การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii
อันดับ Synbranchiformes
วงศ์ Mastacembelidae
สกุล Macrognathus
สปีชีส์ M. siamensis
ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrognathus siamensis Günther, ค.ศ. 1861
หลด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrognathus siamensis อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากยื่นแหลมยาว ครีบหางเล็กปลายมนแยกจากครีบหลังและครีบก้นที่ยาว ครีบอกเล็กกลม ตัวมีสีเทาอ่อน ด้านบนมีสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง ครีบหลังคล้ำมีจุดเล็กสีจางประและมีดวงสีดำขอบขาวแบบดวงตา 4 - 5 ดวงตลอดความยาวลำตัว โคนครีบหางมีอีก 1 ดวง มีความยาวประมาณ 12 - 15 ซ.ม. ใหญ่สุดพบ 25 ซ.ม.
อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งทั่วไป และแม่น้ำลำคลองของทุกภาค บริโภคโดยปรุงสด ทำปลาแห้ง และรมควัน นอกจากนี้ยังจับขายเป็นปลาสวยงามด้วย
การเพาะเลี้ยงปลาหลด
ปลาหลด เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง ตาม แหล่งน้ำธรรมชาติ และอยู่ตามพื้นน้ำ ฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน หากินอาหาร ในเวลากลางคืน ชอบกินตัวอ่อนของแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อ เน่าเปื่อยเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้เดิมที่ชุกชุมมากช่วงฤดูฝน ยกยอครั้งใดมัก จะติดขึ้นมาด้วยเสมอ ปัจจุบันนี้หารับประทานกันได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องมาจาก แหล่งน้ำมีสารพิษและการเน่าเสีย สภาพแวดล้อมไม่สมดุลทำให้การวางไข่ลด ลง จำนวนปลาจึงน้อยลงและมีให้เห็นแต่เพียงตัวเล็กๆ ถ้าปลาหลดตัวใหญ่นั้น เป็นปลาที่มาจากประเทศกัมพูชา ไม่แปลกราคาปลาหลดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 120-200 บาท
ลักษณะของปลาหลด
ลักษณะที่โดดเด่นของปลาหลดคือ เป็นปลาที่อดทนสูง อาศัยอยู่ในโคลนตมได้ นาน รูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวสามารถยืดหดได้ ลำตัวยาวเรียว ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ตัวปลากลมมน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม ปากและตา เล็ก ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางเล็ก ไม่มีครีบท้อง หลังสีน้ำตาลท้องมี สีอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง 3-5 จุด เกล็ดเล็กมาก จนมองดูเหมือน ไม่มี อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระทิง แต่ขนาดเล็กกว่า
เพาะเลี้ยงปลาหลด
ในการเลี้ยงปลาหลดเพื่อการค้าอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการหาพ่อแม่พันธุ์ ปลาหลดยังต้องหาตามแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ทำให้ปลามีความบอบซ้ำและปริมาณก็ ไม่มากพอ แหล่งที่มีการรวบรวมพันธุ์ที่สำคัญคือ ตลาดโรงเกลือ อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คณะวิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ เห็นความสำคัญ จึงได้ศึกษาวิจัยและทดลองการเพาะเลี้ยงปลาหลดอย่างเอาจริง เอาจัง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
ผ.ศ.หทัยรัตน์ เสาวกุล หัวหน้าคณะวิชาประมง หนึ่งในคณะผู้ วิจัย กล่าวว่า คณะผู้วิจัยการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ปลาหลด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรให้มีรายได้จากการ เลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น
การเพาะพันธุ์ปลาหลด
เราจะคัดปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์ คือเพศเมีย ลำตัวอ้วน ป้อม จากนั้นก็ฉีดฮอร์โมนเพศเมีย ทำการฉีด 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 พัก ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 6 ชั่วโมง เพศผู้ ทำการฉีดเพียงครั้งเดียว โดย ฉีดพร้อมเพศเมีย เข็มที่ 2 แล้วก็นำพ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนเรียบ ร้อย ปล่อยลงในถังเดียวกันเพื่อให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ
ปลาหลดเพศเย 1 ตัว จะให้ไข่ได้ถึง 3,000 - 5,000 ฟอง ซึ่งจมติดวัตถุใน น้ำและฟักตัวในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลา ประมาณ 48-60 ชั่วโมง หลังจากไข่ถูกฟักออกมาเป็นตัวแล้ว อาหารที่ให้ในระยะ การอนุบาลควรเป็นไรแดง เพราะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดดีที่ สุด แล้วค่อยให้หนอนแดงหรือไส้เดือนเป็นอาหาร
ผ.ศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ปลาหลดสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อ ซีเมนต์ ลักษณะของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 4x4 เมตร หรือ 2x4 เมตร ความสูง ประมาณ 70 เซนติเมตร หรือเพียง 50 เซนติเมตร เพาะปลาหลดจะไม่กระโดด แต่ ถ้าสูงก็สามารถป้องกันงูและศัตรูอื่นๆ ได้ดี
ผิวบ่อฉาบเรียบ อาจทำให้ลาดเอียงประมาณครึ่งบ่อเพื่อใส่ทรายปนดินเหนียว ไว้ที่ก้นบ่อ ข้อดีของบ่อซีเมนต์คือสามารถควบคุมไม่ให้ปลาหนีได้ ซึ่งบ่อ ดินจะทำให้ปลาหลดหลบซ่อนตัวอยู่ในโคลน การจับขายค่อนข้างลำบาก ลูกปลา อายุ 2 สัปดาห์ ขึ้นไป หรือความยาว ประมาณ 3-4 นิ้ว จำนวน 2,000 - 2,500 ตัว สามารถปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง ได้ แต่ถ้าจะให้ดีต้องอายุ 1 เดือน
"ในการเลี้ยงปลานั้น เราต้องมีการจัดการน้ำที่ดี ตรวจสอบคุณภาพ ของอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อ น้ำจะเสียได้ง่าย ใช้วิธีเพิ่ม น้ำเข้าไปแล้วไหลออกอีกทางหนึ่ง ปลาจะมีความรู้สึกว่าน้ำไหลเวียน พื้นบ่อ ควรจะหากระบอกไม้ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาหลดชอบหลบอาศัยอยู่ในโพรงหรือ กระบอก ใส่ผักบุ้งไว้ส่วนหนึ่งไม่ต้องมากนัก ระดับความสูงของน้ำให้ท่วม บริเวณพื้นดินประมาณ 40 เซนติเมตร" ปลาหลดจะโตเร็ว ใช้เวลา เพียง 6-7 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้แล้ว ซึ่งมีขนาดประมาณ 30-40 ตัว ต่อ กิโลกรัม หากเลี้ยงจนได้อายุ 1 ปี ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้
สำหรับอาหารที่ใช้ในเลี้ยงปลาหลดนั้น เหมือนกันกับเหยื่อของปลาไหล โดยมี หลักๆ ดังนี้ หอยเชอร์รี่ นำมาทุบแยกเปลือกและเนื้อออกจากกัน แล้วสับเนื้อ หอยให้ละเอียด นำไปวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อระหว่างทรายกับผิวปูน ซีเมนต์ กองไว้ เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากินหรืออาจกินตั้งแต่สดๆ
"เราจะต้องคอยดูว่า ปลาหลดจะกินหมดในเวลา 2-3 วัน หรือไม่ ถ้าหมดควร เพิ่มให้อีก แต่ถ้าเหลือควรลดลง เวลาการให้อาหารควรระวัง คือต้องอย่าให้ เกิดการกระเทือน เพราะจะทำให้ปลาตกใจหนี"
"ในการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาชนิดทั่วๆ ไปนั้น ต้องมีต้นทุนในการซื้อ อาหารเม็ดสำเร็จรูป ในขณะที่อาหารปลาหลดเราหาได้เองตามธรรมชาติ เช่น หอยเชอ รี่ ซึ่งเป็นศัตรูทำลายต้นข้าวมีจำนวนมาก หากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ยัง ช่วยทำลายหอยเชอรี่โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด อีกอย่างไส้เดือนก็หาได้ ทั่วไปได้เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบแล้วปลาชนิดอื่นขายขายได้ในราคาที่ ถูกกว่า ปลาหลดขายได้แพงกว่า แต่ต้นทุนต่ำกว่า เกษตรกรสามารถประกอบเป็น อาชีพเสริมได้อย่างดี " ผศ.หทัยรัตน์ กล่าว
