วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นกขุนทอง

นกขุนทอง





รูปร่างลักษณะ

เป็นนกขนาดปานกลางค่อนข้างใหญ่ ความยาวจากปลายปากจดหาง 25 -40 ซม. ปากสั้นกว่าหัว ปากหนา แบนข้าง และโค้งเล็กน้อย (พันธุ์ที่พบใน ประเทศไทยยาวประมาณ 33 ซม.) ลำตัวค่อนข้างอ้วน ป้อม หัวโต คอสั้น หางสั้น ปลายหางตัด ขนบริเวณกระหม่อมสั้นมาก นกที่โตเต็มวัย ขนคลุมลำตัวสีดำเป็นมันเหลือบ ออกม่วง ที่บริเวณท้ายทอย และ หลัง , หน้าอกสีเหลือบออกเขียว และ น้ำเงิน ปีกมีแถบสี
ขาวบริเวณขนปีกบินชั้นแรก ขนปีก บิน จำนวน 6 เส้น ขนปลายปีกเส้นนอกสุดเล็ก จะงอยปากสีส้มอมเหลือง ถึงสีออกแดง ด้านโคนจงอย
ปากเข้มกว่า ด้านปลายจะงอยปาก บริเวณหลังตามีแผ่นหนังสีเหลือง เรียกว่า เหนียง อยู่บริเวณใต้ตาถึงข้างคอและท้ายทอยยาวประมาณ 3 ซม. ขา และ เท้า สีส้มอมเหลือง นิ้วเท้ามี 4 นิ้ว ชี้ไปข้างหน้า 3 นิ้ว และด้านหลัง 1 นิ้ว แต่ละนิ้วมีกรงเล็บที่โค้งแข็ง นกทั้งสองเพศมีสี
คล้ายกัน แต่นกตัวเมีย ตัวโตกว่านกตัวผู้ นกที่ยังไม่โตเต็มวัย สีลำตัวจะออกสีตุ่นๆ และ ไม่ดำเป็นมัน เหมือนนกที่โตเต็มวัย บริเวณด้าน
ข้างของหัว หลังตาจะมีสีเหลืองอ่อนจางๆ ซึ่งบริเวณนี้ต่อไปจะพัฒนาเป็นเหนียง เหมือนนกที่ โตเต็มวัย นกวัยอ่อน ปากจะมีสีคล้ำกว่านก
ที่เต็มวัย



แหล่งอาศัยหากิน

ป่าดงดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ชายป่า ป่าโปร่ง และ พื้นที่โล่งใกล้ป่าดิบ แต่จะต้อง เป็นบริเวณที่มี ฝนตกชุกพอสมควร ปริมาณน้ำฝน
ที่ตกเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 180 มม. ต่อปี และ อุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 องศา เซลเซียส พบได้ตั้งแต่พื้น ที่ราบ ไปจนถึงความสูง 1,370 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ส่วนมากจะพบที่ความสูงเฉลี่ย 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มักชอบกินน้ำหวานจากดอกไม้ป่า เช่น ดอกทองหลางป่า ดอกงิ้วป่า และ สนอินเดีย โดยเกาะที่ก้านดอก และยื่นหัว และ จะงอยปาก เข้าไปดูดน้ำหวานกิน จึงมีละอองเกสรติดบริเวณกระหม่อม และ ไปติดในเกสรดอกตัวเมีย จึงมีส่วน ในการช่วยผสมเกสรของดอกไม้
บางชนิดด้วย นอกจากนั้นยังชอบกินผลไม้สุก เช่น โพ ไทร ไกร กร่าง หว้า กล้วย มะละกอ ถ้าผลไม้มีขนาดเล็กไม่เกิน 2 ซม. มันจะกลืน
เข้าไปทั้งผล เมล็ดผลไม้ที่แข็งจะไม่ถูกย่อย และ จะถ่ายออกมาภายใน 1 ชั่วโมง สำหรับเมล็ดไม้บางชนิดที่มีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น เมล็ด
จำปาป่า มันจะกินโดยใช้ปากขบให้เปลือกแตกก่อน นอกจากนี้ มันก็กินพวก ไข่มด หนอน แมลง ตัวอ่อนของแมลง ต่างๆ เช่น ตั๊กแตน ปลวก มด ตลอดจนสัตว์เลื้อยคลานพวก กบ เขียด กิ้งก่า หนูตัวเล็กๆ ที่มันจับได้ ตามพื้นป่า หรือตามกิ่งก้านของต้นไม้ หรือตามคาคบไม้ เช่น กิ้งก่า โดยจับฟาดกับต้นไม้ จนสลบ หรือ ตาย แล้วกลืนกิน ทั้งตัว ไม่ฉีกกินเหมือนเหยี่ยว นอกจากนี้อาจโฉบจับแมลง ที่บินผ่านมา
กลางอากาศบ้าง



