วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เหยี่ยวเมอร์ลิน (Merlin ; Falco columbarius)


ชื่ออื่น Pigeon Hawk
ชนิดย่อย F. c. insignis
ขนาด 25.0 - 30.0 เซนติเมตร

ลักษณะทั่วไป

เหยี่ยวขนาดเล็ก ลำตัวป้อม ปีกแคบยาว ปลายปีกแหลม หางแคบ ยาวปานกลาง ปลายมน ปากงองุ้ม แต่มีหยักที่สองข้างปากบน กรงเล็บแหลมคม ตัวเมียตัวโตกว่าตัวผู้มาก ตัวผู้ กระหม่อมสีเทามีขีดดำ มีแถบสีขาวแคบที่หน้าผาก และมีแถบเหนือตาสีขาวแกมสีเนื้อ ดูคล้ายคิ้ว มีแถบสีแดงสีแดงอมน้ำตาลรอบหลังคอ และขนคลุมหูสีเทาจางออกสีแดงอมน้ำตาล และมีขีดสีดำ คางและใต้คอสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาลจางตั้งแต่อกจนถึงท้องและขนโคนขา แต่มีลายขีดสีน้ำตาลแกมดำ ขนคลุมใต้โคนหางสีจางกว่าและมีลายขีดสีดำ คางและใต้คอสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาลจางตั้งแต่อกจนถึงท้องและขนโคนขา แต่มีลายขีดสี น้ำตาลแกมดำ ขนคลุมใต้โคนหางสีจางกว่าและมีลายขีดจาง ๆ ใต้หางเป็นบั้งสีเทาสลับขาว มีแถบหนาสีดำก่อนถึงปลายทาง ใต้ปีกสีขาวหรือสีเนื้อ มีลายขีดและลายบั้งสีคล้ำสลับสีน้ำตาลอมแดง ตัวเมีย หน้าผากและแถบเหนือตาสีขาวจางกระหม่อม เรื่อยมายังหลัง ไหล่ ขนคลุมปีก ตะโพก จนถึงขนคลุมบนโคนหาง สีน้ำตาลเข้ม แต่มีลายขีดสีดำ และมีแต้มสีแดงอมน้ำตาลจาง ๆ ตะโพกและขนคลุมบนโคนหางออกสีเทา ขนกลางปีกและขนปลายปีกสีน้ำตาลจาง ๆ ตะโพกและขนคลุมบนโคนหาง สีน้ำตาลเข้ม แต่มีลายขีดสีดำ และมีแต้มสีแดงอมน้ำตาลจาง หางสีน้ำตาลเข้ม และมีลายบั้งสีเนื้อและสีแดงอมน้ำตาล แก้มและขนคลุมหูสีขาว มีลายขีดสีน้ำตาล มีเส้นสีดำข้างหน้าตา และมีลายขีดสีน้ำตาล ตั้งแต่คางเรื่อยไปจนถึงขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีขาว มีลายขีดสีน้ำตาล ใต้หางเป็นลายบั้งสีขาวสลับน้ำตาลปนเทาใต้ปีกสีขาว มีลายบั้งสีแดงอมน้ำตาล ม่านตา สีน้ำตาลเข้ม หนังรอบตาสีเหลือง ปาก สีเทา ปลายปากดำ แผ่นเนื้อรอบรูจมูกสีเหลือง ขาและนิ้วเท้า สีเหลืองจนถึงสีส้ม นกโตไม่เต็มวัย คล้ายตัวเมีย แต่ตะโพกและขนคลุมบนโคนหางไม่ออกสีเทา แผ่นเนื้อรอบรูจมูกและรอบตาเป็นสีฟ้า

การแพร่กระจาย

ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแตมลรัฐอะแลสกา เรื่อยมายังแคนาดา จนถึงเกาะนิวฟันแลนด์ และตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป ตั้งแต่ไอซ์แลนด์ หมู่เกาะอังกฤษ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย เรื่อยมายังทวีปเอเซียตอนเหนือ แถบไซบีเรีย และจีนตอนเหนือ พอถึงฤดูหนาว นกในทวีปอเมริกาเหนือจะบินอพยพลงไปหากินในสหรัฐอเมริกา อเมริกากลางจนถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นกในทวีปยุโรปจะบินอพยพลงไปหากินในปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ ทิเบตตอนใต้ จีนตอนใต้ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แต่นกบางตัวพลัดถิ่นไปถึงลาวตอนเหนือ และแคว้นอันนัม ในประเทศไทย พบครั้งแรก 1 ตัว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2542 ที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงใหม่ โดย แอนดี โรดเฮ้าส์ (Andy Roadhouse) สถานภาพ ทั่วโลก พบมาก ในประเทศไทย นกอพยพย้ายถิ่นนอกฤดูผสมพันธุ์ที่หายากมาก

แหล่งอาศัย

ที่โล่งที่มีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย พื้นที่เกษตรกรรม ทุ่งหญ้าสั้น ๆ ตั้งแต่ที่ราบจนถึงความสูง 1,065 เมตร รวมทั้งชายฝั่งทะเล

อุปนิสัย

บินล่าเหยื่อในระดับต่ำใกล้พื้นดิน บินรวดเร็วและตรง กระพือปีกรวดเร็วสลับกับการร่อนสั้น ๆ ดุ ล่า แม้กระทั่งนกที่ตัวโตกว่า เช่น นกเป็ดน้ำ แต่ส่วนมากล่านกขนาดเล็ก เช่น นกเด้าดิน นกกระจาบฝน และนกกระจาบปีกอ่อน บางครั้งก็ล่าหนู กิ้งก่า งู กบ เขียด และเฉพาะแมลงปอ บางครั้งเกาะบนก้อนหิน หัวเสาหรือบนพื้นดิน เสียงร้อง ตัวผู้ร้องดัง "ki-ki-ki-ki-kee" ซ้ำ ๆ กันรวดเร็ว แต่บางครั้งก็ร้องดัง "chic-chic-chic" ช้า ๆ ตัวเมียร้องดัง "kek-ek-ek-ek-ek"

ฤดูผสมพันธุ์

เมษายน-มิถุนายน รังและไข่ วางไข่ในแอ่งบนพื้นดินที่มีดงพืชล้อมรอบ รังนกเก่า ๆ เช่น รังอีกา หรือทำรังบนพุ่มไม้หรือต้นไม้สูง 1.5-18.0 เมตร ด้วยกิ่งไม้ที่นำมาขัดสานกัน วางไข่ครอกละ 5-6 ฟอง เปลือกไข่สีน้ำตาลมีจุๅดกระสีน้ำตาลเข้ม ม่วง และน้ำตาลแดง ขนาด 30.3-32.0 39.7-41.2 มิลลิเตร

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...