วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ไก่ฟ้า


ไก่ฟ้า หรือ pheasant เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของนกในวงศ์ phasianidae ประกอบไปด้วยประกอบด้วยไก่ฟ้าชนิดต่าง ๆ นกยูงไก่ป่า นกกระทา นกแว่น และนกหว้า พูดกันง่าย ๆ ก็คือ นกกระทา ไก่ป่า นกแว่น และนกหว้า เป็นไก่ฟ้าชนิดหนึ่งนั่นเอง บรรพบุรุษของมันเป็นไก่ฟ้า (Gallus gallus) มีถิ่นกำเนิดในป่าเขตร้อนของทวีปเอเชีย นกในวงศ์ phasianidae ส่วนใหญ่มีสีสันที่สวยงาม ไก้ฟ้าเป็นนกที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน พวกมันจะหาอาหารและทำรังอยู่บนพื้น จะบินขึ้นไปเกาะบนต้นไม้เฉพาะ ในเวลานอนหรือไม่ก็ตอนที่ตกใจ เมื่อมีศัตรูเข้ามาใกล้ ๆ มันมีนิ้วกับเล็บที่ยาวและมีขาที่แข็งแรงมาก ซึ่งเหมาะกับการใช้คุ้ยเขี่ย หาอาหารตามพื้นดิน และหลายชนิดมีเดือยแหลมที่ขา โดยเฉพาะตัวผู้ ไก่ฟ้าทุกชนิดนั้นในวงศ์นี้ตัวผู้จะมีสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย ทั้งยังมีพฤติกรรมคล้ายกับนก Bird of Paradise คือจะใช้เวลาส่วนตัวหมดไปกับการอวดโฉม และผสมพันธ์กับตัวเมียหลายตัว ส่วนนกตัวเมียจะมีที่ค่อยข้างกลม กลืนกับธรรมชาติ อย่างเช่นน้ำตาลและเทาเพื่อพรางตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เป็นการซ่อนตัวจากศัตร ูในเวลาที่มันต้องกกไข่และเลี้ยงดูลูกตามลำพัง ลูกไก่จะสามารถวิ่งได้ทันทีที่ออกจากไข่ ทั้งยังใช้เวลาไม่นาน นักในการหัดบินขึ้นไปเกาะบนคอนตามต้นไม้



ไก่ฟ้าพญาลอ (Siamese fireback pheasant)

ไก่ฟ้าพญาลอ มีชื่อสามัญว่า Siamese fireback pheasant ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lophura diardi เป็นไก่ฟ้าที่สวยงามที่สุดชนิดหนึ่งของไทย กองอนุรักษ์สัตว์ป่ากรมป่าไม้ได้เสนอให้ไก่ฟ้าพญาลอเป็นนกประจำชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เขตการกระจายพันธุ์ ไก่ฟ้าพญาลอพบกระจายในเวียดนาม ตอนใต้ของลาว ตอนเหนือของกัมพูชา ส่วนในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เช่นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง - ภูทอง อุทยาน แห่งชาติทุ่งแสวงหลวง อุทยานแห่งชาติทับลาน และอุทยานแห่งชาติ และอุทยานแห่งชาติเขาสระบาป ลักษณะทั่วไป ไก่ฟ้าพญาลอเป็นไก่ฟ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ความยาววัดจากจงอยปากถึงปลายหางยาว 24-32 นิ้ว (หากรวมหางตัวผู้จะยาวเพิ่มอีกประมาณ 14 นิ้ว) ขาและบริเวณใบหน้ามีสีแดง เพศผู้มีขนหัวสีดำและมีขนเป็นพู่สีดำยื่นออกมาและโค้งไปข้างหลัง บริเวณลำตัวด้านบนตอนท้ายมีเนื้อแกมทอง ขนหางมีสีดำเหลือบเขียว คอและอกมีสีเทา มีเดือยยาวและแหลมคม เพศเมีย มีขนหัวคอและคอหอยสีน้ำตาล บริเวณลำตัวทางด้านบนตอนหน้าและตอนล่างลำตัวมีสีน้ำตาลแกมแดงบริเวณท้องลายคล้ายเกล็ดสีขา ปีกสีดำไม่มีเดือย

ไก่ฟ้า Imperial Pheasant / L.imperia;is

ไก่ฟ้า Imperial Pheasant / L.imperia;is ซึ่งถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2466 บริเวณเทือกเขาสูง ของประเทศเวียดนาม ไก่ฟ้าคู่หนึ่งได้ถูกนำไปเลี้ยงในยุโรป และขยายพันธุ์เรื่อยมา แต่อย่างไรก็ตาม ลูกหลานและของมันมักจะเป็นไก่ฟ้าพันธุ์ทาง เพราะถูกนำไปผสมพันธุ์ กับชนิดอื่น ไก่ฟ้าชนิดนี้ เราเกือบจะไม่รู้เรื่องการดำรงชีวิดในธรรมชาติของมันเลย พวกมันค่อนข้างจะโชคร้าย ที่มีถิ่นที่อาศัยอยู่ ในแถบบริเวณชายแดนระหว่างระหว่าง เวียดนามเหนือ และใต้ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสารเคมีที่ใช้ในระหว่างสงคราม แต่อาจจะมีส่วน ที่เหลือรอดจากสารเคมีและ การทำลายแหล่งอาศัยแต่เราไม่อาจทราบได้ว่ามีจำนวนเท่าไร


