ปูม้า(blue swimming crab portunus pelagicus) ลักษณะทั่วไปก้ามยาวเรียว มีสัน หนามข้างกระดองข้างละ 9 อัน อันสุดท้ายมีขนาดใหญ่และยาวที่สุด กระดองแบนกว้างมากมีตุ่มเล็กๆกระจายเต็มไปหมด มีหนามที่ขอบเบ้าตาด้านบน ขอบเบ้าตาด้านล่างมีหนามแหลม 1 อัน ขาเดินมี 3 คู่ กรรเชียงว่ายน้ำ 1 คู่ ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม
ถิ่นอาศัย อยู่ตามปากแม่น้ำ หรือบริเวณชายฝั่งทะเล
อาหาร กินซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
ขนาด ความยาวประมาณ 15-20 ซม.
ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารได้
ปูม้า (Portunus pelagicus) เป็นปูขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในเขตร้อนบริเวณใกล้ชายฝั่ง สำหรับประเทศไทยปูม้าอาศัยอยู่ทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย
1. ลักษณะรูปร่างของปูม้า
ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็กปลายแหลมใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้ายตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ
2. การสืบพันธุ์
ปูม้าจะมีเพศแยกจากกันอย่างเด็ดขาด มีการผสมพันธุ์เป็นแบบ Heterosexual ลักษณะทางภายนอกแยกเพศจากกันได้อย่างชัดเจนด้วยสีและจับปิ้ง
เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าเพศเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณระยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมาทำให้สามารถเห็นไข่ปูม้าชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทาและสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน
พัฒนาการของปูม้าวัยอ่อน เริ่มจากระยะ Zoea ซึ่งมีระยะย่อย 4 ระยะ แต่ในบางครั้งจะพบระยะ Prezoea ก่อนระยะ Zoea โดยมักพบเมื่อปูม้าวางไข่ในสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้ปูม้าวัยอ่อนมีอัตราการตายสูง สำหรับการพัฒนาของปูม้าวัยอ่อนระยะ Zoea จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน จึงจะเริ่มลอกคราบเป็นระยะ Megalopa และเมื่อปูม้าวัยอ่อนอายุประมาณ 15 วัน จะเริ่มลอกคราบเข้าสู่ระยะ First crab อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกปูระยะ Zoea คือ โรติเฟอร์ และตัวอ่อนของอาร์ทีเมีย และเมื่อเข้าระยะ Megalopa ก็ให้ปลาบดเป็นอาหารเสริม จนกระทั่งถึงขั้นมีกระดอง First crab
ปริมาณไข่ที่ปูม้าวางไข่แต่ละครั้ง ปูม้ามีปริมาณไข่ดกใกล้เคียงกับปูทะเล กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม แม่ปูขนาดกระดองกว้างประมาณ 8-12 ซม. จะมีไข่ประมาณ 80,000 - 3,000,000 ฟองขึ้นอยู่กับขนาด อายุ และความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ การเพาะฟักแต่ละครั้งจะให้ปริมาณลูกปูจำนวนมากในระยะแรก แม้ว่าอัตราการรอดจากไข่-ลูกปูขนาดเล็กระยะที่ 1 จะมีเพียง 1% หรือน้อยกว่านั้น
เทคนิคในการเพาะและอนุบาลลูกปูม้าวัยอ่อน
เนื่องจากโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเพาะลูกปูม้าวัยอ่อนไม่แตกต่างกับการเพาะลูกกุ้ง-ลูกปลา ดังนั้น โรงเพาะฟักกุ้งและโรงฟักปลาที่มีอยู่จำนวนมากก็สามารถเปลี่ยนจากผลิตกุ้ง-ลูกปลาเป็นลูกปูได้ไม่ยาก อีกประการหนึ่ง เทคนิคการเพาะและอนุบาลลูกปูม้าวัยอ่อน คล้ายคลึงกับของปูทะเลและลูกกุ้ง ความเค็มที่ต้องการ 30 ppt.
