ชื่อวิทยาศาสตร์ Ornithorhynchus anatinus (Shaw, ค.ศ. 1799)
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
อันดับ Monotremata
วงศ์ Ornithorhynchidae
สกุล Ornithorhynchus
Blumenbach, ค.ศ. 1800
สปีชีส์ O. anatinus
ตุ่นปากเป็ด (Platypus) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย แม้ว่าตุ่นปากเป็ดจะมีเพียงสปีชีส์เดียว แต่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อ เช่น watermole, duckbill, duckmole, duck-billed platypus และมีชื่อที่ชาวอะบอริจินตั้งให้อีกหลายชื่อ ได้แก่ mallangong, boondaburra และ tambreet พบตุ่นปากเป็ดเฉพาะในแถบตะวันออกของออสเตรเลียเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) เช่นเดียวกับอีคิดนา จึงออกลูกเป็นไข่เหมือนกัน ตุ่นปากเป็ดมีทั้งขนาดใหญ่เเละขนาดเล็ก
ลักษณะ
ลำตัว
ตุ่นปากเป็ดมีลำตัวแบน หัวเรียวท้ายเรียว ในตัวเต็มวัย ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หนัก 1.7 กิโลกรัม ตัวเมียมีความยาวเฉลี่ย 44 เซนติเมตร หนัก 0.9 กิโลกรัม นอกจากบริเวณปากและเท้าแล้วตุ่นปากเป็ดมีขนปกคลุมตลอดตัว ตุ่นปากเป็ดมีขนสองชั้น ขนชั้นนอกยาว (hair) หยาบ สีน้ำตาลเข้ม ชั้นล่างเป็นขนอ่อน (fur) เส้นละเอียด หนาแน่น มีตั้งแต่สีเทาจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนชั้นล่างกันน้ำได้ ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ยามตุ่นปากเป็ดดำลงไปในน้ำที่เย็นจัดจนเกือบจับตัวเป็นน้ำแข็ง
หาง
หางตุ่นปากเป็ดแบนกว้างเช่นเดียวกับลำตัว สร้างมาจากไขมัน เพราะตุ่นปากเป็ดสะสมไขมันไว้ที่หางเพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้ในฤดูหนาว ในขณะที่บีเวอร์ใช้หางขับเคลื่อนยามว่ายน้ำ ตุ่นปากเป็ดเพียงแต่ใช้หางในการบังคับทิศทางเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดจะม้วนหางจับใบไม้เอาไว้ขณะขนใบไม้ไปสร้างรัง ประโยชน์ของหางอีกอย่างคือใช้ห่มร่างกายตอนกกลูก นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดระดับสุขภาพของตุ่นปากเป็ดได้จากการบีบหาง
ปาก - จมูก
ปากของตุ่นปากเป็ดมีรูปร่างคล้ายปากเป็ด ยืดหยุ่นคล้ายยาง ปากบนเป็นสีน้ำเงินเทา มีรูจมูกอยู่ถัดมาจากปลายปากบนเล็กน้อย การที่รูจมูกอยู่ตำแหน่งนี้ช่วยให้ตุ่นปากเป็ดหายใจได้ดีขณะลำตัวอยู่ใต้น้ำ ปากล่างมีขนาดเล็กกว่าปากบน ใต้ปากล่างเป็นสีชมพูอ่อน หรือเป็นจุดๆหลากสี ด้านหลังของปากส่วนที่ต่อกับหัวมีกะบังยกขึ้นเล็กน้อยเหนือหน้าผาก ไม่ทราบแน่ชัดว่ากะบังนี้มีประโยชน์อย่างใดบ้าง
ปากของตุ่นปากเป็ดรับสัมผัสได้ดีเพราะมีเส้นประสาทอยู่จำนวนมาก ตุ่นปากเป็ดจึงใช้ปากในการนำทางและหาอาหารขณะอยู่ใต้น้ำ มันมีปุ่มรับประจุไฟฟ้าเรียงรายอยู่ทั่วจะงอยปาก ปุ่มเหล่านี้บางส่วนไวต่อการสัมผัส บางส่วนไวต่อประจุไฟฟ้าที่แผ่ออกมาขณะเหยื่อหดเกร็งกล้ามเนื้อ ตุ่นปากเป็ดไม่มีฟัน บดอาหารด้วยปุ่มหยาบๆที่อยู่บนลิ้นและเพดานปาก (เรียกกันว่า เพดานบด)
ตา - หู
ตาของตุ่นปากเป็ดอยู่หลังจงอยปาก หูอยู่ด้านข้างหัว เป็นเพียงช่องเปิด ไม่มีใบหู ขณะดำน้ำตุ่นปากเป็ดจะปิดหู ปิดตา จึงจำเป็นต้องใช้อวัยวะอื่นในการนำทางตอนอยู่ใต้น้ำ แต่เวลาอยู่บนบก ตาและหูของตุ่นปากเป็ดใช้งานได้ตามปกติ ตุ่นปากเป็ดหูไวตาไวมาก และมองเห็นได้ไกล แต่เพราะตำแหน่งของตาอยู่หลังกะบังปากจึงมองสิ่งที่อยู่ "ใต้จมูก" ไม่ถนัด
