Phylum - Arthropoda
Class - แมลงที่มี 6 ขา (Hexapoda) หรือ (Insecta)
Order - Orthoptera
Family - Gryllidae
ชื่อภาคกลาง - จิ้งหรีด,จิ้งหรีดทองแดง,ทองแดง
ชื่อภาคอีสาน - กี้ดีด, จิล้อทองแดง
ชื่ออังกฤษ - House Cricket
ชื่อวิทยาศาสตร์ - Acheta Testacea Walker
จิ้งหรีดพันธุ์ไทย ที่นิยมเลี้ยงหรือทำฟาร์ม ได้แก่ 4 สายพันธุ์หลัก
1. จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ตัวโตเต็มวัยสุดปีกสุดหางแล้วแต่ขนาดความยาวลำตัว ตั้งแต่หังถึงปล้องท้องสุดท้ายไม่รวมหนวดและหาง 2 แฉกยาว 25 - 35 ม.ม. ลักษณะเด่นถ้าเป็นพันธุ์แท้ไม่ผสมกับพันธุ์ทองดำ หัว,ลำตัว,ขาจะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลอมเหลืองทอง ปีกเป็นสีทองทั้งตัวผู้และตัวเมีย จึงเหมาะที่จะเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของคน เนื่องจากเมื่อปรุงเป็นอาหารประเภทคั่วหรือทอดแล้วจะมีสีเหลืองทองอมน้ำตาล ดูแล้วสวยงาม สะอาดน่ารับประทานมาก แถมหอมมันอร่อย ชาวจีน ชาวฮ่องกง ชาวญี่ปุ่น และชาวไทยอีสานนิยมรับประทานมาก เพราะเป็นของว่างขบเคี้ยว
2. จิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ เป็นจิ้งหรีดขนาดกลางและมีขนาดเท่ากับพันธุ์ทองแดง แต่มีลักษณะเด่นในกรณีเป็นพันธุ์แท้ที่ไม่ได้ผสมกับพันธุ์ทองแดง หัว, ลำตัว, ทั้งปีกในและปีกนอก และขาทั้ง 6 ขาจะมีสีดำสนิทเป็นมันว าว แต่เนื่องจากมีสีดำสนิท จึงเหมาะที่จะเป็นอาหารสัตว์ เพราะเมื่อปรุงเป็นอาหารให้คนรับประทาน ไม่ว่าจะคั่วหรือทอด หรือยางดูดำไปหมด เหมือนกับไหม้ไปแล้ว จึงมีสีสันที่ไม่น่ารับประทาน
3. จิ้งหรีดพันธุ์ทองน้ำตาลลาย หรือไอ้แอ๊ด เป็นจิ้งหรีดขนาดเล็กเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดความยาวลำตัว 16 - 24 ม.ม. ลักษณะเด่นคือมีรูปร่างเพรียวบางกว่ากินาย หัว, ลำตัวและขาจะมีสีน้ำตาลเหลืองอ่อน, สีขาวอมน้ำตาลอ่อน ปล้องท้องมักจะมีสีน้ำตาลอ่อนสลับขาวงาช้าง ทำให้เรียกชื่อพันธุ์อีกแบบว่า "พันธุ์ทองน้ำตาลลาย" ปีกมีสีขาวและสีงาช้าง เคลื่อนไหวว่องไวมาก และชอบหลบซ่อนในซอกลับในที่มืดมองไม่เห็นได้ยินแต่เสียงจึงมีฉายาว่า "จิ้งหรีดผี" และเนื่องจากตัวเล็กเนื้อบางจึงเหมาะที่จะเพาะเลี้ยงไว้เป็นอาหารของลูกสัตว์ เช่น ลูกนก, ลูกไก่, ลูกปลา, ลูกกบ, ลูกกิ้งก่า เป็นต้น เพราะมีขนาดที่สมดุลกันกับลูกสัตว์ดังกล่าวแล้ว ไอ้แอ๊ดถึงตัวจะเล็กแต่กินอาหารจุมาก
4. จิ้งหรีดพันธุ์ทองน้อย หรือกินาย ก็เป็นจิ้งหรีดขนาดเล็ก ความยาวลำตัวใกล้เคียงกับพันธุ์ไอ้แอ๊ด แต่ลำตัวจะป้อมหนากว่าไอ้แอ๊ด ลักษณะเด่นสีของหัว, ลำตัว, ปีกและขาจะเหมือนกับจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงแต่มีสีอ่อนกว่าและตัวเล็กกว่า จึงมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อว่า "จิ้งหรีดน้อย", "จิ้งหรีดสีทอง", "จิ้งหรีดทองแดงเล็ก", "จิ้งหรีดทองน้อย" ภาษาอีสานเรียกว่า "จิล้อน่อย" มีสีสันที่สวยงามรูปร่างเล็กน่ารัก เมื่อปรุงเป็นอาหารจะมีสีสันรสชาติอร่อยน่ารับประทานเหมือนกับพันธุ์ทองแดงทุกประการ จึงเหมาะที่จะเพาะเลี้ยงเป็นอาหารโปรตีนชั้นดีให้กับคน
ส่วนประกอบของจิ้งหรีด
1. หัว ประกอบด้วย ตา หนวด ปาก คอ และรอยต่อกะโหลกศีรษะ
2. อก มี 3 ปล้อง
