วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กระซู่


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับ Perissodactyla
วงศ์ Rhinocerotidae

สกุล Rhinoceros
Gloger, 1841
สปีชีส์ R. sumatrensis

ชื่อสามัญ: Asian Tow-Horned or Sumatran Rhinoceros

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinoceros sumatrensis Fischer, ค.ศ. 1814

สถานะ : ขั้นวิกฤต


กระซู่ หรือ แรดสุมาตรา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinoceros sumatrensis เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา (Rhinoceros sondaicus) ผิวหนังตามลำตัวมีสีเทา ริมฝีปากและผิวหนังใต้ท้องบริเวณขามีสีเนื้อ มีขนหยาบและยาวปกคลุมบริเวณลำตัวโดยเฉพาะหลังและปลายหางซึ่งมีผิวหนังบาง มีหนังที่พับย่นน้อยกว่าแรดชนิดอื่น ๆ กระซู่ที่อายุน้อยจนที่ปกคลุมบริเวณลำตัวจะยาว อ่อนนุ่ม และมีสีน้ำตาล เมื่อโตเต็มที่ความยาวลำตัวและหัว 240-260 เซนติเมตร ความยาวหาง 650 เซนติเมตร น้ำหนัก 900-1,000 กิโลกรัม

ปัจจุบันคาดว่ามีหลงเหลืออยู่ในภาคใต้ของพม่า ภาคใต้ของไทย ในอุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรีติดกับชายแดนมาเลเซีย เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวในอินโดนีเซีย

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในหลากหลายภูมิประเทศแต่เป็นที่มีความชื้นสูง เช่น ป่าพรุ ป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ และป่าดิบเขาที่หนาวเย็น ชอบนอนแช่น้ำ และเล่นโคลน อาหารของกระซู่ ได้แก่ เปลือกไม้ ยอดไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน แต่ที่ชอบมากที่สุด คือ มะม่วงป่า มักใช้ทางเดินประจำและใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเดินหาอาหาร กระซู่ตัวเมียมักอาศัยอยู่ตามลำพังในอาณาบริเวณของตัวเอง และมีอาณาบริเวณแคบกว่าตัวผู้ โดยกระซู่ตัวผู้จะเข้าไปผสมพันธุ์เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 7-8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เมื่อต่อสู้หรือป้องกันตัว กระซู่จะไม่ใช้นอพุ่งชนเหมือนแรดชนิดอื่น ๆ แต่จะใช้ริมฝีปากซึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมงับแทน

เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1-1.5 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทาคล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัวจะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียวตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ 2 นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย
อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว มีระยะตั้งท้อง 7-8 เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน 32 ปี
ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป
เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย
สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...