3. องค์ประกอบที่สำคัญต่อการรอดตายของลูกปูวัยอ่อน
- แสงสว่าง โดยปกติลูกปูวัยอ่อนจะว่ายน้ำเข้าหาแสงตั้งแต่เริ่มออกจากไข่ การจัดความเข้มของแสงให้กระจายอย่างเท่ากันในบ่อจะเป็นการช่วยลดการรวมกลุ่มของลูกปู ป้องกันการกินกันเองและลดความเครียดของลูกปูจะเป็นการช่วยเพิ่มอัตราการรอดตายของลูกปูวัยอ่อนได้
- ปริมาณความหนาแน่นของลูกปูวัยอ่อน
- อุณหภูมิ
- ปริมาณการให้ออกซิเจน โดยทั่วไปลูกปูในระยะตัวอ่อน 1 ตัวจะใช้ออกซิเจน 0.05 - 0.09 Ml/hour
- ปริมาณความหนาแน่นของอาหาร โดยทั่วไประดับความหนาแน่นของลูกปูที่น้อยกว่า 25 ตัว/200 มิลลิลิตร ลูกปู 1 ตัว จะกินอาหารพวกโรติเฟอร์ 2.5 ตัว ถ้าความหนาแน่นของลูกปูที่เลี้ยงในบ่อมีมากกว่า 25ตัว/200 มิลลิลิตร ลูกปู 1 ตัว จะกินอาหาร 5-6 ตัว
4. การเตรียมพันธุ์ปูม้า
ทำการรวบรวมปูม้าเพศเมียที่มีไข่ ซึ่งได้รับการผสมน้ำเชื้อจากปูเพศผู้แล้วและพัฒนาจนถึง
ขั้นจะสามารถวางไข่ได้ ปูม้าเพศเมียพักไว้ในบ่อซึ่งคลุมให้มืดและแบ่งแยกเป็นอิสระแต่ละตัว เตรียมน้ำฆ่าเชื้อมาจากบ่อที่ฆ่าเชื้อ มีการใช้วัสดุหลบซ่อนตัวของปูม้า โดยใช้ท่อพีวีซีหรือไหจับหมึกด้วยและอาหารที่ใช้เลี้ยงปูเหล่านี้คือหอยขาวสด ๆ ใช้ทั้งเปลือกและเนื้อ ปูม้าจะใช้ก้ามหนีบคีบเปลือกหอยให้แตกและสามารถกินเนื้อหอยได้ ปล่อยให้แม่ปูอุ้มไข่จนพัฒนาแก่ตัวเต็มที่พร้อมจะฟักเป็นตัวได้ และเพื่อเป็นการป้องกันปูทำร้ายกันเอง ได้จัดแบ่งพื้นบ่อเป็นส่วน ๆ ด้วยอวนพีวีซีได้จัดแบ่งพื้นบ่อเป็นส่วน ๆ ด้วยอวนพีวีซี
5. ถังฟักไข่ปู
ใช้ได้ทั้งแบบทึบและแบบโปร่งแสง รูปทรงกลมที่ปากของถังขนาดความจุของถังประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร (1 ตัน) จะใช้ผ้าพลาสติกสีดำหรือเขียวอ่อนคลุมทั้งหมด เพื่อทำให้ภายในถังฟักไข่ปูมีลักษณะมืดทึบ
ลักษณะการฟักตัวของปูจะเริ่มเมื่อไข่แก่เต็มที่ โดยสัญชาตญานของแม่ปูจะทราบโดยธรรมชาติ แม่ปูจะยกตัวขึ้นด้วยขาให้ส่วนท้องบริเวณจับปิ้งที่มีไข่ปูยกสูงพ้นจากพื้นก้นบ่อ ลูกปูระยะเพิ่งฟักเป็นตัว (โซเอีย) นำมาอนุบาลในบ่อจนกระทั่งพัฒนาเป็นลูกปูระยะวัยรุ่นติดตั้งปีกบริเวณผิวน้ำและก้นบ่อ ปีกทำด้วยเนื้ออวนขนาดตา 1 ซม. บังคับด้วยมอเตอร์ให้หมุนได้ 1 รอบ/นาที เพื่อประโยชน์ให้ลูกปูระยะโซเอียแตกกลุ่มหรือกระจายกันและป้องกันการกินกันเองด้วย ควบคุมให้อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ในการอนุบาลลูกปูมีระดับสูงกว่าปกติ คือประมาณ 22-24 oC โดยการจัดให้มีหลังคาคลุมด้วยพลาสติกบางและโปร่งแสง โครงหลังคาทำด้วยโครงเหล็ก จัดสร้างบ่อเก็บน้ำให้มีระดับก้นบ่อเหนือระดับพื้นดินปกติ ระหว่างบ่ออนุบาลลูกปูมีประตูปิด-เปิดน้ำ เพื่อความสะดวกในในการถ่ายน้ำหรือรวบรวมลูกปูได้ทุกระยะ (โซเอีย ปูวัยรุ่น) มีหน้าต่างกระจกชนิดหนาพิเศษสร้างไว้ข้างบ่อ เพื่อให้สามารถมองเห็นภายในของบ่อ ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบการเจริญวัยของลูกปู การจัดการเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ หรือตรวจสอบการให้อาหารในเวลาปกติได้