ปล้องแรกมีขาหน้า 1 คู่
ปล้องกลางมีขาคู่กลาง 1 คู่ และมีปีกคู่หน้า 1 คู่ ซึ่งปีกนี้ใช้แยกเพศของจิ้งหรีดได้ด้วย โดยจิ้งหรีดตัวผู้ปีกนอกคู่หน้ามีลวดลายหยักส่วนตัวเมียจะมีผิวเรียบ
ปล้องหลังมีขาคู่หลัง และยังมีปีกคู่หลัง ซึ่งเวลาหุบจะซ่อนอยู่ด้านใน
3. ท้อง เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะมีปล้องจำนวน 11 ปล้อง
การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดทอง
การเตรียมหาจิ้งหรีดพ่อ-แม่พันธุ์
โดยใช้จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง หรือทองดำแท้ หรือพันธุ์ผสมระหว่างสองพันธุ์ นี้ที่เรียกว่า "พันธุ์ทาง" คัดจิ้งหรีดตัวผู้และตัวเมียที่เป็นตัวโตเต็มวัยสุดปีกสุดหางแล้ว มีอายุไม่น้อยกว่า 5 สัปดาห์หรือ 35 วันขึ้นไป ขนาดความยาวลำตัวไม่รวมหนวดและแพนหางยาว 25-35 ม.ม. คัดพ่อแม่พันธุ์เอาแต่ตัวใหญ่ๆ แข็งแรง ว่องไว และมีอวัยวะครบสมบูรณ์ คือมี หัวตารวม 1 คู่ ส่วนประกอบปากครบ หนวด 1 คู่ยาวเท่าๆกัน และยาวเท่ากับหรือมากกว่าความยาวลำตัว ขามี 6 ขาครบ ปีกคู่หน้า และปีกคู่หลัง อย่างละคู่ครบ แพนหาง 2 แฉกมีครบบริบูรณ์ ทุกๆส่วน ไม่ขาดหาย แหว่ง ด้วน พิการ โดยเฉพาะตัวเมียจะต้องมีอวัยวะพิเศษคือ ท่อวางไข่ปลายแหลมยื่นที่เปรียบเหมือนหางที่ 3 ซึ่งแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างแพนหาง 2 แฉกสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ยาวยื่นออกไป 14-16 ม.ม. ส่วนที่เป็นท่อวางไข่นี้ต้องสมบูรณ์ดังนั้น ถ้าตัวเมียตัวใดที่มีท่อวางไข่ที่ไม่สมบูรณ์ ขาดหายไปบางส่วนหรือไม่มีเลยจะนำมาทำเป็นแม่พันธุ์ไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะไม่สามารถวางไข่ได้ และท่อวางไข่นี้จะมีเฉพาะจิ้งหรีดตัวเมียเท่านั้น จึงนับเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกเพศของตัวเมียได้ดีที่สุด แม้จะอยู่ในวัยลูกจิ้งหรีดตัวอ่อนระยะที่ 4-5 หรือจิ้งหรีดวัยรุ่นก็ตาม แต่ยังมีข้อสังเกตในการแบ่งแยกเพศของจิ้งหรีดระหว่างตัวผู้และตัวเมียดังนี้
จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงหรือทองดำตัวผูู้้ สังเกตดูที่ผิวปีกนอกคู่หน้าจะมีลวดลายหยักศกเป็นลายกระหนกที่สวยงาม และจิ้งหรีดตัวผู้เท่านั้นที่ส่งเสียงร้องไม่ใช่ด้วยปาก แต่ด้วยการเสียดสีและสั่นสะเทือนของปีกนอกคู่หน้านี้ หลักการเดียวกันกับการสีไวโอลินเพื่อร้องเรียกหาตัวเมียมาผสมพันธุ์กัน ซึ่งก็เป็นไปตามธรรมชาติของจิ้งหรีด จิ้งหรีดตัวผู้ตัวใดมีปีกนอกคู่หน้าที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม ส่งเสียงร้องได้ดังกังวานไพเราะเสียงใส ถือว่าเป็นจิ้งหรีดที่ "รูปหล่อ เสียงดี" จะมีตัวเมียหลายตัวผลัดกันเข้ามาผสมพันธุ์ด้วยความเสน่หาเป็นพิเศษ การผสมพันธุ์ของจิ้งหรีดนั้นมีลักษณะพิเศษตรงที่ตัวเมียจะขึ้นขี่ทับบนร่างของตัวผู้ ดังนั้นตัวผู้ตัวใดยิ่งรูปหล่อเสียงดีมากเพียงใด ก็ยิ่งเร่งเร้าให้ตัวเมียมากมายหลายตัวรุมขึ้นขี่ผสมพันธุ์ หรือที่เรียกว่าถูกรุมโทรมจนปีกนอกคู่หน้าหลุดไปก็มี ตัวผู้บางตัวถึงกับหมดแรงตายก่อนอายุขัยอันควร จิ้งหรีดที่ถูกเพาะเลี้ยงมักจะมีอายุ 2-4 เดือนแล้วแต่ความถี่ห่างของการผสมพันธุ์ของตัวผู้และจำนวนรอบของการวางไข่ของตัวเมีย