วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นกกางเขน Copsychus saularis




การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia


ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves

อันดับ Passeriformes
วงศ์ Muscicapidae

สกุล Copsychus
สปีชีส์ C. saularis
ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Copsychus saularis (Linnaeus, 1758)

นกกางเขน (Copsychus saularis) เป็นนกชนิดหนึ่งที่กินแมลง มีขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปจะเป็นสีขาวหม่น ใต้หางมีสีขาว ปีกมีลายพาดสีขาว ตัวเมียสีจะชัดกว่าตัวผู้ ส่วนที่เป็นสีดำในตัวผู้ ในตัวเมียจะเป็นสีเทาแก่ มันมักจะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากินแมลงตามพุ่มไม้ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ หางของมันมักกระดกขึ้นลง ร้องเสียงสูงบ้าง ต่ำบ้าง ฟังไพเราะ ทำรังตามโพรงไม้ที่ไม่สูงนัก มันจะวางไข่ครั้งละ 3-6 ฟองและผลัดกันกกไข่ มันจะฟักไข่นานประมาณ 12 วัน อายุ 15 วัน แล้วจะเริ่มหัดบิน พบทั่วไปในทุกภาคแม้ในเมืองใหญ่ ๆ

นกกางเขนในไทย มี 2 ชนิด คือ นกกางเขนบ้าน และนกกางเขนดง ขนาดและสีต่างกันเล็กน้อย มักเรียกนกกางเขนบ้านว่า นกกางเขน



นกกางเขนบ้านเป็นนกที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ป่าโปร่ง ป่าชายเลน พื้นที่เกษตรกรรม สวนผลไม้ สวนสาธารณะในเมือง และเมืองใหญ่ จากที่ราบถึงความสูง 1800เมตร แต่อย่างไรก็ตาม เรามักพบเค้าอยู่ใกล้กับบ้านคนมากกว่าในป่า

ด้วยเสียงร้องที่ไพเราะ และอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ค่อนข้างมาก ทำให้นกกางเขนบ้านเป็นนกที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก ประมาณว่าในบ้านที่พอจะมีเนื้อที่ปลูกต้นไม้อยู่บ้าง จะมีนกกางเขนประจำบ้าน บ้านละ 1 ตัว หรือ 1 คู่ ที่มีเพียงเท่านั้นเพราะเค้าค่อนข้างจะเป็นนกที่หวงถิ่น หากมีใครข้ามถิ่นเข้ามาก็จะมีการปกป้องถิ่นอย่างอาจหาญ

นกกางเขนเป็นนกที่ขยันหากิน อาหารของเค้าคือ หนอน แมลง หรือผลไม้สุก พวกกล้วยสุก เมื่อกินอิ่มก็จะบินขึ้นไปเกาะที่โล่งๆสูงๆอย่างสายไฟ เสาอากาศบนบ้าน และส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว และเมื่อหิวก็จะลงมาหากินใหม่ แต่ปรกติ มักได้ยินเค้าร้องตอนเช้าๆ ตอนที่ตื่นนอน และตอนเย็นๆ

หากใครต้องการจะเชิญชวนให้นกกางเขนบ้านเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจในบ้านตัวเอง ก็อาจทำได้โดยการจัดสวนเพื่อเรียกนก โดยหาต้นไม้มาปลูก ไม่จำเป็นต้องเป็นต้นไม้ใหญ่ แต่ให้ดูมีร่มเงา มีความชุ่มชื้น มีอ่างน้ำตื้นๆ นกกางเขน และนกอื่นๆก็อาจมาใช้บริการ "อ็อนเซ็น" จนเปียกมะล่อกมะแล่กแบบนี้ให้ได้ชื่นชมถึงในบ้าน

โดยปรกติแล้ว ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ( เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ) เราอาจพบนกกางเขนบ้านอยู่เพียงตัวเดียว เพราะเค้าเป็นนกที่รักสันโดษ

แต่ถ้าเป็นช่วงจับคู่แล้ว นกกางเขนบ้านมักทำรังวางไข่ในบริเวณบ้านที่เค้าอาศัยอยู่นั่นเอง บางทีเราอาจพบเค้าทำรังในตู้ไปรษณีย์ โพรงต้นไม้ในบ้าน ศาลพระภูมิ แต่ถ้าเป็นนกที่อาศัยในสวนสาธารณะ โพรงไม้ตามธรรมชาติมักจะเป็นที่ที่เค้าเลือกใช้ทำรัง

นกทั้ง 2 เพศจะช่วยกันทำรัง แต่นกตัวเมียจะทำมากกว่า โดยใช้วัสดุจำพวกใบไม้แห้ง ใบหญ้าแห้ง รากไม้ หรือส่วนอื่นๆของพืชที่แห้งแล้ว เอามารองไว้ก้นรัง ดูเผินๆแล้วบางครั้งก็เหมือนไม่ใช่รังนก เพราะมันเพียงเอาวัสดุต่างๆ มายัดไว้ในโพรง หรือซอกใต้หลังคา หรือในศาลพระภูมิเท่านั้น

นกกางเขนบ้าน วางไข่ครอกละ 5 ฟอง เปลือกไข่สีฟ้าแกมเขียวอ่อน มีจุดกระสีน้ำตาลเป็นจุดเล็กประพรมไปทั่ว ไข่มีขนาด 21 X 17 มม. นกตัวเมียทำหน้าที่กกไข่เพียงตัวเดียว แต่นกตัวผู้จะคอยระวังภัยอยู่ใกล้ๆรัง คอยป้องกันอาณาเขตรอบๆรังไม่ให้นกหรือศัตรูอื่นๆบุกรุกเข้ามาใกล้รัง ในระหว่างนี้นกตัวผู้จะร้องเพลงไปเรื่อยๆ หรือไม่ก็หาเหยื่อมาป้อนนกตัวเมีย แต่ในบางครั้งนกตัวเมียก็ออกจากรังไปหากินเองบ้างแต่ไปไม่นานก็ต้องกลับมากกไข่ต่อ ถ้าหากนกตัวเมียทิ้งรังไปนานเกินไปนกตัวผู้ก็จะบินออกไปขับไล่ให้นกตัวเมียกลับมากกไข่โดยเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...