การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii
อันดับ Siluriformes
วงศ์ Clariidae
สกุล Clarias
สปีชีส์
Scopoli, 1777
Clarias abbreviatus
Clarias agboyiensis
Clarias albopunctatus
Clarias alluaudi - Alluaud's catfish
Clarias anfractus
Clarias angolensis
Clarias anguillaris - Mudfish
Clarias batrachus - ปลาดุกด้าน (Walking catfish)
Clarias batu
Clarias brachysoma
Clarias buettikoferi
Clarias buthupogon
Clarias camerunensis
Clarias cataractus - ปลาดุกลำพันภูเขา
Clarias cavernicola - Cave catfish
Clarias dayi
Clarias dhonti
Clarias dussumieri
Clarias ebriensis
Clarias engelseni
Clarias fuscus - Whitespotted clarias
Clarias gabonensis
Clarias gariepinus - ปลาดุกรัสเซีย (North African catfish)
Clarias hilli
Clarias insolitus
Clarias intermedius
Clarias jaensis
Clarias kapuasensis
Clarias laeviceps
Clarias lamottei
Clarias leiacanthus
Clarias liocephalus - Smoothhead catfish
Clarias longior
Clarias maclareni
Clarias macrocephalus - ปลาดุกอุย (Broadhead catfish)
Clarias macromystax
Clarias meladerma - ปลาดุกเนื้อเลน (Blackskin catfish)
Clarias microstomus
Clarias nebulosus
Clarias ngamensis - Blunt-toothed African catfish
Clarias nieuhofii - ปลาดุกลำพัน
Clarias nigromarmoratus
Clarias olivaceus
Clarias pachynema
Clarias planiceps
Clarias platycephalus
Clarias pseudoleiacanthus
Clarias pseudonieuhofii
Clarias salae
Clarias stappersii - Blotched catfish
Clarias submarginatus
Clarias teijsmanni
Clarias theodorae - Snake catfish
Clarias werneri
ปลาดุก (Catfish)
เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี และมีความนิยมบริโภค ในอัตราที่สูง สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงอย่างงดงาม เพียงแต่มีน้ำดี สภาพพื้นที่ดี มีการเอาใจใส่ดูแลให้อาหารดี รวมทั้งผู้เลี้ยงขยันศึกษาหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับกิจการของตน และเพื่อสนองตอบปัจจัยในการเลี้ยงปลาดุกอย่างมีประสิทธิภาพ
ปลาดุกที่พบในประเทศไทย
ในประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี
ปลาดุกอุย
สีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น
ปลาดุกด้าน
สีของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก
แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัย
ปลาดุกจะพบแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii
อันดับ Siluriformes
วงศ์ Clariidae
สกุล Clarias
สปีชีส์
Scopoli, 1777
Clarias abbreviatus
Clarias agboyiensis
Clarias albopunctatus
Clarias alluaudi - Alluaud's catfish
Clarias anfractus
Clarias angolensis
Clarias anguillaris - Mudfish
Clarias batrachus - ปลาดุกด้าน (Walking catfish)
Clarias batu
Clarias brachysoma
Clarias buettikoferi
Clarias buthupogon
Clarias camerunensis
Clarias cataractus - ปลาดุกลำพันภูเขา
Clarias cavernicola - Cave catfish
Clarias dayi
Clarias dhonti
Clarias dussumieri
Clarias ebriensis
Clarias engelseni
Clarias fuscus - Whitespotted clarias
Clarias gabonensis
Clarias gariepinus - ปลาดุกรัสเซีย (North African catfish)
Clarias hilli
Clarias insolitus
Clarias intermedius
Clarias jaensis
Clarias kapuasensis
Clarias laeviceps
Clarias lamottei
Clarias leiacanthus
Clarias liocephalus - Smoothhead catfish
Clarias longior
Clarias maclareni
Clarias macrocephalus - ปลาดุกอุย (Broadhead catfish)
Clarias macromystax
Clarias meladerma - ปลาดุกเนื้อเลน (Blackskin catfish)
Clarias microstomus
Clarias nebulosus
Clarias ngamensis - Blunt-toothed African catfish
Clarias nieuhofii - ปลาดุกลำพัน
Clarias nigromarmoratus
Clarias olivaceus
Clarias pachynema
Clarias planiceps
Clarias platycephalus
Clarias pseudoleiacanthus
Clarias pseudonieuhofii
Clarias salae
Clarias stappersii - Blotched catfish
Clarias submarginatus
Clarias teijsmanni
Clarias theodorae - Snake catfish
Clarias werneri
ปลาดุก (Catfish)
เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี และมีความนิยมบริโภค ในอัตราที่สูง สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงอย่างงดงาม เพียงแต่มีน้ำดี สภาพพื้นที่ดี มีการเอาใจใส่ดูแลให้อาหารดี รวมทั้งผู้เลี้ยงขยันศึกษาหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับกิจการของตน และเพื่อสนองตอบปัจจัยในการเลี้ยงปลาดุกอย่างมีประสิทธิภาพ
ปลาดุกที่พบในประเทศไทย
ในประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี
ปลาดุกอุย
สีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น
ปลาดุกด้าน
สีของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก
แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัย
ปลาดุกจะพบแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี
ลักษณะนิสัยของปลาดุก
ปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิดอื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกินตามหน้าดินได้เช่นเดียวกัน
ปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิดอื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกินตามหน้าดินได้เช่นเดียวกัน
อาหารปลาดุก
อาหารไม่ว่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการอาหารเพื่อการดำรงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อปลาดุกฟักไข่ออกมาเป็นตัวลูกปลาดุกจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงซึ่งติดอยู่ด้านหน้าท้องของลูกปลา ประมาณ 1 – 2 วัน ถุงไข่แดงจะยุบลง นั่นเป็นเครื่องหมายว่าอาหารที่ติดตัวลูกปลาดุกมาตั้งแต่เกิดได้ใช้หมดไปแล้ว จำเป็นต้องมีการหาอาหารจากสภาพแวดล้อมกิน ในช่วงนี้ผู้เลี้ยงลูกปลาดุกจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่แดงต้มสุก ไรแดง หรืออาหารผสม ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นสามารถที่จะปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้ อาหารที่ให้ได้แก่ ปลาเป็ดสับบดละเอียดผสมกับรำ หรือ อาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จวบจนกระทั่ง สามารถจับปลาดุกขายได้
ในธรรมชาติลูกปลาดุก กินอาหารจำพวกโปรโตซัว ไรน้ำขนาดเล็ก โรติเฟอร์ และแพลงค์ตอนพืช ปลาดุกที่มีขนาดโตขึ้น จะกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้ง ลูกปู หนอน และอินทรีย์สารที่อยู่ตามพื้นโคลน นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้กินอาหารสมทบทั้งประเภทจมน้ำ หรืออาหารชนิดเม็ดลอยน้ำได้ ซึ่งมีส่วนผสมของอาหารประเภทปลายข้าว รำ กากถั่ว ปลาป่น เป็นต้น
ปลาดุกกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivorous) มีนิสัยชอบหาอาหารกินในเวลากลางวันตามบริเวณพื้นก้นบ่อ และจะขึ้นมากินอาหารบริเวณพื้นผิวน้ำเป็นบางขณะ ในบางครั้งก็ถือว่าปลาชนิดนี้เป็นพวก Scavengers เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเศษเนื้อที่กำลังสลายตัว ปลาดุกมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืชหรืออาหารจำพวกแป้ง
อาหารต่างๆ เหล่านี้ ทั้งที่มีตามธรรมชาติ ทั้งที่ผสมให้กินโดยการทำเองมีสารอาหารต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องให้ปลาดุกอย่างครบถ้วน ตามที่ปลาดุกต้องการ ปลาดุกจึงเจริญเติบโตได้ดี คุณค่าทางอาหารที่ปลาดุกต้องการและจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ
โปรตีน เป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อนำเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย ในส่วนที่สึกหรอ หรือนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ความต้องการโปรตีนของปลาดุกนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัยและเวลาที่เพิ่มขึ้น ในลูกปลาวัยอ่อนจนถึงขนาดสามารถปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้มีความต้องการโปรตีนอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในช่วงระยะเวลาที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลาดุกมีความต้องการโปรตีน 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
คาร์โบไฮเดรต สารอาหารประเภทนี้ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้บางส่วนแก่ร่างกาย ความต้องการคาร์โบไฮเดรตของปลาดุกจะอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วปลาดุกจะไม่ขาดสารอาหารประเภทนี้เพราะมีอยู่ในแป้ง ปลายข้าว รำ และในข้าวโพด นอกจากนี้วัตถุดิบเหล่านี้ในอาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จะช่วยให้อาหารรวมตัวกันได้แน่นขึ้นอีกด้วย