แต่ถ้าเป็นจิ้งหรีดตามธรรมชาติจะมีอายุ 18-24 เดือน เนื่องจากผสมพันธุ์และวางไข่เพียวช่วงเดียวสั้นๆ ปลายฤดูฝนช่วงเดือน กรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี จะสังเกตได้ชัดว่ามีจิ้งหรีดส่งเสียงร้องหรือบินมาเล่นไฟในตอนกลางคืนในช่วงเดือนดังกล่าวมากเป็นพิเศษ เรียกว่าเป็นช่วง "วิวาห์จิ้งหรีด" จิ้งหรีดตามธรรมชาติจึงร่าเริงเบิกบานมาก นอกจากนี้ยังจำแนกความแตกต่างระหว่างจิ้งหรีดต่างพันธุ์ต่างชนิด ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 40-50 ชนิดได้ หรือระหว่างจิ้งหรีดกับแมลงร้องได้ชนิดอื่นๆก็ได้ จากการฟังความดัง และโทนของเสียงที่แตกต่างกัน
จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงหรือทองดำตัวเมีย ให้สังเกตที่ท่อวางไข่ซึ่งยื่นยาวอยู่ตรงกลางระหว่างแพนหาง 2 แฉกดังกล่าวแล้ว และจุดสังเกตอีกจุดคือที่ผิวของปีกนอกคู่หน้าของตัวเมียที่เรียบไม่มีลวดลายกระหนก แต่จะมีลายตารางขนมเปียกปูนจางๆ มองแทบไม่เห็น ถ้าจะให้เห็นชัดต้องใช้แว่นขยายส่องดู และตัวเมียจะไม่มีการส่งเสียงร้องด้วยการเสียดสีและสั่นปีกนอกคู่หน้านี้ได้เลย เพราะธรรมชาติได้สร้างปีกนอกคู่หน้าให้เสียดสีและสั่นจนเกินเป็นเสียงร้องได้เฉพาะจิ้งหรีดตัวผู้เท่านั้น เพื่อเรียกตัวเมียมาผสมพันธุ์
สถานที่
ควรเป็นที่ร่มมีหลังคากันแดดและฝนมีแสงแดดส่องถึงช่วงตอนเช้าหรือตอนบ่ายหากจะทำเป็นโรงเรือนเพาะเลี้ยงควรทำพื้นที่วางบ่อปรับดินให้เรียบ ถ้าเป็นพื้นปูนจะรักษาความสะอาดได้ง่าย และป้องกันมดได้ดีกว่า
2. อก มี 3 ปล้อง
ปล้องแรกมีขาหน้า 1 คู่
ปล้องกลางมีขาคู่กลาง 1 คู่ และมีปีกคู่หน้า 1 คู่ ซึ่งปีกนี้ใช้แยกเพศของจิ้งหรีดได้ด้วย โดยจิ้งหรีดตัวผู้ปีกนอกคู่หน้ามีลวดลายหยักส่วนตัวเมียจะมีผิวเรียบ
ปล้องหลังมีขาคู่หลัง และยังมีปีกคู่หลัง ซึ่งเวลาหุบจะซ่อนอยู่ด้านใน
3. ท้อง เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะมีปล้องจำนวน 11 ปล้อง
การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดทอง
การเตรียมหาจิ้งหรีดพ่อ-แม่พันธุ์
โดยใช้จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง หรือทองดำแท้ หรือพันธุ์ผสมระหว่างสองพันธุ์ นี้ที่เรียกว่า "พันธุ์ทาง" คัดจิ้งหรีดตัวผู้และตัวเมียที่เป็นตัวโตเต็มวัยสุดปีกสุดหางแล้ว มีอายุไม่น้อยกว่า 5 สัปดาห์หรือ 35 วันขึ้นไป ขนาดความยาวลำตัวไม่รวมหนวดและแพนหางยาว 25-35 ม.ม. คัดพ่อแม่พันธุ์เอาแต่ตัวใหญ่ๆ แข็งแรง ว่องไว และมีอวัยวะครบสมบูรณ์ คือมี หัวตารวม 1 คู่ ส่วนประกอบปากครบ หนวด 1 คู่ยาวเท่าๆกัน และยาวเท่ากับหรือมากกว่าความยาวลำตัว ขามี 6 ขาครบ ปีกคู่หน้า และปีกคู่หลัง อย่างละคู่ครบ แพนหาง 2 แฉกมีครบบริบูรณ์ ทุกๆส่วน ไม่ขาดหาย แหว่ง ด้วน พิการ โดยเฉพาะตัวเมียจะต้องมีอวัยวะพิเศษคือ ท่อวางไข่ปลายแหลมยื่นที่เปรียบเหมือนหางที่ 3 ซึ่งแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างแพนหาง 2 แฉกสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ยาวยื่นออกไป 14-16 ม.ม. ส่วนที่เป็นท่อวางไข่นี้ต้องสมบูรณ์ดังนั้น ถ้าตัวเมียตัวใดที่มีท่อวางไข่ที่ไม่สมบูรณ์ ขาดหายไปบางส่วนหรือไม่มีเลยจะนำมาทำเป็นแม่พันธุ์ไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะไม่สามารถวางไข่ได้ และท่อวางไข่นี้จะมีเฉพาะจิ้งหรีดตัวเมียเท่านั้น จึงนับเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกเพศของตัวเมียได้ดีที่สุด แม้จะอยู่ในวัยลูกจิ้งหรีดตัวอ่อนระยะที่ 4-5 หรือจิ้งหรีดวัยรุ่นก็ตาม แต่ยังมีข้อสังเกตในการแบ่งแยกเพศของจิ้งหรีดระหว่างตัวผู้และตัวเมียดังนี้
จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงหรือทองดำตัวผูู้้ สังเกตดูที่ผิวปีกนอกคู่หน้าจะมีลวดลายหยักศกเป็นลายกระหนกที่สวยงาม และจิ้งหรีดตัวผู้เท่านั้นที่ส่งเสียงร้องไม่ใช่ด้วยปาก แต่ด้วยการเสียดสีและสั่นสะเทือนของปีกนอกคู่หน้านี้ หลักการเดียวกันกับการสีไวโอลินเพื่อร้องเรียกหาตัวเมียมาผสมพันธุ์กัน ซึ่งก็เป็นไปตามธรรมชาติของจิ้งหรีด จิ้งหรีดตัวผู้ตัวใดมีปีกนอกคู่หน้าที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม ส่งเสียงร้องได้ดังกังวานไพเราะเสียงใส ถือว่าเป็นจิ้งหรีดที่ "รูปหล่อ เสียงดี" จะมีตัวเมียหลายตัวผลัดกันเข้ามาผสมพันธุ์ด้วยความเสน่หาเป็นพิเศษ การผสมพันธุ์ของจิ้งหรีดนั้นมีลักษณะพิเศษตรงที่ตัวเมียจะขึ้นขี่ทับบนร่างของตัวผู้ ดังนั้นตัวผู้ตัวใดยิ่งรูปหล่อเสียงดีมากเพียงใด ก็ยิ่งเร่งเร้าให้ตัวเมียมากมายหลายตัวรุมขึ้นขี่ผสมพันธุ์ หรือที่เรียกว่าถูกรุมโทรมจนปีกนอกคู่หน้าหลุดไปก็มี ตัวผู้บางตัวถึงกับหมดแรงตายก่อนอายุขัยอันควร จิ้งหรีดที่ถูกเพาะเลี้ยงมักจะมีอายุ 2-4 เดือนแล้วแต่ความถี่ห่างของการผสมพันธุ์ของตัวผู้และจำนวนรอบของการวางไข่ของตัวเมีย แต่ถ้าเป็นจิ้งหรีดตามธรรมชาติจะมีอายุ 18-24 เดือน เนื่องจากผสมพันธุ์และวางไข่เพียวช่วงเดียวสั้นๆ ปลายฤดูฝนช่วงเดือน กรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี จะสังเกตได้ชัดว่ามีจิ้งหรีดส่งเสียงร้องหรือบินมาเล่นไฟในตอนกลางคืนในช่วงเดือนดังกล่าวมากเป็นพิเศษ เรียกว่าเป็นช่วง "วิวาห์จิ้งหรีด" จิ้งหรีดตามธรรมชาติจึงร่าเริงเบิกบานมาก นอกจากนี้ยังจำแนกความแตกต่างระหว่างจิ้งหรีดต่างพันธุ์ต่างชนิด ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 40-50 ชนิดได้ หรือระหว่างจิ้งหรีดกับแมลงร้องได้ชนิดอื่นๆก็ได้ จากการฟังความดัง และโทนของเสียงที่แตกต่างกัน
จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงหรือทองดำตัวเมีย ให้สังเกตที่ท่อวางไข่ซึ่งยื่นยาวอยู่ตรงกลางระหว่างแพนหาง 2 แฉกดังกล่าวแล้ว และจุดสังเกตอีกจุดคือที่ผิวของปีกนอกคู่หน้าของตัวเมียที่เรียบไม่มีลวดลายกระหนก แต่จะมีลายตารางขนมเปียกปูนจางๆ มองแทบไม่เห็น ถ้าจะให้เห็นชัดต้องใช้แว่นขยายส่องดู และตัวเมียจะไม่มีการส่งเสียงร้องด้วยการเสียดสีและสั่นปีกนอกคู่หน้านี้ได้เลย เพราะธรรมชาติได้สร้างปีกนอกคู่หน้าให้เสียดสีและสั่นจนเกินเป็นเสียงร้องได้เฉพาะจิ้งหรีดตัวผู้เท่านั้น เพื่อเรียกตัวเมียมาผสมพันธุ์
สถานที่
ควรเป็นที่ร่มมีหลังคากันแดดและฝนมีแสงแดดส่องถึงช่วงตอนเช้าหรือตอนบ่ายหากจะทำเป็นโรงเรือนเพาะเลี้ยงควรทำพื้นที่วางบ่อปรับดินให้เรียบ ถ้าเป็นพื้นปูนจะรักษาความสะอาดได้ง่าย และป้องกันมดได้ดีกว่า
การเตรียมบ่อเลี้ยง