ขา - เท้า
ตุ่นปากเป็ดมีขาสั้น อุ้งเล็บแข็งแรง ใช้ขุดดินได้ดี เท้าคู่หน้าเป็นพังผืดติดกันทุกนิ้ว ตุ่นปากเป็ดใช้เฉพาะขาหน้าในการดึงตัวไปขณะว่ายน้ำ ขาหลังซึ่งมีพังผืดเพียงบางส่วนทำหน้าที่ร่วมกับหาง เป็นเพียงหางเสือบังคับทิศทางเท่านั้น คงเพราะเท้าพังผืดนี่เองที่ตุ่นปากเป็ดมีชื่อสามัญว่า platypus (เท้าแบน)
เมื่อลงน้ำ พังผืดระหว่างอุ้งเท้าจะแผ่ออก เปลี่ยนเท้าเป็นพายที่มีประสิทธิภาพ แต่เมื่อตุ่นปากเป็ดอยู่บนบกมันจะพับพังผืดเก็บไว้ จะได้ใช้กรงเล็บขุดอุโมงค์ยาวๆได้ โดยพังผืดไม่เสียหาย ที่ข้อเท้าหลังของตัวผู้มีเดือยยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยื่นออกมา เดือยของตุ่นปากเป็ดมีรูกลวงต่อไปยังต่อมพิษที่ต้นขา บริเวณใกล้ท่อสืบพันธุ์และขับถ่าย (ท่อเดียวกัน : ดูคำอธิบายเพิ่มเติมในโมโนทรีมาตา)
เวลาเดิน เท้าของตุ่นปากเป็ดกางยื่นออกมานอกลำตัว คล้ายกับสัตว์เลื้อยคลาน แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แม้แต่อีคิดนา สัตว์ร่วมอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) กับตุ่นปากเป็ด เวลาเดินเท้าจะอยู่ใต้ลำตัว
พฤติกรรมทั่วไป
การป้องกันตัว
ตุ่นปากเป็ดมีลักษณะนิสัยคล้ายอีคิดนา คือ ขี้อาย สันโดษ นอกฤดูผสมพันธุ์มักอยู่ตามลำพัง แต่ละตัวจะมีอาณาเขตของตนเอง หากมีการล่วงล้ำเขตกันขึ้นก็อาจมีการต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดน แต่การปะทะเกิดไม่บ่อยนัก เพราะเมื่อเทียบกับขนาดตัวและความเร็วในการเคลื่อนที่แล้ว ตุ่นปากเป็ดครอบครองดินแดนเป็นบริเวณค่อนข้างกว้าง แม้มีการทับซ้อนกันบ้าง โอกาสที่จะเผชิญหน้ากันก็น้อยมาก
ในฤดูผสมพันธุ์ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตุ่นปากเป็ดต่อสู้กัน คือ แย่งตัวเมีย
เวลาถูกคุกคามจากสัตว์อื่น ตุ่นปากเป็ดมักจะหลบหนีมากกว่าต่อสู้ นอกจากจวนตัวหนีไม่พ้นจริงๆ ในการต่อสู้ตุ่นปากเป็ดตัวผู้จะใช้เดือยพิษแทงและปล่อยพิษใส่ศัตรู สำหรับคน พิษตุ่นปากเป็ดไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้แผลบวม และเจ็บปวดสาหัสอยู่เป็นเวลานาน ว่ากันว่าอาจจะนานเป็นเดือนๆเลยทีเดียว แต่สำหรับสุนัข แมว และสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆ พิษนี้ทำให้ถึงตายได้
การหาอาหาร
ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืน แม้ตุ่นปากเป็ดจะเกิดและอาศัยอยู่บนบก แต่หากินและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในน้ำตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ลำธาร แม่น้ำ ทะเลสาบ ด้วยลำตัวที่เพรียว เท้ามีพังผืด ทำให้ตุ่นปากเป็ดว่ายน้ำและดำน้ำได้ดีมาก ขณะดำน้ำหาอาหารมันจะส่ายปากไปมา เพื่อให้รับประจุไฟฟ้าและสัมผัสอื่นๆได้เต็มที่ เมื่อเจอเหยื่อ ตุ่นปากเป็ดจะกลั้วน้ำพร้อมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็กๆ จำพวกกุ้งฝอย กุ้งนาง หนอนต่างๆ หอยตัวเล็กๆ และแมลงน้ำอื่นๆ ลงในคอ กรองเอาเหยื่อเหล่านี้เก็บไว้ในกระพุ้งแก้ม บางครั้งตุ่นปากเป็ดจะเก็บเหยื่อไว้จนเต็มกระพุ้งแก้ม แล้วจึงว่ายขึ้นไปนอนเคี้ยว(บด)อาหารที่ผิวน้ำ
