วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จิ้งเหลน


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Reptilia

(อันดับไม่จัดอันดับ) Sauria
อันดับ Squamata
อันดับฐาน Scincomorpha
วงศ์ Scincidae
Gray, 1825


ลักษณะ :ขนาดวัดจากปลายปากถึงก้น 50–56 มม. หางยาว 63–70 มม. ลูก จิ้งเหลนยาวตลอดทั้งตัว 50–53 มม. ขนาดเล็ก
หัวค่อนข้างกลม ลำตัวพองออกตอนกลางตัว แล้วคอดลงไปสู่หาง เกล็ดบนลำตัวมักมีสันบนเกล็ด 3-5 สัน แต่เกล็ดบนหางมีสันบนเกล็ด 4 สัน เกล็ดใต้ท้องเรียบ จำนวนแถวรอบตัวตรงกึ่งกลางลำตัว 30 แถว ลำตัวสีออกน้ำตาลหรือน้ำตาลออกแดงคล้ายสีทองแดงสีข้างสีออกคล้ำกว่า สันหลัง โดยเฉพาะตรงบริเวณด้านข้างคอ ซึ่ง มีแถบเล็ก ๆ สีขาวขลิบอยู่ทางด้านบน แถบสีขาวนี้จะค่อย ๆ จางไปทางด้านหลัง หลายตัวมีจุด แต้ม สีดำบริเวณเหนือโคนหาง ใต้ท้องสีขาวออกเหลือง ในฤดูผสมพันธุ์ทั้งสองเพศมีใต้คางสีออกส้ม คล้ำ ๆ ตัวเมียสีส้มจางว่า ตัวผู้

เขตแพร่กระจาย : เชื่อว่าการแพร่กระจายของจิ้งเหลนชนิดนี้ยังไม่แน่นอน เพราะน่าจะเป็นผลรวมของจิ้งเหลน2–3 ชนิด พบว่า มีการกระจายจากศรีลังกา อินเดีย บางส่วนของปากีสถาน พม่า เวียดนาม ลาว ไทยลงไปถึงตอนเหนือของมาเลเซียในเขตพื้นที่ป่า สะแกราช พบชุก ชุม ในสภาพป่าทุกแบบ ในฤดูแล้งพบมีจำนวนไม่มากนักในป่า ดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าปลูกเมื่อมีฝนตกในเดือนมีนาคมจำนวนตัวจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในป่า ดิบแล้งและป่าปลูกในฤดูฝนจำนวนตัวในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีก 2–3 เท่า และจำนวนนี้จะลดลงเมื่อถึงปลายฤดูฝน

ที่อยู่อาศัย :พบอาศัยอยู่เฉพาะบนพื้นดินในทุกสภาพป่า และในเขตรอบสถานีวิจัยฯ ในปริมาณที่ชุกชุมมากมีกระจายไปเกือบทุกหนทุกแห่ง มักซุก ตัวนอนใต้กองใบไม้แห้ง ใต้ท่อนไม้ล้ม ขอนไม้ผุก้อนหิน และในพูพอนต้น ไม้ต้น ไม้ขนาดใหญ่บางต้น มีจำนวนจิ้งเหลนมากถึง 10 ตัว ส่วนใหญ่พบอยู่เป็น คู่ๆ ในพูพอนหนึ่ง ๆ ในบริเวณอาคารในสถานีวิจัยฯ พบมาวิ่งหากินอยู่รอบๆ หรือเข้ามาในอาคารบ่อยมาก

อุปนิสัย :หากินโดยการมุดไปตามใต้วัสดุบนพื้นดิน ไม่ค่อยเห็นตัวนัก สังเกตได้จากการเคลื่อนไหวของใบไม้และกิ่งไม้หากถูก รบกวนจะวิ่งมุด ไปอย่างรวดเร็วเป็น ระยะประมาณ 3-5 ม. แล้ว จะหยุดนิ่ง เมื่อติดตามไปมัน จะวิ่งหนีไปอีกครั้งหนึ่ง แล้ว จะหยุด เป็น ระยะๆ จนกว่า จะถึงรูห รือโพรงที่อาศัยจึงจะมุด หนีหายไป

ฤดูผสมพันธุ์ ตกอยู่ในราวเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีฝนตกชุก ลูกที่ฟักออกจากไข่มาหากินอยู่ตามริมทางเดินและถนน โดยซ่อนตัวใต้กองใบไม้แห้งริมทาง ออกมาหากินบนทาง และหลบหนีเข้าไปซ่อนในกองใบไม้แห้ง ในช่วงเดือนกรกฎาคมนับจำนวนอัตราส่วนลูกต่อ ตัวเต็มวัยได้สูงถึง 4 : 1 ในทุกสภาพป่า

สถานภาพ :พบชุก ชุม มาก มีจำนวนประชากรสูงในทุกสภาพธรรมชาติและในฤดูฝนยังมีอัตราการเกิดของลูกในปีนี้สูงมากจิ้งเหลนหลากลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...