ชื่อไทย กราย หางแพน ตองกราย
ชื่อสามัญ SPOTTED FEATHERBACK
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chitala ornata
ถิ่นอาศัย อาศัยในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพรรณพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่เป็นฝูงเล็ก พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง ภาคเหนือเรียกว่าปลาหางแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่าปลาตองกราย
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างแปลกกว่าปลาอื่น คือ ลำตัวด้านข้างแบนมาก ท้องแบนเป็นสันมีหนามแหลมแข็งฝังอยู่เป็นคู่ ๆ จำนวนหลายคู่ จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังจึงโก่งสูง มีฟันเล็กและแหลมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ในวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงิน และมีจุดดวงสีดำขอบสีขาวเรียงเป็นแถวที่ฐานครีบก้น จำนวน 3-200 จุด ปลากรายชอบผุดขึ้นมาทำเสียงที่ผิวน้ำแล้วม้วนตัวกลับให้เห็นข้างสีเงินขาว
อาหารธรรมชาติ แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็ก ๆ เช่น กระทุงเหว เสือ ซิว และสร้อย
สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
จากเว็บ http://www.doae.go.th/pramong/defi/SPOTTED.htm
ชื่อสามัญ SPOTTED FEATHERBACK
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chitala ornata
ถิ่นอาศัย อาศัยในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพรรณพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่เป็นฝูงเล็ก พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงขนาดใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง ภาคเหนือเรียกว่าปลาหางแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่าปลาตองกราย
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างแปลกกว่าปลาอื่น คือ ลำตัวด้านข้างแบนมาก ท้องแบนเป็นสันมีหนามแหลมแข็งฝังอยู่เป็นคู่ ๆ จำนวนหลายคู่ จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังจึงโก่งสูง มีฟันเล็กและแหลมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ในวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงิน และมีจุดดวงสีดำขอบสีขาวเรียงเป็นแถวที่ฐานครีบก้น จำนวน 3-200 จุด ปลากรายชอบผุดขึ้นมาทำเสียงที่ผิวน้ำแล้วม้วนตัวกลับให้เห็นข้างสีเงินขาว
อาหารธรรมชาติ แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็ก ๆ เช่น กระทุงเหว เสือ ซิว และสร้อย
สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
จากเว็บ http://www.doae.go.th/pramong/defi/SPOTTED.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น