วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นกเขา

นกเขา



อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves

อันดับ Columbiformes
วงศ์ Columbidae


รูปร่างลักษณะ

ทั้งนกเขาตัวผู้และตัวเมียต่างก็มีลักษณะคล้ายกันคือตรงปลายปาก ม่านตาสีชมพูอ่อน ๆ แกมเหลืองจาง ๆ ปากสีดำ แข็ง และนิ้วเท้า
สีค่อนข้างแดง หัวสีเทาอ่อน อกสีม่วงแดง ข้างคอมีแถบสีดำลายเป็นจุดสีขาว ๆ ขนคลุมปีก สีเทาแกมน้ำตาลคล้ำ ๆ มีขอบสีน้ำตาลจาง ๆ และมีขนสีดำที่กลางขน จึงดูเป็นลายที่ปีก ขนหางเส้นบนสีเทาคล้ำ ๆ แกมน้ำตาล


อุปนิสัย

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งชายทุ่งนา เรือกสวน และบริเวณที่มีการเพาะปลูก ปกติตามทุ่งนาที่ราบต่ำชอบอยู่กันเป็นคู่ บางตัวก็อยู่
เดี่ยวจะขันคู่ในเวลาเช้าและเย็น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะเข้าอยู่รวมกัน หากินเป็นฝูงใหญ่

การเจริญพันธุ์

ผสมพันธุ์วางไข่ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ทำรังด้วยการใช้กิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานกันเป็นรังบนต้นไม้ ใหญ่สำหรับวางไข่ โดยวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง นกเขาใหญ่ที่คนไทยเรานิยมเลี้ยงกันมาแต่โบราณเพราะนกเขาใหญ่เป็นนกที่น่ารักและน่าเลี้ยง และมีการ
ขันที่ต่างไป จากนกชนิดอื่น ผู้ฟังจะรู้สึกเพลิดเพลินในเสียงดนตรีธรรมชาติของนกชนิดนี้และฟังไม่รู้จักเบื่อ นอกจากนี้สำหรับ นกที่เชื่อง
แล้วยังเป็นนกที่ฉลาดรู้จักจำเจ้าของช่างประจบ ต้องการให้ขันเมื่อใดก็ได้ ชึ่งนำเขานี้ก็มี 2 ประเภทคือ "นกดีและนกธรรมดา" นกดีนั้น
มีทั้งดีพิเศษและดีพอใช้ นกดีพิเศษนั้นหายากนาน ๆ จึงจะพบสักตัวหนึ่ง นกดีชั้น พิเศษนั้นจะต้องมีคารมดี และเสียงไพเราะน่าฟัง และ
ขยันขัน นกชนิดนี้นักเลี้ยงนกต่างก็อยากได้และรู้สึกรักยิ่ง ส่วน นกดีพอใช้นั้นพอหาได้ สำหรับนกชนิดธรรมดานั้นหาง่ายมีอยู่ทั่วไป



การเลี้ยงดู

เมื่อเอานกขังกรงเลี้ยงก็ต้องสังเกตุว่า นกที่เลี้ยงมีความเป็นอยู่เป็นปกติ สบายดีหรือไม่ หยุดดิ้น ไซร้ขน แต่งตัวหรือ เปล่า ถ้าเห็นว่า
นกนั้นนอน หรือไซร้ขนแต่งตัวไม่ดิ้นก็แสดงว่าเป็นที่พอใจและนกได้รับความสุขแล้ว อีกไม่กี่วันนกนั้นก็จะ ขันให้เราฟัง ตรงกันข้ามถ้า
นกนั้นอยู่ในกรงที่แขวนไว้ตรงนั้นมันดิ้นไม่หยุดหรือเดินหาช่องออก ก็พีงเข้าใจว่านกนั้นไม่ ได้รับความสุข ก็ให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ให้มันชอบ เช่นถ้ากรงเตี้ยก็ให้เปลี่ยนเป็นกรงสูง หรือย้ายที่แขวนให้ นอกจากนี้แล้วก็จะต้องระวังป้องกันอย่าให้มีศัตรูพวกนก หนู แมว ผ่านรบกวนในเวลากลางคืนด้วย เมื่อนกได้รับความ พอใจก็จะสังเกตุได้ว่านำนั้นจะไม่ดิ้น ไซร้ปีก ไซร้หางแต่งตัว มีกิริยาร่าเริง และก็จะ
ขัน ให้เราฟังในอีกไม่กี่วัน



