วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สมัน Cervus schomburgki

สมัน




ชื่อสามัญ
Schomburgk's Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cervus schomburgki
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์[ซ่อน]

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia

อันดับ Artiodactyla
วงศ์ Cervidae
วงศ์ย่อย Cervinae

สกุล Cervus
สปีชีส์ C. schomburgki



ลักษณะทั่วไป
สมันเป็นสัตว์จำพวกกวางที่มีกีบเท้าเป็นคู่ เท้าแต่ละข้างมีนิ้วเท้าเจริญดี 2 นิ้ว พัฒนารูปร่างเป็นกีบนิ้วเท้าแข็งขนาดใหญ่เท่า ๆ กัน 2 กีบ กระเพาะอาหารพัฒนาให้มี 4 ตอน รวมทั้งกระเพาะพักเพื่อย่อยอาหารจำพวกพืชโดยเฉพาะ มีต่อมน้ำตาเป็นแอ่งที่หัวตา ไม่มีถุงน้ำดี และที่สำคัญคือ มีเขาบนหัวที่เรียกว่า เขากวาง เฉพาะในตัวผู้ ลักษณะของเขาสวยงามมาก มีชื่ออีกอย่างว่า กวางเขาสุ่ม
ลักษณะนิสัย
ปกติแล้วสมันชอบอาศัยอยู่ตามป่าทุ่ง ตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ไม่ชอบอยู่ตามป่ารกทึบหรือป่าโคก อย่างกวางป่าหรือละมั่ง เนื่องจากเกะกะเขาบนหัว ซึ่งมีกิ่งรับหมายาวและทำมุมแหลมกับใบหน้า และกิ่งก้านเขาซึ่งบานเป็นสุ่ม ทำให้สมันไม่สามารถมุดลอดได้ เพราะกิ่งก้านเขาจะได้ขัดหรือเกี่ยวพันกับกิ่งไม้หรือเถาวัลย์ได้ มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงครอบครัวเล็ก ๆ ประกอบด้วยตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมียและลูก 2-3 ตัว ออกหากินหญ้าตามท้องทุ่งโล่งใกล้แม่น้ำน้ำในช่วงเย็นค่ำจนถึงเช้า ตอนกลางวันมักหลบแดดและซ่อนตัวอยู่ตามป่าละเมาะหรือพงหญ้าสูง ๆ และมักอาศัยร่วมถิ่นปะปนกับเนื้อทรายได้เสมอ ๆ
ถิ่นอาศัย
แหล่งที่อาศัยของสมันเคยมีอยู่เฉพาะ ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ภาคกลางของประเทศไทย มีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบกรุงเทพและหัวเมืองโดยรอบ ขอบเขตการกระจายพันธุ์มีตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นเหนือไปถึงจังหวัดสุโขทัย ด้านตะวันออกไปถึงจังหวัดนครนายก และฉะเชิงเทรา ด้านตะวันตกกระจายไปถึงจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังมีนักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า สมันน่าจะเคยมีในประเทศลาวและภาคใต้ของจีนด้วย แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันที่เชื่อถือได้จึงกล่าวได้ว่า สมันเป็นสัตว์พื้นเมืองเฉพาะถิ่นของประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก

อาหาร
หญ้า โดยเฉพาะหญ้าอ่อน ผลไม้ ยอดไม้ และใบไม้หลายชนิด

สถานภาพปัจจุบัน
สมันได้สูญพันธุ์ไปจากโลกและจากประเทศไทยเมื่อเกือบ 60 ปีที่แล้ว เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยได้ถูกเปลี่ยนเป็นนาข้าวเกือบทั้งหมด และสมันที่เหลืออยู่ตามที่ห่างไกลจะถูกล่าอย่างหนักในฤดูน้ำหลากท่วมท้องทุ่ง ในเวลานั้นสมันจะหนีน้ำขึ้นไปอยู่รวมกันบนที่ดอนทำให้พวกพรานล้อมไล่ฆ่าอย่างง่ายดาย สมันจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมซาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาของสมันไม่ให้มีการส่งออกนอกราชอาณาจักร




ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...