6. การเพาะพันธุ์อาหารสำหรับอนุบาลลูกปูม้า
การเพาะน้ำเขียว (คลอเรลล่า) จัดสร้างบ่อเพาะน้ำเขียวให้มีลักษณะเป็นร่องฟันปลา ตั้งถังไฟเบอร์ที่เตรียมสำหรับเพาะน้ำเขียวไว้บนปากบ่อส่วนแรก ซึ่งมีระดับสูงกว่าส่วนปลายเล็กน้อย เพื่อจัดเตรียมน้ำและหัวเชื้อน้ำเขียว พร้อมทั้งปุ๋ยเรียบร้อย เตรียมการเพิ่มอากาศให้พอเหมาะ เมื่อน้ำเขียวเจริญได้ดีแล้ว จึงสูบลงมาบริเวณส่วนแรกให้ค่อย ๆ ไหลลงมาส่วนปลาย
ในการอนุบาลลูกปูระยะโซเอีย จะให้โรติเฟอร์เป็นอาหารและลูกปูในระยะเมกาโลปากับวัยรุ่นจะให้โรติเฟอร์และอาร์ทีเมียวัยอ่อนเป็น
อาหาร
พัฒนาการของลูกปูม้า ตั้งแต่ระยะฟักเป็นตัวอ่อนโซเอีย จะมีการพัฒนาโดยการลอกคราบ 1 ครั้ง เข้าสู่ระยะเมกาโลปา เมกาโลปาลอกคราบอีก 1 ครั้ง เข้าระยะลูกปูวัยรุ่นในขนาดความยาวเฉลี่ยประมาณ 4.4 ซม. ใช้เวลาในการพัฒนาทั้งสิ้นประมาณ 20 วัน จากนั้นจึงรวบรวมลูกปูวัยรุ่น โดยการปล่อยน้ำออกจากบ่ออนุบาล โดยจัดเตรียมตะกร้าอวนวางบนพื้นรองรับลูกปูขณะเปิดประตูน้ำจากบ่ออนุบาลบนพื้นรองรับตะกร้ามีระดับน้ำเค็มประมาณ 15 ซม.
การเลี้ยงในบ่อดิน
ปูม้าสามารถเลี้ยงได้ในบ่อดิน เช่นเดียวกับปูทะเล กุ้งกุลาดำ ปูม้ามีคุณสมบัติพิเศษที่เหนือกว่ากุ้งกุลาดำที่มีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำในบ่อ สามารถมีชีวิตและเจริญเติบโตได้ดีในบ่อดิน แม้จะเป็นบ่อกุ้งที่ทิ้งร้าง ที่มีระดับน้ำเพียง 0.50-1.00 ม. มีศัตรูน้อยกว่ากุ้งและปูม้าไม่ทำลายก้นบ่อ
ลักษณะนิสัย
ปูม้าจะมีนิสัยกินกันเอง โดยเฉพาะตอนที่มีการลอกคราบ
ปูม้าสามารถนำมาเลี้ยงเป็นปูไข่ เป็นปูนิ่ม หรือขุนปูโพรกให้เป็นปูแน่น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน ถ้าเป็นการเลี้ยงปูเล็กให้เป็นปูที่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ ปูม้าจะใช้เวลาการเลี้ยงใกล้เคียงกับกุ้งกุลาดำ จากการศึกษาค้นคว้าในบ่อดินขนาด 0.8 ไร่ ระดับน้ำลึกประมาณ 1.20 เมตร ถ้าเลี้ยงด้วยความหนาแน่นระหว่าง 0.5-1.5 ตัว/ตรม. จะสามารถเลี้ยงปูขนาด 0.78 - 1.16 กรัม ให้โตได้ขนาด 90 - 140 กรัม ในระยะ 4 เดือน ซึ่งเป็นขนาดโตได้ราคา
พฤติกรรมการกินอาหาร
ปูม้ากินอาหารได้หลายรูปแบบ นอกจากเนื้อปลาแล้วยังสามารถกินอาหารเปียกที่เกษตรกรสามารถจัดทำขึ้นเองหรืออาหารเม็ดสำเร็จรูป สำหรับกุ้งกุลาดำหรือกุ้งก้ามกรามที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้
ถิ่นอาศัย อยู่ตามปากแม่น้ำ หรือบริเวณชายฝั่งทะเล
อาหาร กินซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
ขนาด ความยาวประมาณ 15-20 ซม.
ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารได้
ปูม้า (Portunus pelagicus) เป็นปูขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในเขตร้อนบริเวณใกล้ชายฝั่ง สำหรับประเทศไทยปูม้าอาศัยอยู่ทั้งชายฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย
1. ลักษณะรูปร่างของปูม้า
ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็กปลายแหลมใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้ายตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ
2. การสืบพันธุ์
ปูม้าจะมีเพศแยกจากกันอย่างเด็ดขาด มีการผสมพันธุ์เป็นแบบ Heterosexual ลักษณะทางภายนอกแยกเพศจากกันได้อย่างชัดเจนด้วยสีและจับปิ้ง
เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าเพศเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณระยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมาทำให้สามารถเห็นไข่ปูม้าชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทาและสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน
พัฒนาการของปูม้าวัยอ่อน เริ่มจากระยะ Zoea ซึ่งมีระยะย่อย 4 ระยะ แต่ในบางครั้งจะพบระยะ Prezoea ก่อนระยะ Zoea โดยมักพบเมื่อปูม้าวางไข่ในสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้ปูม้าวัยอ่อนมีอัตราการตายสูง สำหรับการพัฒนาของปูม้าวัยอ่อนระยะ Zoea จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน จึงจะเริ่มลอกคราบเป็นระยะ Megalopa และเมื่อปูม้าวัยอ่อนอายุประมาณ 15 วัน จะเริ่มลอกคราบเข้าสู่ระยะ First crab อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกปูระยะ Zoea คือ โรติเฟอร์ และตัวอ่อนของอาร์ทีเมีย และเมื่อเข้าระยะ Megalopa ก็ให้ปลาบดเป็นอาหารเสริม จนกระทั่งถึงขั้นมีกระดอง First crab
ปริมาณไข่ที่ปูม้าวางไข่แต่ละครั้ง ปูม้ามีปริมาณไข่ดกใกล้เคียงกับปูทะเล กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม แม่ปูขนาดกระดองกว้างประมาณ 8-12 ซม. จะมีไข่ประมาณ 80,000 - 3,000,000 ฟองขึ้นอยู่กับขนาด อายุ และความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ การเพาะฟักแต่ละครั้งจะให้ปริมาณลูกปูจำนวนมากในระยะแรก แม้ว่าอัตราการรอดจากไข่-ลูกปูขนาดเล็กระยะที่ 1 จะมีเพียง 1% หรือน้อยกว่านั้น
เทคนิคในการเพาะและอนุบาลลูกปูม้าวัยอ่อน
เนื่องจากโรงเรือนและอุปกรณ์ในการเพาะลูกปูม้าวัยอ่อนไม่แตกต่างกับการเพาะลูกกุ้ง-ลูกปลา ดังนั้น โรงเพาะฟักกุ้งและโรงฟักปลาที่มีอยู่จำนวนมากก็สามารถเปลี่ยนจากผลิตกุ้ง-ลูกปลาเป็นลูกปูได้ไม่ยาก อีกประการหนึ่ง เทคนิคการเพาะและอนุบาลลูกปูม้าวัยอ่อน คล้ายคลึงกับของปูทะเลและลูกกุ้ง ความเค็มที่ต้องการ 30 ppt.