การให้อาหาร

การให้อาหารควรให้กินอาหารตามความต้องการดังกล่าวคือ อาหารหลัก ในกรงนกอย่างน้อยควรจะมีอาหารอย่างน้อย 4 ถ้วยเป็น
อาหารประจำคือ น้ำ1ถ้วย , ข้าวเปลือกเมล็ดสั้น1ถ้วย , ทราย 1ถ้วย , (ทรายตามแม่น้ำลำคลอง ถ้าเป็นทรายชายทะเลยิ่งดีกว่าเพราะมี
แคลเซี่ยมมาก) และถ้วยดินปลวกดำอีก1ถ้วย
การให้ดินปลวกดำนี้ห้ามใส่ดินปลวกดำผสมทราย หรือเอาทรายผสมดินดำเป็นอันขาด เพราะนกย่อมรู้ตัวเอง ว่าควรจะกินทราย หรือ
ควรจะกินดินปลวกดำเพื่อเป็นประโยชน์ของตัวนกเองเพราะนกเก่าที่เลี้ยงนานมากแล้วย่อมรู้คุณ ประโยชน์ของอาหารโดยธรรมชาติ สำหรับนกใหม่แล้วควรใส่อาหารเสริมในถ้วยดินดำ โดยโรยไว้หน้าและคนเคล้าบ้าง เพื่อ บังคับให้กินดินปลวกดำบ้าง เพราะดินปลวกดำ
เป็นยา บังคับให้กินยาไปในตัวป้องกันป่วยไข้ช่วยระบายท้องอ่อน ๆ


อาหารเสริม

สำหรับอาหารเสริมที่ใช้เลี้ยงนกเขาก็มีหลายชนิดด้วยกันดังนี้

1.ข้าวฟ่างที่ยังไม่ได้เอาเปลือกออก จะเป็นสีเหลืองสีแดงหรือสีดำก็ได้
2.ดอกหญ้าปากควาย นกชอบกินแล้วยังเป็นยาระบายอ่อน ๆ อีกด้วย
3.งาดำนอกจากจะเป็นอาหารบำรุงร่างกายแล้วยังมีน้ำมันช่วยระบายท้องนกด้วย
4.เมล็ดผักเสี้ยนให้บางครั้งบางคราวทำให้นกขันเร็วขึ้น
5.ถั่วเขียวทุบละเอียดเป็นอาหารที่มีโปรตีนมาก ทำให้นกแข็งแรงถั่วเขียวจำเป็นอย่างยิ่งบางท่านว่าถ้าให้นกเขากินถั่วเขียว แล้วมัก
จะเป็นสิวไม่เป็นความจริง เพราะมีอาหารอื่น ๆ กินช่วยระบายถ้ายท้องอยู่แล้ว
6.ข้าวไรซ์นอกจากนกหงส์หยกและนกคีรีบูนจะชอบกินแล้วนกเขาก็ชอบมาก เหมือนกันและช่วยให้นกขันเร็วด้วย
7.ดอกหญ้าอื่น ๆ เช่นดอกเซ่ง ดอกหญ้าปล้อง ข้าวสมุทรโคดม ก็ให้นกกินได้ แต่อาจจะชอบหรือไม่ชอบแล้วแต่นกแต่ละตัว



แหล่งที่มา
http://www.petpub.150m.com/columbidae2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...