ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Tachardia lacca Kerr. หรือ Laccifer lacca Kerr.
ชื่อสามัญนั้นคือ Lac
วงศ์ Moraceae
ชื่อสามัญนั้นคือ Lac
วงศ์ Moraceae
แมลงครั่งเป็นเพลี้ยชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นแมลงเบียนของต้นไม้ จึงนับว่าเป็นศัตรูของไม้ที่อาศัย แมลงครั่งจะใช้ปากซึ่งเป็นงวงดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ เพื่อใช้เลี้ยงชีวิตและระบายยางครั่งที่มีลักษณะเหนียวสีเหลืองทองออกมากเป็นเกราะหุ้มตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรูต่าง ๆ ยางนี้เมื่อถูกอากาศจะแข็งตัวเรียกว่า "ครั่ง" การเจริญเติบโตของแมลงครั่งจะเจริญเติบโตจากไข่เป็นตัวอ่อน ดักแด้ และตัวแก่ ตามลำดับ
ไข่
มีรูปร่างเป็นรูปไข่ มีสีแดง ขนาดเล็กประมาณ 0.5 มม. มองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นจุดสีแดง ไข่แต่ละใบใช้เวลาวางประมาณ 1 นาที โดยครั่งตัวเมียจะหดตัวเข้ามาภายในทำให้เกิดช่องว่างภายในเซลการวางไข่ ไข่จะถูกวางภายในช่องว่าง ซึ่งอาจจะ ถูกฟักเป็นตัวในช่วงว่างนั้น จากนั้นลูกครั่งจะคลานออกมาทางช่องผสมพันธุ์ ไข่จะมีสภาพอยู่ได้นาน 8-20 นาที ก็จะถูกฟัก เป็นตัวอ่อนหรือลูกครั่งออกมา
ตัวอ่อนหรือลูกครั่ง
ลำตัวมีสีแดงเลือดนก ขนาดประมาณ 0.6 มม. ลักษณะรูปไข่ ส่วนหัวมีความกว้างกว่าส่วนท้าย ปากจะเป็นงวงดูด มีตา 2 ตา หนวดสีขาว 2 เส้น ที่ปลายหนวดแต่ละเส้นจะมีขนยาว 2 เส้น มี 6 ขา ลำตัวมี 9 ปล้อง ตรงปลายปล้องสุดท้ายจะมีเส้นผงสีขาวยาว 2 เส้น และปล้องที่อกจะมีกระจุกขนสีขาวข้างลำตัว 2 กระจุก ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นส่วนปีก ในระยะตัวอ่อนจะไม่สามารถแยกเพศผู้ หรือเพศเมีย เนื่องจากมีลักษณะรูปร่างเหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลูกครั่งจะออกหาที่ยึดเกาะยึดกิ่งไม้แล้ว จึงดูดกินน้ำเลี้ยง จากพืชเป็นอาหารแล้วจะไม่เคลื่อนย้ายที่อยู่อีกต่อไป ลูกครั่งจะเกาะเรียงตัวกันในพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร จะมีลูกครั่งประมาณ 220 ตัว และมักจะทำรังที่บริเวณด้านล่างของกิ่งอ่อน ต่อจากนั้นจะขับน้ำเหนียวมาหุ้มตัว แล้วเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ไปเป็นครั่งตัวผู้และครั่งตัวเมีย ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันในระยะเวลานาน 30 วัน จะเริ่มมองเห็นครั่งเกาะจับกิ่งไม้ขาวโพลน ซึ่งเกิดจากขนขี้ผึ้งสีขาวที่เกาะบนตัวรังครั่งโดยทั่วไปครั่งจำนวน 100 ตัว จะมีอัตราส่วนระหว่างครั่งตัวผู้กับครั่งตัวเมียประมาณ 30 ต่อ 70
ครั่งตัวผู้
จะมีขนาดใหญ่กว่าลูกครั่งเล็กน้อย มีการเจริญออกตามยาว จะเห็นชัดเมื่ออายุครั่ง 40 วัน ลำตัวยาวรี เมื่อครั่งตัวผู้เจริญเต็มที่จะเห็นรังครั่งเป็นสีเหลือง ด้านบนของตัวครั่งมีช่องกลม 1 ช่อง ใช้สำหรับเป็นทางออกของแมลงครั่งตัวผู้ โดยการถอยหลังออกมาจากปลอกดักแด้เพื่อไปผสมพันธุ์กับครั่งตัวเมียซึ่งเกาะแน่นอยู่กับที่
ครั่งตัวผู้เมื่อครั่งอายุ 55 วัน เซลครั่งตัวผู้จะโตเต็มที่ จะมีลำตัวสีแดง ขนาดโตเป็นสองเท่าของลูกครั่ง มีตา 2 ตา หนวดชัดเจน 2 เส้น ครั่งตัวผู้มี 2 ชนิด คือ ตัวผู้มีปีกกับตัวผู้ไม่มีปีก ตัวผู้ที่มีปีกจะสามารถบินไปผสมกับครั่งบนกิ่งไม้ต้นอื่นได้ ส่วนตัวผู้ไม่มีปีกจะคลานไปฟสมกับครั่งตัวเมียที่เกาะกิ่งต้นเดียวกัน ครั่งตัวผู้ไม่มีปีกมันจะออกตัวก่อนครั่งตัวผู้ที่มีปีก
การผสมพันธุ์ ครั่งตัวผู้จะสอดอวัยวะสืบพันธุ์แทงลงไปในช่องผสมพันธุ์ของครั่งตัวเมีย หลังจากผสมแล้ว ครั่งตัวผู้ จะตายไป ครั่งตัวผู้มีอายุนานประมาณ 3 วัน ส่วนครั่งตัวเมียจะเจริญเติบโตขยายตัวต่อไป
ครั่งตัวเมีย
เมื่อครั่งอายุ 30 วัน จะเห็นเซลครั่งตัวเมียมีสีแดงคล้ำมีรูปร่างไม่แน่นอน ลักษณะค่อนข้างกลม ลำตัวมีกระจุกขนสีขาว 3 จุด ที่กระจุกขนจะเห็นเป็นช่อรูกลม 3 ช่อง ด้านบนมี 2 ช่อง ใช้สำหรับเป็นช่องหายใจให้อากาศถ่ายเทเข้าออก และด้านล่างมี 1 ช่อง ใช้เป็นช่องขับถ่ายและใช้ผสมพันธุ์ ส่วนขนสีขาวใช้ป้องกันไม่ให้รูอุดตันและป้องกันฝุ่น
ครั่งตัวเมีย ตัวแก่รูปร่างคล้ายถุงนิ่ม ๆ มีสีแดง ไม่มีขาจึงไมมีการเคลื่อนที่นอกจากผลิตเรซิน จำนวนมากมายแล้วยังขับถ่ายน้ำฟวานออกมาอีกด้วย ซึ่งจะมีมดมากินน้ำหวานบนรังครั่งในช่วงวงจรชีวิต ครั่งระยะนี้นฃมดจะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงครั่ง และน้ำหวานนี้เป็นสาเหตุก่อให้เกิดราดำ ดังนั้นต้นไม้ที่มีครั่งเกาะอยู่จะเห็นใบไม้กิ่งไม้มักมีสีดำ เมื่อครั่งอายุได้ 60 วัน ก็จะเจริญเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์กับครั่งตัวผู้ หลังผสมพันธุ์แล้วภายในครั่งตัวเมีย จะประกอบไปด้วยน้ำเหลวสีแดง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของรังไข่และช่วยป้องกันความร้อนภายในตัวเมื่อครั่งมีอายุ 126 - 140 วัน รังไข่จะเจริญเต็มที่พร้อมที่จะวางไข่และฟักเป็นตัวออกมาทางช่องอวัยวะสืบพันธุ์ครั่งตัวเมียแต่ละตัวสามารถให้ลูกครั่งได้คราวละประมาณ 300 ตัว โดยฟักเป็นตัวอ่อนพร้อมกันแล้วแม่ครั่งจะเหลือเป็นถุงเปล่าแห้งตายไป นอกจากนี้ครั่งตัวเมียยังมีความสามารถในการพิทักษ์ลูกครั่ง โดยการปรับอุณหภูมิในร่างกาย โดยการปล่อยน้ำเรซินออกมาและสามารถควบคุมการออกตัวของลูกครั่งได้บ้าง โดยการเลือกกำหนดการออกตัวของลูกครั่ง หรือบังคับให้ลูกครั่งออกตัวก่อนกำหนด หรือหลังกำหนดได้ จะเห็นว่าครั่งบนไม้กิ่งหนึ่งลูกครั่งจะออกตัวไม่พร้อมกัน ครั่งตัวเมียที่สมบูรณ์ยังสามารถสืบพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ และยังสามารถให้อัตราส่วนครั่งตัวผู้ต่อครั่งตัวเมียเป็นไปตามปกติธรรมชาติ คือ 30 ต่อ 70
การสังเกตครั่งแก่เต็มที่พร้อมจะออกตัวลูกครั่ง ครั่งที่แก่เต็มที่จะสังเกตได้จากภายนอก จะเป็นจุดสีเหลืองบนรังครั่งใกล้ช่องขับถ่าย จุดสีเหลืองนี้จะขยายโตขึ้นทุกวัน ซึ่งเกิดจากครั่งหดตัวเล็กลง ทำให้เกิดช่องว่างภายในเซลระหว่างลำตัวกับผนังรังครั่ง ซึ่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นการรักษาความร้อนและอุณหภูมิภายในตัวได้พอเหมาะ และมีช่องว่างนี้จะเป็นที่วางไข่ และฟักเป็นตัวอ่อนออกมาเมื่อเริ่มมีลูกครั่งออกมาครั้งแรกจะเห็นว่าเริ่มมีมดมาคอยปากรูเพื่อคอยกินลูกครั่ง ดังนั้นจุดสีเหลืองนี้จะช่วยการคาดคะเนการออกตัวของลูกครั่งได้บ้าง นอกจากนี้ลักษณะรังครั่งจะมีรอยแตกร้าว รังแห้งเปราะแกะร่อนออกจากกิ่งไม้ได้ง่าย
ระยะการออกตัวของลูกครั่ง ครั่งจากไม้กิ่งหนึ่งจะใช้เวลาในการออกตัวของครั่งนานประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงจะหมดรัง ลูกครั่งในระยะที่ออกตัวใหม่ ๆ นี้จะยังไม่ต้องการอาหารจนกระทั่งมันสามารถหาที่ยึดเกาะจับกิ่งไม้ได้แล้ว ลูกครั่งจึงเริ่มเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงพืชเป็นอาหาร ลูกครั่งที่ไม่สามารถหาที่อยู่อาศัยเกาะกิ่งไม้ได้จะตายไปภายใน 2 - 3 วัน มักพบว่าครั่งจะเริ่มมีการออกตัวในตอนเช้า และจะมีการออกตัวมากในเวลากลางวัน
ดำเนินการเลี้ยงครั่ง
