วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชะนีมือขาว

ชะนีมือขาว





ชื่อสามัญ ; Lar Gibbon (White-handed Gibbon)
ชื่อวิทยาศาสตร์ ; Hylobates lar



ลักษณะทั่วไป
มีทั้งสีดำและสีขาว สีขนของชะนีมือขาวไม่เกี่ยวข้องกับอายุและเพศ ส่วนหลังมือและหลังเท้าเป็นสีขาวและมีวงขาวรอบใบหน้า ส่วนหน้าและหูดำ มือยาวรูปร่างเพรียว ไม่มีหาง บางคนเรียก ?ชะนีปักษ์ใต้? ความจริงแล้วก็คือชะนีมือขาวนั่นเอง


ลักษณะนิสัย
ชอบห้อยโหนไปตามกิ่งไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้ เวลาอากาศร้อนจัดจะลงต่ำจากต้นไม้สูงเพื่อหลบแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว เหยี่ยวและงูเหลือมเป็นศัตรูสำคัญของชะนี


ถิ่นอาศัย
พบในพม่าแถบเทือกเขาตะนาวศรี ไทย ลาวและทางด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำโขงในลาว สำหรับประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้


อาหาร
กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่าง ๆ


การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์ตอนอายุ 7-8 ปี ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกชะนีจะหย่านมเมื่ออายุ 4-7 เดือน จนอายุ 2 ปีจะแยกไปหากินเอง ชะนีจะมีอายุยืนถึง 30 ปี


สถานภาพปัจจุบัน
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

จากเวป วนกรด็อทคอม

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...