วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แมวป่าหัวแบน Prionailurus planiceps



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับ Carnivora
วงศ์ Felidae

สกุล Prionailurus
สปีชีส์ P. planiceps
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prionailurus planiceps Vigors and Horsfield, ค.ศ. 1827

แมวป่าหัวแบน Flat-headed Cat เป็นสัตว์ป่าที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ความที่มีประชากรน้อย อยู่ในภาวะหมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์ จึงถูกขึ้นทำเนียบสัตว์ป่า คุ้มครองประเภทที่ 1 และอนุสัญญา CITES จัดเป็นสัตว์ใน Appendix 1

โดยถิ่นที่อยู่อาศัย จะอยู่ในแถบภาคใต้ของ ประเทศไทย มีรายงานว่าพบในบริเวณ จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส ผ่านแหลมมลายู สุมาตรา และบอร์เนียว อาศัยอยู่ในป่าลึกที่ราบต่ำ ชอบใช้ชีวิตบริเวณที่มีลำธารอุดมสมบูรณ์ หรือในพื้นที่ที่เป็นหนองน้ำ

ลักษณะรูปร่างทรวดทรง ใกล้เคียงกับแมวบ้านตัวโตๆ แต่จะแปลกกว่าแมวชนิดอื่น ตรงที่มีรูปหัวยาว แคบ หน้าผากแบนราบ ลำตัวยาว ขาสั้น คล้ายกับชะมดหรือนาก ขน ตามลำตัวยาว สีน้ำตาลคล้ำมีลายจุดละเอียดทั่วตัว อ่อนนุ่มและแน่น หัว มีสีน้ำตาลอมแดง ดูสว่างกว่าลำตัว ปาก ค่อนข้างยาว กรามแคบ มีแต้มขาวที่แก้ม มีเส้นสีเหลืองลากตั้งแต่ ตาไปถึงหู ที่กลมสั้น ใต้ลำตัวสีขาว มักมีจุดหรือแถบสีน้ำตาล ดวงตา ใหญ่สีน้ำตาล ฟัน โย้เข้าหาด้านในปาก อีกทั้งแหลมคมกว่าแมวชนิดอื่น ทำให้เหมาะที่จะคาบเหยื่อไม่ให้ลื่นหลุดได้ง่าย
เท้าหน้า มีขนฟูแน่น เล็บ หดได้มากเหมือนแมวทั่วไป แต่มีปลอกสั้นคลุมเล็บได้เพียงบางส่วน ระหว่างนิ้วเท้า มีพังผืดเชื่อมเพื่อช่วยในการว่ายน้ำแบบเดียวกับเสือปลา แต่มากกว่า

มีนิสัย ชอบเล่น แช่น้ำนานๆ มันสามารถมุดหัวลงไปคาบจับปลาใต้น้ำลึก 5 นิ้วได้ ก่อนกินอาหารซึ่งได้แก่พวกหนู กุ้ง ปลาน้ำจืดซึ่งเป็นเมนูโปรด หรือบางมื้ออาจเป็น นก ไก่ จะนำไปล้างน้ำ ซึ่งคล้ายกับพฤติกรรมของแรกคูน ชอบใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง รักสันโดษประกาศอาณาเขตโดยการปล่อยปัสสาวะเช่นเดียวกับแมวทั่วไป เสียงร้องของแมวป่าหัวแบน จะคล้ายเสียงของลูกแมวบ้านทั่วไป แต่ค่อนข้าง สั่นเครือมากกว่า

เมื่ออายุ 12-18 เดือน เริ่มมองเพศตรงข้าม หลังจับคู่แล้วจะแยกย้ายจากกัน โดยที่ตัวเมียตั้งท้องนานราว 56 วัน ตกลูกครั้งละ 1-4 ตัว ในวัยเด็กสีขนออกจะเป็นสีเทา หลังจากนั้นจะค่อยๆเปลี่ยนไปจนเหมือนตัวเต็มวัยเมื่ออายุได้ 1 ปี มีน้ำหนัก 1.5-2.5 กก.ความยาวจากลำตัวถึงหาง 53-75 ซม.มีอายุอยู่ได้นานถึง 14 ปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาหาร การเลี้ยงดูด้วยเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...