งูเหลือม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Python reticulatus Fitzinger, 1843
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Reptilia
ชั้นย่อย Lepidosauria
อันดับ Squamata
อันดับย่อย Serpentes
วงศ์ใหญ่ Henophidia
วงศ์ Pythonidae
งูเหลือม (Reticulated Python) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูขนาดใหญ่ ลำตัวยาวเฉลี่ยประมาณ 1 - 5 เมตร จัดเป็นงูที่ยาวและใหญ่ที่สุดในโลก มีปากขนาดใหญ่และฟันแหลมคม ขากรรไกรแข็งแรงมากและสามารถถอดขากรรไกรในการกลืนเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ได้[1] เกล็ดบริเวณลำตัวตั้งแต่ปลายหัวจรดปลายหางมีสีเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล พื้นของตัวสีน้ำตาลแดง มีลายแบ่งเป็นวงมีหลายสี ที่บริเวณส่วนหัวมีเส้นศรสีดำจนเกือบถึงปลายปาก หัวเด่นแยกออกจากคออย่างชัดเจน ปลายหางยาวแหลม เกล็ดเรียบเรียงเป็นแถวได้ระหว่าง 69 ถึง 74 แถวที่บริเวณกลางลำตัว เกล็ดทวารเป็นแผ่นเดี่ยว มีเดือยสั้น 1 คู่โผล่ออกมา มีอวัยวะรับความร้อน (Pits) ที่ขอบปากบนและล่าง ใต้ท้องสีขาว มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวคือ มีเกล็ดสีดำเรียงตัวกันเป็นแถวซิกแซกเป็นวงค่อนข้างมีระเบียบ ภายในเกล็ดสีดำมีเกล็ดสีเหลืองเป็นขอบในและมีเกล็ดสีเหลืองบนเทาอยู่ภายใน เกล็ดบริเวณใต้ท้องมีสีครีมหรือเหลืองอ่อน
งูเหลือมนั้นจัดในอยู่ประเภทงูไม่มีพิษ เลื้อยช้าๆ และอาจดุตามสัญชาติญาณเมื่อมีศัตรู ออกหากินกลางคืน หากินทั้งบนบกและในน้ำ อาศัยนอนตามโพรงดินโพรงไม้ในที่มืดและเย็น หลาย ๆ วันจึงจะออกหากินครั้งหนึ่ง งูเหลือมกินสัตว์แทบทุกชนิดโดยมักดักซุ่มรอเหยื่อบนต้นไม้ เมื่อได้จังหวะจะทิ้งตัวลงมารัดเหยื่อยจนขาดอากาศหายใจ มีสีและลายกลืนไปกับธรรมชาติ สืบพันธุ์คล้ายงูหลาม แต่มีระยะฟักไข่ 3 เดือน ลูกงูที่ออกจากไข่มีความยาวประมาณ 55 เซนติเมตร กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นก หนู หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางเช่น เก้ง สุนัข กระต่าย หนู ไก่ เป็ด นก อาศัยอยู่ได้ในป่าทุกประเภท ชอบอาศัยในที่ชื้น พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
จากเวป วิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น