การเลี้ยงครั่งเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น แมลงครั่งจะเกาะทำรังมาก ซึ่งทำให้สามารถกะเทาะครั่งดิบได้มาก และมีคุณภาพจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของต้นไม้ อายุของต้นไม้และอายุของกิ่ง จำนวนครั่งที่ปล่อยพันธุ์ครั่ง ฤดูที่เลี้ยงครั่ง ศัตรูของครั่ง ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เลี้ยงเอง ดังนั้น ผู้ที่จะเลี้ยงครั่งควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
พันธุ์ไม้ที่จะใช้เลี้ยงครั่ง
พันธุ์ไม้ในวงศ์เดียวกัน แม้จะในสกุลเดียวกันหรือพันธุ์ไม้ต่างวงศ์กัน แต่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่สามารถจะเป็นไม้เลี้ยงครั่งได้หมด แต่โดยทั่วไปแล้วไม้พวกวงศ์ตระกูลถั่ว ส่วนมากเป็นไม้เลี้ยงครั่งได้ดี แต่บางชนิดเลี้ยงครั่งไม่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะคุณสมบัติของน้ำเลี้ยงไม่เหมาะสมในการเลี้ยงครั่ง ซึ่งเกี่ยวกับปฏิกิริยาของน้ำเลี้ยงและความหนาแน่นของน้ำเลี้ยง เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะต้องมีค่าความเป็นกรดด่าง (PH) ของน้ำเลี้ยงอยู่ระหว่าง 5.8 - 6.0 และมีความหนาแน่นของน้ำเลี้ยงประมาณ 0.14 - 0.173 ซึ่งเราพบว่าต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้นั้น ได้แก่ จามจุรี (ฉำฉาง หรือก้ามปู) สะแก ปันแก พุทราป่า สีเสียดออสเตรเลีย ไทร มะแฮะนก และมะเดื่ออุทุมพร เป็นต้น
ลักษณะของทรงพุ่มและอายุ
1. ลักษณะทรงพุ่มของต้นไม้ จะต้องมีเรือนยอดแผ่กว้างและโปร่ง เพื่อให้มีการถ่ายเทของอากาศได้ดี ทำให้รังครั่งไม่อับชื้นเมื่อมีฝนตก
2. อายุของกิ่งไม้และต้นไม่กิ่งไม้เลี้ยงครั่ง ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคหรือมีแมลง อายุของกิ่งไม้แก่หรืออ่อนเกินไป คือ มีกิ่งที่อวบอ่อน เหมาะต่อการที่แมลงครั่งจะใช้วงเจาะดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ได้ (ตารางที่ 1) ต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ควรมีอายุมากพอที่จะเลี้ยงครั่งได้ เช่น จามจุรี และพุทรา เริ่มใช้เลี้ยงครั่งได้เมื่ออายุ 5 ปี สะแกนา และปันแถเริ่มใช้เลี้ยงครั่งได้เมื่ออายุ 4 ปี เป็นต้น เพราะถ้าเลี้ยงครั่งบนต้นไม้มีขนาดเล็ก และมีครั่งจับทำรังมากเกินไปเมื่อเกิดความแห้งแล้งอาจทำให้ต้นไม้ตายได้
ดำเนินการเลี้ยงครั่ง
การเลี้ยงครั่งเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น แมลงครั่งจะเกาะทำรังมาก ซึ่งทำให้สามารถกะเทาะครั่งดิบได้มาก และมีคุณภาพจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของต้นไม้ อายุของต้นไม้และอายุของกิ่ง จำนวนครั่งที่ปล่อยพันธุ์ครั่ง ฤดูที่เลี้ยงครั่ง ศัตรูของครั่ง ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เลี้ยงเอง ดังนั้น ผู้ที่จะเลี้ยงครั่งควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
พันธุ์ไม้ที่จะใช้เลี้ยงครั่ง
พันธุ์ไม้ในวงศ์เดียวกัน แม้จะในสกุลเดียวกันหรือพันธุ์ไม้ต่างวงศ์กัน แต่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่สามารถจะเป็นไม้เลี้ยงครั่งได้หมด แต่โดยทั่วไปแล้วไม้พวกวงศ์ตระกูลถั่ว ส่วนมากเป็นไม้เลี้ยงครั่งได้ดี แต่บางชนิดเลี้ยงครั่งไม่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะคุณสมบัติของน้ำเลี้ยงไม่เหมาะสมในการเลี้ยงครั่ง ซึ่งเกี่ยวกับปฏิกิริยาของน้ำเลี้ยงและความหนาแน่นของน้ำเลี้ยง เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะต้องมีค่าความเป็นกรดด่าง (PH) ของน้ำเลี้ยงอยู่ระหว่าง 5.8 - 6.0 และมีความหนาแน่นของน้ำเลี้ยงประมาณ 0.14 - 0.173 ซึ่งเราพบว่าต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้นั้น ได้แก่ จามจุรี (ฉำฉาง หรือก้ามปู) สะแก ปันแก พุทราป่า สีเสียดออสเตรเลีย ไทร มะแฮะนก และมะเดื่ออุทุมพร เป็นต้น
ลักษณะของทรงพุ่มและอายุ
1. ลักษณะทรงพุ่มของต้นไม้ จะต้องมีเรือนยอดแผ่กว้างและโปร่ง เพื่อให้มีการถ่ายเทของอากาศได้ดี ทำให้รังครั่งไม่อับชื้นเมื่อมีฝนตก
2. อายุของกิ่งไม้และต้นไม่กิ่งไม้เลี้ยงครั่ง ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคหรือมีแมลง อายุของกิ่งไม้แก่หรืออ่อนเกินไป คือ มีกิ่งที่อวบอ่อน เหมาะต่อการที่แมลงครั่งจะใช้วงเจาะดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ได้ (ตารางที่ 1) ต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ควรมีอายุมากพอที่จะเลี้ยงครั่งได้ เช่น จามจุรี และพุทรา เริ่มใช้เลี้ยงครั่งได้เมื่ออายุ 5 ปี สะแกนา และปันแถเริ่มใช้เลี้ยงครั่งได้เมื่ออายุ 4 ปี เป็นต้น เพราะถ้าเลี้ยงครั่งบนต้นไม้มีขนาดเล็ก และมีครั่งจับทำรังมากเกินไปเมื่อเกิดความแห้งแล้งอาจทำให้ต้นไม้ตายได้
วิธีเตรียมต้นไม้ก่อนปล่อยครั่งพันธุ์
เพื่อให้แน่ใจว่าหลังจากที่ปล่อยครั่งพันธุ์แล้วแมลงครั่งจะไปจับทำรังตามกิ่งที่แข็งแรงและไม่ถูกมดรบกวน จึงควรปฏิบัติตามขั้นตอนข้างล่างนี้
1. สางกิ่ง เพื่อให้ต้นไม้โปร่งโดยตัดเอากิ่งแห้ง กิ่งผุ และกิ่งที่เป็นโรค หรือไม่สมบูรณ์ออก ถ้ามีเถาวัลย์หรือวัชพืชบนต้นไม้ควรเอาลงด้วย
2. กำจัดมด เพื่อป้องกันมดทำลายตัวอ่อนของครั่งที่จะออกจากรังของครั่งพันธุ์ ถ้ามีมดให้ใช้สารกำจัดมดก่อนปล่อยครั่ง 7 - 15 วัน และใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วผูกรอบโคนต้นไม้เพื่อป้องกันมดจากพื้นดินขึ้นต้นไม้
3. ทำความสะอาด รอบโคนต้นไม้เพื่อป้องกันมด และสัตว์มีพิษที่อาจทำอันตรายต่อคน
วิธีตัดแต่งกิ่ง
ต้นไม้เลี้ยงครั่งที่ปล่อยให้แตกกิ่งเองตามธรรมชาติจะมีอายุกิ่งแตกต่างกัน ทำให้เลี้ยงครั่งรอบหนึ่ง ๆ ได้ผลตอบแทนต่ำ ดังนั้นตัดแต่งกิ่งจะทำให้ได้กิ่งที่แตกใหม่มีอายุเท่า ๆ กัน และควบคุมเรือนยอดให้แผ่กว้าง และโปร่ง รวมทั้งไม่ต้องการให้ต้นสูง ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการเลี้ยงครั่งและได้ผลตอบแทนสูง จึงควรตัดแต่งกิ่งต้นไม้โดยคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1. ฤดูตัดแต่งกิ่ง โดยทั่วไปนิยมตัดแต่งกิ่งในช่วงฤดูร้อน เพราะต้นไม้มีอัตราการเจริญเติบโตช้า เช่น ถ้าต้องการปล่อยครั่งพันธุ์เดือนธันวาคม ควรตัดแต่งกิ่งประมาณเมษายน เป็นต้น
2. ความสมบูรณ์ของต้นไม้ ต้นไม้ที่จะตัดแต่งกิ่งต้องเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์และแข็งแรง เมื่อตัดแต่งกิ่งต้องรักษารูปทรงเรือนยอดของต้นไม้ไว้และให้มีที่ว่างพอสำหรับให้กิ่งที่งอกใหม่เจริญเติบโตได้ดี
3. กิ่งขนาดเล็ก ๆ และกิ่งที่ไม่แข็งแรงมีแมลงเจาะและกิ่งแห้งควรตัดทิ้งให้หมด ส่วนกิ่งอื่น ๆ ตัดตามตารางที่ 3 การตัดแต่งกิ่งในปีถัดมาให้ตัดเฉพาะกิ่งที่แตกออกจากกิ่งที่เคยตัดไว้ในครั้งที่แล้วเท่านั้น
ฤดูปล่อยครั่ง
การนำครั่งพันธุไปปล่อยเลี้ยงขยายพันธุ์ตามกิ่งต้นไม้เลี้ยงครั่งในรอบปีหนึ่ง ๆ สามารถปล่อยครั่งเลี้ยงได้ คือ
1. การปล่อยครั่งเลี้ยงในรอบฤดูฝน คือ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน แล้วตัดเก็บครั่งลงในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
