วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปลาสเตอร์เจี้ยน




ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Acipenser Sturio
ตระกูล Family Acipenseridae


ถิ่นอาศัย

ชายฝั่งทะเลของยุโรปตอนเหนือและทวีปอเมริกาเหนือ ปลาชนิดนี้ จะเข้ามาผสมพันธุ์และถือกำเนิดในแหล่งน้ำจืด เมื่อโตพอควรก็จะอพยพไปอาศัย และ เติบโตในทะเล ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาวกว่า 3 เมตรน้ำหนักกว่า 300 กิโลกรัม เป็นปลาที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าปลาบางตัวมีอายุยืนยาวกว่า 100 ปี (ข้อมูลนี้อ้างอิงจากหนังสือ THE GUINNESS BOOK OF ANIMAL FACTS AND FEATS)


ลักษณะทั่วไป

ปลาสเตอร์เจี้ยนจัดได้ว่าเป็นปลาดึกดำบรรพ์พวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากว่า 200 ล้านปี ซึ่งปลาในทุกวันนี้ก็มีรูปร่างคล้ายคลึงกับบรรพบุรุษ มีการเปลี่ยนแปลงที่น้อย มาก ปลาสเตอร์เจี้ยนมีรูปร่างหนาตัวยาวเรียว มีเกล็ดซึ่งเรียงกันเป็นหนามอยู่ 5 แถวทำให้ลำตัวเป็นเหลี่ยม ส่วนหัวขนาดใหญ่ค่อนข้างยาวแบนลง ส่วนปลายสุดค่อน ข้างแหลมงอนขึ้นเล็กน้อย มีลักษณะคล้ายพลั่วตักดิน ตามีขนาดเล็กสีดำกลมกลืนกับ สีลำตัวที่ด้านหน้าตอนใต้ของตามีช่องเปิด 2 ช่อง ช่วยในการหายใจ และดมกลิ่น ปาก อยู่ด้านใต้ที่ส่วนหน้าของปากมีหนวด 4 เส้น ซึ่งเป็นประสาทสัมผัสที่ไวมาก ปากสามารถ ยืดหดออกมาเพื่อดูดอาหาร มีครีบ 7 ครีบ ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางโคนหางมีขนาดเล็ก หน้าครีบหลังมีแถวหนามเรียงกัน โดยเริ่มตั้งแต่ด้านหลังส่วนหัวเป็นต้นไป ครีบหางเป็นแฉกเว้ายาวไม่เท่ากัน ครีบหางตอนบนจะยื่นยาวออกไปมากกว่าครีบหางตอนล่าง ซึ่งสั้นมาก ลักษณะคล้ายหางของปลาฉลาม ครีบท้องและครีบก้นอยู่ค่อนมาทางตอน ท้ายของลำตัว สีลำตัวเป็นสีเทาเข็ม หรือสีดำ ส่วนใต้ท้องมีสีขาวจาง ไข่ของปลาชนิด นี้เป็นเม็ดสีคล้ำ เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ "ไข่ปลาคาร์เวีย"

ลักษณะนิสัย

จัดเป็นปลาในกลุ่ม ANADROMOUS FISH ซึ่งหมายถึงปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล แต่อพยพเข้ามาสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำจืด (มีปลาสเตอร์เจี้ยนอีกชนิดหนึ่งชื่อว่า :STERLET ACIPENCER RUTHENUS) ซึ่งมีการสั่งเข้ามาจำหน่ายในบ้านเรา ปลาชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายกับปลาสเตอร์เจี้ยน แต่แตกต่างกันที่ลักษณะของปากซึ่งแหลมกว่าเห็นได้ชัดเจน ปลาสเตอร์เจี้ยน เมื่อโตถึงวัยจะผสมพันธุ์ได้ปลาจะว่ายน้ำจากแหล่งอาศัยในทะเลเข้ามาในแม่น้ำ หรือทะเลสาบ เพื่อวางไข่หลังจากที่ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแล้ว

