เสือดาว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ฟิลิดี (Felidae) เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือมีสีเหลือง มีลายจุดสีดำแต้มบริเวณลำตัวเป็นจำนวนมากโดยลายจุดจะเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยจะปรากฏเฉพาะที่บริเวณด้านหลังและด้านข้างของลำตัว แตกต่างจากบริเวณส่วนหัว ขา เท้า บริเวณใต้ท้องที่จะมีจุดสีดำปรากฏอยู่เช่นเดียวกับขนใต้ท้องที่มีสีขาวหรือสีเทา ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 107-129 เซนติเมตร หางมีความยาว 79.2 - 99.1 เซนติเมตร ใบหูมีความยาว 6.5 - 7.4 เซนติเมตร และหนัก 45 - 65 กิโลกรัม
เสือดาวและเสือดำ จัดอยู่ในเสือชนิดเดียวกัน ซึ่งส่วนมากคนโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เสือดำมีชื่อเรียกได้หลายอย่างเช่น เสือลายตลับ เสือลายจ้ำหลอด
ลักษณะทั่วไป
เป็นสัตว์เลือดอุ่น มักอยู่อาศัยในป่าโปร่ง สามารถขึ้นล่าเหยื่อบนต้นไม้ หรือ ลากเหยื่อไปกิน บนต้นไม้เพื่อหลีกหนีจากศัตรูได้ ตามลำตัวมีลายจุดสีดำ บนพื้นเหลือง
สถานภาพปัจจุบัน
สถานภาพตามกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง VU มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ สถานภาพในธรรมชาติ IUCN (1996) LR/lcCITES (1996) Appendix I และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ของประเทศไทยด้วย
รูปร่างลักษณะ
เสือดาว กับ เสือดำ เป็นเสือชนิดเดียวกัน ในลูกเสือครอกเดียวกันมีได้ทั้งเสือดำและเสือดาว
เสือดาว จะมีลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเหลือง และมีลายจุดสีดำเป็นจำนวนมาก ลักษณะลายเป็นจุดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มดอก ปรากฏเฉพาะบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัว ส่วนที่หัว ขา เท้า และใต้ท้อง เป็นจุดสีดำโดด ๆ ส่วนขนใต้ท้องเป็นสีขาวหรือสีเทา
เสือดำ จะมีสีพื้นตามลำตัวเป็นสีดำ ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าเสือดำก็มีลายเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่มองเห็นไม่ชัดนัก
เสือดำพบทางภาคใต้ของประเทศไทย และมีมากในประเทศมาเลเซีย ส่วนในพื้นที่อื่นพบเสือดาวได้ง่ายกว่า พื้นบ้านบางแห่งเรียกว่า "เสือลายตลับ" หรือ "เสือแผ้ว" ภาษาลาว เรียกว่า "เสือลายจ้ำหลอด"
ขนาด
หัวถึงลำตัว ยาวประมาณ 107 - 129 เซนติเมตร หาง 80 - 100 เซนติเมตร ขนาดใบหู 6.4 - 7.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 45 - 65 กิโลกรัม
การกระจายประชากร
พบในแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เรื่อยมาถึงทางภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะชวา ไม่เคยพบที่เกาะเกาหลี แต่ที่เกาะสุมาตรายังไม่มีรายงาน
พันธุ์ย่อย
เสือดาว สามารถแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย (Subspecies) ได้มากมายถึง 30 ชนิด อาทิเช่น Panthera pardus delacouri, Panthera pardus fusca, Panthera pardus pardus, Panthera pardus orientalis เป็นต้น โดยที่เสือดาวแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกันที่ลวดลายและขนาดของลำตัว และถิ่นที่อยู่อาศัยเนื่องจากเสือดาวมีถิ่นที่อยู่กระจายกว้าง รวมทั้งมีพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างออกไปด้วย เช่น เสือดาวที่พบในทวีปเอเชียไม่ค่อยมีพฤติกรรมซ่อนเหยื่อบนต้นไม้เหมือนเสือดาวที่พบในทวีปแอฟริกา เป็นต้น
นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เสือดาวอาศัยได้ในสภาพแวดล้อมหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นป่าหรือพื้นที่โล่ง ซึ่งมีหินและพุ่มไม้แห้งๆ แต่มันชอบสภาพป่ามากกว่า เสือดาวทนแล้งทนร้อนและอาศัยในพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำได้ดีกว่าเสือโคร่ง ถ้าจำเป็นจริงๆเสือดาวก็ว่ายน้ำได้ แต่โดยปกติมันจะพยายามหลีกเลี่ยง เสือดาวชอบใช้ชีวิตบนต้นไม้และเคลื่อนที่ว่องไวไปตามกิ่งไม้ เสือดาวกินเหยื่อทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง และหมา มันจะดักคอยเหยื่ออยู่บนต้นไม้และหลังจากฆ่าเหยื่อแล้ว จะลากเหยื่อกลับขึ้นไปกินบนต้นไม้ เพื่อป้องกันสัตว์กินซากมาแย่งอาหาร เสือดาวเริ่มกินเหยื่อที่บริเวณท้องก่อน ในขณะที่เสือโคร่งเริ่มกินที่สะโพกก่อน
เสือดาวมีวิธีอันชาญฉลาดในการจับค่างและลิงกิน โดยเสือดาวจะวิ่งเหยาะๆไปมาอยู่ใต้ต้นไม้ พวกลิงค่างบนต้นไม้ก็จะเริ่มตื่นกลัวและเตรียมตัวหนี โดยพากันกระโดดจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง จากนั้น เสือดาวจะแสร้งทำท่าปีนต้นไม้ ลิงที่มีประสบการณ์น้อยจะหลงกลกระโดดลงพื้นเพื่อหาทางหลบหนีไปตามพุ่มไม้ แต่นั่นคือจุดจบของมัน เพราะเสือดาวจะหันมาไล่จับมันอย่างง่ายดาย
อาหารของเสือดาวนอกจากสัตว์กินพืชจำพวกเก้ง กวาง แล้วมันยังล่าเหยื่ออื่นๆอีกเช่น กระต่าย นกยุง ชะมด หรือแม้แต่สัตว์เล็ก ๆ มันก็กิน เช่น งู กิ้งก่า เป็นต้น เรียกได้ว่า เสือดาวกินสัตว์ทุกชนิดที่ล่าได้
การล่าของเสือดาวจะคล้ายกับเสือโคร่ง คือ การไล่ล่าโดยตรง การซุ่มดักเหลื่อ แต่จะแตกต่างไปบ้างก็ตรงที่มันอาจจะขึ้นไปพรางตัวสงบนิ่งอยู่บนต้นไม้ เพื่อรอคอยตะครุบเหลื่อที่ผ่านเข้ามาใกล้ เมื่อล่าเหยื่อได้มันจะกินบริเวณท้องและซี่โคร่งก่อน ต่างจากเสือโคร่งที่จะเริ่มกินเหยื่อบริเวณสะโพกก่อน
คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล ได้เขียนในบทนำของนิยายเรื่อง “เดชเสือดาว” ว่าเสือดาวมีความฉลาดและนิสัยระแวดระวังภัยมากกว่าเสือโคร่ง เวลาที่มันจะเข้าไปกินซากที่มันกินเหลือไว้จากคืนก่อน มันมักจะแอบดูเหตุการณ์อยู่นาน จนแน่ใจว่าไม่มีใครแอบซุ่มนั่งห้างคอยดักยิงมันอยู่ มันจึงจะค่อย ๆแอบเข้าไปกินซาก ไม่เหมือนกับเสือโคร่งที่มักเดินเข้าไปอย่างสง่าฝ่าเผย ศัตรูของเสือดาวก็คือเสือโคร่งนั่นเองที่มักมาแย่งอาหารของมันบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีพวกหมาจิ้งจอกและหมาในที่มักเข้ามาแย่งซากสัตว์ของมันเช่นกัน
เสือดาวจะมีพื้นที่ในการหากินประมาณ 27 – 37 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะออกหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน ปัจจุบันสถานภาพของเสือดาวในประเทศไทยมีจำนวนลดลง เหลืออยู่ตามป่าอนุรักษ์ต่าง ๆ เช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก ประมาณ 500 ตัวเท่านั้น