โดยปกติ ในแต่ละวันตุ่นปากเป็ดกินอาหารในปริมาณร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว แต่สำหรับแม่ตุ่นปากเป็ดขณะให้นมลูกจะกินอาหารต่อวันเพิ่มขึ้นจนเกือบเท่าน้ำหนักตัว
การสืบพันธุ์
ตุ่นปากเป็ดเข้าวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้สองปี อวัยวะสืบพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดตัวผู้คล้ายกับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ แต่ลูกอัณฑะฝังอยู่ในร่างกาย บริเวณใกล้ไต ในขณะที่ระบบสืบพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดตัวเมียแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกในครรภ์ เพราะตุ่นปากเป็ดมีรังไข่คล้ายของนกหรือสัตว์เลื้อยคลาน ถึงแม้มีรังไข่สองข้างแต่ทำงานได้เพียงข้างซ้ายเท่านั้น เนื่องจากรังไข่อีกข้างไม่พัฒนา จึงไม่ผลิตไข่
ฤดูผสมพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดคือช่วงปลายฤดูหนาวย่างฤดูใบไม้ผลิ หรือเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ในถิ่นที่อากาศอบอุ่นกว่าฤดูผสมพันธุ์จะเริ่มเร็วกว่า ในช่วงนี้ตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัวเพราะตุ่นปากเป็ดไม่ได้จับคู่กันยาวนาน พบเห็นตุ่นปากเป็ดขณะผสมพันธุ์ได้น้อยมาก มีบันทึกไว้ว่าการที่ตัวผู้ไล่ตามและว่ายวนรอบตัวเมียแล้วงับหางนั้นเป็นการเกี้ยว ปกติตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่สันโดษไม่ค่อยข้องเกี่ยวกับตัวอื่น แต่ในช่วงเกี้ยวพาจะมีการสัมผัสตัวกันเพิ่มขึ้น และการเกี้ยวส่วนใหญ่ตัวเมียเป็นฝ่ายเริ่ม หลังการผสมพันธุ์ตัวผู้จะกลับไปยังรังของตน โดยไม่มีส่วนร่วมใดๆในการดูแลลูกอ่อน
ในช่วงนี้ ตุ่นปากเป็ดตัวเมียจะขุดอุโมงค์ยาว 20 - 30 เมตร ใช้ใบไม้ทำรังไว้ที่ก้นอุโมงค์ ประมาณหนึ่งเดือนหลังการผสมพันธุ์มันจะใช้ดินอุดช่องอุโมงค์เพื่อป้องกันศัตรู เช่น งูกับสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ และหนูน้ำ เพื่อรักษาความชื้นในห้องที่ทำรังด้วย จากนั้นจึงวางไข่ โดยทั่วไปตุ่นปากเป็ดวางไข่คราวละสองฟอง แต่บางครั้งก็มีหนึ่งหรือสามฟอง ไข่ตุ่นปากเป็ดเปลือกนิ่ม เหนียว คล้ายไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน แต่กลมคล้ายไข่นก มีขนาดประมาณ 11 มิลลิเมตร แม่ตุ่นปากเป็ดจะกกไข่ไว้แนบท้องแล้วม้วนหางมาคลุมร่างและไข่เอาไว้เป็นเวลาสิบวัน ไข่จึงออกเป็นตัว ลูกอ่อนของตุ่นปากเป็ดเรียกว่า พักเกิ้ล(puggle) เช่นเดียวกับลูกอีคิดนา
เนื่องจากตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา จึงไม่มีหัวนม พักเกิ้ลจะแกว่งจะงอยปากสั้นหนาของมันและดื่มกินน้ำนมที่ไหลซึมออกมาจากท่อเล็กๆที่ฐานนม ที่หน้าท้องแม่ พักเกิ้ลจะอยู่ในรังที่อบอุ่น ปลอดภัย และสุขสบายนี้จนอายุประมาณสี่เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีขนเรียบเป็นมันและตัวโตเกือบเท่าแม่แล้ว ลูกตุ่นปากเป็ดจึงโผล่ออกไปดูโลกภายนอก หลังจากหัดล่าเหยื่อและหัดว่ายน้ำจนคล่องแคล่วอยู่สองสามสัปดาห์ มันก็ออกไปหาที่อยู่ใหม่เป็นของตัวเอง
การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ตุ่นปากเป็ดต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดปี ทั้งบนบกและในน้ำ และเนื่องจากตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงเป็นสัตว์เลือดอุ่น สัตว์เลือดอุ่นมีระดับอุณหภูมิของร่างกายคงที่ ไม่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมเหมือนสัตว์เลือดเย็น ในฤดูหนาว แม้ในวันที่หนาวเย็นมาก ตุ่นปากเป็ดก็ยังออกว่ายน้ำหาอาหาร ความจริงข้อนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตัดข้อสงสัยที่ว่ามันอาจจะเป็นจำพวกสัตว์เลื้อยคลานออกไปได้ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่า เวลาอากาศหนาวเย็นสัตว์เลื้อยคลานจะลดอัตราเมแทบอลิซึมลง ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายของมันลดลง และทำให้มีอาการเซื่องซึม หากตุ่นปากเป็ดลดอัตราเมแทบอลิซึมลงด้วย มันก็คงไม่สามารถออกไปหาอาหารที่ก้นแม่น้ำได้
ในทางตรงกันข้าม อากาศยิ่งหนาว ตุ่นปากเป็ดก็ยิ่งต้องเพิ่มอัตราเมแทบอลิซึม เพื่อรักษาสมดุลระหว่างอุณหภูมิปกติของร่างกายและอุณหภูมิภายนอกเอาไว้ อย่างไรก็ตาม เมแทบอลิซึมหรือการเผาผลาญอาหารนี้ต้องอาศัยพลังงาน ซึ่งปกติได้มาจากอาหาร แต่ในฤดูหนาวอาหารมักจะขาดแคลน ตุ่นปากเป็ดจึงต้องดึงไขมันที่สะสมไว้ในหางมาใช้
ตุ่นปากเป็ดใช้ระบบหมุนเวียนโลหิตมาช่วยลำเลียงความร้อน ความร้อนที่ได้จากการเผาผลาญอาหาร จะลำเลียงผ่านเส้นเลือดไปสู่อวัยวะสำคัญ และลดการหมุนเวียนไปยังส่วนที่ไม่จำเป็น เช่น ขาหลัง หาง และปาก นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ช่วยเก็บกักความร้อนไว้ได้มากก็คือขนหนานุ่มของมันนั่นเอง นอกจากกันน้ำแล้ว ยังเป็นฉนวนกันไม่ให้ความร้อนระบายออกจากร่างกายได้อีกด้วย นับว่าตุ่นปากเป็ดมีผ้าห่มกันหนาวที่ดีเยี่ยม
ถิ่นอาศัย
ตุ่นปากเป็ดอาศัยอยู่แถบฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย กระจายอยู่เกือบตลอดแนวฝั่งด้านตะวันออก ทางทิศเหนือขึ้นไปถึงแม่น้ำอันนานในควีนส์แลนด์ และทางทิศใต้ลงมาถึงเกาะแทสเมเนีย
เมื่อหลายสิบปีก่อน พบตุ่นปากเป็ดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างกว่าปัจจุบัน สาเหตุที่ตุ่นปากเป็ดหายไปจากหลายพื้นที่ คาดกันว่าคงเป็นเพราะการขยายตัวของเมืองทำให้พื้นที่อาศัยของมันลดลง และมีมลภาวะทางสภาพแวดล้อมมากขึ้น หรือพื้นที่นั้นมีศัตรูของตุ่นปากเป็ด เช่น จระเข้ อาศัยอยู่ชุกชุม
บรรพบุรุษและวิวัฒนาการ
นักวิทยาศาสตร์ยังรู้น้อยมากว่าตุ่นปากเป็ดมีวิวัฒนาการมาอย่างไร แต่พบฟอสซิลอายุนับ 60 ล้านปีที่มีลักษณะคล้ายตุ่นปากเป็ด ฟอสซิลบางชนิดคล้ายตุ่นปากเป็ดมาก ต่างกันเพียงแค่สัตว์ในสมัยบรรพกาลตัวนั้นมีฟัน ส่วนตุ่นปากเป็ดไม่มี ฟอสซิลเหล่านี้ บางชิ้นพบในอเมริกาใต้และแอนตาร์กติกา นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่าในยุคที่แผ่นดินยังเชื่อมต่อกันอยู่ สัตว์ในอันดับโมโนทรีมาตา (ตุ่นปากเป็ดและอีคิดนา) คงเคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนั้นเช่นกัน
แต่สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ทำไมตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาจึงเหลือรอดอยู่เพียงแต่ในออสเตรเลียและนิวกินีเท่านั้น ยังไม่มีใครตอบได้ นอกจากมีข้อสันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะความโดดเดี่ยวของทวีปออสเตรเลีย สัตว์เหล่านี้จึงเหลือรอดมาได้
