วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นกกระจาบทอง


นกกระจาบทอง / Asian Golden Weav

รูปร่างลักษณะ เป็นนกขนาดเล็ก ตัวผู้ และ ตัว เมีย นอกฤดูผสมพันธุ์ แทบไม่แตกต่างจากจากนกกระจาบธรรมดา ตัวผู้ และ ตัวเมีย นอกฤดูผสมพันธุ์ คือ สีลำตัวโดยทั่วไป เป็น สีน้ำตาล ท้อง เป็นสีน้ำตาล อ่อน แต่ มีข้อแตกต่างที่พอจะใช้จำแนกได้ คือ นกกระจาบทอง นอกฤดูผสมพันธุ์ จะมีสีเหลืองบริเวณข้างคอ ใต้คอ และ อก มากกว่า นอกจากนี้ ยังไม่มีลายที่อก ซึ่งแตกต่างจาก นกกระจาบอกลาย ลักษณะเด่น อีกอย่างหนึ่ง ของ นกกระจาบทอง คือ มีปากหนา อวบใหญ่ แต่สั้น กว่า นกกระจาบอีกสองชนิด , ม่านตาสี น้ำตาล แดง ขา สีชมพูอมน้ำตาล , แต่ที่ยากกว่า คือ การแยกนกตัวผู้และตัวเมีย ในขณะขนนอกฤดู ผสมพันธุ์ เนื่องจาก นกทั้งสองเพศคล้ายกันมาก ให้สังเกตจากนกที่เป็นตัวผู้ จะมีลายที่หลังและ ปีกเป็นสีเหลืองเข้มกว่านกตัวเมียเล็กน้อย และ มักมี แต้ม สีเหลืองบริเวณไหล่ และลำตัวด้านล่าง นอกจากนี้ นกกระจาบทอง จะมีขนเส้นเล็กๆ ประปรายอยู่บริเวณท้ายทอย ในขณะที่ นก กระจาบธรรมดา จะมีลายที่หลังเป็นสีดำ คล้ายลายของ นกกระจอกบ้าน

ในฤดูผสมพันธุ์ นกกระจาบทองตัวผู้ จะมีขนเป็นสีเหลืองทอง ตั้งแต่ กระหม่อม ท้อง ลงไปถึงขนคลุมใต้โคนหาง และ ตั้งแต่หลัง ลงไปถึง ขนคลุมหาง ด้านบน เป็นสีเหลืองทองเช่นกัน , ขนคลุมหู และ ใต้คอ สีดำ นกตัวเมีย ในฤดู ผสมพันธุ์ จะคล้ายนกกระจาบธรรมดาตัวเมีย แต่ จะมีคิ้วสีเหลืองเข้มกว่าเล็กน้อย ลายที่ปีกจะมีขอบขนเป็นสีเหลือง และ ขนคลุมหาง ด้านบน จะเจือ สีเหลืองมากกว่าเล็กน้อย , อก มีแถบสี น้ำตาลเข้มกว่าขนบริเวณท้องโดยรอบ ที่เป็นสีน้ำตาล อ่อน กว่า แต่อย่างไรก็ตาม การสังเกตลักษณะปาก ที่อวบ หนา ช่วยประกอบในการจำแนก ร่วมกับลักษณะอื่นๆได้ดี การที่นกกระจาบทอง และ นกกระจาบอกลาย มีลักษณะ การเลือกที่สร้างรังเหมือนกัน บางครั้ง อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในฤดูผสมพันธุ์ นกกระจาบทองตัวผู้ จะมีขนเป็นสีเหลืองทอง ตั้งแต่ กระหม่อม ท้อง ลงไปถึงขนคลุมใต้โคนหาง และ ตั้งแต่หลัง ลงไปถึง ขนคลุมหาง ด้านบน เป็นสีเหลืองทองเช่นกัน , ขนคลุมหู และ ใต้คอ สีดำ นกตัวเมีย ในฤดู ผสมพันธุ์ จะคล้ายนกกระจาบธรรมดาตัวเมีย แต่ จะมีคิ้วสีเหลืองเข้มกว่าเล็กน้อย ลายที่ปีกจะมีขอบขนเป็นสีเหลือง และ ขนคลุมหาง ด้านบน จะเจือ สีเหลืองมากกว่าเล็กน้อย , อก มีแถบสี น้ำตาลเข้มกว่าขนบริเวณท้องโดยรอบ ที่เป็นสีน้ำตาล อ่อน กว่า แต่อย่างไรก็ตาม การสังเกตลักษณะปาก ที่อวบ หนา ช่วยประกอบในการจำแนก ร่วมกับลักษณะอื่นๆได้ดี การที่นกกระจาบทอง และ นกกระจาบอกลาย มีลักษณะ การเลือกที่สร้างรังเหมือนกัน บางครั้ง อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน

แหล่งอาศัยหากิน ที่ราบลุ่ม มีน้ำขังแฉะ ทุ่งหญ้า ดงอ้อ ดงกก นาข้าว นอกฤดูเก็บเกี่ยว จะเข้าไปหากินในที่ราบต่ำ ทุ่งโล่ง ที่ใกล้แหล่ง น้ำ อาหาร ได้แก่ เมล็ดธัญพืช เมล็ดหญ้า บางครั้งกิน หนอน แมลง ไข่ และ ตัวอ่อน ของแมลง ที่พบตามพื้นดิน หรือใน กอหญ้า กอพืช

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบัน นกกระจาบทอง เหลือปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะในบางพื้นที่ ตามพื้นที่ลุ่ม ภาคกลาง เท่านั้น บริเวณที่เป็น ทุ่งนา ดงกก ดงอ้อ ดงธูปฤษี ตามแนวสองข้าง ถนน สายปทุมธานี - บางไทร บางบังทอง - สุพรรณบุรี วัดตาลเอน , แถบ อ.วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา , อุทยานแห่งชาติสามหลั่น , ทุ่งนาแถว รังสิต อยุธยา นครนายก สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท แต่แหล่งที่พบสม่ำเสมอ มากที่สุดคือบริเวณบึง บอระ เพ็ด จ.นครสวรรค์ นอกจากนี้ก็พบบ้างประปราย ที่ อ.สามโคก จ. ปทุมธานี และ บางแห่งตามแนวสองข้างถนน ระหว่าง จังหวัด ที่กล่าวมา แต่ทุกแห่งที่กล่าวมา พบในจำนวนน้อยมาก . ปัจจุบัน นกกระจาบทอง ของประเทศไทย อยู่ในภาวะถูกคุกคาม จนใกล้สูญพันธุ์


ข้อมูล จาก www.bird-home.com

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...