ใช้บ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. สูง 50 ซม. เทปูนบางๆ ที่ก้นบ่อ ตรงขอบบ่อด้านในบุด้วยพลาสติกลงมา ประมาณกลางบ่อ รองก้นด้วยทรายบางๆ แบ่งพื้นที่ในบ่อเลี้ยงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกใช้ตะแกรงทำจากกรงไก่ วางให้สูงจากพื้นบ่อประมาณ 2นิ้วเพื่อวางหญ้าที่ให้เป็นอาหาร และวางถาดไข่ลูกฟูกในแนวตั้ง 2-3 ถาดต่อบ่อ เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัวของจิ้งหรีด ใต้ถาดไข่มีถาดรองรับมูลหรือปูด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ จะทำให้สะดวกในการจัดการทำความสะอาด เนื่องจากจิ้งหรีดจะถ่ายมูลมากเมื่อมาหลบซ่อนตัวที่ถาดไข่ ส่วนที่สองเป็นที่วางจานให้น้ำ จานวางไข่และถาดอาหาร จานให้น้ำและจานวางไข่ใช้จานกระเบื้องดินเผาที่รองกระถางปลูกต้นไม่ ขนาด 10-12 นิ้ว ในจานให้น้ำใส่อิฐมอญ 2-3 ก้อนให้เป็นที่เกาะ ส่วนจานวางไข่ ใส่ดินร่วนปนทราย พรมน้ำพอชื้น ๆ ถ้าหาถาดไข่ลูกฟูกไม่ได้ ใช้ลำไม้ไผ่ กล่องกระดา ท่อพีวีซีตัดเป็นท่อสั้นๆ มัดรวมกัน หรือแผ่นกระเบื้องเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัวของจิ้งหรีด ปิดฝาบ่อด้วยมุ้งตาข่ายสีฟ้า ใช้ยางรัดที่ขอบบ่อ
อาหาร
ใช้หญ้าสด เสริมด้วยอาหารไก่ไข่ หรืออาหารปลากินพืช ซึ่งเป็นอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ดและน้ำ หญ้าสด มีหญ้าต่าง ๆ เช่น หญ้าขน หญ้าชันอากาศ หรือวัชพืชหญ้าที่จิ้งหรีดชอบได้แก่ หญ้าปากควาย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หญ้าตีนตุ้กแก หญ้าแพรก วัชพืชที่ชอบได้แก่ ผักโขมหนาม(ชอบกินลำต้น เนื่องจากอวบน้ำ) ผักเบี้ยใหญ่ ผักปราบ จิ้งหรีดกินอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้นถั่วลิสง(หลังจากเก็บฝักออกแล้ว) เปลือกฝักข้าวโพด และต้นข้าวโพดที่เก็บฝักออกแล้ว ต้นกล้วยที่ยังไม่ออกเครือ หรือใบกล้วย หัวมันสำปะหลัง ต้นผักตบ จอก ข้าวสุก ผักต่างๆ ที่ปลอดจากสารฆ่าแมลง เปลือกผลไม้ เช่น มะม่วง มะละกอ แอปเปิ้ล นอกจากนี้ยังพบว่าจิ้งหรีดชอบกินเปลือกใบตองที่ห่อขนมเทียนหรือข้าวต้มมัด
การจัดการ
การให้อาหารในบ่อเลี้ยง ตัดหญ้าสดให้ทุก 2-3 วัน ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนให้ทุก 2 วัน แต่ละครั้งให้ประมาณหนึ่งกำมือต่อบ่อเลี้ยงหนึ่งบ่อ โดยเอาหญ้าจุ่มลงในถังน้ำให้ชุ่ม แล้วเอาวางบนตะแกรงในบ่อเลี้ยง สำหรับอาหารเสริมใส่ในถาด ให้ประมาณหนึ่งกิโลกรัมต่อการเลี้ยงจิ้งหรีดหนึ่งบ่อในช่วง 2 เดือน โดยช่วงที่จิ้งหรีดอายุต่ำกว่า 1 เดือน ให้สัปดาห์ละ 2 ครั้งๆละ ? ขีด (25 กรัม) เมื่ออายุ 1 เดือนขึ้นไป ให้ครั้งละ ครึ่งขีด (50 กรัม) ในช่วงฤดูฝน ตัดหญ้าหนึ่งกำมือจุ่มน้ำให้ชุ่มแล้ววางไว้บนตะแกรงโดยตรง ทุก 2-3 วัน เมื่อให้หญ้าครั้งใหม่ เก็บเอาหญ้าเก่าออกส่วนในช่วงฤดูหนาว และฤดูแล้ง อากาศแห้ง เมื่อตัดหญ้าแล้วเอาจุ่มน้ำให้ชุ่มวางไว้บนตะแกรงแล้วใช้เศษหญ้าเก่าปิดทับไว้ด้วนบนหนาประมาณ 1-1/2 นิ้ว เพื่อเก็บความชื้น สำหรับอาหารเสริมในช่วงฤดูฝนจะให้อาหารปลาเป็นหลัก โดยเฉพาะปีที่ฝนตกชุกตกสม่ำเสมออากาศครึ้ม แต่ถ้าฝนกระจายมีวันที่แดดออกสลับให้อาหารไก่ไข่สลับกับอาหารปลาบ้าง เนื่องจากการให้อาหารไก่ไข่จะเกิดปัญหามีไรเข้าทำลาย เมื่ออากาศชื้น ส่วนในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ใช้อาหารไก่ไข่เป็นพื้นสลับด้วยอาหารปลาเป็นครั้งคราว เพื่อเปลี่ยนรสชาติน้ำที่ในบ่อเลี้ยง เปลี่ยนทุก 2-3 วัน สำหรับทรายที่ปูก้นบ่อ พรมน้ำสัปดาห์ละครั้ง