3. องค์ประกอบที่สำคัญต่อการรอดตายของลูกปูวัยอ่อน
- แสงสว่าง โดยปกติลูกปูวัยอ่อนจะว่ายน้ำเข้าหาแสงตั้งแต่เริ่มออกจากไข่ การจัดความเข้มของแสงให้กระจายอย่างเท่ากันในบ่อจะเป็นการช่วยลดการรวมกลุ่มของลูกปู ป้องกันการกินกันเองและลดความเครียดของลูกปูจะเป็นการช่วยเพิ่มอัตราการรอดตายของลูกปูวัยอ่อนได้
- ปริมาณความหนาแน่นของลูกปูวัยอ่อน
- อุณหภูมิ
- ปริมาณการให้ออกซิเจน โดยทั่วไปลูกปูในระยะตัวอ่อน 1 ตัวจะใช้ออกซิเจน 0.05 - 0.09 Ml/hour
- ปริมาณความหนาแน่นของอาหาร โดยทั่วไประดับความหนาแน่นของลูกปูที่น้อยกว่า 25 ตัว/200 มิลลิลิตร ลูกปู 1 ตัว จะกินอาหารพวกโรติเฟอร์ 2.5 ตัว ถ้าความหนาแน่นของลูกปูที่เลี้ยงในบ่อมีมากกว่า 25ตัว/200 มิลลิลิตร ลูกปู 1 ตัว จะกินอาหาร 5-6 ตัว
4. การเตรียมพันธุ์ปูม้า
ทำการรวบรวมปูม้าเพศเมียที่มีไข่ ซึ่งได้รับการผสมน้ำเชื้อจากปูเพศผู้แล้วและพัฒนาจนถึง
ขั้นจะสามารถวางไข่ได้ ปูม้าเพศเมียพักไว้ในบ่อซึ่งคลุมให้มืดและแบ่งแยกเป็นอิสระแต่ละตัว เตรียมน้ำฆ่าเชื้อมาจากบ่อที่ฆ่าเชื้อ มีการใช้วัสดุหลบซ่อนตัวของปูม้า โดยใช้ท่อพีวีซีหรือไหจับหมึกด้วยและอาหารที่ใช้เลี้ยงปูเหล่านี้คือหอยขาวสด ๆ ใช้ทั้งเปลือกและเนื้อ ปูม้าจะใช้ก้ามหนีบคีบเปลือกหอยให้แตกและสามารถกินเนื้อหอยได้ ปล่อยให้แม่ปูอุ้มไข่จนพัฒนาแก่ตัวเต็มที่พร้อมจะฟักเป็นตัวได้ และเพื่อเป็นการป้องกันปูทำร้ายกันเอง ได้จัดแบ่งพื้นบ่อเป็นส่วน ๆ ด้วยอวนพีวีซีได้จัดแบ่งพื้นบ่อเป็นส่วน ๆ ด้วยอวนพีวีซี
5. ถังฟักไข่ปู
ใช้ได้ทั้งแบบทึบและแบบโปร่งแสง รูปทรงกลมที่ปากของถังขนาดความจุของถังประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร (1 ตัน) จะใช้ผ้าพลาสติกสีดำหรือเขียวอ่อนคลุมทั้งหมด เพื่อทำให้ภายในถังฟักไข่ปูมีลักษณะมืดทึบ
ลักษณะการฟักตัวของปูจะเริ่มเมื่อไข่แก่เต็มที่ โดยสัญชาตญานของแม่ปูจะทราบโดยธรรมชาติ แม่ปูจะยกตัวขึ้นด้วยขาให้ส่วนท้องบริเวณจับปิ้งที่มีไข่ปูยกสูงพ้นจากพื้นก้นบ่อ ลูกปูระยะเพิ่งฟักเป็นตัว (โซเอีย) นำมาอนุบาลในบ่อจนกระทั่งพัฒนาเป็นลูกปูระยะวัยรุ่นติดตั้งปีกบริเวณผิวน้ำและก้นบ่อ ปีกทำด้วยเนื้ออวนขนาดตา 1 ซม. บังคับด้วยมอเตอร์ให้หมุนได้ 1 รอบ/นาที เพื่อประโยชน์ให้ลูกปูระยะโซเอียแตกกลุ่มหรือกระจายกันและป้องกันการกินกันเองด้วย ควบคุมให้อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ในการอนุบาลลูกปูมีระดับสูงกว่าปกติ คือประมาณ 22-24 oC โดยการจัดให้มีหลังคาคลุมด้วยพลาสติกบางและโปร่งแสง โครงหลังคาทำด้วยโครงเหล็ก จัดสร้างบ่อเก็บน้ำให้มีระดับก้นบ่อเหนือระดับพื้นดินปกติ ระหว่างบ่ออนุบาลลูกปูมีประตูปิด-เปิดน้ำ เพื่อความสะดวกในในการถ่ายน้ำหรือรวบรวมลูกปูได้ทุกระยะ (โซเอีย ปูวัยรุ่น) มีหน้าต่างกระจกชนิดหนาพิเศษสร้างไว้ข้างบ่อ เพื่อให้สามารถมองเห็นภายในของบ่อ ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบการเจริญวัยของลูกปู การจัดการเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ หรือตรวจสอบการให้อาหารในเวลาปกติได้