เสือดาวชอบอยู่สันโดษ จะจับคู่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ตั้งครรภ์ประมาณ 90-100 วัน ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว และมีอายุในสภาพกักขังประมาณ 20 ปี
เสือดาวและเสือดำ จัดอยู่ในเสือชนิดเดียวกัน ซึ่งส่วนมากคนโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เสือดำมีชื่อเรียกได้หลายอย่างเช่น เสือลายตลับ เสือลายจ้ำหลอด
ลักษณะทั่วไป
เป็นสัตว์เลือดอุ่น มักอยู่อาศัยในป่าโปร่ง สามารถขึ้นล่าเหยื่อบนต้นไม้ หรือ ลากเหยื่อไปกิน บนต้นไม้เพื่อหลีกหนีจากศัตรูได้ ตามลำตัวมีลายจุดสีดำ บนพื้นเหลือง
สถานภาพปัจจุบัน
สถานภาพตามกฎหมาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง VU มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์ สถานภาพในธรรมชาติ IUCN (1996) LR/lcCITES (1996) Appendix I และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ของประเทศไทยด้วย
รูปร่างลักษณะ
เสือดาว กับ เสือดำ เป็นเสือชนิดเดียวกัน ในลูกเสือครอกเดียวกันมีได้ทั้งเสือดำและเสือดาว
เสือดาว จะมีลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเหลือง และมีลายจุดสีดำเป็นจำนวนมาก ลักษณะลายเป็นจุดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มดอก ปรากฏเฉพาะบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัว ส่วนที่หัว ขา เท้า และใต้ท้อง เป็นจุดสีดำโดด ๆ ส่วนขนใต้ท้องเป็นสีขาวหรือสีเทา
เสือดำ จะมีสีพื้นตามลำตัวเป็นสีดำ ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าเสือดำก็มีลายเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่มองเห็นไม่ชัดนัก
เสือดำพบทางภาคใต้ของประเทศไทย และมีมากในประเทศมาเลเซีย ส่วนในพื้นที่อื่นพบเสือดาวได้ง่ายกว่า พื้นบ้านบางแห่งเรียกว่า "เสือลายตลับ" หรือ "เสือแผ้ว" ภาษาลาว เรียกว่า "เสือลายจ้ำหลอด"
ขนาด
หัวถึงลำตัว ยาวประมาณ 107 - 129 เซนติเมตร หาง 80 - 100 เซนติเมตร ขนาดใบหู 6.4 - 7.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 45 - 65 กิโลกรัม
การกระจายประชากร
พบในแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เรื่อยมาถึงทางภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะชวา ไม่เคยพบที่เกาะเกาหลี แต่ที่เกาะสุมาตรายังไม่มีรายงาน
พันธุ์ย่อย
เสือดาว สามารถแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย (Subspecies) ได้มากมายถึง 30 ชนิด อาทิเช่น Panthera pardus delacouri, Panthera pardus fusca, Panthera pardus pardus, Panthera pardus orientalis เป็นต้น โดยที่เสือดาวแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกันที่ลวดลายและขนาดของลำตัว และถิ่นที่อยู่อาศัยเนื่องจากเสือดาวมีถิ่นที่อยู่กระจายกว้าง รวมทั้งมีพฤติกรรมบางอย่างที่แตกต่างออกไปด้วย เช่น เสือดาวที่พบในทวีปเอเชียไม่ค่อยมีพฤติกรรมซ่อนเหยื่อบนต้นไม้เหมือนเสือดาวที่พบในทวีปแอฟริกา เป็นต้น
นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เสือดาวอาศัยได้ในสภาพแวดล้อมหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นป่าหรือพื้นที่โล่ง ซึ่งมีหินและพุ่มไม้แห้งๆ แต่มันชอบสภาพป่ามากกว่า เสือดาวทนแล้งทนร้อนและอาศัยในพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำได้ดีกว่าเสือโคร่ง ถ้าจำเป็นจริงๆเสือดาวก็ว่ายน้ำได้ แต่โดยปกติมันจะพยายามหลีกเลี่ยง เสือดาวชอบใช้ชีวิตบนต้นไม้และเคลื่อนที่ว่องไวไปตามกิ่งไม้ เสือดาวกินเหยื่อทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง และหมา มันจะดักคอยเหยื่ออยู่บนต้นไม้และหลังจากฆ่าเหยื่อแล้ว จะลากเหยื่อกลับขึ้นไปกินบนต้นไม้ เพื่อป้องกันสัตว์กินซากมาแย่งอาหาร เสือดาวเริ่มกินเหยื่อที่บริเวณท้องก่อน ในขณะที่เสือโคร่งเริ่มกินที่สะโพกก่อน
เสือดาวมีวิธีอันชาญฉลาดในการจับค่างและลิงกิน โดยเสือดาวจะวิ่งเหยาะๆไปมาอยู่ใต้ต้นไม้ พวกลิงค่างบนต้นไม้ก็จะเริ่มตื่นกลัวและเตรียมตัวหนี โดยพากันกระโดดจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง จากนั้น เสือดาวจะแสร้งทำท่าปีนต้นไม้ ลิงที่มีประสบการณ์น้อยจะหลงกลกระโดดลงพื้นเพื่อหาทางหลบหนีไปตามพุ่มไม้ แต่นั่นคือจุดจบของมัน เพราะเสือดาวจะหันมาไล่จับมันอย่างง่ายดาย
อาหารของเสือดาวนอกจากสัตว์กินพืชจำพวกเก้ง กวาง แล้วมันยังล่าเหยื่ออื่นๆอีกเช่น กระต่าย นกยุง ชะมด หรือแม้แต่สัตว์เล็ก ๆ มันก็กิน เช่น งู กิ้งก่า เป็นต้น เรียกได้ว่า เสือดาวกินสัตว์ทุกชนิดที่ล่าได้
การล่าของเสือดาวจะคล้ายกับเสือโคร่ง คือ การไล่ล่าโดยตรง การซุ่มดักเหลื่อ แต่จะแตกต่างไปบ้างก็ตรงที่มันอาจจะขึ้นไปพรางตัวสงบนิ่งอยู่บนต้นไม้ เพื่อรอคอยตะครุบเหลื่อที่ผ่านเข้ามาใกล้ เมื่อล่าเหยื่อได้มันจะกินบริเวณท้องและซี่โคร่งก่อน ต่างจากเสือโคร่งที่จะเริ่มกินเหยื่อบริเวณสะโพกก่อน
คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล ได้เขียนในบทนำของนิยายเรื่อง “เดชเสือดาว” ว่าเสือดาวมีความฉลาดและนิสัยระแวดระวังภัยมากกว่าเสือโคร่ง เวลาที่มันจะเข้าไปกินซากที่มันกินเหลือไว้จากคืนก่อน มันมักจะแอบดูเหตุการณ์อยู่นาน จนแน่ใจว่าไม่มีใครแอบซุ่มนั่งห้างคอยดักยิงมันอยู่ มันจึงจะค่อย ๆแอบเข้าไปกินซาก ไม่เหมือนกับเสือโคร่งที่มักเดินเข้าไปอย่างสง่าฝ่าเผย ศัตรูของเสือดาวก็คือเสือโคร่งนั่นเองที่มักมาแย่งอาหารของมันบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีพวกหมาจิ้งจอกและหมาในที่มักเข้ามาแย่งซากสัตว์ของมันเช่นกัน
เสือดาวจะมีพื้นที่ในการหากินประมาณ 27 – 37 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะออกหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน ปัจจุบันสถานภาพของเสือดาวในประเทศไทยมีจำนวนลดลง เหลืออยู่ตามป่าอนุรักษ์ต่าง ๆ เช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก ประมาณ 500 ตัวเท่านั้น
เสือดาวชอบอยู่สันโดษ จะจับคู่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ตั้งครรภ์ประมาณ 90-100 วัน ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว และมีอายุในสภาพกักขังประมาณ 20 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น