การทำความสะอาด
การถ่ายมูลจิ้งหรีด เอาถาดที่รองรับมูลใต้ถาดไข่ลูกฟูก เทมูลทิ้ง และทำความสะอาดสัปดาห์ละครั้ง เพื่อไม่ให้มูลหมักหมม
เปลี่ยนดินที่ใส่ในจานให้จิ้งหรีดวางไข่ หลังจากเก็บจิ้งหรีดออกจำหน่ายส่วนทรายที่รองก้นพื้นบ่อควรจะเปลี่ยนหลังจากเลี้ยงจิ้งหรีดไปแล้ว 2 รุ่น
การตากบ่อ ทำปีละครั้ง ประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน ก่อนจะเลี้ยงรุ่นใหม่ต่อไป
การป้องกันศัตรูของจิ้งหรีด
ศัตรูที่สำคัญที่สุดได้แก่ มด ซึ่งจะเข้ามากินไข่และลูกจิ้งหรีด กินซากจิ้งหรีดที่ถูกกัด หรือกินจิ้งหรีดที่ลอกคราบใหม่ ซึ่งไม่แข็งแรงและมีกลิ่นคาว การป้องกันโดยใช้ชอล์คกันมด ขีดรอบบ่อภายนอก หรือใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องพันรอบบ่อ การดูแลความสะอาด และระวังอย่าให้มีเศษหญ้าตกหล่นพาดจากพื้นถึงปากบ่อจะทำให้มดเข้าไปได้ ถ้าพื้นที่วางบ่อเป็นพื้นปูนและมีร่องน้ำรอบๆ จะป้องกันมดได้ดีกว่าศัตรูอื่นๆ ได้แก่ แมงมุม จิ้งเหลน กิ้งก่า ตุ๊กแก กบ คางคก หนู หมา และแมว
การเลี้ยงจิ้งหรีดวัยอ่อน
หลังจากให้พ่อแม่พันธุ์ผสมและวางไข่ในกล่องหรือโหลแล้ว ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 3-4 รุ่น เลี้ยงไว้ในโหลประมาณ 14 วัน เพื่อรอให้ไข่รุ่นที่ 2 และ 3 ฟักเป็นตัว แล้วจึงย้ายลงบ่อเลี้ยง การให้อาหารทำเช่นเดียวกับในบ่อเลี้ยง ใช้การฉีดพ่นน้ำแทนการพรมน้ำ
การเลี้ยงจิ้งหรีดหลังวัยอ่อน-ระยะเก็บออกจำหน่าย
ย้ายจิ้งหรีดอ่อนจากในโหลแก้วลงเลี้ยงในบ่อตอนย้ายเอียงโหลแก้วลงที่ปากบ่อลูกจิ้งหรีดจะกระโดดเข้าไปในบ่อ เทดินที่เหลือในโหลใส่ภาชนะวางไว้ในบ่อ เพื่อให้ไข่ที่เหลือฟักเป็นตัวในบ่อ การให้อาหารเหมือนกับในหัวข้อการจัดการ เมื่อตัวอ่อนจิ้งหรีดเริ่มมีติ่งปีกเรียกว่า ระยะใส่เสื้อกั๊ก ซึ่งจะมี 2 ระยะ คือ เสื้อกั๊กเล็ก(มีติ่งปีกสั้น) และเสื้อกั๊กใหญ่(มีติ่งปีกยาว) จากระยะเสื้อกั๊กใหญ่ก็จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย รวมระยะเวลาที่เลี้ยงในบ่อประมาณ 1-1/2 เดือนก็จะเป็นตัวเต็มวัย ระยะที่เก็บออกจำหน่ายได้จะเป็นระยะเสื้อกั๊กใหญ่และตัวเต็มวัย การรอดชีวิตจากตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์
การเก็บจิ้งหรีดออกจำหน่าย
จิ้งหรีดชอบเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ภายในถาดไข่ลูกฟูกหรือลำไม้ไผ่การเก็บก็จะยกถาดไข่หรือลำไม่ไผ่เคาะใส่ในถุงตาข่ายสีฟ้า
ใช้บ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. สูง 50 ซม. เทปูนบางๆ ที่ก้นบ่อ ตรงขอบบ่อด้านในบุด้วยพลาสติกลงมา ประมาณกลางบ่อ รองก้นด้วยทรายบางๆ แบ่งพื้นที่ในบ่อเลี้ยงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกใช้ตะแกรงทำจากกรงไก่ วางให้สูงจากพื้นบ่อประมาณ 2นิ้วเพื่อวางหญ้าที่ให้เป็นอาหาร และวางถาดไข่ลูกฟูกในแนวตั้ง 2-3 ถาดต่อบ่อ เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัวของจิ้งหรีด ใต้ถาดไข่มีถาดรองรับมูลหรือปูด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ จะทำให้สะดวกในการจัดการทำความสะอาด