วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม





ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrobrachium rosenbergii de Man, ค.ศ. 1879

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Arthropoda
ชั้น Crustacea

อันดับ Decapoda
วงศ์ Palaemonoidea

สกุล Macrobrachium
สปีชีส์ M. rosenbergii





ลักษณะ/ลักษณะพิเศษ
แม่กุ้งหรือกุ้งก้ามกรามจัดอยู่ในจำพวกสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่มีเปลือกหุ้มอยู่ภายนอก ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนลำตัว ส่วนหาง ส่วนหัวประกอบด้วยขาเดิน 3 คู่ และขาที่มีลักษณะเป็นก้ามอีก 2 คู่ อยู่ทางส่วนหน้า ขาคู่ที่ 1 ใช้ในการป้อนอาหารเข้าปากและทำความสะอาดร่างกาย ขาคู่ที่ 2 มีความยาวและใหญ่กว่าคู่ที่ 1 ซึ่งใช้ประโยชน์ในการต่อสู้ และจับเหยื่อ ส่วนปลายสุดของกุ้งก้ามกรามประกอบด้วยกรีมีลักษณะแบนข้าง ส่วนโคนของกรีหนาและนูนเรียวแหลมไปทางส่วนปลาย ตรงกลางกรีโค้ง แอ่นลง ส่วนปลายงอนขึ้น ที่สันกรีด้านบนและล่างมีหลักหนามคล้ายฟันเลื่อย จำนวนหนามบนสันกรีล่าง 8 - 14 ซี่ สันกรีบนมี 12 - 15 ซี่ ตาอยู่ส่วนใต้ โคนกรีอยู่บนก้านซึ่งยาวยื่นออกมาและเคลื่อนไหวได้ ส่วนลำตัวแบ่งออกเป็นปล้อง ๆ รวม 6 ปล้อง ด้านล่างของส่วนลำตัวมีขาว่ายน้ำ 5 คู่ หางประกอบด้วยแพนหางข้างละ 1 คู่ ตรงส่วนกลางเป็นปลายหางแหลม
แหล่งที่พบ
แม่กุ้งหรือกุ้งก้ามกรามพบมากในทะเลสาปสงขลา ตั้งแต่ตำบลลำปำไปจนถึงอำเภอปากพะยูน
ความสัมพันธ์กับชุมชนและความสำคัญทางเศรษฐกิจ
แม่กุ้งของจังหวัดพัทลุงเป็นกุ้งขนาดใหญ่ หนักประมาณตัวละ 100 g. อาจจะเนื่องจากเติบโตเองตามธรรมชาติในบริเวณทะเลสาปสงขลา ส่วนที่เราเรียกกันว่าทะเลสาปลำปำ ซึ่งมีอาหารของกุ้งอุดมสมบูรณ์ แม่กุ้งที่จับขึ้นมาได้จึงมีรสชาดอร่อยมากแตกต่างไปจากรสชาดของกุ้งก้ามกรามที่เพาะเลี้ยงโดยทั่วไปอย่างชัดเจน จึงเป็นที่นิยมของนักกิน เป็นอาหารสำคัญเรียกลูกค้าของร้านอาหารใหญ่ ๆ ดัง ๆ ของจังหวัดพัทลุง ราคาของแม่กุ้งจึงแพง ตกประมาณกิโลกรัมละ 100 - 400 บาท ขึ้นกับฤดูกาลและขนาดของแม่กุ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...