การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
อันดับ Proboscidea
วงศ์ Elephantidae
สกุล Elephas
สปีชีส์ E. maximus
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elephas maximus Linnaeus, ค.ศ. 1758
สถานะอนุรักษ์
สถานะ : ใกล้สูญพันธุ์
ช้างเอเชียพันธุ์ย่อย
Elephas maximus maximus
Elephas maximus indicus
Elephas maximus sumatranusช้างเอเชีย (Asian Elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง โดยงวงของช้างเอเชียจะมีเพียงจะงอยเดียว ต่างจากช้างแอฟริกาที่มี 2 จะงอย ตัวผู้มีงายาวเรียก ช้างพลาย ถ้าไม่มีงาเรียก ช้างสีดอ ในฤดูผสมพันธุ์มีอาการดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา ซึ่งงาของช้าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. งาปลี มีลำใหญ่วัดรอบประมาณ 15 นิ้ว แต่ยาวไม่มาก
2. งาหวาย หรืองาเครือ ขนาดวัดโดยรอบประมาณ 14 นิ้ว แต่ยาวรี
ช้างเป็นสัตว์กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง ช้างเอเชียส่วนใหญ่มีขนาดความสูงประมาณ 2-4 เมตร (7-12 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 3,000 - 5,000 กิโลกรัม (6,500-11,000 ปอนด์) ช้างเมื่อโตเต็มที่จะกินอาหารวันหนึ่งประมาณ 200 กิโลกรัม
ช้างเอเชีย แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ย่อย (Subspecies) ได้ดังนี้
ช้างศรีลังกา (Elephas maximus maximus) จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ ตัวสีดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้ หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็นช้างสีดอ คือไม่มีงาคงมีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้หรือช้างพลายมีงาน้อยมาก ส่วนตัวเมียเหมือนช้งเอเชียพันธุ์อื่นคือไม่มีงาแต่มีขนายเท่านั้น
ช้างอินเดีย (Elephas maximus indicus) ขนาดตัวจะเล็กกว่าชนิดแรก สีตามจุดต่างๆ จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียได้แก่ เนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา แคว้นยูนานในประเทศจีน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นมีช้างเอเชียพันธุ์อินเดียกระจัดกระจายอยู่ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ
ช้างสุมาตรา (Elephas maximus sumatranus) มีขนาดตัวเล็กที่สุด สีผิวจางมากที่สุด พบในมาเลเซีย เกาะสุมาตรา
ช้างเอเชีย จัดเป็นสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงไว้ใช้งานประเภทต่าง ๆ มาแต่โบราณ เช่น ใช้เป็นพาหนะ ลากซุง หรือแม้แต่ในการสงคราม โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะนับถือช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง โดยจะปรากฏเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ธงรูปช้าง ตำราคชลักษณ์ เป็นต้น
ช้างถูกใช้ในประเพณีต่าง ๆ รวมทั้งเป็นราชพาหนะและสิ่งประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่มีช้างเผือกไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นกษัตริย์ที่มีบุญบารมี เฉกเช่น สมเด็จพระจักรพรรดิราชในคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
จากเวปวิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น