เลียงผา,เยือง,กูรำ,โครำ
ชื่อสามัญ : Serow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capricornis sumatraensis ี
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
อันดับ Artiodactyla
วงศ์ Bovidae
วงศ์ย่อย Caprinae
สกุล Capricornis
สปีชีส์ sumatraensis
ชื่อสามัญ : Serow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capricornis sumatraensis ี
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Mammalia
อันดับ Artiodactyla
วงศ์ Bovidae
วงศ์ย่อย Caprinae
สกุล Capricornis
สปีชีส์ sumatraensis
ลักษณะ : เลียงผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแพะและแกะ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ประมาณ 1 เมตร ขายาวและแข็งแรง ใบหูยาวคล้ายใบหูลา ขนตามลำตัวค่อนข้างยาว หยาบและมีสีดำ ด้านท้องขนสีจางกว่า มีขนเป็นแผงยาวบนสันคอและสันหลัง มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย เขามีลักษณะตอนโคนกลม หยักเป็นวงแหวนโดยรอบค่อยๆเรียวไปทางปลายเขาโค้งไปทางด้านหลังเล็กน้อย
อุปนิสัย : ในเวลากลางวันจะพักอาศัยอยู่ในถ้ำหรือในพุ่มไม้ ออกหากินในตอนเย็นถึงพลบค่ำและในเวลาเช้ามืด อาหารได้แก่พืชต่างๆทุกชนิด เลียงผามีประสาทหู ตา และรับกลิ่นได้ดี ผสมพันธุ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ตกลูกครั้งละ 1-2 ตัวใช้เวลาตั้งท้องราว 7 เดือน ในที่เลี้ยง เลียงผามีอายุยาวกว่า 10 ปี
ที่อยู่อาศัย : เลียงผาอาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันมีป่าปกคลุม
เขตแพร่กระจาย : เลียงผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ มาตามเทือกเขาหิมาลัยจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า อินโดจีน มลายู และสุมาตรา ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในหลายภูมิภาคของประเทศ เช่น เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาทั่วไปในบริเวณภาคใต้ รวมทั้งบนเกาะในทะเลที่อยู่ไม่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากนัก
สถานภาพ : เลียงผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดเรียงผาไว้ใน Appendix
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ในระยะหลังเลียงผามีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการล่าอย่างหนักเพื่อเอาเขา กระดูก และน้ำมันมาใช้ทำยาสมานกระดูก และพื้นที่หากินของเลียงผาลดลงอย่างรวดเร็วจากการทำการเกษตรตามลาดเขา และบนพื้นที่ที่ไม่ชันจนเกินไป
อุปนิสัย : ในเวลากลางวันจะพักอาศัยอยู่ในถ้ำหรือในพุ่มไม้ ออกหากินในตอนเย็นถึงพลบค่ำและในเวลาเช้ามืด อาหารได้แก่พืชต่างๆทุกชนิด เลียงผามีประสาทหู ตา และรับกลิ่นได้ดี ผสมพันธุ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ตกลูกครั้งละ 1-2 ตัวใช้เวลาตั้งท้องราว 7 เดือน ในที่เลี้ยง เลียงผามีอายุยาวกว่า 10 ปี
ที่อยู่อาศัย : เลียงผาอาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันมีป่าปกคลุม
เขตแพร่กระจาย : เลียงผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ มาตามเทือกเขาหิมาลัยจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า อินโดจีน มลายู และสุมาตรา ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในหลายภูมิภาคของประเทศ เช่น เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาทั่วไปในบริเวณภาคใต้ รวมทั้งบนเกาะในทะเลที่อยู่ไม่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากนัก
สถานภาพ : เลียงผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดเรียงผาไว้ใน Appendix
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ในระยะหลังเลียงผามีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการล่าอย่างหนักเพื่อเอาเขา กระดูก และน้ำมันมาใช้ทำยาสมานกระดูก และพื้นที่หากินของเลียงผาลดลงอย่างรวดเร็วจากการทำการเกษตรตามลาดเขา และบนพื้นที่ที่ไม่ชันจนเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น