การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
อันดับ Carnivora
วงศ์ Ursidae
สกุล Ursus
สปีชีส์ U. thibetanus
หมีควาย (Ursus thibetanus)จัดเป็นหมี 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งคือ หมีหมา (Ursus malayanus)) หมีควายมีลำตัวอ้วนใหญ่ หัวมีขนาดใหญ่ ตาเล็กและหูกลม ขาอ้วนล่ำและหนา หางสั้น มีนิ้วเท้ายาวทั้งหมดห้านิ้ว กรงเล็บสั้น ขนตามลำตัวหยาบมีสีดำ มีลักษณะเด่นคือ ขนบริเวณหน้าอกเป็นรูปตัว V มีสีขาว ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ ความยาวลำตัวและหัว 120-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5-10 เซนติเมตร น้ำหนักอาจหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวางพบตั้งแต่ ภาคตะวันออกของปากีสถาน ภาคเหนือของอินเดีย ธิเบต เนปาล สิกขิม ภูฐาน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม จีน คาบสมุทรเกาหลี ญี่ปุ่น ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย
มักเลือกอาศัยอยู่ในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีอากาศเย็น เช่น ป่าบนภูเขาหินปูน กินอาหารได้หลากหลาย เช่น เนื้อสัตว์ ผลไม้ ใบไม้ หน่อไม้ ซากสัตว์ แมลง รังผึ้ง ตัวอ่อนผึ้ง บางครั้งอาจเข้ามากินในพื้นที่เกษตรกรรม มักออกหากินในเวลากลางคืน ปีนต้นไม้ไม่เก่ง แต่ชอบฉีกเปลือกไม้เพื่อหาแมลงใต้เปลือกไม้ หรือใช้แสดงเป็นสัญลักษณ์บอกถึงอาณาเขตของตัว ตามปกรติมักอาศัยและหากินตามลำพัง แต่ในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน อาจหากินเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ใช้เวลาตั้งท้องนาน 7-8 เดือน ออกลูกครั้งละไม่เกิน 2 ตัว ตามโพรงไม้หรือในถ้ำที่ปลอดภัย หมีควายเป็นสัตว์ที่สายตาไม่ค่อยดี จึงค่อนข้างดุร้าย เมื่อตกใจหรือสงสัยจะยืนด้วยขาหลัง ต่อสู้กับศัตรูโดยการตะปบด้วยขาหน้าและกัดด้วยฟันอย่างรุนแรง นอกจากนี้แล้วยังมีพฤติกรรมที่แปลก คือ ชอบขดตัวกลมแล้วกลิ้งลงมาจากเนินเขา สันนิษฐานว่าเป็นการเล่นสนุก
จากเวป วิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น