วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กระแต

กระแต



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับ Scandentia
วงศ์ Tupaiidae

สกุล Tupaia
สปีชีส์ T. glis

กระแตเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่คนรู้จักค่อนข้างมาก และพบเห็นได้ทั่วไปมีรูปร่างคล้าย ๆ กับพวกกระรอก แต่มีจะงอยหน้า (snout) ยาวและแหลมกว่ากระแตมีลักษณะระหว่างสัตว์จำพวกลิง (Order Primates) และสัตว์กินแมลง (Order Insectivora) ทำให้มีปัญหาในการจัดอันดับทางอนุกรมวิธาน ในปัจจุบันจึงได้จัดให้อยู่ในอันดับ Scandentia ในอันดับนี้มีอยู่วงศ์เดียว คือ Tupaiidae ในประเทศไทย พบกระแตอยู่ 4 ชนิด คือ กระแตธรรมดา (Tupaia glis) พบเห็นได้ตามป่าทั้งป่าทึบและป่าละเมาะทั่วประเทศ อีก 2 ชนิดพบเห็นได้น้อย และมีเฉพาะทางใต้สุดของประเทศ คือ กระแตเล็ก (Tupaia minor) กับกระแตหางขนนก (Ptilocercus lowii) และอีกชนิดหนึ่งพบเห็นได้น้อยกว่ามาก มีเฉพาะชานแดนต้านทิศตะวันออกติดกับประเทศกัมพูชาเท่านั้น คือกระแตหางหนู (Dendrogale murina)

กระแตออกหากินในตอนกลางวัน อาศัยอยู่บนพื้นดินเกือบตลอดเวลาอาหารของกระแตได้แก่ มด ปลวก ด้วง แมงมุม เมล็ดพืช รวมทั้งผลไม้ที่หล่นอยู่ตามพื้นดิน กระแตสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในป่าทุ่งหญ้าป่าละเมาะ และพื้นที่เกษตรกรรม มีการเคลื่อนที่ได้ดีมาก มีจมูกรับกลิ่นได้ดี และมีสายตาที่ดีเยี่ยม จึงสามารถมองเห็นศัตรูและหลบหนีได้อย่างว่องไว

กระแตผสมพันธุ์กันตลอดทั้งปี ตัวเมียตั้งท้องนาน 46-50 วัน ก่อนจะตกลูก 2-3 วัน ตัวผู้จะสร้างรังในโพรงไม้ที่โค่นล้มอยู่ตามป่า หลังจากสร้างรังเสร็จแล้วตัวผู้จะหน๊ไป ตัวเมียจะตกลูกในรังครั้งละ 2 ตัว ลูกกระแตที่เกิดใหม่จะไม่มีขนและยังไม่ลืมตา กระแตตัวเมียจะไม่ดูแลลูกเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ จะให้นมลูกทุก ๆ 2 วัน หลังจากให้นมเสร็จจะออกจากรังไปหาอาหารและจะกลับเข้ารังเมื่อถึงเวลาให้นมลูกอีกครั้ง ถ้ามีศัตรูเข้ามาใกล้ลูกกระแตที่อยู่ในรังจะส่งเสียงร้องดังแหบห้าว พร้อมทั้งขยับแขนขาทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในใบไม้แห้งภายในรัง ศัตรูจะตกใจกลัวและหนีไปจากบริเวณนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...