ไก่ฟ้า Edwards's Pheasant/L.edwardsi

ไก่ฟ้าอีกชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ทั้งยังมีลักษณะคล้ายกันมากคือ ไก่ฟ้า Edwards's Pheasant/L.edwardsi ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก่อนไก่ฟ้า Imperial Pheasant แต่ก็เป็นไก่ฟ้าที่ตกใจง่ายและหาดูได้ยากในธรรมชาติเช่นเดียวกัน เรารู้จักไก่ฟ้าชนิดนี้ครั้งแรกเมื่อซากของมันถูกเก็บไว้ได้ในปี พ.ศ. 2438 พอถึงปี พ.ศ. 2468 ไก่ฟ้ายังมีชีวิตจึงได้ถูกส่งเข้าไปในยุโรป มีรายงานเกี่ยวชะตากรรมของไก่ฟ้า Edwards's Pheasant อยู่หลายครั้งในระหว่างสงครามเวียดนาม ให้มีรายงานหนึ่งปากว่าพบพวกมันในป่าชั้นรอง หลังจากที่ป่าสมบูรณ์ได้ลูกทำลายไปสำหรับสถานะภาพที่แท้จริงของพวกมันในสถานภาพที่แท้จริงของพวกมันในธรรมชาตินั้นยากที่จะรู้ได้ ส่วนในกรงเลี้ยงเป็นที่ทราบกันดีว่า ไก่ฟ้า Edwards's Pheasant เป็นตัวที่มีนิสัยที่ชอบอวดโฉด เช่นเดียวกับไก่ฟ้าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชอบทำขนหงอนสีขาวบนหัวให้ตั้งขึ้น พร้อมทั้งพองขนบนหลังออกและขยับปีกอย่างรวดเร็วเพื่อให้มีเสียงดังในขณะที่เต้นโชว์ในรอบๆ ตัวเมีย


ไก่ฟ้า Bulwer's Pheasant /L.bulweri

ไก่ฟ้า Bulwer's Pheasant /L.bulweri บนเกาะบอร์เนียวตัวผู้จะมีเหนียงที่หน้ายาวมากและมีสีสันที่หน้าทึ่งในเวลาที่อวดโฉมซึ่งเหนียงจะมีสีฟ้าสดใสและที่ขอบจะเป็นสีดำ ซึ่งตัดกับสีแดงของตาและหนังที่หน้าและถูกตัดกันยิ่งขึ้นเพราะมีขนหางเป็นสีขาวซึ่งมีจำนวนขนมากกว่าไก่ฟ้าชนิดใด ซ้อนทับกันจนแบนราบ แต่ต่อมจะค่อย ๆแผ่ออกจนเป็นรูปพัดสีขาว ขนหางนี้จะอยู่เหนือหลังจนกระทั่งจรดกับหัว ขนหางเส้นนอกสุดจะเป็นปลายแหลมซึ่งจะคราดไปตามพื้น และทำให้เกิดเสียงดังกรอบแกลบเวลาที่กระทบกับใบไม้ชอบอาศัยอยู่ตามริมลำธารในแถบป่าลึกที่ห่างไกลบนเกาะบอร์เนียวขึ้นไปจนถึงความสูง 670 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางและเช่นเดียวกับนกป่าชนิดอื่น ๆของเกาะบอร์เนียวปัญหาใหญ่ของพวกมันคือการสูญเสียที่อยู่อาศัย เกือบทั้งหมดของป่าดงดิบที่สมบูรณ์บนเกาะใหญ่แห่งนี้ถูกจับจองไว้โดยบริษัททำไม้ แต่ไก่ฟ้าชนิดนี้ได้มีการขยายพันธุ์ในกรงบ้างแล้ว จึงเป็นความหวังในการรักษาเผ่าพันธุ์ของนกชนิดที่หายากชนิดนี้เอาไว้

ไก่ฟ้า Swinhoe's Pheasant / L. swinhiij

ไก่ฟ้า Swinhoe's Pheasant / L. swinhiij มีถิ่นกำเนิดอยู่บนเกาะไต้หวันเป็นไก่ฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่มีสีสันสวยงามจนหน้าทึ่งซึ่งมักจะสร้างความตื่นเต้นให้กับทุกคนที่ได้พบเห็นตอนที่พวกมันอวดโฉมเพื่อเกี้ยวพาราสี ตัวเมีย ขนสีขาวบนหลังและหางพองออกมาในขณะที่หนังสีแดงที่หน้าจะตั้งแข็งขึ้นนกตัวผู้จะผงกหัวขึ้นลงและทำตัวหลุกหลิกไม่อยู่นิ่ง พร้อมทั้งขยับปีกให้มีเสียงออกมาไก่ฟ้า Swinhoe's Pheasant จะถูกนำไปผสมพันธุ์ในกรงครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2409 ขณะนี้ในธรรมชาติพวกมันกำลังถูกคุกคามด้วนแรงบีบรอบด้านสำหรับถิ่นอาศัยป่าไม้ได้ถูกทำลายลงสำหรับการเกษตรกรรม , เหมืองแร่,เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า,การท่องเที่ยว และการตัดถนนซึ่งทั้งหมดเป็นผลกระทบจากกระแสการพัฒนาประเทศ แม้ว่าพื้นที่ป่าที่สงวนไว้สำหรับไก่ฟ้า Swinhoe's Pheasant และMikado Pheasant / Syrmaticus mikado ที่มีหางยาวแต่ก็ไม่ได้ผลมากนักไก่ฟ้าทั้งสองชนิดยังคงถูกดักจับเพื่อทำมาขาย ทั้ง ๆที่อยู่ในเขตสงวน แม้ว่าจะได้มีการนำไก่ฟ้าที่เกิดจากรางเลี้ยงกลับปล่อยธรรมชาติ เป็นระยะๆ แต่ผลสำเร็จของการปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติคงจะขึ้นอยู่กับการป้องกัน การดักจับไก่ฟ้าในธรรมชาติและการทำลายแหล่งอาศัย



ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...