เป็น วัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนยาว ตัวสีดำหรือดำแกมน้ำตาล เว้นแต่ที่ตรงหน้าผากและครึ่งล่างของขาทั้ง 4 เป็นสีขาวเทา ๆ หรือเหลืองอย่างสีทอง เรีบกว่า "หน้าโพ" ขาทั้ง 4 ข้างตั้งแต่เหนือเข่าลงไปถึงกีบเท้ามีสีขาวเทาหรือเหลืองทอง ทำให้มองดูเหมือนสวมถุงเท้า สีขนของกระทิงบริเวณหน้าผากและถุงเท้าเกิดจากคราบน้ำมันในเหงื่อซึ่งเป็น ลักษณะเฉพาะของสัตว์ชนิดนี้ คอสั้น และมีพืม (เหนียงคอ) ห้อยยาวลงมาจากใต้คอ เขามีสีเขียวเข้ม ปลายเขามีสีดบริเวณโคนเขามีรอยย่นซึ่งรอยนี้จะมีมากขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น
กระทิง ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ลูกที่เกิดขึ้นจะมีสีน้ำตาลแกมแดงเหมือนสีขนของเก้งมีเส้นสีดำพาดกลางหลัง ลูกกระทิงขนาดเล็กจะยังไม่มีถุงเท้าเหมือนกระทิงตัวโต มีความยาวลำตัวและหัว 250 - 300 ซ.ม. หาง 70 - 105 ซ.ม. ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ 170 - 185 ซ.ม. น้ำหนัก 650 - 900 ก.ก. โดยตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของจีน อินเดีย ภูฐาน เนปาล พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย โดยแบ่งออกได้เป็นพันธุ์ย่อย (Subspecies) 5 สายพันธุ์ คือ Bos gaurus laosiensis พบในพม่าถึงจีน Bos gaurus gaurus พบในอินเดียและเนปาล Bos gaurus readei, Bos gaurus hubbacki พบในไทยและมาเลเซีย และ Bos gaurus frontalis หรือกระทิงเขาทุย มีเขาที่สั้น เชื่อว่าเป็นลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวบ้าน พบในอินเดีย
มีพฤติกรรมอาศัย อยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2 - 60 ตัว สมาชิกในฝูงประกอบด้วยตัวเมียและลูก บางครั้งอาจเข้าไปหากินรวมฝูงกับวัวแดงหรือสัตว์กินพืชชนิดอื่น ตัวผู้มักอาศัยอยู่ตามลำพังแต่จะเข้าไปอยู่รวมฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ฝูงกระทิงจะเดินหากินสลับไปกับการนอนหลับพักผ่อนตลอดทั้งวัน โดยบางตัวจะนอนหลับท่ายืนหรือนอนราบกับพื้น สามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังป่าดิบแล้งป่าดิบเขา หรือบางครั้งก็อาจเข้าไปหากินอยู่ตามไร่ร้างหรือป่าที่อยู่ในสภาพฟื้นฟูจาก การทำลาย มักหากินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเนื่องจากอดน้ำไม่เก่ง ช่วงฤดูหลังไฟไหม้ป่า จะออกหากินยอดไม้อ่อนและหญ้าระบัดที่มีอยู่มากตามทุ่งหญ้า และป่าเต็งรัง สถานะในประเทศไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 พบเพียงที่เดียว คือ เขาแผงม้า ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และสถานะในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในระดับ CR (Critically Endangered) หมายถึงมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในพื้นที่ธรรมชาติขณะนี้
กระทิง มีชื่อเรียกอื่นว่า "เมย" เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป
กระทิง มีรูปร่างคล้ายวัว ขนตามลำตัวสั้นเป็นมันสีดำ ขาสีขาวนวลคล้าย สวมถุงเท้า บริเวณหน้าผากมีหน้าโพธิ์สีเทาปนเหลือง สันกลางหลังสูงมีเขาทั้งตัวผู้และ ตัวเมีย เขาโค้ง โคนเขามีสีเหลืองปลายเขาดำ ใต้ผิวหนังมีต่อมน้ำมัน กลิ่นฉุนเล็กน้อย
ลักษณะนิสัย
ชอบ อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบที่อยู่ห่างไกล ทั้งป่าทุ่งหญ้าและป่าภูเขา ตามปกติไม่ดุร้ายเว้นแต่ถูกทำร้ายหรืออยู่ในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่มักอยู่รวมกันเป็นฝูงและไม่ชอบนอนปลัก
ถิ่นอาศัย
พบ ในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย พม่า อินโดจีน มาเลเซียและ ไทยในป่าเมืองไทยสามารถจำแนกได้ 2 สายพันธุ์ย่อย คือ Bos gaurus readei เป็นสายพันธุ์ที่พบทางป่าภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและอีสาน อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ Bos gaurus hubbachi พบทางภาคใต้และเทือกเขาตะนาวศรี
อาหาร
กระทิงชอบกินดินโป่ง หญ้า หน่อไม้ ใบไม้อ่อน และผลไม้ป่าบางชนิดเป็นอาหาร
การสืบพันธุ์
สามารถ ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ตัวเมียตั้งท้องนาน 9 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีอายุยืน 25-30 ปี
สถานภาพปัจจุบัน
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
จากเว็ป วนกรด็อทคอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น