วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กุ้งฝอย


กุ้งฝอยเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก

วงศ์ Palaemonidae

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobachium lanchesteri De Man Lanchester ตั้งชื่อว่า Palaemon paucideno จนกระทั่ง De Man ได้ศึกษาลักษณะและเรียกว่า Palaemon (Eupalaemon) lanchesteri ต่อมา Holithius (1950) ได้ทบทวน ลักษณะ อนุกรมวิธานแล้วให้ชื่อว่า Palaemon lanchesteri ลักษณะรูปร่างมีลำตัวใส เปลือกหุ้มตัวบาง ขนาดความยาวกุ้งฝอยอยู่ระหว่าง 15–54 มิลลิเมตร ขาคู่ที่สองของเพศผู้เรียบ ด้านในนิ้วหนีบมีหยักเล็ก 2 หยักอยู่ชิดทางต้นโคนนิ้ว กรีสั้นกว่าแผ่นหนวดของหนวดคู่ที่สอง (scaphocerite) เล็กน้อย มีรอยหยักข้างบน + 5–9 หยัก และมีรอยหยักข้างล่าง 2–4 หยัก หลังวงขอบตามีหยัก 3 หยัก

กุ้งฝอยพบได้ทั่วไปตามแม่น้ำและคลองต่างๆ ในประเทศไทย มักซ่อนตัวอยู่ตามใต้ก้อนหินระหว่างพันธุ์ไม้น้ำต่างๆ ตามปกติจะพบกุ้งฝอยอยู่ในน้ำลึก ไม่เกิน 1 เมตร ในบริเวณที่มีพวกอินทรียสารทับถมกันมากๆ ปริมาณกุ้งฝอยที่พบในรอบปีหนึ่งจะมีมากตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์และจะมี มากที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม

กุ้งฝอยนับเป็นกุ้งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง สามารถที่จะซื้อมารับประทานได้ในราคาถูกกว่ากุ้งชนิดอื่นๆ และมีคุณค่าทางอาหารสูง ส่วนประกอบทางเคมีของกุ้งฝอย คือให้ความร้อน 75 แคลอรีต่อน้ำหนัก 100 กรัม ความชื้น 79.4% ไขมัน 0.88–1.2% โปรตีน 15.46–15.8% เถ้า 3.02% คาร์โบไฮเดรต 1% นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กส่วน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี ไม่พบ

จุลินทรีย์ที่พบในกุ้งส่วนมากเป็นพวก psychrophile (ชอบเจริญที่อุณหภูมิต่ำ) และ mesophile (ชอบเจริญที่อุณหภูมิ 10–40 ํ ซ.) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในน้ำ และอาจติดตัวกุ้งมาได้แก่ Pseudomonas, Achromobacter และ Alcaligenes ในกุ้งสดพบว่ามีจำนวนแบคทีเรีย 1.3 x 106 ถึง 3.0 x 106 โคโลนีต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กรัม แบคทีเรียที่พบมี Acinetobacter, Moraxella, Flavobacterium, Pseudomonas, แบคทีเรียรูปกลมแกรมบวก และ Bacillus sp. ไม่พบยีสต์ นอกจากนี้ยังตรวจพบ Coryneform, Micrococcus และ Lactobacillus sp. อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...