2. การปล่อยครั่งเลี้ยงในรอบฤดูร้อน คือ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม แล้วตัดเก็บครั่งลงในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน แต่เนื่องจากการเลี้ยงครั่งในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง จึงได้ผลผลิตน้อยไม่คุ้มค่า ผู้เลี้ยงครั่งจึงปล่อยรังครั่งไว้บนต้นไม้ให้ขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ
ปริมาณครั่งพันธุ์ที่ปล่อย ครั่งพันธุ์ที่ปล่อยควรจะพอดีกับขนาดของเรือนยอดของต้นไม้ ถ้าหากใช้ครั่งพันธุ์ปล่อยมากเกินไป จะไม่มีที่ว่างของกิ่งอวบอ่อนให้ลูกครั่งจับทำรัง อาจทำให้กิ่งไม้ที่ปล่อยครั่งตายได้ โดยทั่วไปแล้วอัตราส่วนของครั่งพันธุ์ ที่มีลักษณะดีขนาดยาว 1 ฟุต จะกระจายได้บนกิ่งไม้ที่ปล่อยครั่งเพาะได้ 12 - 20 ฟุต หรือครั่งพันธุ์ 1 กิโลกรัม จะยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 5 - 10 ฟุต ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักที่คำนวณหาปริมาณครั่งพันธุ์ที่จะปล่อยกับไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ควรแบ่งต้นไม้แต่ละชนิดเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ แล้วจึงปล่อยครั่งพันธุ์ คิดเป็นน้ำหนักตามขนาดความโตของไม้ (วัดที่ระดับความสูง 1.30 เมตร)พันธุ์ครั่งที่ใช้
การเลี้ยงครั่งให้ประสบความสำเร็จนั้น พันธุ์ครั่งที่ใช้จะต้องเป็นพันธุ์ครั่งที่ดี ซึ่งเราได้พันธุ์ครั่งจาก
1. การปล่อยครั่งเลี้ยงโดยวิธีแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติ เมื่อตัดเก็บครั่งลงจากต้นไม้ จะเหลือครั่งไว้บนต้นไม้โดยไม่ตัดกิ่งไม้ที่มีครั่งอยู่ลงหมดทุกกิ่งทั่วทุกต้น ครั่งตัวอ่อนก็จะออกไปทำรังใหม่ที่ต้นไม้นั้นต่อไป ซึ่งวิธีนี้ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรมและเป็นแหล่งเพาะศัตรูครั่ง ตลอดจนครั่งที่ได้จะมีคุณภาพต่ำ
2. การตัดครั่งทำพันธุ์ การตัดครั่งไปทำการขยายพันธุ์ปีหนึ่งตัด 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เป็นการตัดครั่งที่เลี้ยงในฤดูร้อน ครั่งในช่วงนี้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ
ครั้งที่ 2 ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม เป็นการตัดครั่งที่เลี้ยงในฤดูฝน จะได้ผลผลิตสูง รังครั่งที่ด้ปมหนา และสมบูรณ์
ลักษณะครั่งที่ใช้คัดไปทำพันธุ์ จะต้องเป็นครั่งที่แก่เต็มที่ ครั่งตัวเมียที่สมบูรณ์และมีชีวิตอยู่โดยที่ไม่ตัดก่อนลูกครั่งออกจากซากรังเก่า ระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน โดยสังเกตจาก
1. ภายนอกของรังครั่ง รังที่ครั่งสร้างหุ้มกิ่งไม้จะต้องหนาเกาะหุ้ม รอบกิ่งหรือเกือบรอบกิ่งและเกาะยาวไปตามกิ่ง ไม่ขาดเป็นตอน ๆ แต่ไม่มีร่องรอยของแมลงศัตรู
2. ภายในรังครั่ง ครั่งพันธุ์ที่ดีนั้นเมื่อบี้รังดูจะพบว่าภายในมีช่องเล็ก ๆ มากมาย คล้ายซี่หวี และมีช่องรังกว้าง ภายในช่องรังกว้าง ภายในช่องรังมีตัวครั่งรูปร่างกลม ซึ่งมีสีแดงอยู่ แสดงว่าครั่งตัวเมียนั้นยังมีชีวิตและสมบูรณ์อยู่ แต่ถ้าบี้รังครั่งแลัวเห็นช่องเล็ก ๆ ภายในรังครั่งแคบและตัวครั่งส่วนใหญ่แห้งตายแสดงว่ารังครั่งนี้ไม่ควรนำไปใช้ทำพันธุ์
การเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ปล่อยครั่งพันธุ์
เนื่องจากครั่งพันธุ์ที่จะนำไปปล่อยบนต้นไม้มีอายุจำกัด ดังนั้น เมื่อตัดครั่งพันธุ์เพื่อย้ายไปแขวนบนต้นไม้ใหม่ควรรีบทำให้เสร็จโดยเร็ว เพราะถ้านำรังครั่งพันธุ์วางกองทิ้งไว้ตัวอ่อนของแมลงครั่งจะคลานออกจากรังและหากิ่งไม้ที่อวบอ่อนเพื่อจับทำรังไม่ได้จะตายไป ดังนั้นจึงควรเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ห่อครั่งพันธุ์ไว้ล่วงหน้า
มัดฟางข้าว หรือมัดหญ้าคาแห้ง เตรียมโดยใช้เชือกหรือตอกมัดฟางข้าวไว้เป็นกำเล็ก ๆ หลวม ๆ เพื่อเก็บไว้ห่อครั่งพันธุ์
ตอกหรือเชือก เพื่อใช้มัดครั่งพันธุ์ติดกับมัดฟางข้าวที่เตรียมไว้
ไม้ง่าม เพื่อใช้แขวนครั้งพันธุ์ที่ห่อแล้วบนกิ่งไม้
เมื่อคัดเลือกครั่งพันธุ์ดีได้แล้ว นำครั่งพันธุ์มาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละ 6 - 7 นิ้ว แล้วนำไปห่อด้วยฟางหรือหญ้าคาแห้งที่ได้มัดเตรียมไว้แล้วดังกล่าวในหัวข้อที่ 3 คือ มีมัดฟางข้าวที่มัดไว้หลวม ๆ แล้วให้นำกิ่งไม้ที่มีครั่งพันธุ์เกาะอยู่สอดลงตรงกลางมัดฟางข้าว ซึ่งจะทำให้มัดฟางข้าวที่หลวมแน่นขึ้น ใช้ตอกหรือเชือกมัดปลายฟางข้าวด้านบนให้หุ้มรังครั่ง แต่อย่าใช้ฟางข้าวหุ้มรังครั่งหนาและแน่นเกินไป เพราะจะทำให้ตัวอ่อนของครั่งคลานออกจากรังได้ยาก
ครั่งพันธุ์ 1 กิโลกรัม ควรแบ่งห่อเป็น 6 - 10 มัด แล้วจึงนำพันธุ์ครั่ง 2 มัด ผูกติดกันเพื่อสะดวกต่อการปล่อยโดยวิธีแขวน
เศษครั่งพันธุ์ที่หลุดออกเป็นท่อนเล็ก ๆ อาจรวมใส่ตะกร้าเล็กรวมกัน เพื่อนำไปแขวนตามกิ่งไม้ได้ นอกจากนี้ยังใช้อวนพลาสติกสีฟ้าตาข่ายเล็ก ๆ ที่นิยมใช้กั้นขอบบ่อเลี้ยงปลาห่อครั่งพันธุ์ได้ด้วย การห่อด้วยตาข่ายเล็ก ๆ นี้ มีข้อดีคือ ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนของแมลงศัตรูครั่งออกจากรังไปผสมพันธุ์เพิ่มจำนวนแล้วกลับมาทำความเสียหายให้แก่ครั่งที่เลี้ยงไว้ได้
วิธีปล่อยครั่งพันธุ์
1. กระจายครั่งพันธุ์ การปล่อยครั่งพันธุ์ควรปล่อยให้กระจายบนกิ่งทั่ว ๆ ต้น จึงจะได้ผลตอบแทนสูง
2. จำนวนพันธุ์ ครั่งพันธุ์ที่ใช้ปล่อยบนต้นไม้แต่ละต้นจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนกิ่งอวบอ่อนที่ลูกครั่งจะไปเกาะจับทำรังใหม่ว่า มีมากน้อยเท่าใด จำนวนครั่งพันธุ์สามารถประมาณได้โดยเปรียบเทียบจากผลการทดลอง ซึ่งทราบว่า ถ้าใช้ครั่งพันธุ์ที่มีลักษณะดียาว 1 ฟุต จะได้ตัวอ่อนของครั่งที่คลานออกจากรังครั่งพันธุ์ไปเกาะบนกิ่งที่อวบอ่อน ยาวประมาณ 12 - 25 ฟุต ถ้าใช้ครั่งพันธุ์มากเกินไปตัวอ่อนของอครั่งจะไปจับก้านใบ ซึ่งต่อมาก้านใบจะหลุดร่วงไป ทำให้เสียพันธุ์ครั่งไปโดยไม่มีประโยชน์ ดังนั้น หลังจากปล่อยครั่งพันธุ์แล้วถ้าไม่แน่ใจว่าใช้จำนวนพันธุ์มากเกินไปหรือไม่ ควรตรวจดูตามกิ่งที่ตัวอ่อนครั่งไปเกาะ ถ้าพบว่ามีแมลงครั่งพันธุ์เกาะมากพอสมควรแล้ว ให้ย้ายห่อครั่งพันธุ์ไปปล่อยที่กิ่งอื่น ๆ ต่อไปอีก
3. ตำแหน่งที่ปล่อยครั่งพันธุ์ ครั่งพันธุ์ที่ห่อและผูกติดกันเป็นคู่แล้ว เมื่อนำไปปล่อยบนต้นไม้ ให้ปล่อยจากกิ่งที่อยู่ข้างล่างก่อนแล้วจึงขึ้นไปปล่อยกิ่งที่อยู่สูงขึ้นไปตามลำดับ เพราะขณะที่อยู่บนที่สูงนั้น สามารถมองเห็นกิ่งที่อยู่ต่ำกว่าได้ง่าย ตำแหน่งที่ปล่อยครั่งพันธุ์ควรอยู่ใกล้กิ่งที่อวบอ่อน ซึ่งลูกครั่งจะไปเกาะมากที่สุด ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรใช้ไม้ง่ามช่วยส่งห่อครั่งพันธุ์ขึ้นไปแขวนคร่อมกิ่งที่ต้องการปล่อยครั่งพันธุ์ ถ้าไม่ต้องการปล่อยครั่งพันธุ์โดยวิธีแขวนคร่อมกิ่ง อาจใช้วิธีผูกครั่งพันธุ์ให้ขนานและแนบติดไปตามความยาวของกิ่ง โดยวางรังครั่งไว้ด้านบนของโคนกิ่ง
วิธีดูแลหลังปล่อยครั่งพันธุ์
1. เก็บรังของครั่งพันธุ์ที่แขวนไว้ลง หลังจากแขวนไว้ครบ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูครั่งที่อาจติดมากับรังของครั่งพันธุ์ ส่วนรังครั่งนำไปขายได้
