วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

งูเห่า (Naja kaouthia)

งูเห่า (Naja kaouthia)




ชื่อวิทยาศาสตร์ 'Naja kaouthia ' Linnaeus, ค.ศ. 1758

อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Reptilia

อันดับ Squamata
อันดับย่อย Serpentes
วงศ์ Elapidae

สกุล Naja
สปีชีส์ N. kaouthia

งูเห่า (Naja kaouthia) เป็นงูพิษขนาดกลาง จัดอยู่ในสกุลที่มีชื่อสามัญว่า Cobra ซึ่งเป็นสกุลของงูพิษที่เรียกได้ว่า เป็นที่รู้จักกันอย่างดีที่สุดในประเทศไทย พิษมีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทที่รุนแรง และเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตจำนวนมาก เพราะถูกงูเห่ากัดมากกว่างูพิษในสกุลอื่น ๆ มีหลากหลายทางสีมาก (Variety) เช่น ดำ น้ำตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น รวมทั้งสีขาวปลอดทั้งลำตัว ที่เรียกว่า งูเห่านวล หรือ งูเห่าสุพรรณ (Naja kaouthia var. suphanensis Nutaphand, ค.ศ. 1986) มีทั้งที่มีลายตามตัว และไม่มีลาย ไม่มีดอกจัน

งูเห่า เป็นงูที่จัดอยู่ในงูที่อันตราย มีนิสัยดุร้ายเช่นเดียวกับงูจงอาง ฉกกัดเหยื่อเมื่อเกิดอาการตกใจ มักทำเสียงขู่ฟู่ ๆ โดยพ่นลมออกจากทางรูจมูกจึงได้ชื่อว่า งูเห่า

เป็นงูที่มีพิษร้ายแรง มีร่องและรูทางออกของน้ำพิษทางด้านหลังของเขี้ยวพิษ เขี้ยวพิษขนาดไม่ใหญ่นักซึ่งผนึกติดแน่นกับขากรรไกรขยับไม่ได้ นอกจากเขี้ยวพิษแล้วอาจมีเขี้ยวสำรองอยู่ติด ๆ กันอีก 1 - 2 อัน ที่ขากรรไกรล่างไม่มีฟัน งูเห่าเมื่อโตเต็มวัย มีความยาวประมาณ 120-150 เซนติเมตร เมื่อเทียบตามส่วนแล้วงูเห่าสามารถแผ่แม่เบี้ยได้กว้างที่สุดกว่าชนิดอื่น ยกตัวชูคอแผ่แม่เบี้ยได้สูงที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่[1] พบในภาคกลางได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา นครนายก อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี นครปฐม ในทุกพื้นที่ แม้แต่กระทั่งในสวนหรือพงหญ้าในเมือง

ลักษณะทั่วไป


หัวมีลักษณะกลมเรียว หางเรียวยาว เราสามารถแยกเพศของงูเห่าได้จาก หัว และ แม่เบี้ย เช่น งูตัวผู้ หัวจะทู่ใหญ่ แม่เบี้ยจะแผ่กว้างเป็นวงกลม ส่วนตัวเมีย หัวจะหลิม ปลายจมูกเรียว แม่เบี้ยแคบกว่าตัวผู้ และมีลักษณะเป็นวงรี หรือใหญ่ช่วงตอนบน แล้วค่อยๆ เรียวเล็กลงมา ในตอนล่าง การเคลื่อนไหวปกติจะเลื้อยไปช้า ๆ ค่อนข้างว่องไว เมื่อตกใจจะชูคอขู่ แผ่แม่เบี้ย ขู่เสียงดังฟ่อ ๆ จาก การหายใจแรง และฉกกัด เมื่อถูกตัว หรือ มาใกล้ชิดตัว ชอบอยู่ตามพื้นดิน อาหารโดยปกติของงูเห่า คือ หนู นก หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กหรือสัตว์เลื้อยคลานหรือแม้กระทั่งงูด้วยกันบางชนิดที่มีขนาดเล็กกว่า

งูเห่า จัดเป็นงูพิษที่มีอันตรายมากที่สุดของประเทศไทย มีพิษร้ายแรงที่สุด ทำลายระบบประสาท ผู้ถูกกัด จะ เป็นอัมพาตต่อระบบหายใจ และกล้ามเนื้อต่าง ๆ โดยปกติจะไม่จู่โจมมนุษย์ก่อน หากไม่ถูกรบกวน งูเห่า ยังมีชื่อเรียกต่าง ๆ อีกว่า "งูเห่าหม้อ" หรือ "งูเห่าดง" เป็นต้น




จากเวป วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...