เนื่องจากจิ้งหรีดจะถ่ายมูลมากเมื่อมาหลบซ่อนตัวที่ถาดไข่ ส่วนที่สองเป็นที่วางจานให้น้ำ จานวางไข่และถาดอาหาร จานให้น้ำและจานวางไข่ใช้จานกระเบื้องดินเผาที่รองกระถางปลูกต้นไม่ ขนาด 10-12 นิ้ว ในจานให้น้ำใส่อิฐมอญ 2-3 ก้อนให้เป็นที่เกาะ ส่วนจานวางไข่ ใส่ดินร่วนปนทราย พรมน้ำพอชื้น ๆ ถ้าหาถาดไข่ลูกฟูกไม่ได้ ใช้ลำไม้ไผ่ กล่องกระดา ท่อพีวีซีตัดเป็นท่อสั้นๆ มัดรวมกัน หรือแผ่นกระเบื้องเพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัวของจิ้งหรีด ปิดฝาบ่อด้วยมุ้งตาข่ายสีฟ้า ใช้ยางรัดที่ขอบบ่อ
อาหาร
ใช้หญ้าสด เสริมด้วยอาหารไก่ไข่ หรืออาหารปลากินพืช ซึ่งเป็นอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ดและน้ำ หญ้าสด มีหญ้าต่าง ๆ เช่น หญ้าขน หญ้าชันอากาศ หรือวัชพืชหญ้าที่จิ้งหรีดชอบได้แก่ หญ้าปากควาย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หญ้าตีนตุ้กแก หญ้าแพรก วัชพืชที่ชอบได้แก่ ผักโขมหนาม(ชอบกินลำต้น เนื่องจากอวบน้ำ) ผักเบี้ยใหญ่ ผักปราบ จิ้งหรีดกินอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้นถั่วลิสง(หลังจากเก็บฝักออกแล้ว) เปลือกฝักข้าวโพด และต้นข้าวโพดที่เก็บฝักออกแล้ว ต้นกล้วยที่ยังไม่ออกเครือ หรือใบกล้วย หัวมันสำปะหลัง ต้นผักตบ จอก ข้าวสุก ผักต่างๆ ที่ปลอดจากสารฆ่าแมลง เปลือกผลไม้ เช่น มะม่วง มะละกอ แอปเปิ้ล นอกจากนี้ยังพบว่าจิ้งหรีดชอบกินเปลือกใบตองที่ห่อขนมเทียนหรือข้าวต้มมัด
การจัดการ
การให้อาหารในบ่อเลี้ยง ตัดหญ้าสดให้ทุก 2-3 วัน ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนให้ทุก 2 วัน แต่ละครั้งให้ประมาณหนึ่งกำมือต่อบ่อเลี้ยงหนึ่งบ่อ โดยเอาหญ้าจุ่มลงในถังน้ำให้ชุ่ม แล้วเอาวางบนตะแกรงในบ่อเลี้ยง สำหรับอาหารเสริมใส่ในถาด ให้ประมาณหนึ่งกิโลกรัมต่อการเลี้ยงจิ้งหรีดหนึ่งบ่อในช่วง 2 เดือน โดยช่วงที่จิ้งหรีดอายุต่ำกว่า 1 เดือน ให้สัปดาห์ละ 2 ครั้งๆละ ? ขีด (25 กรัม) เมื่ออายุ 1 เดือนขึ้นไป ให้ครั้งละ ครึ่งขีด (50 กรัม) ในช่วงฤดูฝน ตัดหญ้าหนึ่งกำมือจุ่มน้ำให้ชุ่มแล้ววางไว้บนตะแกรงโดยตรง ทุก 2-3 วัน เมื่อให้หญ้าครั้งใหม่ เก็บเอาหญ้าเก่าออกส่วนในช่วงฤดูหนาว และฤดูแล้ง อากาศแห้ง เมื่อตัดหญ้าแล้วเอาจุ่มน้ำให้ชุ่มวางไว้บนตะแกรงแล้วใช้เศษหญ้าเก่าปิดทับไว้ด้วนบนหนาประมาณ 1-1/2 นิ้ว เพื่อเก็บความชื้น สำหรับอาหารเสริมในช่วงฤดูฝนจะให้อาหารปลาเป็นหลัก โดยเฉพาะปีที่ฝนตกชุกตกสม่ำเสมออากาศครึ้ม แต่ถ้าฝนกระจายมีวันที่แดดออกสลับให้อาหารไก่ไข่สลับกับอาหารปลาบ้าง เนื่องจากการให้อาหารไก่ไข่จะเกิดปัญหามีไรเข้าทำลาย เมื่ออากาศชื้น ส่วนในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ใช้อาหารไก่ไข่เป็นพื้นสลับด้วยอาหารปลาเป็นครั้งคราว เพื่อเปลี่ยนรสชาติน้ำที่ในบ่อเลี้ยง เปลี่ยนทุก 2-3 วัน สำหรับทรายที่ปูก้นบ่อ พรมน้ำสัปดาห์ละครั้ง
การทำความสะอาด
การถ่ายมูลจิ้งหรีด เอาถาดที่รองรับมูลใต้ถาดไข่ลูกฟูก เทมูลทิ้ง และทำความสะอาดสัปดาห์ละครั้ง เพื่อไม่ให้มูลหมักหมม
เปลี่ยนดินที่ใส่ในจานให้จิ้งหรีดวางไข่ หลังจากเก็บจิ้งหรีดออกจำหน่ายส่วนทรายที่รองก้นพื้นบ่อควรจะเปลี่ยนหลังจากเลี้ยงจิ้งหรีดไปแล้ว 2 รุ่น
การตากบ่อ ทำปีละครั้ง ประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน ก่อนจะเลี้ยงรุ่นใหม่ต่อไป