2. ระวังอย่าสุมไฟ หรือฉีดสารฆ่าแมลงใกล้บริเวณต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง
วิธีตัดครั่งทำพันธุ์และการเก็บครั่ง
1. ตัดครั่งเพื่อใช้ทำพันธุ์ ต้องตัดเมื่อรังครั่งตัวเมียแก่เต็มที่ เพราะไข่ของแม่ครั่งจะฟักเป็นตัวลูกครั่งและคลานออกจากรัง (หรือที่นิยมเรียกว่า ระยะครั่งออกตัว) ไปหากิ่งไม้เกาะทำรังใหม่ ปกติครั่งรอบฤดูร้อนจะแก่ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งครั่งระยะนี้มักจะไม่กะเทาะขายเป็นครั่งดิบ แต่อาจขายเป็นพันธุ์ครั่ง ส่วนครั่งรอบฤดูฝนจะแก่ประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม แต่ถ้าอากาศเย็นหรือมีฝนตก ครั่งจะแก่ช้ากว่าปกติ อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่ครั่งออกตัวนี้จะแตกต่างกันอยู่ในช่วง 1 - 3 สัปดาห์ เท่านั้น ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส ครั่งจะออกตัวได้ดี และลูกครั่งจะออกตัวจากรังมากที่สุดในระยะ 7 วันแรก หลังจากนั้นจะออกตัวอีกแต่มีจำนวนไม่มากนัก
ถ้าตัดครั่งที่ไม่แก่ไปทำพันธุ์จะมีลูกครั่งจำนวนน้อยและอ่อนแอ หรือไม่มีลูกครั่งออกจากรังเลย แต่ถ้าตัดครั่งไปทำพันธุ์ช้าเกินไป คือ เมื่อตัวลูกครั่งคลานออกจากรังไปแล้วจะทำให้เกิดผลเสีย คือ ไม่มีครั่งติดเลย
ถ้ามีต้นไม้เลี้ยงครั่งไม่มากนัก ควรใช้วิธีตรวจดูว่าครั่งเริ่มออกตัวเมื่อใด ถ้าพบลูกครั่งเริ่มคลานออกจากรังให้รีบตัดครั่งไปทำพันธุ์ แล้วนำไปปล่อยให้เสร็จภายใน 1 - 2 วัน วิธีนี้จะได้ครั่งติดดีมาก แต่ถ้าเลี้ยงครั่งเป็นส่วนใหญ่ให้ตัดครั่งก่อนระยะตัวอ่อนจะคลานออกจากรังประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ จะได้มีเวลานำครั่งพันธุ์ไปแขวนได้ทัน
2. การคาดคะเนวันที่ครั่งออกตัว การคาดคะเนนี้สังเกตจากผิวนอกของรังดังนี้
ระยะ 2 - 3 สัปดาห์ ก่อนครั่งออกตัว ถ้าใช้มือถูรังครั่งให้สะอาดจะสังเกตเห็นรอยร้าวที่ผิวนอกของรังครั่ง รังครั่งจะแห้งทำให้สามารถแกะรังครั่งออกจากกิ่งที่จับทำรังได้ง่าย
ระยะ 7 วัน ก่อนครั่งออกตัว ถ้าใช้แว่นขยายกำลังขยาย 4 - 10 เท่า ส่องดูผิวรังครั่งที่ขัดสะอาดแล้ว จะเริ่มเห็นจุดสีเหลืองส้มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไปจุดสีเหลืองส้มนี้เกิดจากการที่แสงส่องผ่านรังครั่งตรงบริเวณที่เกิดจากครั่งตัวเมียที่แก่หดตัวเล็กลง จึงเกิดช่องว่างรอบ ๆ ตัวแม่ครั่ง ซึ่งอยู่ในรัง ดังนั้น เมื่อครั่งหดตัวแสงจึงสามารถส่องผ่านบริเวณที่เป็นช่องว่างนี้ได้ จึงทำให้บริเวณนี้มีสีเหลืองส้มเป็นจุดเล็ก ๆ ต่างจากบริเวณอื่น ๆ ของรัง ซึ่งมีสีน้ำตาลปนแดงและทึบแสง ยิ่งใกล้วันครั่งออกตัวเท่าใดแม่ครั่งจะหดตัวมากขึ้น จึงเห็นจุดสีเหลืองส้มนี้ขยายวงกว้างขึ้น นอกจากนี้ควรบี้รังครั่งให้แตกเพื่อดูว่าแม่ครั่งยังมีชีวิตสมบูรณ์หรือแห้งตายแล้วตามที่อธิบายไว้ในวิธีคัดเลือกพันธุ์
ระยะ 1 - 2 วัน ก่อนครั่งออกตัวสามารถมองเห็นจุดสีเหลืองส้มขยายวงกว้างขึ้น และมีพื้นที่รวมประมาณครั่งหนึ่งของบริเวณผิวกายภายนอกของรัง
3. วิธีเก็บครั่ง การตัดครั่งไว้ขาย มักตัดครั่งลงเมื่อแก่เต็มที่ แต่ยังไม่ถึงระยะที่ครั่งออกตัว ดังนั้น เมื่อตัดครั่งขายต้องคัดพันธุ์ที่ดีเก็บไว้ใช้ทำพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งที่มีครั่งจับทำรังให้ตัดเหลือแต่กิ่งไว้ไม่เกิน 1 1/2 ฟุต และถ้ากิ่งโตกว่า 2 นิ้ว ไม่ต้องตัดกิ่ง แต่ใช้มีดกะเทาะเอาครั่งออกแทน ควรรวบรวมกิ่งที่ครั่งจับทำรังไว้ก่อน จากนั้นจึงตัดแต่งกิ่งเพื่อเตรียมไม้ไว้เลี้ยงครั่งต่อไป
4. วิธีเตรียมครั่งไว้ขาย เมื่อตัดครั่งลงจากต้นแล้ว ควรรีบกะเทาะรังครั่งออกจากกิ่งไม้ แล้วตากครั่งดิบที่กะเทาะได้ให้แห้ง โดยวิธีผึ่งบนลานสะอาดเกลี่ยให้ครั่งดิบหนาประมาณ 4 - 6 นิ้ว และอย่าให้ถูกแดดแรงมาก ครั่งดิบที่กะเทาะใหม่ ๆ ยังสดอยู่ จึงต้องใช้คราดกลับไปมาทุกวันจนแห้งสนิท หลังจากนั้นจึงกลับครั่ง 3 - 4 วัน ต่อครั้ง การตากครั่งไม่ควรให้ถูกฝนหรือตากครั่งหนา เพราะจะทำให้ครั่งบูดได้ เมื่อตากครั่งแห้งแล้วควรรีบขายครั่งให้โรงงานที่ทำครั่งเม็ด แต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้ต้องหมั่นกลับครั่งที่เก็บไว้ เพื่อให้อากาศถ่ายเท เพราะถ้ากองทับถมไว้หนาและอากาศร้อนครั่งจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ทำให้ขายได้ราคาต่ำ ดังนั้น ถ้าเห็นครั่งจับเป็นก้อนให้รีบทุบให้แตกเป็นก้อนเล็ก ๆ อย่าปล่อยไว้นาน เพราะจะจับกันแน่นมากขึ้น
ผู้เลี้ยงครั่งควรจะได้ตรวจสอบราคาจากโรงงานที่รับซื้อครั่งโดยตรงแล้วรวมกลุ่มผู้เลี้ยงครั่ง เพื่อให้มีปริมาณครั่ง มากพอที่โรงงานจะเอามารับซื้อถึงที่ และบรรทุกไปเอง โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องขนไปขายเองศัตรูของครั่ง แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. ศัตรูที่เกิดจากสัตว์ เช่น นก หนู กระแต กระรอก และบ่าง สัตว์เหล่านี้จะมากินรังครั่งและลูกครั่ง การป้องกันกำจัดโดยใช้หนามยาว ๆ ที่แหลมคมผูกไว้ตามโคนต้นไม้ ทำให้ไต่ไปมาไม่ได้ ส่วนหนูจะใช้กับดักก็ได้
2. ศัตรูที่เกิดจากแมลงทำลาย แมลงที่ทำลายครั่ง ได้แก่
แมลงตัวห้ำ โดยที่ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะกัดกินครั่ง หนอนสีชมพู เป็นต้น
แมลงแตนเบียน จะวางไข่ในตัวครั่งแล้วตัวอ่อนจะอาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในตัวครั่ง จนกระทั่งเป็นตัวแก่ออกมา ซึ่งเป็นระยะที่แมลงครั่งถูกทำลายพอดี การป้องกันกำจัดนั้น กระทำได้ยาก เนื่องจากเป็นแมลงที่เล็กมาก
มด มักจะเป็นศัตรูครั่งในช่วงที่ลูกครั่งกำลังไต่ออกจากรังของเซลแม่ครั่ง เพื่อไปหาที่เหมาะสมของกิ่งเพื่อจับทำรังใหม่ ซึ่งมดจะจับตัวอ่อนกิน แต่เมื่อลูกครั่งได้สร้างสารออกมาหุ้มตัวแล้ว มดก็จะไม่สามารถทำอันตรายต่อลูกครั่งได้ การป้องกันและกำจัด โดยให้กำจัดมดบนต้นไม้ก่อนนำพันธุ์ครั่งไปปล่อยเพาะเลี้ยง และใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องพันรอบโคนต้นไม้ เพื่อป้องกันมดไต่ขึ้นไป แต่ในระยะที่ครั่งตัวผู้เป็นตัวแก่ออกมา ให้เอาผ้าที่พันไว้ออก เพื่อให้มดไต่ไปทำความสะอาดรังครั่งและช่วยกำจัดแมลงศัตรูครั่งได้ตามปกติ
ศัตรูของไม้เลี้ยงครั่ง
การเลี้ยงครั่งให้ได้ผลดีก็ต้องอาศัยต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งที่แข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงศัตรูรบกวน หากต้นไม้ทรุดโทรมและตายไป แมลงครั่งที่เกาะอาศัยอยู่ก็ย่อมไม่เจริญเติบโตและตายไปด้วยเช่นกัน ศัตรูของไม้เลี้ยงครั่ง เช่น ถั่วแระ และต้นก้ามปู คือ
1. หนอนเจาะต้นถั่วแระ เป็นผีเสื้อขนาดใหญ่ โดยที่ตัวหนอนจะเจาะกัดกินส่วนต่าง ๆ ของถั่วแระ ทำให้ต้นถั่วแระทรุดโทรม และตายไป
การป้องกันและกำจัด
- ตรวจดูถั่วแระทุก 2 เดือน ถ้าพบขี้ขุยไม้ออกมาจากโคนต้น แสดงว่ามีตัวอ่อนของหนอนอเจาะ ให้รีบกำจัดแมลงศัตรูทันที
- ขุดต้นถั่วแระที่ถูกทำลายมากไปเผาทิ้ง
2. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่จะดูดน้ำเลี้ยงตามกิ่งและใบของต้นไม้ ทำให้เกิดใบร่วงและลำต้นเหี่ยวแห้งตายในที่สุด เป็นศัตรูของต้นจามจุรี ถั่วแระ พุทรา และสีเสียดออสเตรเลีย