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
อันดับ Monotremata
วงศ์ Ornithorhynchidae
สกุล Ornithorhynchus
Blumenbach, ค.ศ. 1800
สปีชีส์ O. anatinus
ตุ่นปากเป็ด (Platypus) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย แม้ว่าตุ่นปากเป็ดจะมีเพียงสปีชีส์เดียว แต่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อ เช่น watermole, duckbill, duckmole, duck-billed platypus และมีชื่อที่ชาวอะบอริจินตั้งให้อีกหลายชื่อ ได้แก่ mallangong, boondaburra และ tambreet พบตุ่นปากเป็ดเฉพาะในแถบตะวันออกของออสเตรเลียเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) เช่นเดียวกับอีคิดนา จึงออกลูกเป็นไข่เหมือนกัน ตุ่นปากเป็ดมีทั้งขนาดใหญ่เเละขนาดเล็ก
ลักษณะ
ลำตัว
ตุ่นปากเป็ดมีลำตัวแบน หัวเรียวท้ายเรียว ในตัวเต็มวัย ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หนัก 1.7 กิโลกรัม ตัวเมียมีความยาวเฉลี่ย 44 เซนติเมตร หนัก 0.9 กิโลกรัม นอกจากบริเวณปากและเท้าแล้วตุ่นปากเป็ดมีขนปกคลุมตลอดตัว ตุ่นปากเป็ดมีขนสองชั้น ขนชั้นนอกยาว (hair) หยาบ สีน้ำตาลเข้ม ชั้นล่างเป็นขนอ่อน (fur) เส้นละเอียด หนาแน่น มีตั้งแต่สีเทาจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนชั้นล่างกันน้ำได้ ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ยามตุ่นปากเป็ดดำลงไปในน้ำที่เย็นจัดจนเกือบจับตัวเป็นน้ำแข็ง
หาง
หางตุ่นปากเป็ดแบนกว้างเช่นเดียวกับลำตัว สร้างมาจากไขมัน เพราะตุ่นปากเป็ดสะสมไขมันไว้ที่หางเพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้ในฤดูหนาว ในขณะที่บีเวอร์ใช้หางขับเคลื่อนยามว่ายน้ำ ตุ่นปากเป็ดเพียงแต่ใช้หางในการบังคับทิศทางเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดจะม้วนหางจับใบไม้เอาไว้ขณะขนใบไม้ไปสร้างรัง ประโยชน์ของหางอีกอย่างคือใช้ห่มร่างกายตอนกกลูก นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดระดับสุขภาพของตุ่นปากเป็ดได้จากการบีบหาง
ปาก - จมูก
ปากของตุ่นปากเป็ดมีรูปร่างคล้ายปากเป็ด ยืดหยุ่นคล้ายยาง ปากบนเป็นสีน้ำเงินเทา มีรูจมูกอยู่ถัดมาจากปลายปากบนเล็กน้อย การที่รูจมูกอยู่ตำแหน่งนี้ช่วยให้ตุ่นปากเป็ดหายใจได้ดีขณะลำตัวอยู่ใต้น้ำ ปากล่างมีขนาดเล็กกว่าปากบน ใต้ปากล่างเป็นสีชมพูอ่อน หรือเป็นจุดๆหลากสี ด้านหลังของปากส่วนที่ต่อกับหัวมีกะบังยกขึ้นเล็กน้อยเหนือหน้าผาก ไม่ทราบแน่ชัดว่ากะบังนี้มีประโยชน์อย่างใดบ้าง
ปากของตุ่นปากเป็ดรับสัมผัสได้ดีเพราะมีเส้นประสาทอยู่จำนวนมาก ตุ่นปากเป็ดจึงใช้ปากในการนำทางและหาอาหารขณะอยู่ใต้น้ำ มันมีปุ่มรับประจุไฟฟ้าเรียงรายอยู่ทั่วจะงอยปาก ปุ่มเหล่านี้บางส่วนไวต่อการสัมผัส บางส่วนไวต่อประจุไฟฟ้าที่แผ่ออกมาขณะเหยื่อหดเกร็งกล้ามเนื้อ ตุ่นปากเป็ดไม่มีฟัน บดอาหารด้วยปุ่มหยาบๆที่อยู่บนลิ้นและเพดานปาก (เรียกกันว่า เพดานบด)
ตา - หู
ตาของตุ่นปากเป็ดอยู่หลังจงอยปาก หูอยู่ด้านข้างหัว เป็นเพียงช่องเปิด ไม่มีใบหู ขณะดำน้ำตุ่นปากเป็ดจะปิดหู ปิดตา จึงจำเป็นต้องใช้อวัยวะอื่นในการนำทางตอนอยู่ใต้น้ำ แต่เวลาอยู่บนบก ตาและหูของตุ่นปากเป็ดใช้งานได้ตามปกติ ตุ่นปากเป็ดหูไวตาไวมาก และมองเห็นได้ไกล แต่เพราะตำแหน่งของตาอยู่หลังกะบังปากจึงมองสิ่งที่อยู่ "ใต้จมูก" ไม่ถนัด