เลี้ยงไส้เดือนเป็นอาหารปลาหลด
ดังที่บอกแล้วว่า ปลาชนิดนี้ กินอาหารได้หลายชนิด ทำให้ ผศ.หทัย รัตน์ เกิดความคิดที่จะเพาะไส้เดือนมาให้ปลากิน จึงได้ไปอบรมการเพาะเลี้ยง ไส้เดือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"ไส้เดือน น่าจะเป็นอาหารที่ดีสำหรับการนำมาเลี้ยงปลาหลด เพราะตาม ธรรมชาติแล้วช่วงฤดูฝนเวลาเราจับปลาหลดได้ พอผ่าท้องออกมาก็จะพบไส้เดือน จำนวนมาก แสดงว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ปลาหลดชอบกิน"
ผศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ไส้เดือนนั้นเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ถึง 60% ของน้ำหนักตัว จะทำให้ปลาโตเร็ว สุขภาพแข็งแรง เกล็ดเป็นเงา งาม สามารถผลิตปลาหลดได้ทันต่อความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งการเลี้ยง ไส้เดือนเพื่อเป็นอาหารของปลาหลดนั้น ข้อดีคือ ต้นทุนในการเลี้ยงน้อย มาก เพราะการเลี้ยงไส้เดือนใช้เพียง มูลช้าง วัว ควาย ขุย มะพร้าว กระดาษ เศษอาหาร ผลไม้เน่าเสีย เลี้ยงใน ภาชนะ เช่น ถัง กะละมัง ซึ่งอยู่ในที่ร่มและมีความชื้น ก็ทำให้ไส้เดือน สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
ข้อดีของการเลี้ยงปลาหลดด้วยไส้เดือน
1. ไส้เดือนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปริมาณที่เพียงพอ ลงทุนต่ำ
2. ไส้เดือนเมื่องลงบ่อ จะอยู่ได้ถึง 1 วัน ไม่ตาย ปลาหลดจะจับกินได้อย่างต่อเนื่อง
3. ปลาหลด ชอบกินเหยื่อไส้เดือน
ปลาหลด เอาไปทำอาหารอะไรได้บ้าง
ปลาหลด ปลาที่มีความอร่อยอยู่ในตัว เมื่อถูกปรุงเป็นอาหารจึงสร้างความ โอชะได้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องเลือกปลาสด จึงจะไม่มีกลิ่นคาวมาก เนื้อ มีรสหวาน สังเกตตาต้องใส ตัวปลามีเมื่อกลื่นมือ ถ้าปลาไม่สดเมือกจะขุ่น ขาว จับตัวปลาแล้วไม่ลื่น มีกลิ่นคาวแรง
ปลาตัวเล็กนิยมเอามาเคล้าเกลือตากแห้ง เป็นปลาแดดเดียว นำมาทอดกรอบได้ อร่อยนัก ถ้าได้ปลามาสดๆ เอามาทำต้มโคล้งต้องใส่เครื่องสมุนไพรสด พวก ข่า ตะไคร้เยอะๆ น้ำต้องเดือดจัดก่อนจึงใส่ปลา ต้มจึงจะไม่มีกลิ่นคาว อีก วิธีเมื่อล้างปลาแล้วเคล้าด้วยเกลือหมักไว้สักครู่ ล้างน้ำย่างไฟ พอหนัง ปลาเหลืองก็จะช่วยดับกลิ่นคาวได้ หรือนำปลาสดมาเคล้าเกลือ หรือแช่น้ำปลา แล้วนำไปทอดกินกับข้าวสวยร้อนๆ กับพริกน้ำปลาบีบมะนาวก็อร่อยเช่นกัน
นอกจากจะใช้ปรุงเป็นอาหารแล้ว ยังมีการนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โชว์เป็น ปลาตู้อีก ขณะที่ปลาหลดว่ายจะดูสง่างาม ราคาจะยิ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะตัวที่มี จุด จะตกอยู่ตัวละ 20-30 บาท และอีกอย่างการเอาไปทำเป็นเหยื่อล่อปลา จะ ใช้ปลาหลด ขนาด 3-4 นิ้ว ราคาตัวละ 3-4 บาท สามารถใช้เป็นเหยื่อล่อปลา ชะโด ปลาช่อน
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii
อันดับ Synbranchiformes
วงศ์ Mastacembelidae
สกุล Macrognathus
สปีชีส์ M. siamensis
ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrognathus siamensis Günther, ค.ศ. 1861
หลด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrognathus siamensis อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากยื่นแหลมยาว ครีบหางเล็กปลายมนแยกจากครีบหลังและครีบก้นที่ยาว ครีบอกเล็กกลม ตัวมีสีเทาอ่อน ด้านบนมีสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง ครีบหลังคล้ำมีจุดเล็กสีจางประและมีดวงสีดำขอบขาวแบบดวงตา 4 - 5 ดวงตลอดความยาวลำตัว โคนครีบหางมีอีก 1 ดวง มีความยาวประมาณ 12 - 15 ซ.ม. ใหญ่สุดพบ 25 ซ.ม.
อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งทั่วไป และแม่น้ำลำคลองของทุกภาค บริโภคโดยปรุงสด ทำปลาแห้ง และรมควัน นอกจากนี้ยังจับขายเป็นปลาสวยงามด้วย
การเพาะเลี้ยงปลาหลด
ปลาหลด เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง ตาม แหล่งน้ำธรรมชาติ และอยู่ตามพื้นน้ำ ฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน หากินอาหาร ในเวลากลางคืน ชอบกินตัวอ่อนของแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อ เน่าเปื่อยเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้เดิมที่ชุกชุมมากช่วงฤดูฝน ยกยอครั้งใดมัก จะติดขึ้นมาด้วยเสมอ ปัจจุบันนี้หารับประทานกันได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องมาจาก แหล่งน้ำมีสารพิษและการเน่าเสีย สภาพแวดล้อมไม่สมดุลทำให้การวางไข่ลด ลง จำนวนปลาจึงน้อยลงและมีให้เห็นแต่เพียงตัวเล็กๆ ถ้าปลาหลดตัวใหญ่นั้น เป็นปลาที่มาจากประเทศกัมพูชา ไม่แปลกราคาปลาหลดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 120-200 บาท
ลักษณะของปลาหลด
ลักษณะที่โดดเด่นของปลาหลดคือ เป็นปลาที่อดทนสูง อาศัยอยู่ในโคลนตมได้ นาน รูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวสามารถยืดหดได้ ลำตัวยาวเรียว ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ตัวปลากลมมน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม ปากและตา เล็ก ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางเล็ก ไม่มีครีบท้อง หลังสีน้ำตาลท้องมี สีอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง 3-5 จุด เกล็ดเล็กมาก จนมองดูเหมือน ไม่มี อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระทิง แต่ขนาดเล็กกว่า
เพาะเลี้ยงปลาหลด
ในการเลี้ยงปลาหลดเพื่อการค้าอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการหาพ่อแม่พันธุ์ ปลาหลดยังต้องหาตามแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ทำให้ปลามีความบอบซ้ำและปริมาณก็ ไม่มากพอ แหล่งที่มีการรวบรวมพันธุ์ที่สำคัญคือ ตลาดโรงเกลือ อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คณะวิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ เห็นความสำคัญ จึงได้ศึกษาวิจัยและทดลองการเพาะเลี้ยงปลาหลดอย่างเอาจริง เอาจัง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
ผ.ศ.หทัยรัตน์ เสาวกุล หัวหน้าคณะวิชาประมง หนึ่งในคณะผู้ วิจัย กล่าวว่า คณะผู้วิจัยการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ปลาหลด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรให้มีรายได้จากการ เลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น
การเพาะพันธุ์ปลาหลด
เราจะคัดปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์ คือเพศเมีย ลำตัวอ้วน ป้อม จากนั้นก็ฉีดฮอร์โมนเพศเมีย ทำการฉีด 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 พัก ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 6 ชั่วโมง เพศผู้ ทำการฉีดเพียงครั้งเดียว โดย ฉีดพร้อมเพศเมีย เข็มที่ 2 แล้วก็นำพ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนเรียบ ร้อย ปล่อยลงในถังเดียวกันเพื่อให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ
ปลาหลดเพศเย 1 ตัว จะให้ไข่ได้ถึง 3,000 - 5,000 ฟอง ซึ่งจมติดวัตถุใน น้ำและฟักตัวในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลา ประมาณ 48-60 ชั่วโมง หลังจากไข่ถูกฟักออกมาเป็นตัวแล้ว อาหารที่ให้ในระยะ การอนุบาลควรเป็นไรแดง เพราะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดดีที่ สุด แล้วค่อยให้หนอนแดงหรือไส้เดือนเป็นอาหาร
ผ.ศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ปลาหลดสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อ ซีเมนต์ ลักษณะของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 4x4 เมตร หรือ 2x4 เมตร ความสูง ประมาณ 70 เซนติเมตร หรือเพียง 50 เซนติเมตร เพาะปลาหลดจะไม่กระโดด แต่ ถ้าสูงก็สามารถป้องกันงูและศัตรูอื่นๆ ได้ดี
ผิวบ่อฉาบเรียบ อาจทำให้ลาดเอียงประมาณครึ่งบ่อเพื่อใส่ทรายปนดินเหนียว ไว้ที่ก้นบ่อ ข้อดีของบ่อซีเมนต์คือสามารถควบคุมไม่ให้ปลาหนีได้ ซึ่งบ่อ ดินจะทำให้ปลาหลดหลบซ่อนตัวอยู่ในโคลน การจับขายค่อนข้างลำบาก ลูกปลา อายุ 2 สัปดาห์ ขึ้นไป หรือความยาว ประมาณ 3-4 นิ้ว จำนวน 2,000 - 2,500 ตัว สามารถปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง ได้ แต่ถ้าจะให้ดีต้องอายุ 1 เดือน
"ในการเลี้ยงปลานั้น เราต้องมีการจัดการน้ำที่ดี ตรวจสอบคุณภาพ ของอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อ น้ำจะเสียได้ง่าย ใช้วิธีเพิ่ม น้ำเข้าไปแล้วไหลออกอีกทางหนึ่ง ปลาจะมีความรู้สึกว่าน้ำไหลเวียน พื้นบ่อ ควรจะหากระบอกไม้ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาหลดชอบหลบอาศัยอยู่ในโพรงหรือ กระบอก ใส่ผักบุ้งไว้ส่วนหนึ่งไม่ต้องมากนัก ระดับความสูงของน้ำให้ท่วม บริเวณพื้นดินประมาณ 40 เซนติเมตร" ปลาหลดจะโตเร็ว ใช้เวลา เพียง 6-7 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้แล้ว ซึ่งมีขนาดประมาณ 30-40 ตัว ต่อ กิโลกรัม หากเลี้ยงจนได้อายุ 1 ปี ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้
สำหรับอาหารที่ใช้ในเลี้ยงปลาหลดนั้น เหมือนกันกับเหยื่อของปลาไหล โดยมี หลักๆ ดังนี้ หอยเชอร์รี่ นำมาทุบแยกเปลือกและเนื้อออกจากกัน แล้วสับเนื้อ หอยให้ละเอียด นำไปวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อระหว่างทรายกับผิวปูน ซีเมนต์ กองไว้ เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากินหรืออาจกินตั้งแต่สดๆ
"เราจะต้องคอยดูว่า ปลาหลดจะกินหมดในเวลา 2-3 วัน หรือไม่ ถ้าหมดควร เพิ่มให้อีก แต่ถ้าเหลือควรลดลง เวลาการให้อาหารควรระวัง คือต้องอย่าให้ เกิดการกระเทือน เพราะจะทำให้ปลาตกใจหนี"
"ในการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาชนิดทั่วๆ ไปนั้น ต้องมีต้นทุนในการซื้อ อาหารเม็ดสำเร็จรูป ในขณะที่อาหารปลาหลดเราหาได้เองตามธรรมชาติ เช่น หอยเชอ รี่ ซึ่งเป็นศัตรูทำลายต้นข้าวมีจำนวนมาก หากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ยัง ช่วยทำลายหอยเชอรี่โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด อีกอย่างไส้เดือนก็หาได้ ทั่วไปได้เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบแล้วปลาชนิดอื่นขายขายได้ในราคาที่ ถูกกว่า ปลาหลดขายได้แพงกว่า แต่ต้นทุนต่ำกว่า เกษตรกรสามารถประกอบเป็น อาชีพเสริมได้อย่างดี " ผศ.หทัยรัตน์ กล่าว