การป้องกันและกำจัด
- การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ก่อนจะปล่อยครั่งเลี้ยง เพราะหากฉีดสารเคมีกำจัดเพลี้ยแห้งในขณะที่มีครั่งอยู่ด้วย จะทำให้ครั่งตายได้
- หากพบเพลี้ยแป้งระบาดให้ตัดแต่งกิ่งที่มีเพลี้ยแป้งลงมาแล้วเผาทิ้ง
- บำรุงรักษาให้ต้นไม้เลี้ยงครั่งแข็งแรง
ไข่
มีรูปร่างเป็นรูปไข่ มีสีแดง ขนาดเล็กประมาณ 0.5 มม. มองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นจุดสีแดง ไข่แต่ละใบใช้เวลาวางประมาณ 1 นาที โดยครั่งตัวเมียจะหดตัวเข้ามาภายในทำให้เกิดช่องว่างภายในเซลการวางไข่ ไข่จะถูกวางภายในช่องว่าง ซึ่งอาจจะ ถูกฟักเป็นตัวในช่วงว่างนั้น จากนั้นลูกครั่งจะคลานออกมาทางช่องผสมพันธุ์ ไข่จะมีสภาพอยู่ได้นาน 8-20 นาที ก็จะถูกฟัก เป็นตัวอ่อนหรือลูกครั่งออกมา
ตัวอ่อนหรือลูกครั่ง
ลำตัวมีสีแดงเลือดนก ขนาดประมาณ 0.6 มม. ลักษณะรูปไข่ ส่วนหัวมีความกว้างกว่าส่วนท้าย ปากจะเป็นงวงดูด มีตา 2 ตา หนวดสีขาว 2 เส้น ที่ปลายหนวดแต่ละเส้นจะมีขนยาว 2 เส้น มี 6 ขา ลำตัวมี 9 ปล้อง ตรงปลายปล้องสุดท้ายจะมีเส้นผงสีขาวยาว 2 เส้น และปล้องที่อกจะมีกระจุกขนสีขาวข้างลำตัว 2 กระจุก ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นส่วนปีก ในระยะตัวอ่อนจะไม่สามารถแยกเพศผู้ หรือเพศเมีย เนื่องจากมีลักษณะรูปร่างเหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลูกครั่งจะออกหาที่ยึดเกาะยึดกิ่งไม้แล้ว จึงดูดกินน้ำเลี้ยง จากพืชเป็นอาหารแล้วจะไม่เคลื่อนย้ายที่อยู่อีกต่อไป ลูกครั่งจะเกาะเรียงตัวกันในพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร จะมีลูกครั่งประมาณ 220 ตัว และมักจะทำรังที่บริเวณด้านล่างของกิ่งอ่อน ต่อจากนั้นจะขับน้ำเหนียวมาหุ้มตัว แล้วเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ไปเป็นครั่งตัวผู้และครั่งตัวเมีย ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันในระยะเวลานาน 30 วัน จะเริ่มมองเห็นครั่งเกาะจับกิ่งไม้ขาวโพลน ซึ่งเกิดจากขนขี้ผึ้งสีขาวที่เกาะบนตัวรังครั่งโดยทั่วไปครั่งจำนวน 100 ตัว จะมีอัตราส่วนระหว่างครั่งตัวผู้กับครั่งตัวเมียประมาณ 30 ต่อ 70
ครั่งตัวผู้
จะมีขนาดใหญ่กว่าลูกครั่งเล็กน้อย มีการเจริญออกตามยาว จะเห็นชัดเมื่ออายุครั่ง 40 วัน ลำตัวยาวรี เมื่อครั่งตัวผู้เจริญเต็มที่จะเห็นรังครั่งเป็นสีเหลือง ด้านบนของตัวครั่งมีช่องกลม 1 ช่อง ใช้สำหรับเป็นทางออกของแมลงครั่งตัวผู้ โดยการถอยหลังออกมาจากปลอกดักแด้เพื่อไปผสมพันธุ์กับครั่งตัวเมียซึ่งเกาะแน่นอยู่กับที่
ครั่งตัวผู้เมื่อครั่งอายุ 55 วัน เซลครั่งตัวผู้จะโตเต็มที่ จะมีลำตัวสีแดง ขนาดโตเป็นสองเท่าของลูกครั่ง มีตา 2 ตา หนวดชัดเจน 2 เส้น ครั่งตัวผู้มี 2 ชนิด คือ ตัวผู้มีปีกกับตัวผู้ไม่มีปีก ตัวผู้ที่มีปีกจะสามารถบินไปผสมกับครั่งบนกิ่งไม้ต้นอื่นได้ ส่วนตัวผู้ไม่มีปีกจะคลานไปฟสมกับครั่งตัวเมียที่เกาะกิ่งต้นเดียวกัน ครั่งตัวผู้ไม่มีปีกมันจะออกตัวก่อนครั่งตัวผู้ที่มีปีก
การผสมพันธุ์ ครั่งตัวผู้จะสอดอวัยวะสืบพันธุ์แทงลงไปในช่องผสมพันธุ์ของครั่งตัวเมีย หลังจากผสมแล้ว ครั่งตัวผู้ จะตายไป ครั่งตัวผู้มีอายุนานประมาณ 3 วัน ส่วนครั่งตัวเมียจะเจริญเติบโตขยายตัวต่อไป
ครั่งตัวเมีย
เมื่อครั่งอายุ 30 วัน จะเห็นเซลครั่งตัวเมียมีสีแดงคล้ำมีรูปร่างไม่แน่นอน ลักษณะค่อนข้างกลม ลำตัวมีกระจุกขนสีขาว 3 จุด ที่กระจุกขนจะเห็นเป็นช่อรูกลม 3 ช่อง ด้านบนมี 2 ช่อง ใช้สำหรับเป็นช่องหายใจให้อากาศถ่ายเทเข้าออก และด้านล่างมี 1 ช่อง ใช้เป็นช่องขับถ่ายและใช้ผสมพันธุ์ ส่วนขนสีขาวใช้ป้องกันไม่ให้รูอุดตันและป้องกันฝุ่น
ครั่งตัวเมีย ตัวแก่รูปร่างคล้ายถุงนิ่ม ๆ มีสีแดง ไม่มีขาจึงไมมีการเคลื่อนที่นอกจากผลิตเรซิน จำนวนมากมายแล้วยังขับถ่ายน้ำฟวานออกมาอีกด้วย ซึ่งจะมีมดมากินน้ำหวานบนรังครั่งในช่วงวงจรชีวิต ครั่งระยะนี้นฃมดจะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงครั่ง และน้ำหวานนี้เป็นสาเหตุก่อให้เกิดราดำ ดังนั้นต้นไม้ที่มีครั่งเกาะอยู่จะเห็นใบไม้กิ่งไม้มักมีสีดำ เมื่อครั่งอายุได้ 60 วัน ก็จะเจริญเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์กับครั่งตัวผู้ หลังผสมพันธุ์แล้วภายในครั่งตัวเมีย จะประกอบไปด้วยน้ำเหลวสีแดง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของรังไข่และช่วยป้องกันความร้อนภายในตัวเมื่อครั่งมีอายุ 126 - 140 วัน รังไข่จะเจริญเต็มที่พร้อมที่จะวางไข่และฟักเป็นตัวออกมาทางช่องอวัยวะสืบพันธุ์ครั่งตัวเมียแต่ละตัวสามารถให้ลูกครั่งได้คราวละประมาณ 300 ตัว โดยฟักเป็นตัวอ่อนพร้อมกันแล้วแม่ครั่งจะเหลือเป็นถุงเปล่าแห้งตายไป นอกจากนี้ครั่งตัวเมียยังมีความสามารถในการพิทักษ์ลูกครั่ง โดยการปรับอุณหภูมิในร่างกาย โดยการปล่อยน้ำเรซินออกมาและสามารถควบคุมการออกตัวของลูกครั่งได้บ้าง โดยการเลือกกำหนดการออกตัวของลูกครั่ง หรือบังคับให้ลูกครั่งออกตัวก่อนกำหนด หรือหลังกำหนดได้ จะเห็นว่าครั่งบนไม้กิ่งหนึ่งลูกครั่งจะออกตัวไม่พร้อมกัน ครั่งตัวเมียที่สมบูรณ์ยังสามารถสืบพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ และยังสามารถให้อัตราส่วนครั่งตัวผู้ต่อครั่งตัวเมียเป็นไปตามปกติธรรมชาติ คือ 30 ต่อ 70
การสังเกตครั่งแก่เต็มที่พร้อมจะออกตัวลูกครั่ง ครั่งที่แก่เต็มที่จะสังเกตได้จากภายนอก จะเป็นจุดสีเหลืองบนรังครั่งใกล้ช่องขับถ่าย จุดสีเหลืองนี้จะขยายโตขึ้นทุกวัน ซึ่งเกิดจากครั่งหดตัวเล็กลง ทำให้เกิดช่องว่างภายในเซลระหว่างลำตัวกับผนังรังครั่ง ซึ่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นการรักษาความร้อนและอุณหภูมิภายในตัวได้พอเหมาะ และมีช่องว่างนี้จะเป็นที่วางไข่ และฟักเป็นตัวอ่อนออกมาเมื่อเริ่มมีลูกครั่งออกมาครั้งแรกจะเห็นว่าเริ่มมีมดมาคอยปากรูเพื่อคอยกินลูกครั่ง ดังนั้นจุดสีเหลืองนี้จะช่วยการคาดคะเนการออกตัวของลูกครั่งได้บ้าง นอกจากนี้ลักษณะรังครั่งจะมีรอยแตกร้าว รังแห้งเปราะแกะร่อนออกจากกิ่งไม้ได้ง่าย
ระยะการออกตัวของลูกครั่ง ครั่งจากไม้กิ่งหนึ่งจะใช้เวลาในการออกตัวของครั่งนานประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงจะหมดรัง ลูกครั่งในระยะที่ออกตัวใหม่ ๆ นี้จะยังไม่ต้องการอาหารจนกระทั่งมันสามารถหาที่ยึดเกาะจับกิ่งไม้ได้แล้ว ลูกครั่งจึงเริ่มเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงพืชเป็นอาหาร ลูกครั่งที่ไม่สามารถหาที่อยู่อาศัยเกาะกิ่งไม้ได้จะตายไปภายใน 2 - 3 วัน มักพบว่าครั่งจะเริ่มมีการออกตัวในตอนเช้า และจะมีการออกตัวมากในเวลากลางวัน
ดำเนินการเลี้ยงครั่ง
การเลี้ยงครั่งเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น แมลงครั่งจะเกาะทำรังมาก ซึ่งทำให้สามารถกะเทาะครั่งดิบได้มาก และมีคุณภาพจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของต้นไม้ อายุของต้นไม้และอายุของกิ่ง จำนวนครั่งที่ปล่อยพันธุ์ครั่ง ฤดูที่เลี้ยงครั่ง ศัตรูของครั่ง ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เลี้ยงเอง ดังนั้น ผู้ที่จะเลี้ยงครั่งควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
