วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จิงโจ้

จิงโจ้




อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
ชั้นย่อย Marsupialia

อันดับ Diprotodontia
อันดับย่อย Macropodiformes
วงศ์ Macropodidae

สกุล Macropus
in part


จิงโจ้ (Kangaroo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง (macropod) (สัตว์อื่นๆ ได้แก่ วอลลาบี จิงโจ้ต้นไม้ วอลลารู เป็นต้น ทั้งหมด 63 ชนิดด้วยกัน) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นออสเตรเลีย

โครงกระดูกของ สิงโตจิงโจ้ขนาดยักษ์ (Marsupial lion) หรือ ลูกครึ่งวอมแบ็ทกับจิงโจ้ ถูกค้นพบในโพรงถ้ำของเขตที่ราบ Nullarbor ในเซ็ลทรัลออสเตรเลียทางตอนใต้ ที่ซึ่งเต็มไปด้วยโครงกระดูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และนกจำนวน 69 สปีชีส์ โครงกระดูกของสัตว์บางตัวยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีชิ้นส่วนสูญหาย

Marsupial หมายถึง สัตว์จำพ
วกจิงโจ้ของออสเตรเลีย ที่มีกระเป๋าหน้าท้องไว้สำหรับใส่ลูก ซึ่งได้แก่ จิ้งโจทุกสปีชีส์ และหมีโคอะล่า แต่ Marsupial lion นี้เป็นสัตว์จำพวกจิงโจ้ที่ไม่เคยมีการค้นพบและจดบันทึกมาก่อน


โพรงถ้ำลึกลับนี้ถูกค้นพบโดยนักเดินถ้ำในปี 2002 แต่ด้วยขนาดและความลึก 20 – 70 เมตรใต้ทะเลทรายนั้นได้เพิ่มความลำบากให้ทีมนักโบราณคดีจากพิพิธภัณฑ์ Western Australia Museum ที่นำโดย Gavin Prideaux ใช้เวลาถึง 4 ปีในการรวบรวมและวิเคราะห์โครงกระดูกนั้น

ทีมนักโบราณคดีวิเคราะห์ว่า สัตว์เหล่านั้นน่าจะตกลงมาในโพรงถ้ำนี้ในระหว่าง 800,000– 200,000 ปีที่แล้ว ทีมงานได้ทำการวิเคราะห์ธาตุออกวิเจนและธาตุคาร์บอนในผิวฟันของพวกสัตว์ก่อนประวัติศาสตร์นั้นกับฟันของฟอสซิลสัตว์ตระกูลจิงโจ้ที่พบในปัจจุบันจำนวน 13 สปีชีส์ รวมถึง วอมแบ็ทยักษ์ (Giant wombat) เพื่อดูว่าพวกมันกินอะไรเป็นอาหารเมื่อครั้งที่มันยังมีชีวิตอยู่ พบว่ามีความใกล้เคียงกันกับจิงโจ้และวอมแบ็ทที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ในเขตที่ราบ Nullarbor ที่แห้งแล้ง แสดงให้เห็นว่า สัตว์ก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้อาศัยอยู่ในสภาพภูมิอากาศอันแห้งแล้ง (arid climate) นี้มาก่อน

จากโครงกระดูกพบว่ามีสัตว์เฉพาะจำพวกจิงโจ้ถึง 23 สปีชีส์ รวมถึงจิงโจ้ชนิดที่ปีนต้นไม้ได้ แสดงให้เห็นว่าแม้เขต Nullarbor ในอดีตจะเคยแห้งแล้ง แต่ก็ยังมีความหลากหลายของพืชพันธุ์ที่เป็นอาหารให้กับสรรพสัตว์มากกว่าในปัจจุบัน

Gavin คาดว่า Marsupial lion น่าจะตายลงในช่วง 40,000 ปีที่แล้วอาจจะมาจากความขาดแคลนอาหารในช่วงยุคน้ำแข็ง และอาจมาจากมนุษย์ไม่โดยการล่าก็การทำลายถิ่นที่อยู่ของพวกมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...