ตะโขง
ตะโขง, จระเข้ปากกระทุงเหว
วงศ์ CROCODYLIDAE
Tomistoma schlegelii (S.Muller, 1838)
ลักษณะ : จระเข้ขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งของไทย ที่มีส่วนปากยาวเรียวกว่าจระเข้ชนิดอื่นๆ มาก ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 5 เมตร แต่โดยทั่วไปมีขนาดโดยเฉลี่ย 3.5-4 เมตร
อุปนิสัย: กินปลาและสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิดเป็นอาหาร ตะโขงโตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ 4.5-6 ปี การผสมพันธุ์ตะโขงจะสร้างเป็นรังใบไม้แห้งกองสูงขึ้นมาบนบริเวณที่สูงจากระดับน้ำในบึงในช่วงฤดูแล้ง หลังจากที่ไข่ฟักตัวเป็นระยะเวลานาน 2.5-3 เดือน ลูกตะโขงจะฟักออกมาในฤดูฝน จำนวนไข่ที่วางต่อครั้งมีจำนวน 20-60 ฟอง
ที่อยู่อาศัย : ตะโขงอาศัยอยู่ในแม่น้ำ และบึงหนองน้ำจืดที่มีบริเวณติดต่อกับแม่น้ำ บางครั้งพบออกมาอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำกร่อย
เขตแพร่กระจาย : พบในประเทศอินเดีย ออสเตรเลีย นิวกินี และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถานภาพ: จัดเป็นจรเข้ที่หายากมากที่สุดของไทย เท่าที่มีรายงานพบในระยะหลัง มาจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จังหวัดพัทลุง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส แต่ละแห่งพบเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น ตะโขงได้รับการคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 และอนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix 1
สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์: ประชากรตะโขงในประเทศไทยจัดว่าเป็นพวกที่อยู่ตอนเหนือสุดของเขตแพร่กระจายตามธรรมชาติ จึงมักจะเป็นสัตว์ที่หายากอยู่แล้ว การล่าตะโขงอย่างหนักและระยะฟักไข่ที่นานผิดปกติจึงง่ายต่อการถูกสัตว์ผู้ล่าหลายชนิดเข้าทำลาย ทำให้จำนวนประชากรในธรรมชาติลดลงไปเรื่อยๆ
จากหนังสือ : พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย
ตะโขง, จระเข้ปากกระทุงเหว
วงศ์ CROCODYLIDAE
Tomistoma schlegelii (S.Muller, 1838)
ลักษณะ : จระเข้ขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งของไทย ที่มีส่วนปากยาวเรียวกว่าจระเข้ชนิดอื่นๆ มาก ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 5 เมตร แต่โดยทั่วไปมีขนาดโดยเฉลี่ย 3.5-4 เมตร
อุปนิสัย: กินปลาและสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิดเป็นอาหาร ตะโขงโตเต็มที่เมื่อมีอายุได้ 4.5-6 ปี การผสมพันธุ์ตะโขงจะสร้างเป็นรังใบไม้แห้งกองสูงขึ้นมาบนบริเวณที่สูงจากระดับน้ำในบึงในช่วงฤดูแล้ง หลังจากที่ไข่ฟักตัวเป็นระยะเวลานาน 2.5-3 เดือน ลูกตะโขงจะฟักออกมาในฤดูฝน จำนวนไข่ที่วางต่อครั้งมีจำนวน 20-60 ฟอง
ที่อยู่อาศัย : ตะโขงอาศัยอยู่ในแม่น้ำ และบึงหนองน้ำจืดที่มีบริเวณติดต่อกับแม่น้ำ บางครั้งพบออกมาอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำกร่อย
เขตแพร่กระจาย : พบในประเทศอินเดีย ออสเตรเลีย นิวกินี และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถานภาพ: จัดเป็นจรเข้ที่หายากมากที่สุดของไทย เท่าที่มีรายงานพบในระยะหลัง มาจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จังหวัดพัทลุง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส แต่ละแห่งพบเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น ตะโขงได้รับการคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 และอนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix 1
สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์: ประชากรตะโขงในประเทศไทยจัดว่าเป็นพวกที่อยู่ตอนเหนือสุดของเขตแพร่กระจายตามธรรมชาติ จึงมักจะเป็นสัตว์ที่หายากอยู่แล้ว การล่าตะโขงอย่างหนักและระยะฟักไข่ที่นานผิดปกติจึงง่ายต่อการถูกสัตว์ผู้ล่าหลายชนิดเข้าทำลาย ทำให้จำนวนประชากรในธรรมชาติลดลงไปเรื่อยๆ
จากหนังสือ : พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น