ชื่อไทย หมูขาว
ชื่อสามัญ Yellow - Tail botia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Botia modesta
ลักษณะทั่วไป ปลาหมูขาวมีลักษณะลำตัวจากปลายจะงอยปากถึงโคนครีบหางเป็น 2.5 - 2.9 เท่าของความกว้างลำตัว ลำตัวเป็นสีเทาหรือเทาอมเขียว บริเวณด้านหลังสีเข้มกว่าลำตัว ด้านท้องสีอ่อนหรือขาว บริเวณโคนหางมีจุดสีดำ จะงอยปากค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมีหนวด 2 คู่ และมุมปากมีหนวดอีก 1 คู่ ปากอยู่ปลายสุดและอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหัวมีหนามแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก ครีบทุกครีบไม่มีก้าน ครีบแข็ง ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลืองจนถึงสีส้มหรือแดง เฉพาะครีบหางจะมีสีสดกว่าครีบอื่น ๆ ครีบอกและครีบท้องมีสีเหลืองจาง ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบ 9 อัน ครีบก้น 8 อัน ครีบอก 12 - 15 อัน และครีบท้อง 7 - 9 อัน ปลาหมูขาวมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาหมูที่พบในประเทศไทย เท่าที่เคยพบมีขนาด 23.5 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบโดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 10 - 25 เซนติเมตร ลักษณะของลูกปลาหมูขาวขนาดเล็กจะแตกต่างกับปลาชนิดอื่นๆ คือ ส่วนหลังจะโค้งลาดเหมือนพ่อแม่ปลา และบริเวณกลางลำตัวจะมีลักษณะสีดำทอดไปตามความยาวของตัวปลา เมื่ออายุได้ 45 - 60 วัน และแถบสีดำที่พาดขวางลำตัวจะหายไปเมื่อลูกปลาโตขึ้นหรือมีอายุประมาณ 5 เดือน บุญยืนและวัฒนา (2533)
อาหารธรรมชาติ ได้แก่ ตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ตัวหนอน สัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ และซากสัตว์
สถานภาพ(ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
ชื่อสามัญ Yellow - Tail botia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Botia modesta
ลักษณะทั่วไป ปลาหมูขาวมีลักษณะลำตัวจากปลายจะงอยปากถึงโคนครีบหางเป็น 2.5 - 2.9 เท่าของความกว้างลำตัว ลำตัวเป็นสีเทาหรือเทาอมเขียว บริเวณด้านหลังสีเข้มกว่าลำตัว ด้านท้องสีอ่อนหรือขาว บริเวณโคนหางมีจุดสีดำ จะงอยปากค่อนข้างยาว ปลายจะงอยปากมีหนวด 2 คู่ และมุมปากมีหนวดอีก 1 คู่ ปากอยู่ปลายสุดและอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหัวมีหนามแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก ครีบทุกครีบไม่มีก้าน ครีบแข็ง ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลืองจนถึงสีส้มหรือแดง เฉพาะครีบหางจะมีสีสดกว่าครีบอื่น ๆ ครีบอกและครีบท้องมีสีเหลืองจาง ครีบหลังมีจำนวนก้านครีบ 9 อัน ครีบก้น 8 อัน ครีบอก 12 - 15 อัน และครีบท้อง 7 - 9 อัน ปลาหมูขาวมีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาหมูที่พบในประเทศไทย เท่าที่เคยพบมีขนาด 23.5 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบโดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 10 - 25 เซนติเมตร ลักษณะของลูกปลาหมูขาวขนาดเล็กจะแตกต่างกับปลาชนิดอื่นๆ คือ ส่วนหลังจะโค้งลาดเหมือนพ่อแม่ปลา และบริเวณกลางลำตัวจะมีลักษณะสีดำทอดไปตามความยาวของตัวปลา เมื่ออายุได้ 45 - 60 วัน และแถบสีดำที่พาดขวางลำตัวจะหายไปเมื่อลูกปลาโตขึ้นหรือมีอายุประมาณ 5 เดือน บุญยืนและวัฒนา (2533)
อาหารธรรมชาติ ได้แก่ ตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ตัวหนอน สัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ และซากสัตว์
สถานภาพ(ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ
จากเว็บ http://www.doae.go.th/pramong/defi/Yellow.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น