นิสัยประจำพันธุ์

นกขุนทองเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และออกหากินด้วยกันเป็นฝูง โดยมี จ่าฝูงคอยให้สัญญาณในการออกบิน ด้วยการส่ง
เสียงร้องออกมาก่อน จำนวนนกในฝูงมักจะเป็นเลขคู่เสมอ ตั้งแต่ฝูงละ 6 - 8 ตัว จนถึง 12 -20 ตัว เพราะนกจะจับคู่ในฝูงเดียวกัน และ เมื่อจับคู่กันแล้ว ก็ ยังรวมกลุ่มไปหาอาหาร เป็นฝูงเช่นเดิม มันจะแยกจาก ฝูงก็ต่อเมื่อ มีภาระในการเลี้ยงลูกอ่อน เท่านั้น แต่ก็ยังอยู่
ในละแวกเดียวกับฝูง และ มีการติดต่อกับฝูงอยู่เสมอ การหากิน จะ อาศัย หากินตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ หรือพุ่มไม้บ้าง แต่จะไม่ลงมา
ยังพื้นดิน การเคลื่อนไหวตามกิ่งไม้ มักใช้วิธีกระโดด ไปทาง ด้านข้าง ซึ่งแตกต่างจากนกเอี้ยง และ นกกิ้งโครงอื่นๆ ในต้นไม้ผล ที่นก
ชอบ มักพบหากินร่วมกับนกที่กินผลไม้ด้วยกัน เช่น นกเงือก นกโพระดก นกเขาเปล้า เป็นต้น
หลังจากกินอิ่ม นกขุนทองทั้งฝูง จะไปเกาะพักตามกิ่งต่างๆของต้นงิ้วป่าบ้าง ทองหลางป่าบ้าง แต่จะต้อง เป็น ต้นไม้ที่มีใบแน่นทึบ โดยส่งเสียงสังสรรค์สนทนากันดังขรม ได้ยินแต่เสียงแอ๊ะๆ แอ๊ะๆ ดังไม่ขาดหู ตัวที่เป็นคู่กัน จะมีแบบ แผนการร้องที่ต่างจากตัวที่ไม่ได้
เป็นคู่กัน เมื่อตัวหนึ่งส่งเสียงร้อง คู่ของมันก็จะร้องตอบใน 2 - 4 วินาที นอกจากนั้น ลักษณะการ ร้องโต้ตอบของนกที่อาศัยอยู่ในบริเวณ
เดียวกันจะเหมือนกัน นกที่อยู่ในท้องที่อื่นจะร้องต่างกันออกไป คล้ายกับคนที่มีภาษาถิ่น แตกต่างกันออกไปในแต่ละภาคในเวลากลางคืน
จะเกาะนอนตามกิ่งไม้เช่นเดียวกับนกเอี้ยง หรือนกกิ้งโครงอื่นๆ แต่จะไม่ เป็น ฝูงใหญ่



ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่

โดยทั่วไปนกขุนทองจะผสมพันธุ์ และ วางไข่ปีละ 1 - 3 ครั้ง แต่โดยทั่วไป 2 ครั้ง ในช่วงฤดูร้อน และ ฤดูฝน และจะจับคู่แบบผัวเดียว
เมียเดียวตลอดไป จนกว่าอีกฝ่ายจะตายจากไปจึงจะหาคู่ใหม่ วัยเจริญพันธุ์ของนกขุนทอง จะอยู่ในราวอายุ 1 ปี ขึ้นไป ตัวเมียจะถึงวัย
เจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็วกว่าตัวผู้เล็กน้อย นกขุนทอง ในป่า ผสมพันธุ์กันกลางอากาศ คือระหว่างที่นกทั้งคู่บินตามกันมา นกตัวผู้ที่บินอยู่
ข้างหลังจะเร่งความเร็วจนบินทัน และเข้าไป ประกบกับตัวเมียทางด้านหลัง ในเวลาเพียงชั่วพริบตาเดียว ก็ผละออกจากกัน
นกขุนทองเป็นนกประจำถิ่น ที่พบในประเทศไทย มี 2 พันธุ์ คือ G.r.intermedia (นกขุนทองพันธุ์เหนือ) และ G.r. religiosa
(นกขุนทองพันธุ์ใต้) มีลักษณะแตกต่างกันคือ G.r. religiosa ตัวใหญ่ และหนากว่า เหนียงแยกเป็น 2 แผ่นไม่ติดต่อกัน ระหว่างแผ่น
ที่อยู่ใต้หู กับแผ่นที่อยู่บริเวณท้ายทอย และพบเฉพาะทางภาคใต้ของไทย ส่วน G.r. intermedia พบทั่วไป ยกเว้นทางภาคใต้

แหล่งที่มา
http://www.zyworld.com/NAKARIN/HTMLhillmyna.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...