วัวแดง (Bos javanicus)
ลักษณะทั่วไป
เป็นวัวป่าชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายวัวบ้าน แต่มีลักษณะสำคัญที่ต่างไปจากวัวบ้านและกระทิง คือมีวงก้นขาวทั้งในตัวผู้และตัวเมีย มีเส้นขาวรอบจมูก ขาทั้ง 4 ข้างมีสีขาวตั้งแต่หัวเขาจนถึงกีบเท้า ระหว่างโคนขาของตัวผู้ไม่มีขน แต่เป็นหนังตกกระแข็ง ๆ เรียกว่า "กระบังหน้า" ความยาวลำตัวและหัวประมาณ 190 - 255 เซนติเมตร หางยาว 65 - 70 เซนติเมตร สูงประมาณ 155 - 165 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 600 - 800 กิโลกรัม
ลักษณะนิสัย
ชอบหากินอยู่เป็นฝูง ๆ ไม่ใหญ่นัก ราว 10-15 ตัว ปกติจะเริ่มออกหากินตั้งแต่ ตอนพลบค่ำไปจนถึงเช้าตรู่ กลางวันนอนหลบตามพุ่มไม้ทึบ ชอบอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าทุ่ง ชอบกินดินโป่งไม่ชอบนอนแช่ปลัก รักสงบ ปกติไม่ดุร้าย หากินโดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง
ถิ่นอาศัย
พม่า ไทย ชวา บอร์เนียว ซาราวัค กัมพูชา เวียดนาม สำหรับประเทศไทยพบได้ทุกภาค
อาหาร
หญ้าอ่อน ๆ ใบไผ่อ่อน หน่อไม้อ่อน ลูกไม้ป่าบางชนิด ใบไม้ ยอดอ่อนของพืช ดอกไม้ป่าบางชนิด
การสืบพันธุ์
เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 2 ปีเศษ ระยะตั้งท้องนาน 8-10 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
สถานภาพปัจจุบัน
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ข้อมูลเพิ่มเติม
วัวแดง (Bos Javanicus) จัดอยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Order Artiodactyla) วงศ์มหิงสา (Family Bovidae) วัวแดงมีลักษณะคล้ายวัวบ้าน (Bos Taurus) และคล้ายกับวัวเลี้ยงในเอซียตะวันออกเฉียงใต้มาก ลูกวัวแดงที่เกิดใหม่มีสีน้ำตาลเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลแดงเพศผู้ที่มีอายุมากๆ มีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลดำ ลักษณะที่แตกต่างจากวัวบ้าน หรือกระทิง คือ ที่วงก้นมีสีขาวทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีเส้นสีขาวรอบจมูก ตา และรอบปาก มีแถบสีดำกลางหลังชัดเจนจากไหล่จนถึงโคนหาง ระหว่างโคนเขาของเพศผู้ไม่มีขนแต่มีหนังตกกระแข็ง เรียกว่า กระบังหน้า ส่วนเพศเมียมีขนที่โคนเขา ที่เท้าทั้งสี่จากปลายเท้าจนถึงเข่ามีสีขาวลักษณะเหมือนสวมถุงเท้าคล้ายกระทิง เขาของวัวแดงไม่มีการผลัดเขา และไม่มีการแตกกิ่ง มีเขาทั้ง 2 เพศ เขาของเพศเมียจะเล็กกว่าเพศผู้ (โอภาส,2518)
การศึกษาเรื่องที่อยู่อาศัยของวัวแดง มีการศึกษาค่อนข้างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษากับกลุ่มประชากรในธรรมชาติ เช่น การศึกษาสถานภาพของวัวแดงในชวา และบาหลี (Asby and Santiapillai,1988) และการใช้วิทยุส่งสัญญาณติดวัวแดง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (ธีรภัทร, 2530 และ Prayurasiddhi, 1977) ซึ่งจากการศึกษาครั้งล่าสุด พ.ศ.2537-2538 พบว่าวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งใช้พื้นที่ประมาณ 327 เฮกตาร์(52.32 ไร่) ในช่วงฤดูฝน และ 237 เฮกตาร์(37.92 ไร่) ในช่วงฤดูแล้ง มักเลือกพื้นที่ราบหรือเป็นเนินเล็กน้อย ในป่าเบญจพรรณ(Prayusiddhi,1997) ส่วนพื้นที่อาศัยของวัวแดงในคอกเลี้ยงที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียน ก่อนการปล่อยเมื่อปี พ.ศ.2530 มี 2 ขนาด คือ คอกเลี้ยงขนาด 4 ไร่ กับ 2000 ไร่ หลังจากการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติยังไม่มีการศึกษาขนาดพื้นที่อาศัยที่แน่นอน
ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง วัวแดงเลือกกินอาหารมากกว่า 200 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นใบไม้ หญ้า พืชล้มลุก ไผ่ และเปลือกไม้ ตามลำดับ ในคอกเลี้ยงก่อนการปล่อยวัวแดงจะได้รับอาหารสำเร็จรูป หญ้า กล้วย มันเทศ และพืชที่ขึ้นอยู่ในกรมเลี้ยง นอกจากนี้มีการให้ก้อนเกลือแร่เป็นอาหารเสริม ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติยังไม่มีการศึกษาชนิด และคุณภาพของอาหารที่วัวแดงเลือกใช้ วัวแดงสืบพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม และ มิถุนายน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9.5 - 10 เดือน เพศเมียสามารถสืบพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี แต่เพศผู้ต้องมีอายุมากกว่านี้เล็กน้อย หลังคลอดลูก 6 - 8 เดือน เพศเมียจะพร้อมผสมพันธุ์อีกครั้ง วัวแดงสามารถมีลูกได้ทุกปี อายุยืนประมาณ 20 - 25 ปี (Lekagul and McNeely,1997)
วัวแดงกับวัวบ้านที่เลี้ยงอยู่ทั่วไปมีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน และสามารถผสมข้ามพันธุ์กันได้ เช่น ในอินโดนีเซียมีการผสมข้ามพันธุ์มานานกว่า 1,500 ปี ทำให้ลูกผสมที่ได้มีเนื้อที่มีคุณภาพดีกว่า ไขมันต่ำอัตราการแลกเนื้อสูงกว่า สามารถเลี้ยงในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งและอากาศร้อนได้ดี นอกจากนั้ยังมีความฉลาดสามารถฝึกเพื่อใช้แรงงานได้ดี และยังทนทานต่อโรคระบาดได้ดีอีกด้วย (National Research Coucil, 1983)
จากปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และการลักลอบล่าสัตว์ ตลอดจนการเปลี่ยนพื้นที่อาศัยของสัตว์ป่าไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม รวมไปถึงอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนขนาดใหญ่ ส่งผลให้สัตว์ป่าหลายชนิดไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย หรือถูกล่าจนหมดไปจากพื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของสัตว์ป่าชนิดนั้นๆ เชนเดียวกับวัวแดง (Bos javanicus) และกระทิง (Bos gaurus) ก็เป็นสัตว์ป่าอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจนทำให้ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติ ตามการจัดของ IUCN (IUCN. 2000) และสำนักงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Humphrey and Bain, 1990 และประทีป, 2543) ปัจจุบันวัวแดงมีการกระจายอยู่ในประเทศพม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ซาบาห์ กาลิมันตันชวา และบาหลี)
จากเวป วนกรด็อทคอม และ เวป โอเคเนชั่นด็อทเน็ต
สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ข้อมูลเพิ่มเติม
วัวแดง (Bos Javanicus) จัดอยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Order Artiodactyla) วงศ์มหิงสา (Family Bovidae) วัวแดงมีลักษณะคล้ายวัวบ้าน (Bos Taurus) และคล้ายกับวัวเลี้ยงในเอซียตะวันออกเฉียงใต้มาก ลูกวัวแดงที่เกิดใหม่มีสีน้ำตาลเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลแดงเพศผู้ที่มีอายุมากๆ มีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลดำ ลักษณะที่แตกต่างจากวัวบ้าน หรือกระทิง คือ ที่วงก้นมีสีขาวทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีเส้นสีขาวรอบจมูก ตา และรอบปาก มีแถบสีดำกลางหลังชัดเจนจากไหล่จนถึงโคนหาง ระหว่างโคนเขาของเพศผู้ไม่มีขนแต่มีหนังตกกระแข็ง เรียกว่า กระบังหน้า ส่วนเพศเมียมีขนที่โคนเขา ที่เท้าทั้งสี่จากปลายเท้าจนถึงเข่ามีสีขาวลักษณะเหมือนสวมถุงเท้าคล้ายกระทิง เขาของวัวแดงไม่มีการผลัดเขา และไม่มีการแตกกิ่ง มีเขาทั้ง 2 เพศ เขาของเพศเมียจะเล็กกว่าเพศผู้ (โอภาส,2518)