ขา - เท้า
ตุ่นปากเป็ดมีขาสั้น อุ้งเล็บแข็งแรง ใช้ขุดดินได้ดี เท้าคู่หน้าเป็นพังผืดติดกันทุกนิ้ว ตุ่นปากเป็ดใช้เฉพาะขาหน้าในการดึงตัวไปขณะว่ายน้ำ ขาหลังซึ่งมีพังผืดเพียงบางส่วนทำหน้าที่ร่วมกับหาง เป็นเพียงหางเสือบังคับทิศทางเท่านั้น คงเพราะเท้าพังผืดนี่เองที่ตุ่นปากเป็ดมีชื่อสามัญว่า platypus (เท้าแบน)
เมื่อลงน้ำ พังผืดระหว่างอุ้งเท้าจะแผ่ออก เปลี่ยนเท้าเป็นพายที่มีประสิทธิภาพ แต่เมื่อตุ่นปากเป็ดอยู่บนบกมันจะพับพังผืดเก็บไว้ จะได้ใช้กรงเล็บขุดอุโมงค์ยาวๆได้ โดยพังผืดไม่เสียหาย ที่ข้อเท้าหลังของตัวผู้มีเดือยยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยื่นออกมา เดือยของตุ่นปากเป็ดมีรูกลวงต่อไปยังต่อมพิษที่ต้นขา บริเวณใกล้ท่อสืบพันธุ์และขับถ่าย (ท่อเดียวกัน : ดูคำอธิบายเพิ่มเติมในโมโนทรีมาตา)
เวลาเดิน เท้าของตุ่นปากเป็ดกางยื่นออกมานอกลำตัว คล้ายกับสัตว์เลื้อยคลาน แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แม้แต่อีคิดนา สัตว์ร่วมอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) กับตุ่นปากเป็ด เวลาเดินเท้าจะอยู่ใต้ลำตัว
พฤติกรรมทั่วไป
การป้องกันตัว
ตุ่นปากเป็ดมีลักษณะนิสัยคล้ายอีคิดนา คือ ขี้อาย สันโดษ นอกฤดูผสมพันธุ์มักอยู่ตามลำพัง แต่ละตัวจะมีอาณาเขตของตนเอง หากมีการล่วงล้ำเขตกันขึ้นก็อาจมีการต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดน แต่การปะทะเกิดไม่บ่อยนัก เพราะเมื่อเทียบกับขนาดตัวและความเร็วในการเคลื่อนที่แล้ว ตุ่นปากเป็ดครอบครองดินแดนเป็นบริเวณค่อนข้างกว้าง แม้มีการทับซ้อนกันบ้าง โอกาสที่จะเผชิญหน้ากันก็น้อยมาก
ในฤดูผสมพันธุ์ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตุ่นปากเป็ดต่อสู้กัน คือ แย่งตัวเมีย
เวลาถูกคุกคามจากสัตว์อื่น ตุ่นปากเป็ดมักจะหลบหนีมากกว่าต่อสู้ นอกจากจวนตัวหนีไม่พ้นจริงๆ ในการต่อสู้ตุ่นปากเป็ดตัวผู้จะใช้เดือยพิษแทงและปล่อยพิษใส่ศัตรู สำหรับคน พิษตุ่นปากเป็ดไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้แผลบวม และเจ็บปวดสาหัสอยู่เป็นเวลานาน ว่ากันว่าอาจจะนานเป็นเดือนๆเลยทีเดียว แต่สำหรับสุนัข แมว และสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆ พิษนี้ทำให้ถึงตายได้
การหาอาหาร
ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืน แม้ตุ่นปากเป็ดจะเกิดและอาศัยอยู่บนบก แต่หากินและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในน้ำตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ลำธาร แม่น้ำ ทะเลสาบ ด้วยลำตัวที่เพรียว เท้ามีพังผืด ทำให้ตุ่นปากเป็ดว่ายน้ำและดำน้ำได้ดีมาก ขณะดำน้ำหาอาหารมันจะส่ายปากไปมา เพื่อให้รับประจุไฟฟ้าและสัมผัสอื่นๆได้เต็มที่ เมื่อเจอเหยื่อ ตุ่นปากเป็ดจะกลั้วน้ำพร้อมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็กๆ จำพวกกุ้งฝอย กุ้งนาง หนอนต่างๆ หอยตัวเล็กๆ และแมลงน้ำอื่นๆ ลงในคอ กรองเอาเหยื่อเหล่านี้เก็บไว้ในกระพุ้งแก้ม บางครั้งตุ่นปากเป็ดจะเก็บเหยื่อไว้จนเต็มกระพุ้งแก้ม แล้วจึงว่ายขึ้นไปนอนเคี้ยว(บด)อาหารที่ผิวน้ำ