ไขมัน ไม่ว่าอาหารชนิดใดมักจะมีไขมันปะปนอยู่ด้วยเสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งสารอาหารนี้เป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานในปริมาณที่สูง บางครั้งปลาดุกที่ได้รับไขมันเป็นจำนวนมากก็จะมีโทษได้เช่นเดียวกันกับการมีประโยชน์ของมัน ในอาหารที่ให้ปลาดุกไม่ควรจะมีไขมันในปริมาณที่มากเกิน 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ วัตถุดิบที่มีไขมันในปริมาณมากได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
วิตามิน สารอาหารชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุง เพราะมีส่วนช่วยให้ปลาดุกสามารถใช้สารอาหารอื่นๆ ได้มากขึ้น ทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นโดยที่สารอาหารชนิดนี้เองไม่ได้มีส่วนในการเจริญเติบโตของปลาดุกโดยตรงเลย ดังนั้นวิตามินจึงมีความจำเป็นที่ปลาดุกจะต้องได้รับตามความเหมาะสม
แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และยังเป็นสารที่ควบคุมปริมาณของน้ำในตัวปลา แร่ธาตุมีอยู่ในสารอาหารโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว
อาหารลูกปลา
ไข่แดงต้มสุก เป็นอาหารของปลาดุกในช่วงในช่วงที่ปลายังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถกินอาหารอื่นๆ ได้ ไข่ที่นำมาใช้เป็นไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ก็ได้ต้มให้สุกใช้แต่ไข่แดง โดยบี้ไข่แดงยีกับผ้าขาวบางตาละเอียดให้เม็ดเล็กที่สุด การให้ไข่แดงอย่าให้มาก เพราะเมื่อหลงเหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
ไรแดง เป็นอาหารหลักของลูกปลาวัยอ่อน ช่วยให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีอัตราการรอดสูง ก่อนให้ไรแดงเป็นอาหารลูกปลาทุกๆ ครั้งต้องแช่ด้วยด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน
อาหารปลาใหญ่
ปลาเป็ด เมื่อเรืออวนลากออกจับปลาตามชายฝั่ง จะได้ปลาหลายๆ ขนาด ปลาขนาดเล็กที่จับได้ไม่เป็นที่นิยมบริโภคกันมีราคาไม่แพงมากนัก ปลานี้เราเรียกว่าปลาเป็ด มีคุณค่าของสารอาหารประเภทโปรตีนสูง การให้ปลาเป็ดเป็นอาหารปลาดุกมักจะสับให้ละเอียด หรือใช้เครื่องบดอาหารได้
อาหารเม็ดลอยน้ำ ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ ทางการเกษตรที่มีคุณค่าทางอาหารมาบดให้ละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันอัดเป็นเม็ดออกมา
วัตถุดิบที่นิยมทำมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกทั่วๆไป จะหาซื้อได้ตามท้องถิ่นที่ได้จากพืช ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเมล็ด กากถั่วลิสง กากมะพร้าว ส่วนวัตถุดิบที่ได้มาจากสัตว์ก็มี ปลาเป็ด ปลาป่น เลือดป่น ในการเลือกวัตถุดิบเหล่านี้ควรจะเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ไม่ขึ้นรา ไม่เหม็นหืน อาหารที่ได้จึงมีคุณภาพดี เก็บไว้ใช้ได้นาน
อาหารไม่ว่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการอาหารเพื่อการดำรงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อปลาดุกฟักไข่ออกมาเป็นตัวลูกปลาดุกจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงซึ่งติดอยู่ด้านหน้าท้องของลูกปลา ประมาณ 1 – 2 วัน ถุงไข่แดงจะยุบลง นั่นเป็นเครื่องหมายว่าอาหารที่ติดตัวลูกปลาดุกมาตั้งแต่เกิดได้ใช้หมดไปแล้ว จำเป็นต้องมีการหาอาหารจากสภาพแวดล้อมกิน ในช่วงนี้ผู้เลี้ยงลูกปลาดุกจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่แดงต้มสุก ไรแดง หรืออาหารผสม ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นสามารถที่จะปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้ อาหารที่ให้ได้แก่ ปลาเป็ดสับบดละเอียดผสมกับรำ หรือ อาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จวบจนกระทั่ง สามารถจับปลาดุกขายได้
ในธรรมชาติลูกปลาดุก กินอาหารจำพวกโปรโตซัว ไรน้ำขนาดเล็ก โรติเฟอร์ และแพลงค์ตอนพืช ปลาดุกที่มีขนาดโตขึ้น จะกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้ง ลูกปู หนอน และอินทรีย์สารที่อยู่ตามพื้นโคลน นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้กินอาหารสมทบทั้งประเภทจมน้ำ หรืออาหารชนิดเม็ดลอยน้ำได้ ซึ่งมีส่วนผสมของอาหารประเภทปลายข้าว รำ กากถั่ว ปลาป่น เป็นต้น
ปลาดุกกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivorous) มีนิสัยชอบหาอาหารกินในเวลากลางวันตามบริเวณพื้นก้นบ่อ และจะขึ้นมากินอาหารบริเวณพื้นผิวน้ำเป็นบางขณะ ในบางครั้งก็ถือว่าปลาชนิดนี้เป็นพวก Scavengers เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเศษเนื้อที่กำลังสลายตัว ปลาดุกมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืชหรืออาหารจำพวกแป้ง
อาหารต่างๆ เหล่านี้ ทั้งที่มีตามธรรมชาติ ทั้งที่ผสมให้กินโดยการทำเองมีสารอาหารต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องให้ปลาดุกอย่างครบถ้วน ตามที่ปลาดุกต้องการ ปลาดุกจึงเจริญเติบโตได้ดี คุณค่าทางอาหารที่ปลาดุกต้องการและจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ
โปรตีน เป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อนำเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย ในส่วนที่สึกหรอ หรือนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ความต้องการโปรตีนของปลาดุกนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัยและเวลาที่เพิ่มขึ้น ในลูกปลาวัยอ่อนจนถึงขนาดสามารถปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้มีความต้องการโปรตีนอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในช่วงระยะเวลาที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลาดุกมีความต้องการโปรตีน 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
คาร์โบไฮเดรต สารอาหารประเภทนี้ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้บางส่วนแก่ร่างกาย ความต้องการคาร์โบไฮเดรตของปลาดุกจะอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วปลาดุกจะไม่ขาดสารอาหารประเภทนี้เพราะมีอยู่ในแป้ง ปลายข้าว รำ และในข้าวโพด นอกจากนี้วัตถุดิบเหล่านี้ในอาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จะช่วยให้อาหารรวมตัวกันได้แน่นขึ้นอีกด้วย
ไขมัน ไม่ว่าอาหารชนิดใดมักจะมีไขมันปะปนอยู่ด้วยเสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งสารอาหารนี้เป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานในปริมาณที่สูง บางครั้งปลาดุกที่ได้รับไขมันเป็นจำนวนมากก็จะมีโทษได้เช่นเดียวกันกับการมีประโยชน์ของมัน ในอาหารที่ให้ปลาดุกไม่ควรจะมีไขมันในปริมาณที่มากเกิน 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ วัตถุดิบที่มีไขมันในปริมาณมากได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
วิตามิน สารอาหารชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุง เพราะมีส่วนช่วยให้ปลาดุกสามารถใช้สารอาหารอื่นๆ ได้มากขึ้น ทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นโดยที่สารอาหารชนิดนี้เองไม่ได้มีส่วนในการเจริญเติบโตของปลาดุกโดยตรงเลย ดังนั้นวิตามินจึงมีความจำเป็นที่ปลาดุกจะต้องได้รับตามความเหมาะสม
แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และยังเป็นสารที่ควบคุมปริมาณของน้ำในตัวปลา แร่ธาตุมีอยู่ในสารอาหารโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว
อาหารลูกปลา
ไข่แดงต้มสุก เป็นอาหารของปลาดุกในช่วงในช่วงที่ปลายังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถกินอาหารอื่นๆ ได้ ไข่ที่นำมาใช้เป็นไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ก็ได้ต้มให้สุกใช้แต่ไข่แดง โดยบี้ไข่แดงยีกับผ้าขาวบางตาละเอียดให้เม็ดเล็กที่สุด การให้ไข่แดงอย่าให้มาก เพราะเมื่อหลงเหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
ไรแดง เป็นอาหารหลักของลูกปลาวัยอ่อน ช่วยให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีอัตราการรอดสูง ก่อนให้ไรแดงเป็นอาหารลูกปลาทุกๆ ครั้งต้องแช่ด้วยด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน
อาหารปลาใหญ่
ปลาเป็ด เมื่อเรืออวนลากออกจับปลาตามชายฝั่ง จะได้ปลาหลายๆ ขนาด ปลาขนาดเล็กที่จับได้ไม่เป็นที่นิยมบริโภคกันมีราคาไม่แพงมากนัก ปลานี้เราเรียกว่าปลาเป็ด มีคุณค่าของสารอาหารประเภทโปรตีนสูง การให้ปลาเป็ดเป็นอาหารปลาดุกมักจะสับให้ละเอียด หรือใช้เครื่องบดอาหารได้
อาหารเม็ดลอยน้ำ ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ ทางการเกษตรที่มีคุณค่าทางอาหารมาบดให้ละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันอัดเป็นเม็ดออกมา
วัตถุดิบที่นิยมทำมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกทั่วๆไป จะหาซื้อได้ตามท้องถิ่นที่ได้จากพืช ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเมล็ด กากถั่วลิสง กากมะพร้าว ส่วนวัตถุดิบที่ได้มาจากสัตว์ก็มี ปลาเป็ด ปลาป่น เลือดป่น ในการเลือกวัตถุดิบเหล่านี้ควรจะเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ไม่ขึ้นรา ไม่เหม็นหืน อาหารที่ได้จึงมีคุณภาพดี เก็บไว้ใช้ได้นาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น