การป้องกันศัตรูของจิ้งหรีด
ศัตรูที่สำคัญที่สุดได้แก่ มด ซึ่งจะเข้ามากินไข่และลูกจิ้งหรีด กินซากจิ้งหรีดที่ถูกกัด หรือกินจิ้งหรีดที่ลอกคราบใหม่ ซึ่งไม่แข็งแรงและมีกลิ่นคาว การป้องกันโดยใช้ชอล์คกันมด ขีดรอบบ่อภายนอก หรือใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องพันรอบบ่อ การดูแลความสะอาด และระวังอย่าให้มีเศษหญ้าตกหล่นพาดจากพื้นถึงปากบ่อจะทำให้มดเข้าไปได้ ถ้าพื้นที่วางบ่อเป็นพื้นปูนและมีร่องน้ำรอบๆ จะป้องกันมดได้ดีกว่าศัตรูอื่นๆ ได้แก่ แมงมุม จิ้งเหลน กิ้งก่า ตุ๊กแก กบ คางคก หนู หมา และแมว
การเลี้ยงจิ้งหรีดวัยอ่อน
หลังจากให้พ่อแม่พันธุ์ผสมและวางไข่ในกล่องหรือโหลแล้ว ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 3-4 รุ่น เลี้ยงไว้ในโหลประมาณ 14 วัน เพื่อรอให้ไข่รุ่นที่ 2 และ 3 ฟักเป็นตัว แล้วจึงย้ายลงบ่อเลี้ยง การให้อาหารทำเช่นเดียวกับในบ่อเลี้ยง ใช้การฉีดพ่นน้ำแทนการพรมน้ำ
การเลี้ยงจิ้งหรีดหลังวัยอ่อน-ระยะเก็บออกจำหน่าย
ย้ายจิ้งหรีดอ่อนจากในโหลแก้วลงเลี้ยงในบ่อตอนย้ายเอียงโหลแก้วลงที่ปากบ่อลูกจิ้งหรีดจะกระโดดเข้าไปในบ่อ เทดินที่เหลือในโหลใส่ภาชนะวางไว้ในบ่อ เพื่อให้ไข่ที่เหลือฟักเป็นตัวในบ่อ การให้อาหารเหมือนกับในหัวข้อการจัดการ เมื่อตัวอ่อนจิ้งหรีดเริ่มมีติ่งปีกเรียกว่า ระยะใส่เสื้อกั๊ก ซึ่งจะมี 2 ระยะ คือ เสื้อกั๊กเล็ก(มีติ่งปีกสั้น) และเสื้อกั๊กใหญ่(มีติ่งปีกยาว) จากระยะเสื้อกั๊กใหญ่ก็จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย รวมระยะเวลาที่เลี้ยงในบ่อประมาณ 1-1/2 เดือนก็จะเป็นตัวเต็มวัย ระยะที่เก็บออกจำหน่ายได้จะเป็นระยะเสื้อกั๊กใหญ่และตัวเต็มวัย การรอดชีวิตจากตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์
การเก็บจิ้งหรีดออกจำหน่าย
จิ้งหรีดชอบเข้าไปหลบซ่อนตัวอยู่ภายในถาดไข่ลูกฟูกหรือลำไม้ไผ่การเก็บก็จะยกถาดไข่หรือลำไม่ไผ่เคาะใส่ในถุงตาข่ายสีฟ้า
การคัดพ่อแม่พันธุ์
เลือกที่มีขนาดตัวโตและมีความแข็งแรงนอกจากนี้ควรมีการผสมข้ามบ่อกันบ้างหรือเมื่อเลี้ยงไปประมาณ 1 ปี ควรเก็บจิ้งหรีดจากธรรมชาติเข้ามาผสมกับจิ้งหรีดที่เลี้ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อมถอยอันเกิดจากการผสมเลือดชิด
การขยายพันธุ์
นำพ่อแม่พันธุ์และวางไข่ในโหลแก้วทรงสูงความจุประมาณ 3 ลิตร ใส่ดินร่วนปนทรายในถ้วยให้เป็นที่วางไข่ ใส่หญ้าแห้งเป็นที่หลบซ่อนตัว อาหารที่ให้เป็นหญ้าสด อาหารไก่ไข่ และน้ำ แต่ละโหลใส่ตัวผู้หนึ่งตัว และตัวเมียสองตัว ฉีดพ่นน้ำเพื่อให้ความชื้น
เลือกที่มีขนาดตัวโตและมีความแข็งแรงนอกจากนี้ควรมีการผสมข้ามบ่อกันบ้างหรือเมื่อเลี้ยงไปประมาณ 1 ปี ควรเก็บจิ้งหรีดจากธรรมชาติเข้ามาผสมกับจิ้งหรีดที่เลี้ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อมถอยอันเกิดจากการผสมเลือดชิด
การขยายพันธุ์
นำพ่อแม่พันธุ์และวางไข่ในโหลแก้วทรงสูงความจุประมาณ 3 ลิตร ใส่ดินร่วนปนทรายในถ้วยให้เป็นที่วางไข่ ใส่หญ้าแห้งเป็นที่หลบซ่อนตัว อาหารที่ให้เป็นหญ้าสด อาหารไก่ไข่ และน้ำ แต่ละโหลใส่ตัวผู้หนึ่งตัว และตัวเมียสองตัว ฉีดพ่นน้ำเพื่อให้ความชื้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น