วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กบนา

กบนา





กบนา – Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann, 1835)

ลักษณะ มีขนาดตัวใหญ่ (จากปลายปากถึงรูก้นประมาณ 80 – 100 มิลลิเมตร) ลำตัวยาว ตาโต
ผิวหนังลำตัวด้านหลังมีตุ่มยาวเรียงตัวเป็นแถวค่อนข้างขนานกัน 9 – 10 แถว แต่ผิวลำตัวด้าน
ท้องเรียบ มีรอยพับของผิวหนังจากด้านท้ายตาไปที่ขอบบนของแผ่นเยื่อแก้วหูแล้ววกลงไปที่ต้น
ขาหน้า
ด้านหลังสีน้ำตาลอมเขียวหรือสีน้ำตาลเหลือง สีที่ด้านข้างลำตัวจางกว่าที่ด้านหลัง
มีปื้นสีเข้มกระจายอยู่บนหลัง ด้านท้องสีขาว ใต้คางสีเทาและมีจุดหรือขีดสีดำกระจาย คางของ
เพศผู้วัยผสมพันธุ์มีถุงเสียง 1 คู่ชัดเจน (external vocal sacs) ขาหน้าและขาหลังมีทางสีเข้มพาด
ขวางแต่ไม่ชัดเจน ทางด้านหน้าของต้นขาหลังมีจุดสีดำเรียงตัวเป็นแถวตามยาว
ขาหน้าและขาหลังค่อนข้างสั้น เมื่อพับขาหลังแนบกับลำตัวไปทางด้านหน้า ข้อตีน
อยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของตา นิ้วตีนหน้าไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้ว นิ้วตีนหลังมีแผ่นหนัง
ประมาณ . ของความยาวนิ้ว ส่วนปลายของนิ้วทุกนิ้วเรียว
ลูกอ๊อดมีขนาดตัวใหญ่ ลำตัวป้อมและสีน้ำตาล มีปื้นสีดำเรียงตัวเป็นแถวบนหลัง
และที่ด้านบนของหาง แผ่นครีบหางใหญ่สีน้ำตาลอ่อนและมีจุดเล็กสีดำกระจาย ปากอยู่ปลาย
สุดของหัวค่อนมาทางด้านล่าง ฃ่องปากใหญ่ ตุ่มฟันในอุ้งปากมีจำนวนแถวและลักษณะการเรียง
ตัวเป็นสูตร II:3+3/3+3:II จะงอยปากใหญ่และขอบเป็นรอยหยักทั้งจะงอยปากบนและจะงอย
ปากล่าง

การแพร่กระจาย จีน ไต้หวัน ฮ่องกง เมียนมาร์ ลาว เวียตนาม กัมพูชา ในประเทศไทยพบทุก
ภาคของประเทศ ในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชพบบริเวณโดยรอบอ่างเก็บน้ำ

พื้นที่อาศัย ในเวลากลางวันหลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มของพรรณพืชที่เติบโตปกคลุมขอบอ่างเก็บน้ำ
และออกหากินเวลากลางคืนบนพื้นดินเปิดโล่งของอ่างเก็บน้ำ

นิสัย หลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มของพรรณพืชที่เติบโตปกคลุมขอบอ่างเก็บน้ำ เมื่อถูกรบกวนจะ
กระโดดลงน้ำ อาศัยอยู่ได้ทั้งระบบนิเวศน้ำไหลและระบบนิเวศน้ำนิ่ง แต่ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่ง
มากกว่า ถ้าน้ำในแหล่งน้ำที่อาศัยอยู่แห้งในฤดูแล้งจะหลบซ่อนตัวอยู่ในโคลนหรือในโพรงดิน
เมื่อออกจากที่หลบซ่อนตัวตอนต้นฤดูฝน ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเหลือง
ลูกอ๊อดมีนิสัยการกินอาหารแบบผู้ล่า โดยกินลูกอ๊อดชนิดอื่นรวมทั้งลูกอ๊อดชนิด
เดียวกันที่มีขนาดตัวเล็กกว่า ใช้การจู่โจมและกัดส่วนหางของตัวเหยื่อเพื่อให้ว่ายน้ำช้าลง ต่อจาก
นั้นจะกัดส่วนท้องของตัวเหยื่อและกิน

สถานภาพ ไม่ได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535
และไม่มีสถานภาพเพื่อการอนุรักษ์ตามเกณฑ์ของ Office of Natural Resources and
Environmental Policy and Planning (2005) และตามเกณฑ์ของ IUCN (2008)



ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...