตลอด เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ในราวช่วงฤดูฝน ตัวผู้จะมีสีแดงส้ม สดบนส่วนหัวและส่วนหน้าของลำตัวโดยสีแดงจะคลุมไปจนถึงประมาณเลยช่วงไหล่ไปเล็กน้อยลำตัวที่เหลือและหางสีน้ำตาลเหลือง ตัวเมียสีออกน้ำตาลคล้ำ หรือสีน้ำตาลเหลืองตลอดปี





เขตแพร่กระจาย : มีเขตการกระจายตั้งแต่ทางทิศตะวันตกในอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา ไปทางทิศตะวัน ออกจนทั่วไปถึงฮ่องกง ตลอดเวียดนามลาว กัมพูชา ไทย ลงไปถึงมาเลเซียและเกาะสุมาตราในบริเวณพื้นที่ป่า สะแกราช พบกิ้งก่า หัวแดงได้ในทุก สภาพป่า และในบริเวณสถานีวิจัยฯ ในฤดูแล้งจะพบชุกชุม ในป่าเต็งรังและบางส่วนในป่าดิบแล้ง และตรงรอยต่อระหว่างป่าดิบแล้งกับป่าเต็งรังส่วนในฤดูฝนจะขยายพื้นที่หากินและอาศัยเข้าไปในป่า ดิบแล้งและป่าปลูกพบมีจำนวนชุกชุมกระจายไปทั่วเมื่อเข้าฤดูแล้งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่าเต็งรังและบริเวณรอยต่อ ดังเดิม




ที่อยู่อาศัย :ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้แต่ละตัวจะมีจุดที่คอยเฝ้าจับ ตาดูตัวผู้ตัวอื่น ๆ ไม่ให้เข้ามาในอาณาเขตที่มันยึดครองอยู่มีพฤติกรรมการผงกหัวขึ้นลง เปล่งสีแดงบนหัวและลำตัวตอนหน้าให้ชัดขึ้นและอ้าปากงับไปมา แล้วคอยวิ่งไล่ตัวเมียที่เข้ามาในบริเวณทุกเช้าลูกกิ้งก่าจะขึ้นมาเกาะบนยอดต้นเพ็กช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ ตั้งแต่เวลา7:30–9:00 น. ตัวกิ้งก่าวัยรุ่นขึ้นมาในราว 8:30–9:45 น. ส่วน กิ้งก่าโตเต็มวัยจะสังเกตเห็นตั้งแต่เวลา 10.00 น.ป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาแดดจัด และลูกกิ้งก่ากับกิ้งก่าวัยรุ่นลงไปหากินแล้ว

อุปนิสัย:มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยตัวเมียที่มีไข่พร้อมวาง จะไต่ลงมาอาศัยอยู่ที่บริเวณโคนต้นไม้ เวลาตกใจจะไต่ขึ้นไปเพียงเล็กน้อย ความสูงไม่เกิน 1 ม. ขุดหลุมวางไข่บนพื้นดินคล้ายๆกับการวางไข่ของกิ้งก่าหัวสีฟ้า จำนวนและขนาดของไข่คล้ายคลึงกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...