แกะ
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
อันดับ Artiodactyla
วงศ์ Bovidae
วงศ์ย่อย Caprinae
สกุล Ovis
สปีชีส์ O. aries
1) แกะพันธุ์คาทาดิน
กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2532 เป็นแกะเนื้อที่รัปบตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสิรมอาหารข้น ผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.1 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก.
2) แกะพันธุ์ซานตาอิเนส
เป็นแกะเนื้อ จำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ.2540 ขนาดใหญ่ใบหูยาวปรก หน้าโค้งนูน มีหลายสี น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.
3) แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบล็คเบลลี
เป็นแกะเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียน มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม และมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู บอบตา และบิรเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกดก อัตราการเกิดลูกแฝดสูง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กก. ขนาดครอก 1.5-2.3 ตัวต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว 3.0 กก. ลูกแฝด 2.8 กก. น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน ลูกเดี่ยว 1.7 กก. ลูกแฝด 13.4 กก. และน้ำหนักโตเต้ฒที่ เพศผู้ 68-90 กก. เพศเมีย 40-59 กก.
4) แกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์
มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา
ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (ระยะการเป็นสัด)
แกะเริ่มวัยเจริญพันธู์เมื่ออายุ 3-4 เดือน ตัวเมียจะเป็นสัดยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับผสมพันธุ์ได้ ควรแยกลูกตัวเมียออกไปเลี้ยงเฉพาะในคอกตัวเมีย และจะให้ผสมพันธุ์กันเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป เพื่อให้พ่อแม่มีความสมบูรณ์พันธุ์ก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้ตัวแม่ไม่พร้อมและเลี้ยงลูก น้ำนมน้อย ลูกที่เกิดอาจตัวเล็ก แคระแกรน และอ่อนแอตายได้
ลักษณะการเป็นสัดของแม่แกะ สังเกตดูได้จาก
อวัยวะเพศบวมแดง ชุ่มชื้น และอุ่น
กระดิกหางบ่อยขึ้น
จะยืนเงียบเมื่อตัวผู้หรือตัวอื่นมายืนประกบติด
ไม่ค่อยอยู่สุขกระวนกระวาย และไม่อยากอาหาร
แม่แกะมีวงรอบการเป็นสัดทุก 17 วัน ส่วนต่าง 2 วัน แม่แพะมีวงรอบการเป็นสัดทุก 21 วัน ส่วนต่าง 2 วัน
ช่วงการผสมพันธุ์
เมื่อเห็นแม่แกะเป็นสัดแล้ว ระยะที่เหมาะสมให้ตัวผู้ขึ้นทับคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากที่เห็นอาการการเป็นสัด
อัตราส่วนผสม
พ่อหนุ่ม 1 ตัว ต่อแม่ 10-15 ตัว
พ่ออายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ตัว ต่อแม่ 20-30 ตัว
ข้อแนะนำ
1. ไม่ควรนำพ่อผสมกับลูกตัวเมีย หรือลูกตัวผู้ผสมกับแม่ เพราะอาจทำให้ลูกที่เกิดขึ้นตัวเล็กลง ไม่สมบูรณ์ หรือลักษณะที่ไม่ดี พิการออกมา
2. ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนพ่อพันธุ์ตัวใหม่ทุก 12 เดือน (แลกหรือขอยืมระหว่างฟาร์ม/หมู่บ้าน)
3. ควรคัดแม่ที่ผสมไม่ติด 2 ครั้งออกไป
4. ควรแยกเลี้ยงแม่ท้องแก่ และแม่เลี้ยงลูกไว้ในคอกต่างหาก เพื่อกันอันตรายจากตัวอื่น
ช่วงการอุ้มท้อง (ระยะอุ้มท้อง 150 วัน)
สังเกตดูว่าแม่แกะอุ้มท้อง หรือโดย
ไม่แสดงอาการเป็นสัดอีกหลังจากผสมพันธุ์ไปแล้ว 17-21 วัน
ท้องขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ
เต้านมและหัวนมขยายใหญ่ขึ้นจากเดิม
ช่วงระยะอุ้มท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5 กก. ดังนั้นควรเสริมหญ้า ถั่ว หรือพืชตระกูลถั่วต่างๆ และเสริมอาหาร รำข้าว กากถั่วเหลือง หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แอ้ข้าวโพด และควรมีน้ำสะอาดวางให้กินเต็มที่ และคอกเลี้ยงควรแห้ง สะอาด พื้นคอกแข็งแรง ไม้ระแนงไม่ผุพัง เพื่อป้องกันการแท้งลูก
ช่วงการคลอดลูก
ลักษณะอาการใกล้คลอดลูกของแม่แกะ สังเกตจาก
ตะโพกเริ่มขยาย หลังแอ่นลง (เพราะท้องหนักขึ้น)
เต้านมขยายใหญ่มากขึ้นและหัวนมแต่ง
อวัยวะเพศบวมแดง และชุ่มชื้น
จะไม่นอน แต่ลุกขึ้น เอาเท้าตะกุยพื้นคอก
ความอยากอาหารลดลง
การเตรียมตัวก่อนแม่คลอดลูก
ควรหาคอกที่สะอาด และพื้นไม่ชื้นแฉะ
ควรมีฟางแห้งรองพื้นให้ความอบอุ่นลูก ช่วงกลางคืน หรือฤดูหนาว ควรมีไฟกกลูก
พื้นระแนงที่เลี้ยงลูกควรมีช่องห่างไม่เกิน 1.3 ซ.ม.
