วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปลาทู


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Actinopterygii

อันดับ Perciformes
วงศ์ Scombridae
วงศ์ย่อย Scombrinae

สกุล Rastrelliger

ชื่อวิทยาศาสตร์ Rastrelliger brachysoma Bleeker, ค.ศ. 1851


Rastrelliger kanagurta
Cuvier, ค.ศ. 1816
Rastrelliger faughni
Matsui, ค.ศ. 1967

ปลาทู เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่ใช้เรียกปลาทะเลจำพวกหนึ่งในสกุล Rastrelliger ในวงศ์ Scombridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาโอ, ปลาอินทรีและปลาทูน่า มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทย พบทั้งหมด 3 ชนิด เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน

ประวัติ
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้จ้าง ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันมาเป็นที่ปรึกษากรมรักษาสัตว์น้ำ (กรมประมงในปัจจุบัน) เพื่อสำรวจพันธุ์ปลาต่าง ๆ ในประเทศไทย มีหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระพันธุ์) เป็นผู้ช่วยและวาดภาพปลา ท่านผู้นี้เป็นผู้วาดภาพปลาทูภาพแรกในประเทศไทย [2] ใน พ.ศ. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจากจีนมาใช้ทำให้จับปลาทูได้มาก ปลาทูที่เหลือทำเป็นปลาทูเค็มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง จนในภาษาอินโดนีเซียเรียกปลาทูเค็มว่า Ikan siam

พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยนำเครื่องมืออวนลากจากเยอรมันตะวันตกมาใช้และเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกทำให้การประมงขยายตัวมากขึ้น จนกระทั่งจำนวนปลาทูในอ่าวไทยลดจำนวนลงในที่สุด

ที่อยู่
ในอดีตเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยมาจากเกาะไหหลำ แต่ปัจจุบันพบว่าปลาทูเกิดในอ่าวไทยเป็นปลาผิวน้ำ รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ฝั่ง พบเฉพาะบริเวณอุณหภูมิผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกิน 32.5 % แต่ทนความเค็มต่ำได้ถึง 20.4 % จึงพบในบริเวณน้ำกร่อยได้ ปลาทูวางไข่แบบไข่ลอยน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะลอยน้ำอยู่ได้ ช่วงที่วางไข่คือกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

การบริโภค
ปลาทู นำมาเป็นอาหารไทยมีจำหน่ายในรูปแบบ ปลาทูสด และปลาทูนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการขายเป็นใส่ภาชนะที่เรียกว่า เข่งปลาทู นิยมนำมาทอด รับประทานคู่กับน้ำพริกกะปิ หรือ ทำเป็นน้ำพริกปลาทู ส่วนปลาทูสดนิยมนำมาทำเป็นต้มยำปลาทู

เนื้อปลาทูมีสารโอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ในเนื้อปลาทู 100 กรัมมีสารโอเมก้า 3 ราว 2-3 กรัม ช่วยลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบ และยังลดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดความหนืดของเลือด ลดการอักเสบ ทำให้ความข้นในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ชนิดพันธุ์
ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น (ชื่อสามัญ: Short-bodied mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger brachysoma) เป็นสายพันธุ์ที่นิยมบริโภคมากที่สุด
ปลาลัง หรือ ปลาทูโม่ง (ชื่อสามัญ: Indian mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger kanagurta)
ปลาทูปากจิ้งจก (ชื่อสามัญ: Island mackerel ชื่อวิทยาศาสตร์ Rastrelliger faughni)
จาก วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...