การศึกษาเรื่องที่อยู่อาศัยของวัวแดง มีการศึกษาค่อนข้างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษากับกลุ่มประชากรในธรรมชาติ เช่น การศึกษาสถานภาพของวัวแดงในชวา และบาหลี (Asby and Santiapillai,1988) และการใช้วิทยุส่งสัญญาณติดวัวแดง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (ธีรภัทร, 2530 และ Prayurasiddhi, 1977) ซึ่งจากการศึกษาครั้งล่าสุด พ.ศ.2537-2538 พบว่าวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งใช้พื้นที่ประมาณ 327 เฮกตาร์(52.32 ไร่) ในช่วงฤดูฝน และ 237 เฮกตาร์(37.92 ไร่) ในช่วงฤดูแล้ง มักเลือกพื้นที่ราบหรือเป็นเนินเล็กน้อย ในป่าเบญจพรรณ(Prayusiddhi,1997) ส่วนพื้นที่อาศัยของวัวแดงในคอกเลี้ยงที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียน ก่อนการปล่อยเมื่อปี พ.ศ.2530 มี 2 ขนาด คือ คอกเลี้ยงขนาด 4 ไร่ กับ 2000 ไร่ หลังจากการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติยังไม่มีการศึกษาขนาดพื้นที่อาศัยที่แน่นอน
ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง วัวแดงเลือกกินอาหารมากกว่า 200 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นใบไม้ หญ้า พืชล้มลุก ไผ่ และเปลือกไม้ ตามลำดับ ในคอกเลี้ยงก่อนการปล่อยวัวแดงจะได้รับอาหารสำเร็จรูป หญ้า กล้วย มันเทศ และพืชที่ขึ้นอยู่ในกรมเลี้ยง นอกจากนี้มีการให้ก้อนเกลือแร่เป็นอาหารเสริม ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติยังไม่มีการศึกษาชนิด และคุณภาพของอาหารที่วัวแดงเลือกใช้ วัวแดงสืบพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม และ มิถุนายน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9.5 - 10 เดือน เพศเมียสามารถสืบพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี แต่เพศผู้ต้องมีอายุมากกว่านี้เล็กน้อย หลังคลอดลูก 6 - 8 เดือน เพศเมียจะพร้อมผสมพันธุ์อีกครั้ง วัวแดงสามารถมีลูกได้ทุกปี อายุยืนประมาณ 20 - 25 ปี (Lekagul and McNeely,1997)
วัวแดงกับวัวบ้านที่เลี้ยงอยู่ทั่วไปมีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน และสามารถผสมข้ามพันธุ์กันได้ เช่น ในอินโดนีเซียมีการผสมข้ามพันธุ์มานานกว่า 1,500 ปี ทำให้ลูกผสมที่ได้มีเนื้อที่มีคุณภาพดีกว่า ไขมันต่ำอัตราการแลกเนื้อสูงกว่า สามารถเลี้ยงในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งและอากาศร้อนได้ดี นอกจากนั้ยังมีความฉลาดสามารถฝึกเพื่อใช้แรงงานได้ดี และยังทนทานต่อโรคระบาดได้ดีอีกด้วย (National Research Coucil, 1983)
จากปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และการลักลอบล่าสัตว์ ตลอดจนการเปลี่ยนพื้นที่อาศัยของสัตว์ป่าไปเป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม รวมไปถึงอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนขนาดใหญ่ ส่งผลให้สัตว์ป่าหลายชนิดไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย หรือถูกล่าจนหมดไปจากพื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของสัตว์ป่าชนิดนั้นๆ เชนเดียวกับวัวแดง (Bos javanicus) และกระทิง (Bos gaurus) ก็เป็นสัตว์ป่าอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจนทำให้ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติ ตามการจัดของ IUCN (IUCN. 2000) และสำนักงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Humphrey and Bain, 1990 และประทีป, 2543) ปัจจุบันวัวแดงมีการกระจายอยู่ในประเทศพม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ซาบาห์ กาลิมันตันชวา และบาหลี)
จากเวป วนกรด็อทคอม และ เวป โอเคเนชั่นด็อทเน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น