พันธุ์ไม้ที่จะใช้เลี้ยงครั่ง
พันธุ์ไม้ในวงศ์เดียวกัน แม้จะในสกุลเดียวกันหรือพันธุ์ไม้ต่างวงศ์กัน แต่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่สามารถจะเป็นไม้เลี้ยงครั่งได้หมด แต่โดยทั่วไปแล้วไม้พวกวงศ์ตระกูลถั่ว ส่วนมากเป็นไม้เลี้ยงครั่งได้ดี แต่บางชนิดเลี้ยงครั่งไม่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะคุณสมบัติของน้ำเลี้ยงไม่เหมาะสมในการเลี้ยงครั่ง ซึ่งเกี่ยวกับปฏิกิริยาของน้ำเลี้ยงและความหนาแน่นของน้ำเลี้ยง เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะต้องมีค่าความเป็นกรดด่าง (PH) ของน้ำเลี้ยงอยู่ระหว่าง 5.8 - 6.0 และมีความหนาแน่นของน้ำเลี้ยงประมาณ 0.14 - 0.173 ซึ่งเราพบว่าต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้นั้น ได้แก่ จามจุรี (ฉำฉาง หรือก้ามปู) สะแก ปันแก พุทราป่า สีเสียดออสเตรเลีย ไทร มะแฮะนก และมะเดื่ออุทุมพร เป็นต้น
ลักษณะของทรงพุ่มและอายุ
1. ลักษณะทรงพุ่มของต้นไม้ จะต้องมีเรือนยอดแผ่กว้างและโปร่ง เพื่อให้มีการถ่ายเทของอากาศได้ดี ทำให้รังครั่งไม่อับชื้นเมื่อมีฝนตก
2. อายุของกิ่งไม้และต้นไม่กิ่งไม้เลี้ยงครั่ง ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคหรือมีแมลง อายุของกิ่งไม้แก่หรืออ่อนเกินไป คือ มีกิ่งที่อวบอ่อน เหมาะต่อการที่แมลงครั่งจะใช้วงเจาะดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ได้ (ตารางที่ 1) ต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ควรมีอายุมากพอที่จะเลี้ยงครั่งได้ เช่น จามจุรี และพุทรา เริ่มใช้เลี้ยงครั่งได้เมื่ออายุ 5 ปี สะแกนา และปันแถเริ่มใช้เลี้ยงครั่งได้เมื่ออายุ 4 ปี เป็นต้น เพราะถ้าเลี้ยงครั่งบนต้นไม้มีขนาดเล็ก และมีครั่งจับทำรังมากเกินไปเมื่อเกิดความแห้งแล้งอาจทำให้ต้นไม้ตายได้
ดำเนินการเลี้ยงครั่ง
การเลี้ยงครั่งเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น แมลงครั่งจะเกาะทำรังมาก ซึ่งทำให้สามารถกะเทาะครั่งดิบได้มาก และมีคุณภาพจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของต้นไม้ อายุของต้นไม้และอายุของกิ่ง จำนวนครั่งที่ปล่อยพันธุ์ครั่ง ฤดูที่เลี้ยงครั่ง ศัตรูของครั่ง ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เลี้ยงเอง ดังนั้น ผู้ที่จะเลี้ยงครั่งควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
พันธุ์ไม้ที่จะใช้เลี้ยงครั่ง
พันธุ์ไม้ในวงศ์เดียวกัน แม้จะในสกุลเดียวกันหรือพันธุ์ไม้ต่างวงศ์กัน แต่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่สามารถจะเป็นไม้เลี้ยงครั่งได้หมด แต่โดยทั่วไปแล้วไม้พวกวงศ์ตระกูลถั่ว ส่วนมากเป็นไม้เลี้ยงครั่งได้ดี แต่บางชนิดเลี้ยงครั่งไม่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะคุณสมบัติของน้ำเลี้ยงไม่เหมาะสมในการเลี้ยงครั่ง ซึ่งเกี่ยวกับปฏิกิริยาของน้ำเลี้ยงและความหนาแน่นของน้ำเลี้ยง เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะต้องมีค่าความเป็นกรดด่าง (PH) ของน้ำเลี้ยงอยู่ระหว่าง 5.8 - 6.0 และมีความหนาแน่นของน้ำเลี้ยงประมาณ 0.14 - 0.173 ซึ่งเราพบว่าต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้นั้น ได้แก่ จามจุรี (ฉำฉาง หรือก้ามปู) สะแก ปันแก พุทราป่า สีเสียดออสเตรเลีย ไทร มะแฮะนก และมะเดื่ออุทุมพร เป็นต้น
ลักษณะของทรงพุ่มและอายุ
1. ลักษณะทรงพุ่มของต้นไม้ จะต้องมีเรือนยอดแผ่กว้างและโปร่ง เพื่อให้มีการถ่ายเทของอากาศได้ดี ทำให้รังครั่งไม่อับชื้นเมื่อมีฝนตก
2. อายุของกิ่งไม้และต้นไม่กิ่งไม้เลี้ยงครั่ง ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรคหรือมีแมลง อายุของกิ่งไม้แก่หรืออ่อนเกินไป คือ มีกิ่งที่อวบอ่อน เหมาะต่อการที่แมลงครั่งจะใช้วงเจาะดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้ได้ (ตารางที่ 1) ต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งได้ควรมีอายุมากพอที่จะเลี้ยงครั่งได้ เช่น จามจุรี และพุทรา เริ่มใช้เลี้ยงครั่งได้เมื่ออายุ 5 ปี สะแกนา และปันแถเริ่มใช้เลี้ยงครั่งได้เมื่ออายุ 4 ปี เป็นต้น เพราะถ้าเลี้ยงครั่งบนต้นไม้มีขนาดเล็ก และมีครั่งจับทำรังมากเกินไปเมื่อเกิดความแห้งแล้งอาจทำให้ต้นไม้ตายได้
วิธีเตรียมต้นไม้ก่อนปล่อยครั่งพันธุ์
เพื่อให้แน่ใจว่าหลังจากที่ปล่อยครั่งพันธุ์แล้วแมลงครั่งจะไปจับทำรังตามกิ่งที่แข็งแรงและไม่ถูกมดรบกวน จึงควรปฏิบัติตามขั้นตอนข้างล่างนี้
1. สางกิ่ง เพื่อให้ต้นไม้โปร่งโดยตัดเอากิ่งแห้ง กิ่งผุ และกิ่งที่เป็นโรค หรือไม่สมบูรณ์ออก ถ้ามีเถาวัลย์หรือวัชพืชบนต้นไม้ควรเอาลงด้วย
2. กำจัดมด เพื่อป้องกันมดทำลายตัวอ่อนของครั่งที่จะออกจากรังของครั่งพันธุ์ ถ้ามีมดให้ใช้สารกำจัดมดก่อนปล่อยครั่ง 7 - 15 วัน และใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วผูกรอบโคนต้นไม้เพื่อป้องกันมดจากพื้นดินขึ้นต้นไม้
3. ทำความสะอาด รอบโคนต้นไม้เพื่อป้องกันมด และสัตว์มีพิษที่อาจทำอันตรายต่อคน
วิธีตัดแต่งกิ่ง
ต้นไม้เลี้ยงครั่งที่ปล่อยให้แตกกิ่งเองตามธรรมชาติจะมีอายุกิ่งแตกต่างกัน ทำให้เลี้ยงครั่งรอบหนึ่ง ๆ ได้ผลตอบแทนต่ำ ดังนั้นตัดแต่งกิ่งจะทำให้ได้กิ่งที่แตกใหม่มีอายุเท่า ๆ กัน และควบคุมเรือนยอดให้แผ่กว้าง และโปร่ง รวมทั้งไม่ต้องการให้ต้นสูง ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการเลี้ยงครั่งและได้ผลตอบแทนสูง จึงควรตัดแต่งกิ่งต้นไม้โดยคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1. ฤดูตัดแต่งกิ่ง โดยทั่วไปนิยมตัดแต่งกิ่งในช่วงฤดูร้อน เพราะต้นไม้มีอัตราการเจริญเติบโตช้า เช่น ถ้าต้องการปล่อยครั่งพันธุ์เดือนธันวาคม ควรตัดแต่งกิ่งประมาณเมษายน เป็นต้น
2. ความสมบูรณ์ของต้นไม้ ต้นไม้ที่จะตัดแต่งกิ่งต้องเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์และแข็งแรง เมื่อตัดแต่งกิ่งต้องรักษารูปทรงเรือนยอดของต้นไม้ไว้และให้มีที่ว่างพอสำหรับให้กิ่งที่งอกใหม่เจริญเติบโตได้ดี
3. กิ่งขนาดเล็ก ๆ และกิ่งที่ไม่แข็งแรงมีแมลงเจาะและกิ่งแห้งควรตัดทิ้งให้หมด ส่วนกิ่งอื่น ๆ ตัดตามตารางที่ 3 การตัดแต่งกิ่งในปีถัดมาให้ตัดเฉพาะกิ่งที่แตกออกจากกิ่งที่เคยตัดไว้ในครั้งที่แล้วเท่านั้น
ฤดูปล่อยครั่ง
การนำครั่งพันธุไปปล่อยเลี้ยงขยายพันธุ์ตามกิ่งต้นไม้เลี้ยงครั่งในรอบปีหนึ่ง ๆ สามารถปล่อยครั่งเลี้ยงได้ คือ
1. การปล่อยครั่งเลี้ยงในรอบฤดูฝน คือ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน แล้วตัดเก็บครั่งลงในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
2. การปล่อยครั่งเลี้ยงในรอบฤดูร้อน คือ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม แล้วตัดเก็บครั่งลงในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน แต่เนื่องจากการเลี้ยงครั่งในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง จึงได้ผลผลิตน้อยไม่คุ้มค่า ผู้เลี้ยงครั่งจึงปล่อยรังครั่งไว้บนต้นไม้ให้ขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ
ปริมาณครั่งพันธุ์ที่ปล่อย ครั่งพันธุ์ที่ปล่อยควรจะพอดีกับขนาดของเรือนยอดของต้นไม้ ถ้าหากใช้ครั่งพันธุ์ปล่อยมากเกินไป จะไม่มีที่ว่างของกิ่งอวบอ่อนให้ลูกครั่งจับทำรัง อาจทำให้กิ่งไม้ที่ปล่อยครั่งตายได้ โดยทั่วไปแล้วอัตราส่วนของครั่งพันธุ์ ที่มีลักษณะดีขนาดยาว 1 ฟุต จะกระจายได้บนกิ่งไม้ที่ปล่อยครั่งเพาะได้ 12 - 20 ฟุต หรือครั่งพันธุ์ 1 กิโลกรัม จะยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 5 - 10 ฟุต ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักที่คำนวณหาปริมาณครั่งพันธุ์ที่จะปล่อยกับไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ควรแบ่งต้นไม้แต่ละชนิดเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ แล้วจึงปล่อยครั่งพันธุ์ คิดเป็นน้ำหนักตามขนาดความโตของไม้ (วัดที่ระดับความสูง 1.30 เมตร)พันธุ์ครั่งที่ใช้
การเลี้ยงครั่งให้ประสบความสำเร็จนั้น พันธุ์ครั่งที่ใช้จะต้องเป็นพันธุ์ครั่งที่ดี ซึ่งเราได้พันธุ์ครั่งจาก
1. การปล่อยครั่งเลี้ยงโดยวิธีแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติ เมื่อตัดเก็บครั่งลงจากต้นไม้ จะเหลือครั่งไว้บนต้นไม้โดยไม่ตัดกิ่งไม้ที่มีครั่งอยู่ลงหมดทุกกิ่งทั่วทุกต้น ครั่งตัวอ่อนก็จะออกไปทำรังใหม่ที่ต้นไม้นั้นต่อไป ซึ่งวิธีนี้ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรมและเป็นแหล่งเพาะศัตรูครั่ง ตลอดจนครั่งที่ได้จะมีคุณภาพต่ำ
2. การตัดครั่งทำพันธุ์ การตัดครั่งไปทำการขยายพันธุ์ปีหนึ่งตัด 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เป็นการตัดครั่งที่เลี้ยงในฤดูร้อน ครั่งในช่วงนี้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ
ครั้งที่ 2 ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม เป็นการตัดครั่งที่เลี้ยงในฤดูฝน จะได้ผลผลิตสูง รังครั่งที่ด้ปมหนา และสมบูรณ์
ลักษณะครั่งที่ใช้คัดไปทำพันธุ์ จะต้องเป็นครั่งที่แก่เต็มที่ ครั่งตัวเมียที่สมบูรณ์และมีชีวิตอยู่โดยที่ไม่ตัดก่อนลูกครั่งออกจากซากรังเก่า ระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน โดยสังเกตจาก
1. ภายนอกของรังครั่ง รังที่ครั่งสร้างหุ้มกิ่งไม้จะต้องหนาเกาะหุ้ม รอบกิ่งหรือเกือบรอบกิ่งและเกาะยาวไปตามกิ่ง ไม่ขาดเป็นตอน ๆ แต่ไม่มีร่องรอยของแมลงศัตรู
2. ภายในรังครั่ง ครั่งพันธุ์ที่ดีนั้นเมื่อบี้รังดูจะพบว่าภายในมีช่องเล็ก ๆ มากมาย คล้ายซี่หวี และมีช่องรังกว้าง ภายในช่องรังกว้าง ภายในช่องรังมีตัวครั่งรูปร่างกลม ซึ่งมีสีแดงอยู่ แสดงว่าครั่งตัวเมียนั้นยังมีชีวิตและสมบูรณ์อยู่ แต่ถ้าบี้รังครั่งแลัวเห็นช่องเล็ก ๆ ภายในรังครั่งแคบและตัวครั่งส่วนใหญ่แห้งตายแสดงว่ารังครั่งนี้ไม่ควรนำไปใช้ทำพันธุ์
การเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ปล่อยครั่งพันธุ์
เนื่องจากครั่งพันธุ์ที่จะนำไปปล่อยบนต้นไม้มีอายุจำกัด ดังนั้น เมื่อตัดครั่งพันธุ์เพื่อย้ายไปแขวนบนต้นไม้ใหม่ควรรีบทำให้เสร็จโดยเร็ว เพราะถ้านำรังครั่งพันธุ์วางกองทิ้งไว้ตัวอ่อนของแมลงครั่งจะคลานออกจากรังและหากิ่งไม้ที่อวบอ่อนเพื่อจับทำรังไม่ได้จะตายไป ดังนั้นจึงควรเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ห่อครั่งพันธุ์ไว้ล่วงหน้า
มัดฟางข้าว หรือมัดหญ้าคาแห้ง เตรียมโดยใช้เชือกหรือตอกมัดฟางข้าวไว้เป็นกำเล็ก ๆ หลวม ๆ เพื่อเก็บไว้ห่อครั่งพันธุ์
ตอกหรือเชือก เพื่อใช้มัดครั่งพันธุ์ติดกับมัดฟางข้าวที่เตรียมไว้
ไม้ง่าม เพื่อใช้แขวนครั้งพันธุ์ที่ห่อแล้วบนกิ่งไม้
เมื่อคัดเลือกครั่งพันธุ์ดีได้แล้ว นำครั่งพันธุ์มาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวท่อนละ 6 - 7 นิ้ว แล้วนำไปห่อด้วยฟางหรือหญ้าคาแห้งที่ได้มัดเตรียมไว้แล้วดังกล่าวในหัวข้อที่ 3 คือ มีมัดฟางข้าวที่มัดไว้หลวม ๆ แล้วให้นำกิ่งไม้ที่มีครั่งพันธุ์เกาะอยู่สอดลงตรงกลางมัดฟางข้าว ซึ่งจะทำให้มัดฟางข้าวที่หลวมแน่นขึ้น ใช้ตอกหรือเชือกมัดปลายฟางข้าวด้านบนให้หุ้มรังครั่ง แต่อย่าใช้ฟางข้าวหุ้มรังครั่งหนาและแน่นเกินไป เพราะจะทำให้ตัวอ่อนของครั่งคลานออกจากรังได้ยาก
ครั่งพันธุ์ 1 กิโลกรัม ควรแบ่งห่อเป็น 6 - 10 มัด แล้วจึงนำพันธุ์ครั่ง 2 มัด ผูกติดกันเพื่อสะดวกต่อการปล่อยโดยวิธีแขวน
เศษครั่งพันธุ์ที่หลุดออกเป็นท่อนเล็ก ๆ อาจรวมใส่ตะกร้าเล็กรวมกัน เพื่อนำไปแขวนตามกิ่งไม้ได้ นอกจากนี้ยังใช้อวนพลาสติกสีฟ้าตาข่ายเล็ก ๆ ที่นิยมใช้กั้นขอบบ่อเลี้ยงปลาห่อครั่งพันธุ์ได้ด้วย การห่อด้วยตาข่ายเล็ก ๆ นี้ มีข้อดีคือ ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนของแมลงศัตรูครั่งออกจากรังไปผสมพันธุ์เพิ่มจำนวนแล้วกลับมาทำความเสียหายให้แก่ครั่งที่เลี้ยงไว้ได้
วิธีปล่อยครั่งพันธุ์
1. กระจายครั่งพันธุ์ การปล่อยครั่งพันธุ์ควรปล่อยให้กระจายบนกิ่งทั่ว ๆ ต้น จึงจะได้ผลตอบแทนสูง
2. จำนวนพันธุ์ ครั่งพันธุ์ที่ใช้ปล่อยบนต้นไม้แต่ละต้นจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนกิ่งอวบอ่อนที่ลูกครั่งจะไปเกาะจับทำรังใหม่ว่า มีมากน้อยเท่าใด จำนวนครั่งพันธุ์สามารถประมาณได้โดยเปรียบเทียบจากผลการทดลอง ซึ่งทราบว่า ถ้าใช้ครั่งพันธุ์ที่มีลักษณะดียาว 1 ฟุต จะได้ตัวอ่อนของครั่งที่คลานออกจากรังครั่งพันธุ์ไปเกาะบนกิ่งที่อวบอ่อน ยาวประมาณ 12 - 25 ฟุต ถ้าใช้ครั่งพันธุ์มากเกินไปตัวอ่อนของอครั่งจะไปจับก้านใบ ซึ่งต่อมาก้านใบจะหลุดร่วงไป ทำให้เสียพันธุ์ครั่งไปโดยไม่มีประโยชน์ ดังนั้น หลังจากปล่อยครั่งพันธุ์แล้วถ้าไม่แน่ใจว่าใช้จำนวนพันธุ์มากเกินไปหรือไม่ ควรตรวจดูตามกิ่งที่ตัวอ่อนครั่งไปเกาะ ถ้าพบว่ามีแมลงครั่งพันธุ์เกาะมากพอสมควรแล้ว ให้ย้ายห่อครั่งพันธุ์ไปปล่อยที่กิ่งอื่น ๆ ต่อไปอีก
3. ตำแหน่งที่ปล่อยครั่งพันธุ์ ครั่งพันธุ์ที่ห่อและผูกติดกันเป็นคู่แล้ว เมื่อนำไปปล่อยบนต้นไม้ ให้ปล่อยจากกิ่งที่อยู่ข้างล่างก่อนแล้วจึงขึ้นไปปล่อยกิ่งที่อยู่สูงขึ้นไปตามลำดับ เพราะขณะที่อยู่บนที่สูงนั้น สามารถมองเห็นกิ่งที่อยู่ต่ำกว่าได้ง่าย ตำแหน่งที่ปล่อยครั่งพันธุ์ควรอยู่ใกล้กิ่งที่อวบอ่อน ซึ่งลูกครั่งจะไปเกาะมากที่สุด ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรใช้ไม้ง่ามช่วยส่งห่อครั่งพันธุ์ขึ้นไปแขวนคร่อมกิ่งที่ต้องการปล่อยครั่งพันธุ์ ถ้าไม่ต้องการปล่อยครั่งพันธุ์โดยวิธีแขวนคร่อมกิ่ง อาจใช้วิธีผูกครั่งพันธุ์ให้ขนานและแนบติดไปตามความยาวของกิ่ง โดยวางรังครั่งไว้ด้านบนของโคนกิ่ง
วิธีดูแลหลังปล่อยครั่งพันธุ์
1. เก็บรังของครั่งพันธุ์ที่แขวนไว้ลง หลังจากแขวนไว้ครบ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูครั่งที่อาจติดมากับรังของครั่งพันธุ์ ส่วนรังครั่งนำไปขายได้
2. ระวังอย่าสุมไฟ หรือฉีดสารฆ่าแมลงใกล้บริเวณต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง
วิธีตัดครั่งทำพันธุ์และการเก็บครั่ง