ควรมีทิงเจอร์ไอโอดีนทาแผลที่ตัดสายสะดือ
อาการใกล้คลอดลูก
ท่าคลอดปกติ ลูกจะเอาเท้าทั้ง 2 ข้างออก หรืออาจจะเอาเท้าหลังทั้ง 2 ข้าง
ท่าคลอดผิดปกติ เอาเท้าออกข้างเดียว อีกข้างพับอยู่ด้านใน อาจทำให้มีปัญหาการคลอดยาก
ปกติลูกควรจะออกจากท้องแม่ใน 5-15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากที่ถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว และรกควรออกมาภายใน 4-12 ชั่วโมง เมื่อลูกออกมาปล่อยให้แม่เลียลูกให้ตัวแห้งหรืออาจช่วยเช็ดตัวลูก และตัดสายสะดือ ทาทิงเจอร์
สาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดยาก เพราะ
ลูกคลอดท่าผิดปกติ
แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบเกินไป
ลูกตัวใหญ่เกินไป
ลูกตายในท้องแม่
แม่ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ
การช่วยการคลอด หากลูกคลอดผิดท่า หลังจากปล่อยให้แม่คลอดลูกเองแล้ว ใน 1 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมา ควรให้ความช่วยเหลือ โดย
ตัดเล็บมือให้สั้น ลับคมออก ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่
ล้างบริเวณอวัยวะเพศ/ด้านท้ายให้สะอาดด้วยสบู่
ให้ผู้ช่วยค่อยๆ จับแม่แกะวางนอนลงทางด้านขวาตัวแม่ทับพื้น จับบริเวณคอ
ค่อยๆ ใช้มือล้วงเข้าไปในอวัยวะเพศ
สัมผัสลูก ให้รู้ตำแหน่งหัวหรือเท้า แล้วจึงดึงเท้าให้ออกมาทั้ง2 ข้าง ในท่าที่ถูกต้องช้าๆ
เมื่อลูกออกมาแล้ว เช็ดเมือกบริเวณปากจมูกเพื่อกระตุ้นให้ลูกหายใจแล้วปล่อยให้แม่เลียตัวลูก
กรณีอื่น ที่ไม่สามารถช่วยคลอดได้ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
แม่แกะจะเริ่มกลับเป็นสัดอีกครั้ง หลังจากที่คลอดลูกแล้วประมาณ 35-45 วัน ดังนั้น จึงควรระวังหากแม่ยังไม่สมบูรณ์พอ เช่น ต้องเลี้ยงลูกแฝด ควรให้ผสมใหม่เมื่อแม่หย่านมลูกแล้วและมีความพร้อมสมบูรณ์ ถ้าแม่ให้ลูกตัวเดียว สามารถผสมได้เลยเมื่อเป็นสัด
การเลี้ยงดูลูกช่วงแรกคลอด
ควรให้ลูกได้กินนมน้ำเหลืองจากแม่ทันที ถ้าหากลูกอ่อนแอ อาจรีดนมแม่ใส่ขวดหรือหลอดฉีดยาแล้วนำมาป้อนลูกด้วยตนเอง
หากแม่ไม่มีน้ำนมเลี้ยงลูก หรืแม่ตาย อาจใช้นมน้ำเหลืองเทียม ทำขึ้นเองโดยใช้ส่วนผสม ดังนี้
นมวัว หรือนมผง 0.25-0.5 ลิตร
น้ำนมตับปลา 1 ช้อนชา
ไข่ไก่ 1 ฟอง
น้ำตาล 1 ช้อนชา
ผสมละลายให้เข้ากันและอุ่นนมที่อุณหภูมิ 60 องศา ป้อนให้ลูกดูดกิน 3-4 วันๆ ละ 3-4 ครั้ง หลังจากนั้นฝากแม่ตัวอื่นเลี้ยง ซึ่งต้องคอยดูแม่ ยอมรับเลี้ยงรับเลี้ยงลูกกำพร้าหรือไม่ ถ้าไม่ยอมรับอาจใช้ยาหม่องหรือของที่มีกลิ่นฉุนป้ายจมูกแม่ หรือใช้เชื่อกผูกคอแม่เพื่อไม่ให้เห็นลูกกำลังดูดนม
การเลี้ยงดูลูกช่วงการหย่านม
ควรดูแลเรื่องความสะอาดทั้งอาหารและพื้นคอก ป้องกันลูกขี้ไหล
ควรให้ลูกได้หัดกินหญ้าและอาหารเสริมตั้งแต่อายุ 3-4 สัปดาห์
ลูกที่หย่านมแล้ว ลูกตัวเมียตวรเลี้นงแยกออกจากตัวผู้ เพื่อป้องกันการผสมกันเอง เนื่องจากแกะเป็นสัดเร็วในช่วง 4-6 เดือน หากปล่อยให้ผสมกันเองตั้งแต่เล็กจะทำให้แคระแกรนและลูกอ่อนแอตาย
การดูแลสุขภาพของแกะ
ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา แกะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ ดังนี้
1. กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บ เหา ไร ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ และขนหลุดเป็นหย่อมๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดี ผลผลิตลดลง การป้องกันแก้ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก
2. กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลด ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิทุก 1 เดือน
3. การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น