วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เม่นใหญ่แผงคอยาว



เม่นใหญ่แผงคอยาว



ชื่อไทย
เม่นใหญ่, เม่นใหญ่แผงคอยาว
ชื่ออังกฤษ
Malayan Porcupine
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hystrix brachyura
อาณาจักร
Animalia
ไฟลัม
Chordata
ชั้น
Mammalia
อันดับ
Rodentia
วงศ์
Hystricidae


เม่นเป็นสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนู ความยาวตั้งแต่จมูกถึงโคนหาง 63-70 เซนติเมตร หนัก 3-7 กิโลกรัม สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ก็คือ มีหนามแหลมแข็งขึ้นบริเวณหลัง หนามของเม่นมีลักษณะกลวง โคนและปลายหนามสีขาว ตรงกลางสีดำ จมูกป้าน ไม่แหลมอย่างหนู หนวดยาวสีดำ ขนใต้คอสีขาว บริเวณหัวและส่วนด้านหน้าปกคลุมด้วยขนสั้นสีน้ำตาล
การป้องกันตัวของเม่นคือการวิ่งหนี ถ้าศัตรูไล่ตามมันจะหยุดอย่างทันที ถ้าศัตรูหยุดตามไม่ทันก็จะต้องชนเข้ากับหนาม หนามของเม่นหลุดง่าย จึงมักปักคาอยู่ตามปาก จมูก และอุ้งตีนศัตรู สร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก
เม่นพบแถบภาคใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อาศัยได้ในป่าทุกชนิด ขุดโพรงอยู่ใต้ดิน ออกจากโพรงมาหากินเวลากลางคืนโดยลำพัง อาหารได้แก่รากไม้ เปลือกไม้ และผลไม้ที่ตกอยู่ตามพื้นป่า นอกจากนี้เม่นยังชอบแทะกระดูกสัตว์ด้วย
เม่นผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 2 ปี ตั้งท้องนาน 4 เดือนก็ออกลูก ลูกครอกหนึ่งมีประมาณ 1-3 ตัว ลูกเม่นแรกเกิดหนามยังอ่อนนิ่มอยู่ หลังจากนั้นจึงค่อยแข็งขึ้น
ในแหล่งเพาะเลี้ยง เม่นมีอายุได้ถึง 30 ปี
มีลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าเม่นชนิดอื่น มีขนบนสันคอเป็นเส้นอ่อน ๆ ตั้งขึ้นดูคล้ายกับแผงคอ ขนตามลำตัวท่อนหน้าสีน้ำตาลไหม้เป็นขนค่อนข้างสั้น ส่วนขนตามลำตัวท่อนหลังเป็นขนยาวมีสีขาวและมีวงรอบขนสีดำอยู่กลางขน นิสัย
สามารถปรับตัวให้อาศัยในหลากหลายสภาพแวดล้อม หากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบอยู่ในโพรงดิน เมื่อพบศัตรูจะแสดงอาการขู่ โดยกระทืบเท้า ตั้งขนขึ้นและหางทำให้เกิดเสียงดัง เม่นไม่สามารถสลัดขนไล่ศัตรูได้

ถิ่นอาศัย

พบในป่าทุกชนิด อาศัยตามโพรงดิน ซอกหินตามป่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว


อาหาร

ผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ เปลือกไม้บางชนิด ผลไม้ กระดูกสัตว์ เขาสัตว์

การสืบพันธุ์

เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว

สถานภาพปัจจุบัน

สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...