ชื่อไทย เทโพ หูหมาด
ชื่อสามัญ BLACK EAR CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasius larnaudii
ถิ่นอาศัย แต่เดิมมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ในภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียก ปลาหูหมาด
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกับปลาสวาย เพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกันมีหัวโตหน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาวและด้านข้างแบน นัยน์ตาค่อนข้างโตและอยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ที่ริมปากบนและมุมปากแห่งละหนึ่งคู่ กระโดงหลังสูงและมีก้านเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่เหนือครีบหู
อาหารธรรมชาติ กินสัตว์น้ำที่ขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์
สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
จากเว็บ http://www.doae.go.th/pramong/defi/BLACKEAR.htm
ชื่อสามัญ BLACK EAR CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasius larnaudii
ถิ่นอาศัย แต่เดิมมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ในภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียก ปลาหูหมาด
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกับปลาสวาย เพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกันมีหัวโตหน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาวและด้านข้างแบน นัยน์ตาค่อนข้างโตและอยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ที่ริมปากบนและมุมปากแห่งละหนึ่งคู่ กระโดงหลังสูงและมีก้านเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่เหนือครีบหู
อาหารธรรมชาติ กินสัตว์น้ำที่ขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์
สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
จากเว็บ http://www.doae.go.th/pramong/defi/BLACKEAR.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น