1. ตัดครั่งเพื่อใช้ทำพันธุ์ ต้องตัดเมื่อรังครั่งตัวเมียแก่เต็มที่ เพราะไข่ของแม่ครั่งจะฟักเป็นตัวลูกครั่งและคลานออกจากรัง (หรือที่นิยมเรียกว่า ระยะครั่งออกตัว) ไปหากิ่งไม้เกาะทำรังใหม่ ปกติครั่งรอบฤดูร้อนจะแก่ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ซึ่งครั่งระยะนี้มักจะไม่กะเทาะขายเป็นครั่งดิบ แต่อาจขายเป็นพันธุ์ครั่ง ส่วนครั่งรอบฤดูฝนจะแก่ประมาณเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม แต่ถ้าอากาศเย็นหรือมีฝนตก ครั่งจะแก่ช้ากว่าปกติ อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่ครั่งออกตัวนี้จะแตกต่างกันอยู่ในช่วง 1 - 3 สัปดาห์ เท่านั้น ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส ครั่งจะออกตัวได้ดี และลูกครั่งจะออกตัวจากรังมากที่สุดในระยะ 7 วันแรก หลังจากนั้นจะออกตัวอีกแต่มีจำนวนไม่มากนัก
ถ้าตัดครั่งที่ไม่แก่ไปทำพันธุ์จะมีลูกครั่งจำนวนน้อยและอ่อนแอ หรือไม่มีลูกครั่งออกจากรังเลย แต่ถ้าตัดครั่งไปทำพันธุ์ช้าเกินไป คือ เมื่อตัวลูกครั่งคลานออกจากรังไปแล้วจะทำให้เกิดผลเสีย คือ ไม่มีครั่งติดเลย
ถ้ามีต้นไม้เลี้ยงครั่งไม่มากนัก ควรใช้วิธีตรวจดูว่าครั่งเริ่มออกตัวเมื่อใด ถ้าพบลูกครั่งเริ่มคลานออกจากรังให้รีบตัดครั่งไปทำพันธุ์ แล้วนำไปปล่อยให้เสร็จภายใน 1 - 2 วัน วิธีนี้จะได้ครั่งติดดีมาก แต่ถ้าเลี้ยงครั่งเป็นส่วนใหญ่ให้ตัดครั่งก่อนระยะตัวอ่อนจะคลานออกจากรังประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ จะได้มีเวลานำครั่งพันธุ์ไปแขวนได้ทัน
2. การคาดคะเนวันที่ครั่งออกตัว การคาดคะเนนี้สังเกตจากผิวนอกของรังดังนี้
ระยะ 2 - 3 สัปดาห์ ก่อนครั่งออกตัว ถ้าใช้มือถูรังครั่งให้สะอาดจะสังเกตเห็นรอยร้าวที่ผิวนอกของรังครั่ง รังครั่งจะแห้งทำให้สามารถแกะรังครั่งออกจากกิ่งที่จับทำรังได้ง่าย
ระยะ 7 วัน ก่อนครั่งออกตัว ถ้าใช้แว่นขยายกำลังขยาย 4 - 10 เท่า ส่องดูผิวรังครั่งที่ขัดสะอาดแล้ว จะเริ่มเห็นจุดสีเหลืองส้มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไปจุดสีเหลืองส้มนี้เกิดจากการที่แสงส่องผ่านรังครั่งตรงบริเวณที่เกิดจากครั่งตัวเมียที่แก่หดตัวเล็กลง จึงเกิดช่องว่างรอบ ๆ ตัวแม่ครั่ง ซึ่งอยู่ในรัง ดังนั้น เมื่อครั่งหดตัวแสงจึงสามารถส่องผ่านบริเวณที่เป็นช่องว่างนี้ได้ จึงทำให้บริเวณนี้มีสีเหลืองส้มเป็นจุดเล็ก ๆ ต่างจากบริเวณอื่น ๆ ของรัง ซึ่งมีสีน้ำตาลปนแดงและทึบแสง ยิ่งใกล้วันครั่งออกตัวเท่าใดแม่ครั่งจะหดตัวมากขึ้น จึงเห็นจุดสีเหลืองส้มนี้ขยายวงกว้างขึ้น นอกจากนี้ควรบี้รังครั่งให้แตกเพื่อดูว่าแม่ครั่งยังมีชีวิตสมบูรณ์หรือแห้งตายแล้วตามที่อธิบายไว้ในวิธีคัดเลือกพันธุ์
ระยะ 1 - 2 วัน ก่อนครั่งออกตัวสามารถมองเห็นจุดสีเหลืองส้มขยายวงกว้างขึ้น และมีพื้นที่รวมประมาณครั่งหนึ่งของบริเวณผิวกายภายนอกของรัง
3. วิธีเก็บครั่ง การตัดครั่งไว้ขาย มักตัดครั่งลงเมื่อแก่เต็มที่ แต่ยังไม่ถึงระยะที่ครั่งออกตัว ดังนั้น เมื่อตัดครั่งขายต้องคัดพันธุ์ที่ดีเก็บไว้ใช้ทำพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งที่มีครั่งจับทำรังให้ตัดเหลือแต่กิ่งไว้ไม่เกิน 1 1/2 ฟุต และถ้ากิ่งโตกว่า 2 นิ้ว ไม่ต้องตัดกิ่ง แต่ใช้มีดกะเทาะเอาครั่งออกแทน ควรรวบรวมกิ่งที่ครั่งจับทำรังไว้ก่อน จากนั้นจึงตัดแต่งกิ่งเพื่อเตรียมไม้ไว้เลี้ยงครั่งต่อไป
4. วิธีเตรียมครั่งไว้ขาย เมื่อตัดครั่งลงจากต้นแล้ว ควรรีบกะเทาะรังครั่งออกจากกิ่งไม้ แล้วตากครั่งดิบที่กะเทาะได้ให้แห้ง โดยวิธีผึ่งบนลานสะอาดเกลี่ยให้ครั่งดิบหนาประมาณ 4 - 6 นิ้ว และอย่าให้ถูกแดดแรงมาก ครั่งดิบที่กะเทาะใหม่ ๆ ยังสดอยู่ จึงต้องใช้คราดกลับไปมาทุกวันจนแห้งสนิท หลังจากนั้นจึงกลับครั่ง 3 - 4 วัน ต่อครั้ง การตากครั่งไม่ควรให้ถูกฝนหรือตากครั่งหนา เพราะจะทำให้ครั่งบูดได้ เมื่อตากครั่งแห้งแล้วควรรีบขายครั่งให้โรงงานที่ทำครั่งเม็ด แต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้ต้องหมั่นกลับครั่งที่เก็บไว้ เพื่อให้อากาศถ่ายเท เพราะถ้ากองทับถมไว้หนาและอากาศร้อนครั่งจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ทำให้ขายได้ราคาต่ำ ดังนั้น ถ้าเห็นครั่งจับเป็นก้อนให้รีบทุบให้แตกเป็นก้อนเล็ก ๆ อย่าปล่อยไว้นาน เพราะจะจับกันแน่นมากขึ้น
ผู้เลี้ยงครั่งควรจะได้ตรวจสอบราคาจากโรงงานที่รับซื้อครั่งโดยตรงแล้วรวมกลุ่มผู้เลี้ยงครั่ง เพื่อให้มีปริมาณครั่ง มากพอที่โรงงานจะเอามารับซื้อถึงที่ และบรรทุกไปเอง โดยผู้เลี้ยงไม่ต้องขนไปขายเองศัตรูของครั่ง แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. ศัตรูที่เกิดจากสัตว์ เช่น นก หนู กระแต กระรอก และบ่าง สัตว์เหล่านี้จะมากินรังครั่งและลูกครั่ง การป้องกันกำจัดโดยใช้หนามยาว ๆ ที่แหลมคมผูกไว้ตามโคนต้นไม้ ทำให้ไต่ไปมาไม่ได้ ส่วนหนูจะใช้กับดักก็ได้
2. ศัตรูที่เกิดจากแมลงทำลาย แมลงที่ทำลายครั่ง ได้แก่
แมลงตัวห้ำ โดยที่ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้จะกัดกินครั่ง หนอนสีชมพู เป็นต้น
แมลงแตนเบียน จะวางไข่ในตัวครั่งแล้วตัวอ่อนจะอาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในตัวครั่ง จนกระทั่งเป็นตัวแก่ออกมา ซึ่งเป็นระยะที่แมลงครั่งถูกทำลายพอดี การป้องกันกำจัดนั้น กระทำได้ยาก เนื่องจากเป็นแมลงที่เล็กมาก
มด มักจะเป็นศัตรูครั่งในช่วงที่ลูกครั่งกำลังไต่ออกจากรังของเซลแม่ครั่ง เพื่อไปหาที่เหมาะสมของกิ่งเพื่อจับทำรังใหม่ ซึ่งมดจะจับตัวอ่อนกิน แต่เมื่อลูกครั่งได้สร้างสารออกมาหุ้มตัวแล้ว มดก็จะไม่สามารถทำอันตรายต่อลูกครั่งได้ การป้องกันและกำจัด โดยให้กำจัดมดบนต้นไม้ก่อนนำพันธุ์ครั่งไปปล่อยเพาะเลี้ยง และใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องพันรอบโคนต้นไม้ เพื่อป้องกันมดไต่ขึ้นไป แต่ในระยะที่ครั่งตัวผู้เป็นตัวแก่ออกมา ให้เอาผ้าที่พันไว้ออก เพื่อให้มดไต่ไปทำความสะอาดรังครั่งและช่วยกำจัดแมลงศัตรูครั่งได้ตามปกติ
ศัตรูของไม้เลี้ยงครั่ง
การเลี้ยงครั่งให้ได้ผลดีก็ต้องอาศัยต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่งที่แข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงศัตรูรบกวน หากต้นไม้ทรุดโทรมและตายไป แมลงครั่งที่เกาะอาศัยอยู่ก็ย่อมไม่เจริญเติบโตและตายไปด้วยเช่นกัน ศัตรูของไม้เลี้ยงครั่ง เช่น ถั่วแระ และต้นก้ามปู คือ
1. หนอนเจาะต้นถั่วแระ เป็นผีเสื้อขนาดใหญ่ โดยที่ตัวหนอนจะเจาะกัดกินส่วนต่าง ๆ ของถั่วแระ ทำให้ต้นถั่วแระทรุดโทรม และตายไป
การป้องกันและกำจัด
- ตรวจดูถั่วแระทุก 2 เดือน ถ้าพบขี้ขุยไม้ออกมาจากโคนต้น แสดงว่ามีตัวอ่อนของหนอนอเจาะ ให้รีบกำจัดแมลงศัตรูทันที
- ขุดต้นถั่วแระที่ถูกทำลายมากไปเผาทิ้ง
2. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่จะดูดน้ำเลี้ยงตามกิ่งและใบของต้นไม้ ทำให้เกิดใบร่วงและลำต้นเหี่ยวแห้งตายในที่สุด เป็นศัตรูของต้นจามจุรี ถั่วแระ พุทรา และสีเสียดออสเตรเลีย
การป้องกันและกำจัด
- การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ก่อนจะปล่อยครั่งเลี้ยง เพราะหากฉีดสารเคมีกำจัดเพลี้ยแห้งในขณะที่มีครั่งอยู่ด้วย จะทำให้ครั่งตายได้
- หากพบเพลี้ยแป้งระบาดให้ตัดแต่งกิ่งที่มีเพลี้ยแป้งลงมาแล้วเผาทิ้ง
- บำรุงรักษาให้ต้นไม้เลี้ยงครั่งแข็งแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น