เลี้ยงไส้เดือนเป็นอาหารปลาหลด
ดังที่บอกแล้วว่า ปลาชนิดนี้ กินอาหารได้หลายชนิด ทำให้ ผศ.หทัย รัตน์ เกิดความคิดที่จะเพาะไส้เดือนมาให้ปลากิน จึงได้ไปอบรมการเพาะเลี้ยง ไส้เดือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"ไส้เดือน น่าจะเป็นอาหารที่ดีสำหรับการนำมาเลี้ยงปลาหลด เพราะตาม ธรรมชาติแล้วช่วงฤดูฝนเวลาเราจับปลาหลดได้ พอผ่าท้องออกมาก็จะพบไส้เดือน จำนวนมาก แสดงว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ปลาหลดชอบกิน"
ผศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ไส้เดือนนั้นเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ถึง 60% ของน้ำหนักตัว จะทำให้ปลาโตเร็ว สุขภาพแข็งแรง เกล็ดเป็นเงา งาม สามารถผลิตปลาหลดได้ทันต่อความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งการเลี้ยง ไส้เดือนเพื่อเป็นอาหารของปลาหลดนั้น ข้อดีคือ ต้นทุนในการเลี้ยงน้อย มาก เพราะการเลี้ยงไส้เดือนใช้เพียง มูลช้าง วัว ควาย ขุย มะพร้าว กระดาษ เศษอาหาร ผลไม้เน่าเสีย เลี้ยงใน ภาชนะ เช่น ถัง กะละมัง ซึ่งอยู่ในที่ร่มและมีความชื้น ก็ทำให้ไส้เดือน สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
ข้อดีของการเลี้ยงปลาหลดด้วยไส้เดือน
1. ไส้เดือนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปริมาณที่เพียงพอ ลงทุนต่ำ
2. ไส้เดือนเมื่องลงบ่อ จะอยู่ได้ถึง 1 วัน ไม่ตาย ปลาหลดจะจับกินได้อย่างต่อเนื่อง
3. ปลาหลด ชอบกินเหยื่อไส้เดือน
ปลาหลด เอาไปทำอาหารอะไรได้บ้าง
ปลาหลด ปลาที่มีความอร่อยอยู่ในตัว เมื่อถูกปรุงเป็นอาหารจึงสร้างความ โอชะได้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องเลือกปลาสด จึงจะไม่มีกลิ่นคาวมาก เนื้อ มีรสหวาน สังเกตตาต้องใส ตัวปลามีเมื่อกลื่นมือ ถ้าปลาไม่สดเมือกจะขุ่น ขาว จับตัวปลาแล้วไม่ลื่น มีกลิ่นคาวแรง
ปลาตัวเล็กนิยมเอามาเคล้าเกลือตากแห้ง เป็นปลาแดดเดียว นำมาทอดกรอบได้ อร่อยนัก ถ้าได้ปลามาสดๆ เอามาทำต้มโคล้งต้องใส่เครื่องสมุนไพรสด พวก ข่า ตะไคร้เยอะๆ น้ำต้องเดือดจัดก่อนจึงใส่ปลา ต้มจึงจะไม่มีกลิ่นคาว อีก วิธีเมื่อล้างปลาแล้วเคล้าด้วยเกลือหมักไว้สักครู่ ล้างน้ำย่างไฟ พอหนัง ปลาเหลืองก็จะช่วยดับกลิ่นคาวได้ หรือนำปลาสดมาเคล้าเกลือ หรือแช่น้ำปลา แล้วนำไปทอดกินกับข้าวสวยร้อนๆ กับพริกน้ำปลาบีบมะนาวก็อร่อยเช่นกัน
นอกจากจะใช้ปรุงเป็นอาหารแล้ว ยังมีการนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โชว์เป็น ปลาตู้อีก ขณะที่ปลาหลดว่ายจะดูสง่างาม ราคาจะยิ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะตัวที่มี จุด จะตกอยู่ตัวละ 20-30 บาท และอีกอย่างการเอาไปทำเป็นเหยื่อล่อปลา จะ ใช้ปลาหลด ขนาด 3-4 นิ้ว ราคาตัวละ 3-4 บาท สามารถใช้เป็นเหยื่อล่อปลา ชะโด ปลาช่อน
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น