6. การเพาะพันธุ์อาหารสำหรับอนุบาลลูกปูม้า
การเพาะน้ำเขียว (คลอเรลล่า) จัดสร้างบ่อเพาะน้ำเขียวให้มีลักษณะเป็นร่องฟันปลา ตั้งถังไฟเบอร์ที่เตรียมสำหรับเพาะน้ำเขียวไว้บนปากบ่อส่วนแรก ซึ่งมีระดับสูงกว่าส่วนปลายเล็กน้อย เพื่อจัดเตรียมน้ำและหัวเชื้อน้ำเขียว พร้อมทั้งปุ๋ยเรียบร้อย เตรียมการเพิ่มอากาศให้พอเหมาะ เมื่อน้ำเขียวเจริญได้ดีแล้ว จึงสูบลงมาบริเวณส่วนแรกให้ค่อย ๆ ไหลลงมาส่วนปลาย
ในการอนุบาลลูกปูระยะโซเอีย จะให้โรติเฟอร์เป็นอาหารและลูกปูในระยะเมกาโลปากับวัยรุ่นจะให้โรติเฟอร์และอาร์ทีเมียวัยอ่อนเป็น
อาหาร
พัฒนาการของลูกปูม้า ตั้งแต่ระยะฟักเป็นตัวอ่อนโซเอีย จะมีการพัฒนาโดยการลอกคราบ 1 ครั้ง เข้าสู่ระยะเมกาโลปา เมกาโลปาลอกคราบอีก 1 ครั้ง เข้าระยะลูกปูวัยรุ่นในขนาดความยาวเฉลี่ยประมาณ 4.4 ซม. ใช้เวลาในการพัฒนาทั้งสิ้นประมาณ 20 วัน จากนั้นจึงรวบรวมลูกปูวัยรุ่น โดยการปล่อยน้ำออกจากบ่ออนุบาล โดยจัดเตรียมตะกร้าอวนวางบนพื้นรองรับลูกปูขณะเปิดประตูน้ำจากบ่ออนุบาลบนพื้นรองรับตะกร้ามีระดับน้ำเค็มประมาณ 15 ซม.
การเลี้ยงในบ่อดิน
ปูม้าสามารถเลี้ยงได้ในบ่อดิน เช่นเดียวกับปูทะเล กุ้งกุลาดำ ปูม้ามีคุณสมบัติพิเศษที่เหนือกว่ากุ้งกุลาดำที่มีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำในบ่อ สามารถมีชีวิตและเจริญเติบโตได้ดีในบ่อดิน แม้จะเป็นบ่อกุ้งที่ทิ้งร้าง ที่มีระดับน้ำเพียง 0.50-1.00 ม. มีศัตรูน้อยกว่ากุ้งและปูม้าไม่ทำลายก้นบ่อ
ลักษณะนิสัย
ปูม้าจะมีนิสัยกินกันเอง โดยเฉพาะตอนที่มีการลอกคราบ
ปูม้าสามารถนำมาเลี้ยงเป็นปูไข่ เป็นปูนิ่ม หรือขุนปูโพรกให้เป็นปูแน่น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน ถ้าเป็นการเลี้ยงปูเล็กให้เป็นปูที่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ ปูม้าจะใช้เวลาการเลี้ยงใกล้เคียงกับกุ้งกุลาดำ จากการศึกษาค้นคว้าในบ่อดินขนาด 0.8 ไร่ ระดับน้ำลึกประมาณ 1.20 เมตร ถ้าเลี้ยงด้วยความหนาแน่นระหว่าง 0.5-1.5 ตัว/ตรม. จะสามารถเลี้ยงปูขนาด 0.78 - 1.16 กรัม ให้โตได้ขนาด 90 - 140 กรัม ในระยะ 4 เดือน ซึ่งเป็นขนาดโตได้ราคา
พฤติกรรมการกินอาหาร
ปูม้ากินอาหารได้หลายรูปแบบ นอกจากเนื้อปลาแล้วยังสามารถกินอาหารเปียกที่เกษตรกรสามารถจัดทำขึ้นเองหรืออาหารเม็ดสำเร็จรูป สำหรับกุ้งกุลาดำหรือกุ้งก้ามกรามที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น