โดยปกติ ในแต่ละวันตุ่นปากเป็ดกินอาหารในปริมาณร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว แต่สำหรับแม่ตุ่นปากเป็ดขณะให้นมลูกจะกินอาหารต่อวันเพิ่มขึ้นจนเกือบเท่าน้ำหนักตัว
การสืบพันธุ์
ตุ่นปากเป็ดเข้าวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้สองปี อวัยวะสืบพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดตัวผู้คล้ายกับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ แต่ลูกอัณฑะฝังอยู่ในร่างกาย บริเวณใกล้ไต ในขณะที่ระบบสืบพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดตัวเมียแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรกในครรภ์ เพราะตุ่นปากเป็ดมีรังไข่คล้ายของนกหรือสัตว์เลื้อยคลาน ถึงแม้มีรังไข่สองข้างแต่ทำงานได้เพียงข้างซ้ายเท่านั้น เนื่องจากรังไข่อีกข้างไม่พัฒนา จึงไม่ผลิตไข่
ฤดูผสมพันธุ์ของตุ่นปากเป็ดคือช่วงปลายฤดูหนาวย่างฤดูใบไม้ผลิ หรือเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ในถิ่นที่อากาศอบอุ่นกว่าฤดูผสมพันธุ์จะเริ่มเร็วกว่า ในช่วงนี้ตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัวเพราะตุ่นปากเป็ดไม่ได้จับคู่กันยาวนาน พบเห็นตุ่นปากเป็ดขณะผสมพันธุ์ได้น้อยมาก มีบันทึกไว้ว่าการที่ตัวผู้ไล่ตามและว่ายวนรอบตัวเมียแล้วงับหางนั้นเป็นการเกี้ยว ปกติตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่สันโดษไม่ค่อยข้องเกี่ยวกับตัวอื่น แต่ในช่วงเกี้ยวพาจะมีการสัมผัสตัวกันเพิ่มขึ้น และการเกี้ยวส่วนใหญ่ตัวเมียเป็นฝ่ายเริ่ม หลังการผสมพันธุ์ตัวผู้จะกลับไปยังรังของตน โดยไม่มีส่วนร่วมใดๆในการดูแลลูกอ่อน
ในช่วงนี้ ตุ่นปากเป็ดตัวเมียจะขุดอุโมงค์ยาว 20 - 30 เมตร ใช้ใบไม้ทำรังไว้ที่ก้นอุโมงค์ ประมาณหนึ่งเดือนหลังการผสมพันธุ์มันจะใช้ดินอุดช่องอุโมงค์เพื่อป้องกันศัตรู เช่น งูกับสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ และหนูน้ำ เพื่อรักษาความชื้นในห้องที่ทำรังด้วย จากนั้นจึงวางไข่ โดยทั่วไปตุ่นปากเป็ดวางไข่คราวละสองฟอง แต่บางครั้งก็มีหนึ่งหรือสามฟอง ไข่ตุ่นปากเป็ดเปลือกนิ่ม เหนียว คล้ายไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน แต่กลมคล้ายไข่นก มีขนาดประมาณ 11 มิลลิเมตร แม่ตุ่นปากเป็ดจะกกไข่ไว้แนบท้องแล้วม้วนหางมาคลุมร่างและไข่เอาไว้เป็นเวลาสิบวัน ไข่จึงออกเป็นตัว ลูกอ่อนของตุ่นปากเป็ดเรียกว่า พักเกิ้ล(puggle) เช่นเดียวกับลูกอีคิดนา
เนื่องจากตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา จึงไม่มีหัวนม พักเกิ้ลจะแกว่งจะงอยปากสั้นหนาของมันและดื่มกินน้ำนมที่ไหลซึมออกมาจากท่อเล็กๆที่ฐานนม ที่หน้าท้องแม่ พักเกิ้ลจะอยู่ในรังที่อบอุ่น ปลอดภัย และสุขสบายนี้จนอายุประมาณสี่เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีขนเรียบเป็นมันและตัวโตเกือบเท่าแม่แล้ว ลูกตุ่นปากเป็ดจึงโผล่ออกไปดูโลกภายนอก หลังจากหัดล่าเหยื่อและหัดว่ายน้ำจนคล่องแคล่วอยู่สองสามสัปดาห์ มันก็ออกไปหาที่อยู่ใหม่เป็นของตัวเอง
การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ตุ่นปากเป็ดต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดปี ทั้งบนบกและในน้ำ และเนื่องจากตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงเป็นสัตว์เลือดอุ่น สัตว์เลือดอุ่นมีระดับอุณหภูมิของร่างกายคงที่ ไม่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมเหมือนสัตว์เลือดเย็น ในฤดูหนาว แม้ในวันที่หนาวเย็นมาก ตุ่นปากเป็ดก็ยังออกว่ายน้ำหาอาหาร ความจริงข้อนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตัดข้อสงสัยที่ว่ามันอาจจะเป็นจำพวกสัตว์เลื้อยคลานออกไปได้ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่า เวลาอากาศหนาวเย็นสัตว์เลื้อยคลานจะลดอัตราเมแทบอลิซึมลง ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายของมันลดลง และทำให้มีอาการเซื่องซึม หากตุ่นปากเป็ดลดอัตราเมแทบอลิซึมลงด้วย มันก็คงไม่สามารถออกไปหาอาหารที่ก้นแม่น้ำได้
ในทางตรงกันข้าม อากาศยิ่งหนาว ตุ่นปากเป็ดก็ยิ่งต้องเพิ่มอัตราเมแทบอลิซึม เพื่อรักษาสมดุลระหว่างอุณหภูมิปกติของร่างกายและอุณหภูมิภายนอกเอาไว้ อย่างไรก็ตาม เมแทบอลิซึมหรือการเผาผลาญอาหารนี้ต้องอาศัยพลังงาน ซึ่งปกติได้มาจากอาหาร แต่ในฤดูหนาวอาหารมักจะขาดแคลน ตุ่นปากเป็ดจึงต้องดึงไขมันที่สะสมไว้ในหางมาใช้
ตุ่นปากเป็ดใช้ระบบหมุนเวียนโลหิตมาช่วยลำเลียงความร้อน ความร้อนที่ได้จากการเผาผลาญอาหาร จะลำเลียงผ่านเส้นเลือดไปสู่อวัยวะสำคัญ และลดการหมุนเวียนไปยังส่วนที่ไม่จำเป็น เช่น ขาหลัง หาง และปาก นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ช่วยเก็บกักความร้อนไว้ได้มากก็คือขนหนานุ่มของมันนั่นเอง นอกจากกันน้ำแล้ว ยังเป็นฉนวนกันไม่ให้ความร้อนระบายออกจากร่างกายได้อีกด้วย นับว่าตุ่นปากเป็ดมีผ้าห่มกันหนาวที่ดีเยี่ยม
ถิ่นอาศัย
ตุ่นปากเป็ดอาศัยอยู่แถบฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย กระจายอยู่เกือบตลอดแนวฝั่งด้านตะวันออก ทางทิศเหนือขึ้นไปถึงแม่น้ำอันนานในควีนส์แลนด์ และทางทิศใต้ลงมาถึงเกาะแทสเมเนีย
เมื่อหลายสิบปีก่อน พบตุ่นปากเป็ดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างกว่าปัจจุบัน สาเหตุที่ตุ่นปากเป็ดหายไปจากหลายพื้นที่ คาดกันว่าคงเป็นเพราะการขยายตัวของเมืองทำให้พื้นที่อาศัยของมันลดลง และมีมลภาวะทางสภาพแวดล้อมมากขึ้น หรือพื้นที่นั้นมีศัตรูของตุ่นปากเป็ด เช่น จระเข้ อาศัยอยู่ชุกชุม
บรรพบุรุษและวิวัฒนาการ
นักวิทยาศาสตร์ยังรู้น้อยมากว่าตุ่นปากเป็ดมีวิวัฒนาการมาอย่างไร แต่พบฟอสซิลอายุนับ 60 ล้านปีที่มีลักษณะคล้ายตุ่นปากเป็ด ฟอสซิลบางชนิดคล้ายตุ่นปากเป็ดมาก ต่างกันเพียงแค่สัตว์ในสมัยบรรพกาลตัวนั้นมีฟัน ส่วนตุ่นปากเป็ดไม่มี ฟอสซิลเหล่านี้ บางชิ้นพบในอเมริกาใต้และแอนตาร์กติกา นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่าในยุคที่แผ่นดินยังเชื่อมต่อกันอยู่ สัตว์ในอันดับโมโนทรีมาตา (ตุ่นปากเป็ดและอีคิดนา) คงเคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนั้นเช่นกัน
แต่สำหรับข้อสงสัยที่ว่า ทำไมตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาจึงเหลือรอดอยู่เพียงแต่ในออสเตรเลียและนิวกินีเท่านั้น ยังไม่มีใครตอบได้ นอกจากมีข้อสันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะความโดดเดี่ยวของทวีปออสเตรเลีย สัตว์เหล่านี้จึงเหลือรอดมาได้
จากเวปวิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น