งูหลามปากเป็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python curtus หรือ Python curtus curtus
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Reptilia
อันดับ Squamata
อันดับย่อย Serpentes
วงศ์ Pythonidae
สกุล Python
สปีชีส์ P. curtus
สปีชีส์ย่อย Python curtus curtus
Python curtus breitensteini
งูหลามปากเป็ด เป็นงูที่เล็กที่สุดในสกุล Python อันเป็นสกุลเดียวกับงูหลามและงูเหลือม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python curtus หรือ Python curtus curtus เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวที่อ้วน หนา กว่างูหลามและงูเหลือม แต่มีหางที่สั้นแลดูไม่สมส่วน และมีลวดลายที่แปลกออกไป มีหลายหลากสี ทั้งน้ำตาล แดง เหลือง ส้ม หรือ เขียว โดยงูแต่ละตัวจะมีสีสันและลวดลายต่างกันออกไป ขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1.50 เมตร
พบในประเทศไทยตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ลงไป จนถึงมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นงูที่ไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ มักจะซุ่มรออาหารตามพื้นดินที่เฉอะแฉะใกล้แหล่งน้ำ ที่โดยมากเป็นสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก งูหลามปากเป็ดวางไข่ครั้งละประมาณ 10-15 ฟอง ที่บอร์เนียวมีสายพันธุ์ย่อยอีกชนิดหนึ่ง คือ Python curtus breitensteini ด้วย เป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมสัตว์เลื้อยคลานเพราะมีความสวยงาม
จากเวป วิกิพีเดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python curtus หรือ Python curtus curtus
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Reptilia
อันดับ Squamata
อันดับย่อย Serpentes
วงศ์ Pythonidae
สกุล Python
สปีชีส์ P. curtus
สปีชีส์ย่อย Python curtus curtus
Python curtus breitensteini
งูหลามปากเป็ด เป็นงูที่เล็กที่สุดในสกุล Python อันเป็นสกุลเดียวกับงูหลามและงูเหลือม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python curtus หรือ Python curtus curtus เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวที่อ้วน หนา กว่างูหลามและงูเหลือม แต่มีหางที่สั้นแลดูไม่สมส่วน และมีลวดลายที่แปลกออกไป มีหลายหลากสี ทั้งน้ำตาล แดง เหลือง ส้ม หรือ เขียว โดยงูแต่ละตัวจะมีสีสันและลวดลายต่างกันออกไป ขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1.50 เมตร
พบในประเทศไทยตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ลงไป จนถึงมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นงูที่ไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ มักจะซุ่มรออาหารตามพื้นดินที่เฉอะแฉะใกล้แหล่งน้ำ ที่โดยมากเป็นสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก งูหลามปากเป็ดวางไข่ครั้งละประมาณ 10-15 ฟอง ที่บอร์เนียวมีสายพันธุ์ย่อยอีกชนิดหนึ่ง คือ Python curtus breitensteini ด้วย เป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมสัตว์เลื้อยคลานเพราะมีความสวยงาม
จากเวป วิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น