ลูกปลาจะดำรงชีวิตอยู่ในน้ำจืดระยะหนึ่งพอโตพอสมควรปลาก็จะเริ่มอพยพกลับลงทะเล และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเล ปลาสเตอร์เจี้ยนเป็นปลาที่หากินบริเวณหน้าดินอาหารในธรรมชาติได้แก่ หอย หนอน ตัวอ่อนแมลง สัตว์มีเปลือก พวกกุ้ง ในปลาที่มีขนาดใหญ่จะเปลี่ยนนิสัยเป็นปลาล่าเหยื่อกินปลาอื่นที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละกินอาหารครั้งละมาก ๆ ปลาสเตอร์เจี้ยนเป็นปลาที่ว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลาโดยแทบจะไม่มีการหยุดพัก ว่ายน้ำโดยการโบกแพนหางไปมาอย่างสวยงาม


การเลี้ยงดูในตู้ (สภาพน้ำ)

ไม่ควรเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป เนื่องจากปลาชนิดนี้เป็นปลาน้ำเย็น ดังนั้นอุณหภูมิจึงควรจะต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำ และอุณหภูมิอย่างกระทันหัน อาจทำให้ปลาช็อคและตายได้ โดยเฉพาะในปลาที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยในบ้านเราอยู่ในช่วงประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้ ถือว่าสูงมากเกินไปสำหรับปลาในเขตหนาวซึ่งเป็นปลาน้ำเย็น ซึ่งต้องการอุณหภูมิระหว่าง 10-15 องศาเซลเซียส ในน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ ปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำจะมากกว่าในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปลาที่อาศัยในเขตหนาว จึงต้องการปริมาณออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจสูงกว่าปลาเขตร้อน ขนาดตู้ ปลาสเตอร์เจี้ยนต้องการพื้นที่ว่ายน้ำที่กว้างขวาง ดังนั้นขนาดตู้ที่ใช้เลี้ยง จึงควรจะให้มีขนาดใหญ่ ถ้าเป็นปลาขนาดเล็กต่ำกว่า 6" ควรจะใช้ตู้ขนาดไม่น้อยกว่า30" แต่ถ้าเป็นปลาใหญ่เกิน 6" ควรจะให้ตู้ขนาด 48"-60" ขึ้นไป และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 20-24"

ระบบกรองน้ำ

ใช้ระบบกรองใต้ทราย (SUB SAND FILTER)โดยใช้ทรายหยาบหรือกรวดน้ำจืดที่ไม่มี ความคม เป็นวัสดุบนแผ่นกรองความหนาประมาณ 3"-4" นอกจากนี้ถ้าเป็นไปได้ควรจะ เพิ่มเครื่องกรองภายนอก เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่ดีที่สุดและน้ำมีการหมุนเวียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
สภาพแวดล้อม

พื้นตู้ปลาควรจะโล่ง อาจจะตกแต่งด้วยหินแบน ๆ ที่ไม่มีเหลี่ยมคม เพื่อให้ปลามีพื้นที่ ว่ายน้ำมากที่สุด การปลูกไม้น้ำในตู้ไม่สู้จะเหมาะสมนัก เพราะปลามักจะว่ายชน และการเปิดไฟเพื่อให้แสงสว่างกับไม่น้ำนานเกินไปอาจจะทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงจนเกิดอันตรายได้

อาหาร

ปลาสเตอร์เจี้ยนขนาดเล็กควรจะเลี้ยงด้วยอาทีเมีย โดยปลาจะว่ายเก็บกินแทบตลอด เวลาเมื่อปลาโตขึ้นสามารถให้เนื้อกุ้ง กุ้งฝอย เนื้อปลาชิ้นเล็กเป็นอาหารได้ ปลาชนิดนี้ มีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างช้า หมายเหตุ ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่สวยงามน่าสนใจมาก และเป็นปลาที่ต้องการการดูแล เลี้ยงดูเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ที่เริ่มเลี้ยงปลาสมัครเล่นหรือมี ความชำนาญพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...